ข้ามไปเนื้อหา

แผงแป้นอักขระ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์

คีย์บอร์ด หรือ แป้นพิมพ์ (ศัพท์บัญญัติใช้ว่า แผงแป้นอักขระ) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทุกเครื่องจำเป็นต้องมี เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการนำข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยปกติมักจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือใกล้เคียง มีแป้นต่างๆ ประมาณร้อยแป้นอยู่บนคีย์บอร์ด (ขึ้นอยู่กับผังแป้นพิมพ์) ซึ่งถอดแบบมาจากเครื่องพิมพ์ดีด ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับรับข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ แล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต จากนั้นจึงส่งให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล หรือใช้ควบคุมฟังก์ชันการทำงานบางอย่างของคอมพิวเตอร์ และเพื่อให้การป้อนข้อมูลที่เป็นอักขระและตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น คีย์บอร์ดจึงแยกแผงที่เป็นแป้นอักขระกับแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก

ในปี 2005 คีย์บอร์ดไร้สายรุ่นแรกเปิดตัวที่งาน Apple Expo ในช่วงแรกเริ่ม คีย์บอร์ดไร้สาย นั้นถูกออกแบบให้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยอาศัยตัวรับสัญญาณวิทยุ ผ่านตัวเชื่อมต่อเล็ก ๆ ที่เสียบเข้ากับพอร์ต USB แต่ปัจจุบัน คีย์บอร์ดไร้สายแบบบลูทูธได้รับการพัฒนาและเป็นที่นิยมมากขึ้น เนื่องจากความต้องการที่จะใช้กับโทรศัพท์และแทบเล็ตของคนส่วนมาก[1]

ประวัติ

[แก้]

คีย์บอร์ดของไมโครคอมพิวเตอร์ตระกูล IBM ในรุ่นแรกๆ ประมาณปี ค.ศ.1981 มีปุ่มทั้งหมด 83 ปุ่ม ซึ่งมีชื่อเรียกว่า คีย์บอร์ด PC/XT และในปี ค.ศ. 1984 ก็ได้ เพิ่มจำนวนปุ่มขึ้นเป็น 84 ปุ่มมีชื่อเรียกว่า คีย์บอร์ด PC/AT ต่อจากนั้นก็ได้ พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ ตามความต้องการของผู้ใช้เรียกว่า คีย์บอร์ด AT และพัฒนามาเป็น รุ่น PS/2 โดยมีแป้นพิมพ์เพิ่มขึ้นอีก 17 ปุ่มรวมแล้วก็เป็น 101 ปุ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  1. "คีย์บอร์ดไร้สาย รุ่นไหนดีที่สุดสำหรับคุณ" บทความจากเว็บไซต์ Roonnhaidee.com