ข้ามไปเนื้อหา

การ์ดแสดงผล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การ์ดแสดงผล

การ์ดแสดงผล หรือ การ์ดจอ (video card หรือ display card) เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลเกี่ยวกับการแสดงผลจากหน่วยความจำ มาคำนวณและประมวลผล จากนั้นจึงส่งข้อมูลในรูปแบบสัญญาณเพื่อนำไปแสดงผลยังอุปกรณ์แสดงผล (มักเป็นจอภาพ)

ชื่อ

[แก้]

การ์ดแสดงผลมีชื่อในภาษาอังกฤษหลายคำ รวมถึง video card, display card, graphic adaptor, graphics card, video board, video display board, display adapter, video adapter, VGA Card

การทำงาน

[แก้]

การ์ดแสดงผลสมัยเก่าทำหน้าที่แปลงข้อมูลดิจิทัลเป็นสัญญาณเท่านั้น แต่จากกระแสของการ์ดเร่งความเร็วสามมิติ ในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษที่ 90 โดยบริษัท 3dfx และ nVidia ทำให้เทคโนโลยีด้านสามมิติพัฒนาไปมาก ปัจจุบันการ์ดแสดงผลสมัยใหม่ได้รวมความสามารถในการแสดงผลภาพสามมิติมาไว้เป็นมาตรฐาน และได้เรียกชื่อใหม่ว่า GPU (Graphic Processing Unit) โดยสามารถลดงานด้านการแสดงผลของของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ได้มาก

ในปัจจุบันการ์ดแสดงผลจำนวนมากไม่อยู่ในรูปของการ์ด แต่จะอยู่เป็นส่วนหนึ่งของแผงเมนบอร์ดซึ่งทำหน้าที่เดียวกัน วงจรแสดงผลเหล่านี้มักมีความสามารถด้านสามมิติค่อนข้างจำกัด แต่ก็เหมาะสมกับงานในสำนักงาน เล่นเว็บ อ่านอีเมล เป็นต้น สำหรับผู้ที่ต้องการความสามารถด้านสามมิติสูง ๆ เช่น ใช้เพื่อเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ยังอยู่ในรูปของการ์ดที่ต้องเสียบเพิ่มเพื่อให้ได้ภาพเคลื่อนไหวที่เป็นสามมิติที่สมจริง ในทางกลับกัน การใช้งานบางประเภท เช่น งานทางการแพทย์ กลับต้องการความสามารถการแสดงภาพสองมิติที่สูงแทนที่จะเป็นแบบสามมิติ

เดิมการ์ดแสดงผลแบบสามมิติอยู่แยกกันคนละการ์ดกับการ์ดแบบสองมิติและต้องมีการต่อสายเชื่อมถึงกัน เช่น การ์ด Voodoo ของบริษัท 3dfx ซึ่งปัจจุบันไม่มีแล้ว ปัจจุบันการ์ดแสดงผลสามมิติมีความสามารถเกี่ยวกับการแสดงผลสองมิติในตัว

การแบ่งตามการใช้งาน

[แก้]

การ์ดแสดงผลอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการ์ดวิดีโอหรือการ์ดจอ เป็นส่วนที่ทำหน้าที่นำผล การประมวลจากซีพียูไปแสดงบนจอภาพ การ์ดแสดงผลมีอยู่หลายแบบ ขึ้นอยู่กับลักษณะการนำไป ใช้งาน ถ้าหากเป็นการใช้งานทั่ว ๆ ไป เช่น พิมพ์งานในสำนักงาน ใช้อินเทอร์เน็ต อาจใช้การ์ดแบบ 2 มิติ ก็เพียงพอแล้ว แต่หากเป็นการ เล่นเกมใช้โปรแกรมประเภทกราฟิก 3 มิติ ก็ควรเลือกการ์ดจอ ที่จะช่วยแสดงผลแบบสามมิติหรือ 3D การ์ดการ์ดจอบางแบบอาจถูกออกแบบติดไว้กับเมนบอร์ด โดยเฉพาะเมนบอร์ดแบบจอเข้ากับเมนบอร์ด อาจสะดวกและประหยัด แต่หากพูดถึงประสิทธิภาพ โดยรวมของเครื่องแล้ว อาจจะไม่ดีเท่ากับการ์ดที่แยกต่างหากจากเมนบอร์ด ซึ่งอาจแบ่งช่วงของการ ใช้การ์ดจอได้ดังนี้

  1. การ์ดจอแบบ ISA และ VL เป็นการ์ดจอที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า 386 และ 486 รุ่นแรก ๆ การ์ดรุ่นนี้ สามารถ แสดงสีได้เพียง 256 สีเท่านั้น การดูภาพ จึงอาจจะไม่สมจริงเท่าไรนัก เพราะขาดสีบางสีไป
  2. การ์ดจอแบบ PCI เป็นการ์ดจอที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ 486 รุ่นปลาย ๆ เช่น 486DX4-100 และเครื่องระดับ เพนเทียมหรือคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วตั้งแต่ 100 MHz ถึง ประมาณ 300 MHz จะมีความเร็ว ในการแสดงผลสูงกว่าการ์ดจอแบบ ISA
  3. การ์ดจอแบบ AGP เป็นการ์ดจอที่แสดงผลได้เร็วที่สุด เริ่มใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่น AMD K6-II/III, K7, Duron, Thunderbird, Athlon XP, Cyrix MII, MIII, VIA Cyrix III, Pentium II, III, IV และ Celeron เป็นการ์ดที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน การ์ดจอบางรุ่นจะมีช่อง TV Out สามารถต่อสายไปยังทีวีได้
  4. การ์ดจอแบบ 3 มิติ การ์ดจอสำหรับงานกราฟิค เล่นเกมที่มีภาพสามมิติ ตัดต่อวิดีโอ ราคาแพงกว่าการ์ด จอสามประเภทแรก การ์ดจอต่าง ๆ เหล่านี้จะมี ตัวประมวลผล (GPU) ช่วยประมวลผลหรือคำนวณเกี่ยวกับการสร้างภาพให้ปรากฏบนจอ (และสามารถนำไปใช้ในการคำนวณค่า hash เพื่อใช้ในการทำเหมือง cryptocurrency ได้) ซึ่งจะทำให้ การแสดงภาพทำได้ดีมากกว่าการ์ดจอทั่ว ๆ ไป และด้วยการประมวลผลที่สูงนี้ทำให้เกิดความร้อนในวงจรจึงต้องมีพัดลมช่วยระบายความร้อน ด้วยการ์ดจอแบบนี้ อาจมีอินเตอร์เฟสหรือลักษณะการเชื่อมต่อแบบ PCI หรือ AGP ตัวอย่างการ์ดจอ 3 มิติ Asus V7700 Ultra, Winfast GF2 Ultra, Hercules 3D Prophet II Ultra, Ati Radeon All-In-Wonder เป็นต้น

ผู้ผลิตการ์ดแสดงผล

[แก้]

AMD หรือที่ใช้ชื่อว่า ATI Raedon ผลิตการ์ดแสดงผล (Expansions card)เป็นคู่แข่งกับบริษัท Nvidia

ทาง Nvidia มีจุดเด่นที่ส่วนประมวลผล PhysX ซึ่งจะประมวลผลทางฟิสิกส์ เช่นไอน้ำ กระดาษปลิว กระจกแตก ล้อรถหลุดและกลิ้งไปตามถนนล้มลง มีระบบ Surround ซึ่งสามารถต่อจอแสดงผลได้ 3 จอแบบเชื่อมต่อกันแต่ต้องใช้การ์ดสองตัวขึ้นไปหรือการ์ดที่มี GPU คู่ และมีระบบ 3DVision ซึ่งประมวลผลภาพ 3 มิติออกมาได้

ส่วน AMD มีจุดเด่นที่ระบบ Eyefinity ซึ่งสามารถต่อจอแสดงผลได้ 3-6 จอแบบเชื่อมต่อกันโดยใช้การ์ดใบเดียว และมีระบบ HD3D ซึ่งประมวลผลภาพ 3 มิติออกมาได้เช่นเดียวกับ Nvidia แต่ใช้ระบบที่ไม่ซับซ้อนเท่า

ผู้ผลิตรายใหญ่

[แก้]

ผู้ผลิตการ์ดเฉพาะทาง

[แก้]

ผู้ผลิตรายย่อย

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]