ข้ามไปเนื้อหา

เครื่องพิมพ์ดีด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เครื่องพิมพ์ดีด Olivetti Lettera 22 รุ่นแรก

เครื่องพิมพ์ดีด เป็นเครื่องกลที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้แทนการเขียนด้วยมือ ทำให้เกิดความสะดวกในการอ่าน และการเผยแพร่ มีลักษณะเป็นแป้นพิมพ์ แล้วใช้คานกระแทกลงบนผ้าคาร์บอน ทับลงบนกระดาษอีกที่หนึ่ง ปัจจุบัน พัฒนาเป็นเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า สามารถพิมพ์ตัวหนังสือได้มากขึ้น และออกแรงกดน้อยลง

ประวัติ

[แก้]

อดีต

[แก้]

เครื่องพิมพ์ดีดเครื่องแรกเป็นแบบภาษาอังกฤษสร้างโดยวิศวกรชื่อเฮนรี่ มิล ณ ประเทศอังกฤษ จดทะเบียนสิทธิบัตรเมื่อ พ.ศ. 2237 ในตอนแรกนั้นแป้นพิมพ์มีถึง 7 แถว 84 ปุ่ม ซึ่งแป้นพิมพ์นี้ถูกเรียกในปัจจุบันว่าแบบ 2 ชั้น เนื่องจากมีแถวและปุ่มมากเป็น 2 เท่าของแป้นพิมพ์รุ่นปัจจุบันที่แต่ละปุ่มจะมี 2 ตัวอักษร ต่อมาได้มีการสร้างปุ่ม Shift และรวมอักษร 2 ตัวให้อยู่ในปุ่มเดียว จึงทำให้แป้นพิมพ์แบบ 2 ชั้นไม่ได้รับความนิยมอีกต่อไป

ปัจจุบัน

[แก้]

ต่อมาได้มีการคิดค้นเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้าในเวลาต่อมาโดยแป้นพิมพ์จะคล้ายแป้นคีย์บอร์ด มี Shift,Shift Lock,Alt มีตัวอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวพิมพ์เล็ก (ใช้ปุ่มShift,Shift Lockในภาษาอังกฤษ) มีอักษรสองแถว มีปุ่มลบ (CORRECT) ในกรณีที่พิมพ์ผิดโดยจะใช้หลักการ ใช้เทปติดหมึกออกมาจากกระดาษ ถึงกระนั้นผู้คนก็ยังเลือกใช้คอมพิวเตอร์มากกว่าเครื่องพิมพ์ดีด ในปัจจุบันนั้นเครื่องพิมพ์ดีดนั้นเริ่มกลายเป็นสิ่งของที่หาซื้อได้ยาก และยังมีคนสะสมอยู่ด้วยความชื่นชอบและหลงใหล

ในประเทศไทย

[แก้]

นายเอดวิน แมคฟาร์แลนด์ เลขานุการส่วนพระองค์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ดัดแปลงเครื่องพิมพ์ดีดภาษาอังกฤษเป็นเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย แต่เนื่องจากภาษาไทยมีสระและวรรณยุกต์มาก จึงต้องใช้เครื่องพิมพ์ดีดที่มีแป้นมากกว่าชนิดอื่น คือยี่ห้อ สมิทพรีเมียร์ เมื่อ พ.ศ. 2438ต่อมา หมอ ยอร์ช บี แมคฟาร์แลนด์ (พระอาจวิทยาคม) ได้ปรึกษาและค้นคว้ากับพนักงานบริษัท 2 คนคือ นายสวัสดิ์ มากประยูร และนายสุวรรณประเสริฐ เกษมณี (กิมเฮง) ใช้เวลา 7 ปีก็วางแป้นอักษรใหม่สำเร็จ ใน พ.ศ. 2474 สามารถพิมพ์ได้ถนัดที่สุดและรวดเร็วที่สุด ให้ชื่อว่าแบบ "เกษมณี" และใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้ ต่อมามีการศึกษาพบว่า เครื่องพิมพ์ดีดแบบเกษมณียังมีข้อบกพร่อง และได้มีการคิดวางแป้นอักษรใหม่ ใช้ชื่อว่า "ปัตตะโชติ" ซึ่งสภาวิจัยแห่งชาติตรวจสอบแล้วว่าสามารถพิมพ์ได้เร็วกว่าแบบเดิมประมาณ 25.8%

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]