แปดผู้อาวุโส
แปดเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ผู้ทรงเกียรติ (จีน: 八大元老; พินอิน: Bā dà yuánlǎo) เรียกอย่างย่อว่า แปดผู้อาวุโส (จีน: 八老; พินอิน: Bā lǎo) เป็นกลุ่มสมาชิกอาวุโสของพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่มีอำนาจมากที่สุดในสองทศวรรษสุดท้ายของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในภาษาอังกฤษอาจเรียกคนเหล่านี้ว่า The Eight Immortals[1] แปลว่า คนอมตะแปด ซี่งหมายถึง ป๊าเซียน เป็นการอ้างอิงถึงเทพเจ้าเต๋าที่เรียกอีกอย่างว่า โป๊ยเซียน
เติ้ง เสี่ยวผิง ผู้ซึ่งก้าวขึ้นเป็นผู้นำสูงสุดของจีนในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1978 จากการประชุมเต็มคณะครั้งที่ 3 ของคณะกรรมธิการกลางชุดที่ 11 ถือเป็นผู้ทรงอำนาจที่สุดในกลุ่ม แต่การใช้อำนาจของเขาไม่เคยเบ็ดเสร็จเด็ดขาด และเขาต้องปรึกษาและประนีประนอมกับผู้อาวุโสอีก 7 คน โดยผู้ที่โดดเด่นที่สุดได้แก่ เฉิน ยฺหวินและหลี่ เซียนเนี่ยน (ถือเป็นผู้มีอำนาจอันดับ 2 และ 3 ตามลำดับ และทั้งคู่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มสายแข็งฝ่ายซ้ายและฝ่ายต่อต้านการปฏิรูปและเศรษฐกิจแบบเน้นตลาด)[2] พันธมิตรของเติ้งในหมู่ผู้อาวุโส ได้แก่ หยาง ช่างคุนและเผิง เจิน ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 ผู้อาวุโสทุกคน รวมถึงเติ้งเอง ต่างร่วมกันต่อต้านการปฏิรูปการเมืองเพิ่มเติม ในขณะที่มีมุมมองที่ต่างกันในเรื่องเศรษฐกิจและการต่างประเทศ
ตามที่จ้าว จื่อหยาง เลขาธิการฝ่ายปฏิรูปได้กล่าวไว้ว่า ในบรรดาผู้อาวุโสทั้งหมด หลี่ เซียนเนี่ยนเป็นผู้ที่โดดเด่นที่สุด กระตือรือร้นมากที่สุด และประสบความสำเร็จมากที่สุดในการต่อต้านและขัดขวางการเปลี่ยนแปลงและปฏิรูปในประเด็นทางการเมืองและเศรษฐกิจ[3] การตัดสินใจที่สำคัญมักเกิดขึ้นที่บ้านของเติ้ง แปดผู้อาวุโสสามารถกำจัดผู้นำพรรคได้สามคน ระหว่างปี ค.ศ. 1978 ถึง 1981 ฮฺว่า กั๋วเฟิงค่อย ๆ ถูกปลดจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและประธานพรรค หู เย่าปังถูกปลดใน ค.ศ. 1987 และจ้าว จื่อหยาง ถูกปลดใน ค.ศ. 1989[4] เติ้ง แกนหลักของแปดผู้อาวุโสทั้ง เกษียณอายุหลังการประชุมเต็มคณะครั้งที่ 5 ของคณะกรรมการกลางชุดที่ 13 (พฤศจิกายน ค.ศ. 1989) ซึ่งเขาลาออกจากตำแหน่งทางการสุดท้ายของเขา (ประธานคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง) และผู้อาวุโสที่เหลือก็เกษียณอายุอย่างเป็นทางการหลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคครั้งที่ 14 ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1992 ซึ่งคณะกรรมการที่ปรึกษาส่วนกลางถูกยุบ พวกเขายังคงมีอิทธิพลเด็ดขาดอยู่เบื้องหลังจนกระทั่งเติ้งเสียชีวิตในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997[5]
สมาชิก
[แก้]ไม่เคยมีการระบุสมาชิกอย่างเป็นทางการ โดยมีเติ้ง เสี่ยวผิงเป็นผู้กุมอำนาจหลัก แปดผู้อาวุโสที่ได้รับการยอมรับให้รวมอยู่ด้วย ได้แก่:[5]
- เส้นเวลาอายุขัยของสมาชิก
บุตรหลาน
[แก้]บุตรหลานของแปดผู้อาวุโสซึ่งได้รับประโยชน์อย่างมากจากระบบอุปถัมภ์และระบบพวกพ้องรวมตัวกันเป็นกลุ่มที่ปัจจุบันรู้จักกันในนาม "เจ้าชายน้อย" หรือ "พรรคมกุฎราชกุมาร" สมาชิกที่เติบโตมาจากตำแหน่งต่าง ๆ ของพรรค สามารถล้มล้างฝ่ายค้านในเขตอำนาจของตนได้อย่างง่ายดาย แม้พวกเขาจะได้รับมอบหมายให้ดำรงตำแหน่งบริหารส่วนท้องถิ่นก็ตาม มักพบว่าพวกเขามีอำนาจสูงกว่าเจ้าหน้าที่พรรคอื่นและมีเกียรติยศมากกว่าด้วยสายเลือดของพวกเขา[4] บลูมเบิร์ก ได้รายงานเกี่ยวกับความมั่งคั่งอันมหาศาลที่สะสมโดยลูกหลานเหล่านี้ผ่านบทบาทของพวกเขาในบริษัทมหาชนและเอกชนต่าง ๆ[11]
หมายเหตุ
[แก้]ลำดับ | แอลเอไทมส์ 1992[8] | แคซิก 2004[6] | เอสซีเอ็มพี 2008[5] | บลูมเบิร์ก 2012[7] | อังเดรซี 2015[9] | เบนดินี 2016[10] |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | เติ้ง เสี่ยวผิง | เติ้ง เสี่ยวผิง | เติ้ง เสี่ยวผิง | เติ้ง เสี่ยวผิง | เติ้ง เสี่ยวผิง | |
2 | หยาง ช่างคุน | หยาง ช่างคุน | หยาง ช่างคุน | หยาง ช่างคุน | หยาง ช่างคุน | |
3 | เฉิน ยฺหวิน | เฉิน ยฺหวิน | เฉิน ยฺหวิน | เฉิน ยฺหวิน | เฉิน ยฺหวิน | |
4 | หลี่ เซียนเนี่ยน | หลี่ เซียนเนี่ยน | หลี่ เซียนเนี่ยน | หลี่ เซียนเนี่ยน | หลี่ เซียนเนี่ยน | |
5 | เผิง เจิน | เผิง เจิน | เผิง เจิน | เผิง เจิน | เผิง เจิน | |
6 | หวัง เจิ้น | หวัง เจิ้น | หวัง เจิ้น | หวัง เจิ้น | หวัง เจิ้น | |
7 | ปั๋ว อีปัว | ปั๋ว อีปัว | ปั๋ว อีปัว | ปั๋ว อีปัว | ปั๋ว อีปัว | |
8 | ซ่ง เหรินฉฺยง | ซ่ง เหรินฉฺยง | ซ่ง เหรินฉฺยง | |||
8 | เติ้ง อิ่งเชา | เติ้ง อิ่งเชา | เติ้ง อิ่งเชา | |||
อื่น ๆ | สี จ้งซฺวิน | สี จ้งซฺวิน | ||||
ว่าน หลี่ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Joseph, William A. (2010). Politics in China: An Introduction. Oxford: Oxford University Press. p. 112. ISBN 978-0-19-533530-9.
- ↑ Zhao, Ziyang (2009-05-19). Ignatius, Adi; Pu, Bao; Chiang, Renee (บ.ก.). Prisoner of the State: The Secret Journal of Premier Zhao Ziyang (ภาษาอังกฤษ). Simon and Schuster. ISBN 978-1-4391-5407-6.
- ↑ MacFarquhar, Roderick. "Foreword" in Zhao Ziyang (2009). Prisoner of the State: The Secret Journal of Zhao Ziyang. New York, NY: Simon and Schuster. ISBN 1-4391-4938-0
- ↑ 4.0 4.1 Xiang, Lanxin (April 20, 2012). "Bo Xilai probe shows up China's outdated system of government". South China Morning Post
- ↑ 5.00 5.01 5.02 5.03 5.04 5.05 5.06 5.07 5.08 5.09 5.10 5.11 5.12 5.13 Wu, Vivian (1 December 2008). "The 'eight immortals' who jockeyed for control of a nation". South China Morning Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 11, 2018. สืบค้นเมื่อ 2021-09-18.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Tkacik, John (September 2004). Scobell, Andrew; Wortzel, Larry (บ.ก.). "CIVIL-MILITARY CHANGE IN CHINA: ELITES, INSTITUTES, AND IDEAS AFTER THE 16TH PARTY CONGRESS. Chapter 5: Premier Wen and Vice President Zeng: The "Two Centers" of China's "Fourth Generation"" (PDF). Strategic Studies Institute, U.S. Army War College. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ August 22, 2020. สืบค้นเมื่อ 18 September 2021.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 7.6 7.7 7.8 "Mapping China's Red Nobility". Bloomberg.com. Graphics: Chloe Whiteaker, Fan Wenxin, Michael Wei, Danny Dougherty and Phil Kuntz. Reporting: Michael Forsythe, Shai Oster, Dune Lawrence, Natasha Khan and Henry Sanderson. สืบค้นเมื่อ 2021-09-18.
{{cite news}}
: CS1 maint: others (ลิงก์) - ↑ 8.0 8.1 Holley, David (1992-01-12). "'Eight Elders' Wield Power Behind the Scenes in China". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 29, 2020. สืบค้นเมื่อ 2021-09-18.
- ↑ 9.0 9.1 Andrésy, Agnès (2015-11-20). Xi Jinping: Red China, The Next Generation (ภาษาอังกฤษ). UPA. p. 142. ISBN 978-0-7618-6601-5.
- ↑ 10.0 10.1 Bendini, Roberto (June 2016). "The Cultural Revolution in China: its 50th anniversary was ignored but its legacy lives on today" (PDF). europarl.europa.eu. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ September 11, 2016. สืบค้นเมื่อ 18 September 2021.
- ↑ "Heirs of Mao's Comrades Rise as New Capitalist Nobility". Bloomberg. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 27, 2012. สืบค้นเมื่อ December 28, 2012.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- AsiaWeek article
- John Ruwitch 'China's leaders tug strings of power in retirement' (Reuters)