จ้าว จื่อหยาง
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
จ้าว จื่อหยาง | |
---|---|
赵紫阳 | |
จ้าว จื่อหยาง ในปี 1985 | |
เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน | |
ดำรงตำแหน่ง 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 – 24 มิถุนายน พ.ศ. 2532 | |
ก่อนหน้า | เขาเอง (ในฐานะรักษาการเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน) |
ถัดไป | เจียง เจ๋อหมิน |
รักษาการเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน | |
ดำรงตำแหน่ง 15 มกราคม พ.ศ. 2530 – 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 | |
ก่อนหน้า | หู เย่าปัง |
ถัดไป | เขาเอง (ในฐานะเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน) |
นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน | |
ดำรงตำแหน่ง 10 กันยายน พ.ศ. 2523 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 | |
ประธานาธิบดี | หลี่ เซียนเนี่ยน |
ผู้นำ | เติ้ง เสี่ยวผิง |
ก่อนหน้า | ฮั่ว กั๋วเฟิง |
ถัดไป | หลี่ เผิง (รักษาการ) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 17 ตุลาคม 2462 มณฑลหัว เหอหนาน สาธารณรัฐจีน |
เสียชีวิต | 17 มกราคม พ.ศ. 2548 (85 ปี) ปักกิ่ง ประเทศจีน |
พรรคการเมือง | พรรคคอมมิวนิสต์จีน |
คู่สมรส | เหลียง โป้ฉี |
ลายมือชื่อ | |
จ้าว จื่อหยาง (จีนตัวย่อ: 赵紫阳; จีนตัวเต็ม: 趙紫陽; พินอิน: Zhào Zǐyáng, 17 ตุลาคม 1919 – 17 มกราคม 2005) เป็นนักการเมืองระดับสูงในสาธารณรัฐประชาชนจีน เขาเป็นนายกรัฐมนตรีจีนระหว่างปี 1980 ถึง 1987 รองประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีนตั้งแต่ปี 1981 ถึง 1982 และเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนตั้งแต่ปี 1987 ถึง 1989 เขาเป็นผู้รับผิดชอบการปฏิรูปการเมืองในประเทศจีนตั้งแต่ปี 1986 แต่เสียอำนาจเนื่องจากความเชื่อมโยงกับกระแสอำนาจนิยมใหม่ปฏิรูปและการสนับสนุนการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในปี 1989
ในตำแหน่งข้าราชการรัฐบาลอาวุโส จ้าววิจารณ์นโยบายลัทธิเหมาและมีส่วนสำคัญในการนำการปฏิรูปตลาดเสรีไปปฏิบัติ เริ่มต้นในมณฑลเสฉวนและต่อมาทั่วประเทศ เขาก้าวขึ้นสู่เวทีระดับชาติเนื่องจากการสนับสนุนจากเติ้ง เสี่ยวผิงหลังการปฏิวัติวัฒนธรรม ในฐานะผู้สนับสนุนการโอนกิจการของรัฐเป็นของเอกชน การแบ่งแยกพรรคกับรัฐออกจากกัน และการปฏิรูปตลาดเสรีทั่วไป เขามุ่งใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงระบบข้าราชการประจำของจีนและต่อสู้กับการฉ้อราษฎร์บังหลวง ซึ่งเป็นประเด็นที่บั่นทอนความชอบธรรมของพรรคในคริสต์ทศวรรษ 1980 ซึ่งเลขาธิการหู ย่าวปังในขณะนั้นก็มีทัศนะทำนองเดียวกันด้วย[1]
นโยบายการปฏิรูปเศรษฐกิจและความเห็นใจนักศึกษาผู้ประท้วงระหว่างการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในปี 1989 ทำให้เขาเป็นศัตรูกับสมาชิกผู้นำพรรคบางคน รวมทั้งประธานคณะกรรมการที่ปรึกษากลางในขณะนั้น เฉิน หยุน, ประธานคณะกรรมการให้คำปรึกษาการเมืองฯ หลี่ เซียนเนี่ยน, และนายกรัฐมนตรี หลี่ เผิง จ้าวยังเริ่มเสียความนิยมกับประธานคณะกรรมการทหารกลาง เติ้ง เสี่ยวผิง ด้วย ในช่วงหลังเหตุการณ์ จ้าวถูกกวาดล้างทางการเมือง และถูกจับกุมให้อยู่แต่ในบ้านพักตลอดชีวิต
เขาเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองในกรุงปักกิ่งในเดือนมกราคม 2005 อัตชีวประวัติลับของเขามีการลักลอบนำออกนอกประเทศ และตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษและภาษาจีนในปี 2009 แต่รายละเอียดชีวิตเขาถูกตรวจพิจารณาในประเทศจีน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Economic Reform in China by James A. Dorn, Xi Wang, Wang Xi