ข้ามไปเนื้อหา

แซฟไฟร์สจวต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แซฟไฟร์สจวต
Stuart Sapphire
แซฟไฟร์สจวตปรากฏอยู่ด้านหน้าบริเวณฐานของมงกุฎอิมพีเรียลสเตต ก่อนที่จะถูกย้ายไปตำแหน่งเดียวกันด้านหลัง เพื่อประดับเพชรคูลลิแนนแทน
น้ำหนัก104 กะรัต (20.8 กรัม)
รูปแบบเหลี่ยมเพชรวงรี
สถานที่ค้นพบ สหราชอาณาจักร
ผู้ค้นพบพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 2 แห่งสก็อตแลนด์
ผู้ครอบครองส่วนหนึ่งของเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักร

แซฟไฟร์สจวต (อังกฤษ: Stewart Sapphire, อังกฤษ: Stuart Sapphire) คือแซฟไฟร์ที่เป็นหนึ่งในเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักร ได้ชื่อมาจากราชวงศ์สจวตแห่งสก็อตแลนด์ ตามเจ้าของพระองค์แรก ซึ่งคือ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 2 แห่งสก็อตแลนด์ แซฟไฟร์เม็ดนี้ได้ถูกนำไปประดับบนมงกุฎราชาภิเษกของพระองค์ในปีค.ศ. 1214 และต่อมาในปีค.ศ. 1296 สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษทรงอ้างสิทธิ์ครอบครองอัญมณีชิ้นนี้พร้อมกับหินแห่งสโคนในคราวที่ทรงยกทัพบุกสก็อตแลนด์[1] ในภายหลังจากได้ทรงครอบครองแล้ว ได้พระราชทานให้กับพระเทวัน(น้องเขย)ของพระองค์ คือ พระเจ้าเดวิดที่ 2 แห่งสก็อตแลนด์ ซึ่งเพื่อเป็นการตอบแทน พระองค์จึงได้พระราชทานต่อให้กับพระขนิษฐาของพระองค์ คือ มาร์โจรี บรูซ และต่อมา มาร์โจรี ได้สมรสกับวอลเตอร์ สจวตซึ่งมีบุตรซึ่งในภายหลังได้เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์สจวต คือ พระเจ้าโรเบิร์ตที่ 2 แห่งสก็อตแลนด์ จึงเป็นที่มาของชื่ออัญมณีนี้ว่า "แซฟไฟร์สจวต"

ในช่วงสมัยสาธารณรัฐของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ในฐานะของ "เจ้าผู้พิทักษ์" ได้ให้ขายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ทั้งหมด และต่อมาภายหลังการฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษขึ้นใหม่ แซฟไฟร์เม็ดนี้ได้กลับมาสู่ความครอบครองของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ ซึ่งแซฟไฟร์นี้ได้ถูกบันทึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของเรลิกของราชวงศ์สจวตที่ทรงนำไปที่ฝรั่งเศสเพื่อลี้ภัยด้วย[2] ภายหลังจากเสด็จสวรรคตแล้ว ได้ตกทอดถึงพระโอรสองค์ใหญ่ของพระองค์ เจมส์ สจวต หรือเรียกกันว่า ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ ซึ่งต่อมาได้ตกทอดให้กับบุตรคนโต คือ เฮนรี เบเนดิกท์ สจวต พระคาร์ดินัล ดยุคแห่งยอร์ค หลังจากมรณภาพแล้วได้มอบให้กับพระเจ้าจอร์จที่ 3[3]

ในปีค.ศ. 1838 พระราชินีวิกตอเรีย ทรงให้ปรับปรุงมงกุฎอิมพีเรียลสเตตของเดิม[1][4] โดยให้ประดับแซฟไฟร์เม็ดนี้ไว้บริเวณฐานของมงกุฎตรงกลาง ข้างใต้ทับทิบเจ้าชายดำ ต่อมาในรัชสมัยของพระเจ้าจอร์จที่ 6 ทรงให้สร้างมงกุฎอิมพีเรียลสเตตขึ้นใหม่ทั้งองค์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายของเดิมที่สุด โดยทรงให้ย้ายแซฟไฟร์เม็ดนี้ไว้ประดับบนมงกุฎองค์ใหม่ บริเวณฐานด้านหน้าของมงกุฎ และต่อมาเมื่อมีการค้นพบเพชรคูลลิแนน แซฟไฟร์สจวตได้ถูกย้ายไปอยู่ด้านหลังแทน เพื่อให้เพชรคูลลิแนน 2 ทรงเหลี่ยมขอบมนที่มีขนาดถึง 315 กะรัต แม้กระทั่งแซฟไฟร์นี้จะมีขนาดใหญ่กว่าปกติ แต่ความสำคัญของอัญมณีนี้มิได้อยู่ที่มูลค่า แต่มีความหมายอย่างยิ่งทางประวัติศาสตร์อันยาวนานในตัวของมันเอง

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Sapphire Jewellery $1.99 @SilverShake Gemstone Sterling Silver Jewelry. Stuart Sapphire". Silvershake.com. สืบค้นเมื่อ 2012-01-29.
  2. "Ruby & Sapphire: Judging Quality, Prices, Padparadscha, Part 4". Ruby-sapphire.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-09. สืบค้นเมื่อ 2012-01-29.
  3. "Stuart Sapphire is a 104-carat Blue Sapphire | Internet Stones.COM-Jewelry and Mineral Blog". Jewelry-blog.internetstones.com. 2008-03-14. สืบค้นเมื่อ 2012-01-29.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-08. สืบค้นเมื่อ 2013-06-20.

ดูเพิ่ม

[แก้]