รัฐฉิน
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ฉิน
| |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล–207 ปีก่อนคริสตกาล | |||||||||||
เมืองหลวง | ฉิน (秦) เฉวี่ยนชิว (犬丘) เชียน (汧) ผิงหยาง (平陽) ยง (雍) เยว่หยาง (櫟陽) เสียนหยาง (咸陽) | ||||||||||
ศาสนา | ศาสนาพื้นเมืองจีน, การบูชาบรรพบุรุษ, นิตินิยม | ||||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||||
ฉินกง และ ฉินหวัง | |||||||||||
• ถึง 858 ก่อน ค.ศ. | เฟยจื่อ | ||||||||||
• 659-621 ก่อน ค.ศ. | ฉินมู่กง | ||||||||||
• 361-338 ก่อน ค.ศ. | ฉินเซี่ยวกง | ||||||||||
• 306-251 ก่อน ค.ศ. | ฉินจาวเซียงหวัง | ||||||||||
• 246-221 ก่อน ค.ศ. | ฉินหวังเจิ้ง | ||||||||||
อัครมหาเสนาบดี | |||||||||||
• ??? - ??? | ชาง ยาง | ||||||||||
• 251-235 ก่อนคริสตกาล | ลฺหวี่ ปู้เหวย์ | ||||||||||
• 246-208 ก่อนคริสตกาล | หลี่ ซือ | ||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||
• ก่อตั้ง | ศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล | ||||||||||
• สถาปนาเฟยจื่อเป็นผู้ปกครองรัฐ | 900 ปีก่อนคริสตกาล | ||||||||||
• ได้รับการยกฐานะเป็นรัฐบรรณาการโดยตรงของราชสำนักโจว และได้รับบรรดาศักดิ์เป็น ฉินกง | 771 ปีก่อนคริสตกาล | ||||||||||
• เริ่มการปฏิรูปของชางยาง | 363 ปีก่อนคริสตกาล | ||||||||||
• ผู้ปกครองรัฐฉินสถาปนาตนเป็น ฉินหวัง | 325 ปีก่อนคริสตกาล | ||||||||||
221 ปีก่อนคริสตกาล | |||||||||||
• ล่มสลาย | 207 ปีก่อนคริสตกาล | ||||||||||
สกุลเงิน | เหรียญกระษาปณ์จีนโบราณ | ||||||||||
| |||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | สาธารณรัฐประชาชนจีน |
รัฐฉิน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
ภาษาจีน | 秦 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
ฉิน (จีน: 秦; พินอิน: Qín; เวด-ไจลส์: Ch'in)[1] เป็นรัฐจีนโบราณในช่วงราชวงศ์โจว ถือกำเนิดจากการยึดดินแดนฟากตะวันตกที่เคยเสียให้แก่ชาวซีหรง (西戎) ด้วยความที่ตั้งอยู่ชายขอบด้านตะวันตกของอารยธรรมจีนนี้เอง ทำให้รัฐฉินสามารถขยายพื้นที่และพัฒนาได้อย่างที่รัฐคู่แข่งอื่นๆ ในที่ราบจีนเหนือไม่สามารถทำได้มาก่อน
ครั้นเมื่อมีปฏิรูปกฎหมายขนานใหญ่ในศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล รัฐฉินก็ได้กลายเป็นหนึ่งในผู้ทรงอำนาจที่โดดเด่นของกลุ่มเจ็ดรณรัฐ (戰國七雄) และได้ผนวกแผ่นดินจีนทั้งหมดได้ในปีที่ 221 ก่อนคริสตกาลภายใต้การนำของฉินฉื่อหฺวังตี้ (秦始皇帝; "ปฐมจักรพรรดิฉิน") ก่อตั้งเป็นจักรวรรดิฉิน (秦朝) ซึ่งแม้จะดำรงอยู่ไม่นาน แต่ก็มีอิทธิพลมากยิ่งในประวัติศาสตร์จีนยุคหลัง ดังนั้น รัฐฉินก่อนการสถาปนาราชวงศ์ฉินจึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ฉินก่อนราชวงศ์"[2][3] หรือ "ฉินดั้งเดิม"[4]
ปี (ค.ศ.) | เหตุการณ์สำคัญ |
---|---|
557 ก่อนค.ศ. | รัฐฉิน ทำสงครามกับ รัฐจิ้น |
361 ก่อนค.ศ. | ฉินเซี่ยวกงขึ้นเป็นผู้ปกครองรัฐฉิน |
356 ก่อนค.ศ. | ชางยางเริ่มต้นการปฏิรูปครั้งแรกในรัฐฉิน |
350 ก่อนค.ศ. | ชางยางเริ่มต้นการปฏิรูปครั้งที่สองในรัฐฉิน |
338 ก่อนค.ศ. | อิ๋งซื่อขึ้นเป็นผู้ปกครองรัฐฉิน |
325 ก่อนค.ศ. | อิ๋งซื่อสถาปนาตนเป็นฉินฮุ่ยเหวินหวัง |
316 ก่อนค.ศ. | รัฐฉิน ผนวก รัฐสู่ และ รัฐปา |
293 ก่อนค.ศ. | รัฐฉินชนะสงครามกองทัพพันธมิตรรัฐเว่ย และ รัฐหาน ในสมรภูมิอี้ฉู |
260 ก่อนค.ศ. | รัฐฉินชนะสงครามรัฐจ้าวในสมรภูมิฉางผิง |
256 ก่อนค.ศ. | รัฐฉินยุบราชสำนักโจวตะวันออก |
247 ก่อนค.ศ. | ฉินหวังเจิ้งเสวยราชย์ |
230 ก่อนค.ศ. | รัฐฉินผนวกรัฐหาน |
228 ก่อนค.ศ. | รัฐฉินผนวกรัฐจ้าว |
225 ก่อนค.ศ. | รัฐฉินผนวกรัฐเว่ย |
223 ก่อนค.ศ. | รัฐฉินผนวกรัฐฉู่ |
222 ก่อนค.ศ. | รัฐฉินผนวกรัฐเอี้ยน, รัฐไต้ และดินแดนอู๋เย่ว์ |
221 ก่อนค.ศ. | ฉินผนวกรัฐฉี และสิ้นสุดสงครามรวมแผ่นดิน สถาปนาราชวงศ์ฉิน |
รายนามผู้ปกครองรัฐฉิน
[แก้]รายนามและรายพระนามของผู้ปกครองรัฐฉินนั้นอ้างอิงมาจากบันทึกสื่อจี้ซึ่งได้รับการแก้ไขโดยหานจาวฉี[5]
ยศ | ชื่อตัว | ช่วงเวลาดำรงตำแหน่ง | ความสัมพันธ์ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
เฟยจื่อ | อิ๋ง เฟยจื่อ | ถึง 858 ก่อนคริสตกาล | บุตรของต้าหลัว, ทายาทรุ่นที่ห้าของ เอ๋อไหล | ได้รับพระราชทานศักดินาจากพระเจ้าโจวเซี่ยวหวัง |
ฉินโหว | ไม่ปรากฎชื่อ | 857-848 ก่อนคริสตกาล | บุตรของเฟยจื่อ | ได้รับการแต่งตั้งย้อนหลังโดยทายาทรุ่นหลัง |
กงป๋อ | ไม่ปรากฎชื่อ | 847-845 ก่อนคริสตกาล | บุตรของฉินโหว | |
ฉินจ้ง | ไม่ปรากฎชื่อ | 844-822 ก่อนคริสตกาล | บุตรของกงป๋อ | |
ฉินจวงกง | อิ๋ง ฉี | 821-778 ก่อนคริสตกาล | บุตรของฉินจ้ง | ได้รับการแต่งตั้งย้อนหลังโดยทายาทรุ่นหลัง |
ฉินเซียงกง | อิ๋ง ไค | 777-766 ก่อนคริสตกาล | บุตรของฉินจวงกง | เป็นผู้ปกครองรัฐฉินคนแรกที่ได้รับการสถาปนาบรรดาศักดิ์เป็น "กง" จากราชสำนักโจว |
ฉินเหวินกง | ไม่ปรากฎชื่อ | 765-716 ก่อนคริสตกาล | บุตรของฉินเซียงกง | |
ฉินเซี่ยนกง | ไม่ปรากฎชื่อ | 715-704 ก่อนคริสตกาล | หลานของฉินเหวินกง | |
ฉินฉู่กงที่ 1 | อิ๋ง หมาน | 703-698 ก่อนคริสตกาล | บุตรของฉินเซี่ยนกง | |
ฉินอู่กง | ไม่ปรากฎชื่อ | 697-678 ก่อนคริสตกาล | บุตรของฉินเซี่ยนกง | |
ฉินเต๋อกง | ไม่ปรากฎชื่อ | 677-676 ก่อนคริสตกาล | บุตรของฉินเซี่ยนกง, น้องชายของฉินอู่กง | |
ฉินเซวียนกง | ไม่ปรากฎชื่อ | 675-664 ก่อนคริสตกาล | บุตรของฉินเต๋อกง | |
ฉินเฉิงกง | ไม่ปรากฎชื่อ | 663-660 ก่อนคริสตกาล | บุตรของฉินเต๋อกง, น้องชายของฉินเซวียนกง | |
ฉินมู่กง | อิ๋ง เหรินฮ่าว | 659-621 ก่อนคริสตกาล | บุตรของฉินเต๋อกง, น้องชายของฉินเฉิงกง | |
ฉินคังกง | อิ๋ง อิง | 620-609 ก่อนคริสตกาล | บุตรของฉินมู่กง | |
ฉินกงกง | อิ๋ง ต้าว หรือ อิ๋ง เหอ หรือ อิ๋ง เจีย | 608-604 ก่อนคริสตกาล | บุตรของฉินคังกง | |
ฉินหวนกง | อิ๋ง หยง | 603-577 ก่อนคริสตกาล | บุตรของฉินกงกง | |
ฉินจิ่งกง | อิ๋ง ฉือ | 576-537 ก่อนคริสตกาล | บุตรของฉินหวนกง | |
ฉินอายกง | ไม่ปรากฎชื่อ | 536-501 ก่อนคริสตกาล | บุตรของฉินจิ่งกง | |
ฉินฮุ่ยกงที่ 1 | ไม่ปรากฎชื่อ | 500-492 ก่อนคริสตกาล | หลานของฉินอายกง | |
ฉินต้าวกง | ไม่ปรากฎชื่อ | 491-477 ก่อนคริสตกาล | บุตรของฉินฮุ่ยกงที่ 1 | |
ฉินลี่ก้งกง | ไม่ปรากฎชื่อ | 476-443 ก่อนคริสตกาล | บุตรของฉินต้าวกง | |
ฉินเจ้ากง | ไม่ปรากฎชื่อ | 442-429 ก่อนคริสตกาล | บุตรของฉินลี่ก้งกง | |
ฉินหวายกง | ไม่ปรากฎชื่อ | 428-425 ก่อนคริสตกาล | บุตรของฉินลี่ก้งกง, น้องชายของฉินเจ้ากง | |
ฉินหลิงกง | ไม่ปรากฎชื่อ | 424-415 ก่อนคริสตกาล | หลานของฉินหวายกง | |
ฉินเจี่ยนกง | อิ๋ง ต้าวจื่อ | 414-400 ก่อนคริสตกาล | บุตรของฉินหวายกง และอาของฉินหลิงกง | |
ฉินฮุ่ยกงที่ 2 | ไม่ปรากฎชื่อ | 399-387 ก่อนคริสตกาล | บุตรของฉินเจี่ยนกง | |
ฉินฉู่กงที่ 2 | ไม่ปรากฎชื่อ | 386-385 ก่อนคริสตกาล | บุตรของฉินฮุ่ยกงที่ 2 | |
ฉินเสี้ยนกง | อิ๋ง ฉือซี หรือ อิ๋งเหลียน | 384-362 ก่อนคริสตกาล | บุตรของฉินหลิงกง | |
ฉินเซี่ยวกง | อิ๋ง ฉวีเหลียง | 361-338 ก่อนคริสตกาล | บุตรของฉินเสี้ยนกง | ได้รับการสถาปนาย้อนหลังเป็น ฉินผิงหวัง |
ฉินฮุ่ยเหวินหวัง | อิ๋ง ซื่อ | 337-311 ก่อนคริสตกาล | บุตรของฉินเซี่ยวกง | เป็นผู้ปกครองรัฐฉินคนแรกที่สถาปนาตนเป็นกษัตริย์ (หวัง หรือ อ๋อง) ในปี 325 ก่อนคริสตกาล |
ฉินอู่หวัง | อิ๋ง ต้าง | 310-307 ก่อนคริสตกาล | โอรสของฉินฮุ่ยเหวินหวัง | |
ฉินจาวเซียงหวัง | อิ๋ง จี้ | 306-251 ก่อนคริสตกาล | โอรสของฉินฮุ่ยเหวินหวัง | |
ฉินเซี่ยวเหวินหวัง | อิ๋ง จู หรือ อิ๋ง ฉือ | 250 ก่อนคริสตกาล | โอรสของฉินจาวเซียงหวัง | ดำรงตำแหน่ง "อันกั๋วจวิน" ก่อนเสวยราชย์ |
ฉินจวงเซียงหวัง | อิ๋ง อี้เหริน หรือ อิ๋ง จื๋อฉู่ | 250-247 ก่อนคริสตกาล | โอรสของฉินเซี่ยวเหวินหวัง | อีกพระนามหนึ่ง คือ ฉินจวงหวัง; มีพระนามเดิมว่า อี้เหริน |
ฉินหวังเจิ้ง | อิ๋ง เจิ้ง | 246-221 ก่อนคริสตกาล | โอรสของฉินจวงเซียงหวัง | เสวยราชย์เป็น ฉินหวัง ระหว่างปี 246-221 ก่อนคริสตกาล ก่อนสถาปนาตนเป็นจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฉิน เป็น ฉินสื่อหวงตี้ |
บุคคลสำคัญ
[แก้]- จิ๋นซีฮ่องเต้ ; Qin Shi Huang (秦始皇)
- แม่ทัพไป๋ ฉี่ ; Bai Qi (白起)
- แม่ทัพเมิ่งอู่ ; Meng Wu (蒙武)
- แม่ทัพเมิ่ง เถียน ; Meng Tian (蒙恬)
- แม่ทัพเมิ่งอี้ ; Meng Yi (蒙毅)
- แม่ทัพหวัง เจี่ยน ; Wang Jian (王翦)
- แม่ทัพหวัง เปิน ; Wang Ben (王賁)
- แม่ทัพหลี่ ซิ่น ; Li Xin (李信)
- แม่ทัพหวนอี้ ; Huan Yi (桓齮)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Joseph Richmond Levenson (1969). China: An Interpretive History. University of California Press. pp. 66.
- ↑ Gideon Shelach-Lavi (2015). The Archaeology of Early China. Cambridge University Press. p. 314. ISBN 9780521196895.
- ↑ Zhixin Sun (2017). Age of Empires: Art of the Qin and Han Dynasties. Metropolitan Museum of Art. p. 33. ISBN 9781588396174.
- ↑ Lothar von Falkenhausen (2006). Chinese Society in the Age of Confucius (1000-250 BC). Cotsen Institute of Archaeology Press. p. 235. ISBN 9781938770456.
- ↑ Sima, Qian (2010) [c. 91 BC]. Han Zhaoqi (韩兆琦) (ed.). 《史记》 [Records of the Grand Historian] (in Chinese). Beijing: Zhonghua Book Company. ISBN 978-7-101-07272-3.
ข้อมูล
[แก้]- Sima, Qian (2010) [ป. 91 BC]. Han Zhaoqi (韩兆琦) (บ.ก.). 《史记》 [Records of the Grand Historian] (ภาษาจีน). Beijing: Zhonghua Book Company. ISBN 978-7-101-07272-3.
- Lewis, Mark Edward (2007). The Early Chinese Empires: Qin and Han. London: Belknap. ISBN 978-0-674-02477-9.
- Twitchett, Denis; Loewe, Michael, บ.ก. (2008). The Cambridge History of China. Vol. 1 The Ch'in and Han Empires, 221 BC-AD 220. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-24327-8.
- Watson, Burton. (1993). Records of the Grand Historian by Sima Qian. Translated by Burton Watson. Revised Edition. Columbia University Press. ISBN 0-231-08167-7.
- Li Si. (ป. 235 BC). Petition against driving away foreigners (《諫逐客書》).