ข้ามไปเนื้อหา

ยุคสิบแปดรัฐ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำแหน่งโดยประมาณของทั้งสิบแปดอาณาจักร

ยุคสิบแปดรัฐ (จีนตัวย่อ: 十八国; จีนตัวเต็ม: 十八國; พินอิน: Shíbā guó; อังกฤษ: Eighteen Kingdoms) หรืออีกชื่อหนึ่งคือ รัฐทั้งสิบแปดในอาณัติเซี่ยงอวี่ (项羽十八诸侯列表) คือ รัฐสิบแปดแห่งที่ฌ้อปาอ๋อง (ชื่อเดิม เซี่ยงอวี่ –項羽) ผู้นำทางทหารในจีน แต่งตั้งขุนนางต่าง ๆ ไปครอบครองเมื่อ 206 ปีก่อนคริสตศักราชหลังการล่มสลายของราชวงศ์ฉิน[1] รายละเอียดของสิบแปดรัฐและผู้ปกครองรัฐ มีดังนี้

ชื่อรัฐ (ภาษาไทย) ชื่อรัฐ (ภาษาจีนตัวย่อ) ชื่อรัฐ (ภาษาจีน) ผู้ปกครองรัฐ (เจ้านครรัฐ) อาณาเขต (เทียบกับจีนในปัจจุบัน)
ฉู่ตะวันตก 西楚 西楚 ฌ้อปาอ๋อง (จีนกลาง ฉู่ป้าหวาง) มณฑลเจียงซู, มณฑลอานฮุยทางเหนือ, มณฑลเจ้อเจียงทางเหนือ, มณฑลเหอหนานทางตะวันออก และตอนใต้
ฮั่น หลิวปัง มณฑลเสฉวน, ฉงชิ่ง, มณฑลส่านซีตอนใต้
ยง1 จางหาน (นายพลใน ราชวงศ์ฉิน) มณฑลส่านซีตอนกลาง, และกังซูทางตะวันออก
ไซ1 ซือหม่า ซิน (นายพลใน ราชวงศ์ฉิน) มณฑลส่านซีทางตะวันออกเฉียงเหนือ
ตี๋1 ตงอี้ (นายพลใน ราชวงศ์ฉิน) มณฑลส่านซีทางเหนือ
เหิงชาน 衡山 衡山 อู๋ หรุ่ย (นายพลใน ราชวงศ์ฉิน โดยมีรัฐเยว่สนับสนุน) มณฑลหูเป่ย์ทางตะวันออก, มณฑลเจียงซี
หาน หาน เฉิง (พระบรมวงศานุวงศ์ชาวฮั่น) มณฑลเหอหนานทางตะวันตกเฉียงใต้
ไต้ เจ้า เซีย (พระบรมวงศานุวงศ์ชาวเจ้า) มณฑลส่านซีทางเหนือ, มณฑลหูเป่ย์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ
เหอหนาน 河南 河南 เซิน หยาง มณฑลเหอหนานทางตะวันตกเฉียงเหนือ
ฉางชาน 常山 常山 Zhang Er มณฑลหูเป่ย์ตอนกลาง
ยิน Sima Ang (นายพลใน รัฐจ้าว) มณฑลเหอหนานทางเหนือ, มณฑลหูเป่ย์ทางใต้
เว่ยตะวันตก 西魏 西魏 Wei Bao (พระบรมวงศานุวงศ์ชาวรัฐเว่ย) มณฑลส่านซีทางใต้
จิ่วเจียง 九江 九江 Ying Bu (พระบรมวงศานุวงศ์ชาวฉู่) มณฑลอานฮุยตอนกลาง และตอนใต้
หลินเจียง 临江 臨江 Gong Ao (นายพลฉู่) มณฑลหูเป่ย์ทางตะวันตก, มณฑลเหอหนานทางเหนือ
เหยิน Zang Tu (นายพลชาวเหยิน) มณฑลหูเป่ย์, ปักกิ่ง, เทียนจินตอนเหนือ
เหลียวตง 辽东 遼東 Han Guang (พระบรมวงศานุวงศ์ชาวเหยิน) มณฑลเหลียวหนิงตอนใต้
ฉี2 Tian Du (นายพลฉี) มณฑลชานตงตอนกลางและตะวันตก
เจียวตง2 胶东 膠東 เทียนฟู่ (พระบรมวงศานุวงศ์ชาวฉี) มณฑลชานตงทางตะวันออก
จี้เป่ย2 济北 濟北 Tian An (ผู้นำกบฏชาวฉี) มณฑลชานตงตอนเหนือ

ยุคสิบแปดรัฐมีอายุสั้นมาก การสิ้นสุดอาจนับจากการก่อกบฏในรัฐฉี เมื่อเทียนหรงเข้ายึดครองเจียวตงและจี้เป่ยเป็นการรวมรัฐฉีเดิม ในขณะเดียวกันฌ้อปาอ๋องได้สังหารพระเจ้าฉู่อี้ และเฉิงเจ้านครรัฐหาน จากนั้นหลิวปังได้พิชิตดินแดนสามของรัฐฉิน และเกิดสงครามฉู่-ฮั่น ซึ่งในเวลาไม่นานฮั่นนำโดยหลิวปังชนะฉู่ และปราบรัฐอื่น ๆ ทั้งหมดได้ หลิวปังจึงตั้งตนเป็นจักรพรรดิองค์แรกแห่งราชวงศ์ฮั่น ในปี 202 ก่อนคริสตกาล

อ้างอิง

[แก้]
  1. 林达礼,中华五千年大事记, 台南大孚书局, 1982, p. 56