ข้ามไปเนื้อหา

รัฐอู๋

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐอู๋

吳國
ศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสตกาล–473 ปีก่อนคริสตกาล
สถานะอาณาจักร
เมืองหลวงกูซู
การปกครองราชาธิปไตย
King 
• ศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสตกาล
อู๋ไท่ปั๋ว
• 495 - 473 ก่อนคริสตกาล
อู๋อ๋องฟูไช
อัครมหาเสนาบดี (ประเทศจีน) 
• ปลายศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล - 484 ปีก่อนคริสตกาล
อู๋ จื่อสวี
ยุคประวัติศาสตร์ราชวงศ์โจว
• สถาปนาโดยไท่โป๋
ศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสตกาล
• พ่ายแพ้แก่รัฐเย่
473 ปีก่อนคริสตกาล
สกุลเงินเหรียญแบบจีนโบราณ
ถัดไป
Yue (state)

รัฐอู๋ (จีนตัวย่อ: ; จีนตัวเต็ม: ; พินอิน: ) เป็นรัฐหนึ่งในช่วงราชวงศ์โจวตะวันตก (Western Zhou Dynasty) และยุควสันตสารท (ยุคชุนชิว) และเป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า โกวอู๋ (Gouwu; 勾吳) หรือ กงอู๋ (Gongwu; 工吳) ตามลักษณะการออกเสียงในสำเนียงภาษาท้องถิ่น

รัฐอู๋ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำแยงซี ทางตะวันออกของรัฐฉู่ (อังกฤษ: State of Chu; จีน: 楚; พินอิน: Chǔ; หรือ จีนตัวเต็ม:  楚國; จีนตัวย่อ: 楚国; พินอิน: Chǔguó) มีเมืองหลวงแห่งแรกชื่อ เหมยหลี่ (อังกฤิษ: Meili; จีน:梅里; พินอิน: Méilǐ) (เมืองอู๋ซีในปัจจุบัน) และภายหลังย้ายไปที่เมืองกูซู (อังกฤษ: Gusu; จีนตัวย่อ: 姑苏; จีนตัวเต็ม: 姑蘇; พินอิน: Gūsū) (ในบริเวณเมืองใหม่ซูโจว) และเมืองเหอหลู (อังกฤิษ: Helü; จีนตัวเต็ม: 闔閭; จีนตัวย่อ: 阖闾) (บริเวณเมืองเก่าซูโจวในปัจจุบัน)

ประวัติศาสตร์

[แก้]

right|400px ตามที่ระบุไว้ในฉื่อจี้หรือสารานุกรมด้านประวัติศาสจีน (Records of the Grand Historian) (Taishi gong shu 太史公書 หรือ the Shiji 史記 – "Historical Records") ผู้ปกครองรัฐอู๋มีนามสกุลว่า จี (Ji; ) เช่นเดียวกับราชวงศ์โจว เนื่องจากสืบเชื้อสายมาจาก อู๋ไท่ปั๋ว หรือเดิมคือองชายไท่ปั๋ว (อังกฤิษ: Taibo; จีน: 泰伯; พินอิน: Tàibó) ผู้เป็นพระปิตุลาของพระเจ้าโจวเหวิน (King Wen) พระองทรงทราบดีว่าพระอนุชาองสุดท้อง คือ องชายจี้ลี่ (อังกฤษ: Jili; จีนตัวย่อ: 季历; จีนตัวเต็ม: 季歷; พินอิน: Jìlì) เป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดกว่าและมีความเหมาะสมในการขึ้นครองราชมากกว่าพระอง จึงทรงสละสิทในการขึ้นครองราชต่อจากพระบิดาและเสด็จออกมาก่อตั้งรัฐอู๋ ร่วมกับพระอนุชาอีกพระอง คือ เจ้าชายโจ้งโยง (อังกฤษ: Zhongyong; จีน: 仲雍; พินอิน: Zhòngyōng) และตั้งเมืองหลวงที่เมืองเหมยหลี่ ซึ่งคาดว่าปัจจุบันคือเมืองอู๋ซี

รัฐจิ้น (อังกฤษ: State of Jin; จีน: 晉; พินอิน: Jìn) มีส่วนช่วยรัฐอู๋ต่อต้านอำนาจของรัฐฉู่ โดยในปี 584 ก่อนคริสศักราช แค้วนยุเว่เริ่มแข็งข้อต่อรัฐฉู๋ด้วยการสนับสนุนและคำแนะนำจากอูเจิน (Wuchen) ผู้เคยรับราชการเป็นเสนาบดีของรัฐฉู่ จากนั้นมารัฐอู๋ได้เป็นภัยคุกคามต่อรัฐฉู่อย่างต่อเนื่อง ในปี 506 ก่อนคริสศักราช แค้วนอู๋เข้าโจมตีและสามารถยึดเมืองหลวงของแค้วนฉู่ได้สำเร็จ กลายเป็นรัฐที่มีอำนาจมากที่สุดในยุคนั้น โดยสามารถเอาชนะรัฐฉี (อังกฤษ: State of Qi; จีน: 齐; พินอิน: Qí) ได้ใน 484 ก่อนคริสศักราช

ในภายหลัง รัฐอู๋ถูกคุกคามโดยรัฐใหม่ทางตอนใต้ของตน คือ รัฐยุเว่  (อังกฤิษ:Yue; จีน: 越; พินอิน: Yuè) รัฐฉู่จึงเข้าช่วยรัฐเย่ในการต่อสู้กับรัฐอู๋และแม้ว่ารัฐอู๋จะสามารถเอาชนะรัฐเย่ได้ในปี 494 ก่อนคริสศักราช แต่ก็มิได้เป็นการปราบปรามอย่างสมบูน ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากรัฐเย่มีการติดสินบนแก่เสนาบดีระดับสูงที่สำคัญของรัฐอู๋ ในเวลาต่อมารัฐเย่ว์ได้เข้าบุกและสามารถเอาชนะ โดยยึดครองเมืองหลวงของรัฐอู๋ไว้ได้ในปี 482 ก่อนคริสศักราช หลายทศวรรษหลังจากสงครามครั้งนั้น รัฐอู๋ก็มิสามารถกอบกู้รัฐของตนคืนกลับมาใหม่ได้ จนถูกรัฐยุเว่ยึดอำนาจรวมไว้ได้ในปี 473 ก่อนคริสต์ศักราช

ในช่วงศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสศักราช ทั้งรัฐอู๋ ยุเว่ และฉู่ ต่างมีผู้นำที่ประกาศตนเป็นกษัตหรือที่เรียกว่าอ๋องหรือ หวัง หรือ หวาง (อังกฤิษ: Wang; จีน: 王 หรือ 國王; พินอิน: wáng) เป็นตำแหน่งสูงสุดของจีนตั้งแต่สมัยราชวงเซี่ยจนถึงราชวงโจว แสดงถึงความอ่อนแอของราชวงโจวในยุควสันตสารท หรือยุคชุนชิว

รัฐอู๋และรัฐยุเว่มีความเชี่ยวชาญด้านการโลหะ โดยเฉพาะการผลิตดาบเป็นอย่างดี โดยมีเครื่องหมายกากบาท หรือ เครื่องหมายรูปทรงเรขาคณิต ฝังทอง (gold) หรือเงิน (silver) เป็นสัญลักโดยดาบที่ผลิตในรัฐอู๋และรัฐเย่มักใช้โลหะเป็นดีบุก (tin) หรือทองแดง (copper) ซึ่งต่างจากดาบที่ผลิตโดยรัฐอื่น ๆ จึงมีการส่งดาบจากรัฐอู๋เพื่อเป็นของกำนันแก่รัฐอื่นทางเหนืออยู่เสมอ เช่น รัฐฉี รัฐไช่ (อังกฤิษ: State of Cai; จีนตัวย่อ: 蔡国; จีนตัวเต็ม: 蔡國; พินอิน: Càiguó) เป็นต้น ตัวอย่างเช่น หัวหอก (spearhead) ของอู๋อ๋องฟูไช (อังกฤิษ: King Fuchai of Wu; จีนตัวย่อ: 吴王夫差; จีนตัวเต็ม: 吳王夫差; พินอิน: Wú Wáng Fūchāi) และดาบของอู๋อ๋องเหอหลู (อังกฤษ: King Helü of Wu หรือ Prince Guang; จีนตัวย่อ: 吴王阖闾; จีนตัวเต็ม: 吴王闔閭; พินอิน: Wú wáng hélǘ) อดีตกษัตผู้ครองราชในช่วง 514 –496 ปี ก่อนคริสศักราช

มรดก

[แก้]

ชื่อ "อู๋" ยังคงใช้เรียกบริเวณพื้นที่รอบเมืองซูโจวและเมืองเซี่ยงไฮ้ รวมถึงเรียกภาษาที่ใช้ในท้องถิ่นนี้ว่าภาษาอู๋ เคยถูกครอบครองโดยรัฐอื่นและปกครองโดยกษัตจากรัฐในบริเวณใกล้เคียง เช่น ง่อก๊กในยุคสามก๊ก รวมถึงกษัตจากรัฐอู๋ และรัฐอู๋เย่ (อังกฤษ: Wuyue; จีนตัวย่อ: 吴越; จีนตัวเต็ม: 吳越; พินอิน: Wúyuè) ในยุคห้าราชวงสิบอาณาจักร

ความเกี่ยวเนื่องกับประเทศญี่ปุ่นในยุคโบราณ

[แก้]

เมื่อคณะทูตได้เยือนประเทศญี่ปุ่นในช่วงปลายสมัยราชวงศ์วุยก๊ก และราชวงศ์จิ้น (Jin) มีบันทึกว่าชาววา ของประเทศญี่ปุ่น (Wō people) อ้างว่าพวกตนเป็นลูกหลานของอู๋ไท่ปั๋ว ผู้ที่เชื่อกันว่าเป็นผู้ก่อตั้งรัฐอู๋[1]

อู๋ในทางดาราศาสตร์

[แก้]

อู๋และเย่ (Yue) มีตัวแทนคือ Zeta Aquilaeในกลุ่มดาวเรียงเด่น (asterism) "กำแพงด้านซ้าย (Left Wall; 天市左垣)" ของเทียนซื่อหยวน (อังกฤษ: Heavenly Market enclosure; จีน: 天市垣; พินอิน: Tiān shì yuán) (ดูเพิ่ม Chinese constellations).[2]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]
  • Zhengzhang Shangfang [郑张尚芳]. 1990. "Some Kam-Tai Words in Place Names of the Ancient Wu and Yue States" [古吴越地名中的侗台语成份]. In Minzu Yuwen 6. (จีน)

แม่แบบ:Zhou Dynasty topics