อินเจนูอิตี
อินเจนูอิตี | |
---|---|
ส่วนหนึ่งของ มาร์ส 2020 | |
เฮลิคอปเตอร์ อินเจนูอิตี ในมุมมองของยานเพอร์เซเวียแรนส์ หลังจากถูกปล่อยลงสู่พื้นผิวดาวอังคาร ณ ลานพี่น้องไรต์ | |
ชื่ออื่น |
|
ประเภท | เฮลิคอปเตอร์ไร้คนขับ |
ผู้ผลิต | ห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่น (นาซา) |
หมายเลขจดทะเบียน | IGY |
รายละเอียดทางวิศวกรรม | |
ขนาด | |
เส้นผ่าศูนย์กลาง | ใบพัด: 1.2 m (4 ft)[1][2][3] |
ความสูง | 0.49 m (1 ft 7 in)[1] |
มวลหลังการลงจอด | |
กำลังไฟฟ้า | 350 watts[1][4] |
ประวัติการบิน | |
วันที่ส่งขึ้น | 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2563, 11:50:00 UTC |
ฐานส่ง | แหลมคะแนเวอรัล, SLC-41 |
ลงจอด | 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564, 20:55 UTC |
พิกัดลงจอด | 18°26′41″N 77°27′03″E / 18.4447°N 77.4508°E หลุมอุกกาบาตเจซีโร จุดลงจอดออกเตเวีย อี บัตเลอร์ |
สถานะ | |
อุปกรณ์ | |
| |
สัญลักษณ์เฮลิคอปเตอร์ดาวอังคารของเจพีแอล |
อินเจนูอิตี (อังกฤษ: Ingenuity) เป็นเฮลิคอปเตอร์หุ่นยนต์ขนาดเล็ก ซึ่งอยู่บนดาวอังคาร ตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 มันประสบความสำเร็จในการบินขับเคลื่อนควบคุมโดยใช้แรงยกจากชั้นบรรยากาศบนดาวเคราะห์ใด ๆ นอกจากโลกเป็นครั้งแรก ในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2564 โดยบินขึ้นเป็นแนวดิ่ง รักษาความสูง และลงจอด[9][10] เฮลิคอปเตอร์ขนาดเล็กลอยขึ้นประมาณ 3 m (9.8 ft) และอยู่เหนือพื้น 39.1 วินาที ก่อนกลับสู่พื้นผิวดาวอังคาร[11]
อินเจนูอิตีเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจมาร์ส 2020 ของนาซา, โดรนอากาศยานปีกหมุนร่วมแกนขนาดเล็กนี้ ทำหน้าที่เป็นตัวสาธิตเทคโนโลยีสำหรับความเป็นไปได้ในการใช้ยานสำรวจบินได้บนดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ พร้อมทั้งศักยภาพในการสำรวจตำแหน่งแห่งความสนใจ และสนับสนุนการวางแผนเส้นทางขับเคลื่อนของยานสำรวจดาวอังคารในอนาคต[12][13][1] อินเจนูอิตี ปัจจุบันอยู่บนพื้นผิวดาวอังคาร โดยมันถูกเก็บไว้ด้านใต้ของยานสำรวจเพอร์เซเวียแรนส์ระหว่างการเดินทางไปดาวอังคาร มันถูกปล่อยลงบนพื้นผิวในวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2564[5][6][7] ประมาณ 60 วันหลังจากการลงจอดของเพอร์เซเวียแรนส์ ณ จุดลงจอดออกเตเวีย อี บัตเลอร์ ในหลุมอุกกาบาตเจซีโร หลังจากที่มันปล่อยเฮลิคอปเตอร์ลงบนพื้นผิวแล้ว ยานสำรวจดาวอังคารนั้นขับเคลื่อนออกมาประมาณ 100 m (330 ft) จากเฮลิคอปเตอร์เพื่อให้มี "เขตกันชน" ซึ่งเป็นเขตที่อินเจนูอิตี้ได้ทำการบินครั้งแรก [14] [15] การบินครั้งแรกนั้นเกิดนั้นในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2564 ณ เวลา 14:15น. UTC+7 (7:15น. UTC) พร้อมกับการถ่ายทอดสดผ่านสัญญาณต่อเนื่องในอีก 3 ชั่วโมงต่อมา (17:15น. UTC+7, 10:15น. UTC) ยืนยันการบินสำเร็จ[16][17][18][19]
อินเจนูอิตี นั้นถูกคาดว่าจะบินได้ถึงห้าครั้งระหว่างช่วงทดสอบ 30 วัน ซึ่งถูกวางแผนไว้ให้ปฏิบัติในช่วงต้นของภารกิจของยานสำรวจดาวอังคาร โดยส่วนใหญ่เป็นการสาธิตเทคโนโลยี[1][20] โดยการบินแต่ละครั้งนั้นถูกวางแผนให้บินที่ความสูงตั้งแต่ 3–5 m (10–16 ft) เหนือพื้นดิน.[1] เป็นเวลาถึง 90 วินาที ต่อครั้ง อินเจนูอิตี สามารถเดินทางในแนวราบได้ 50 m (160 ft) และกลับมายังจุดเริ่มต้น[1] โดยระบบควบคุมอัตโนมัติ ระหว่างช่วงการบินสั้น ๆ ของมันจะถูกวางแผนด้วยการการควบคุมหุ่นยนต์ทางไกล เขียนขั้นตอนการทำงานโดยผู้ดำเนินการ ณ ห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่น (เจพีแอล) มันจะสื่อสารโดยตรงกับ ยานสำรวจเพอร์เซเวียแรนส์หลังจากการลงจอดแต่ละครั้ง ใบพัดของมันปลดออกได้สำเร็จในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2564 ไม่กี่วันหลังจากถูกปล่อยลงพื้นผิวจากเพอร์เซเวียแรนส์[21][22]
อินเจนูอิตี ขนชิ้นส่วนผ้าจากปีกของไรต์ไฟลเออร์ เครื่องบินของพี่น้องไรต์ อากาศยานขับเคลื่อนควบคุมลำแรกของมนุษยชาติบนโลก [23] และจุดบินขึ้นและลงจอดแรกของอินเจนูอิตีถูกตั้งชื่อว่า ลานพี่น้องไรต์ [24] ก่อนการบินของอินเจนูอิตี การบินครั้งแรกในทุกประเภทบนดาวเคราะห์ดวงอื่นนอกจากโลกคือ การบินบอลลูนไร้แรงขับบนดาวศุกร์ โดยยานอวกาศ เวกา 1 ของสหภาพโซเวียตในปี พ.ศ. 2528[25]
วันที่ 18 มกราคม 2567 เฮลิคอปเตอร์อินเจนูอิตี ได้ขึ้นบินเที่ยวบินที่ 72 และในขณะที่กำลังลงจอดได้ขาดการติดต่อจากยาน Perseverance ซึ่งเป็นยานแม่ NASA จึงได้ให้ยาน Perseverance วิ่งไปยังจุดที่ Ingenuity ลงจอด เพื่อให้ยาน Perseverance ถ่ายภาพเพื่อให้นักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำให้เกิดข้อผิดพลาดครั้งนี้ และในระหว่างที่ Perseverance กำลังแล่นไปหา Ingenuity นั้น Ingenuity ก็สามารถติดต่อกับ Perseverance ได้อีกครั้ง และได้ส่งภาพถ่ายเงาของใบพัดข้างหนึ่งกลับมายังโลก ซึ่งจากภาพถ่ายนั้นแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าใบพัดของ Ingenuity ได้รับความเสียหาย ซึ่งคาดว่าใบพัดของ Ingenuity นี้ไปโดนกับหินในระหว่างลงจอด อันเป็นสาเหตุที่ทำให้สัญญาญการติดต่อขาดหายไป ในวันที่ 26 มกราคม 2567 NASA จึงได้ประกาศยุติภารกิจการบินของ Ingenuity อย่างถาวร และให้ Ingenuity ทำหน้าที่ตรวจสอบสภาพอากาศอยู่กับที่แทน[26]
ชื่อ
[แก้]พาหนะถูกตั้งชื่อว่า อินเจนูอิตี (อังกฤษ: Ingenuity , "ความเฉลียวฉลาด") โดย วาเนซซา รุปปานี นักเรียนหญิงชั้นปีที่ 11 (เทียบเท่ามัธยมศึกษาปีที่ 5) ที่โรงเรียนมัธยมศึกษาเขตทัสคาลูซา ในเมืองนอร์ทพอร์ต, รัฐแอละแบมา ผู้ส่งเรียงความเข้าประกวดในการแข่งขัน "Name the Rover" ของนาซา [27][28] เป็นที่รู้จักในขั้นวางแผนในชื่อ เฮลิคอปเตอร์สำรวจดาวอังคาร (อังกฤษ: Mars Helicopter Scout)[29] หรือแค่ในชื่อ เฮลิคอปเตอร์ดาวอังคาร(อังกฤษ: Mars Helicopter)[3] ชื่อเล่น จินนี่ (อังกฤษ: Ginny) ถูกนำมาใช้ต่อมา คู่ขนานกับยานสำรวจดาวอังคาร เพอร์เซเวียแรนส์ ซึ่งถูกกล่าวถึงโดยเสน่หาว่า เพอร์ซี่ (อังกฤษ: Percy)[30]
การออกแบบ
[แก้]ความเร็วใบพัด | 2400 rpm[1][3] |
ความเร็วปลายใบพัด | <0.7 มัค[29] |
เวลาทำการ | บิน 1 ถึง 5 ครั้งภายใน 30 โซล[1][4] |
เวลาระหว่างบิน | สูงสุด 120 วินาที ต่อการบิน[31]: 1:01:20–1:01:45 |
ระยะทางสูงสุด, การบิน | 600 m (2,000 ft)[31]: 1:01:20–1:01:45 |
ระยะทางสูงสุด, วิทยุ | 1,000 m (3,300 ft)[32] |
ความสูงวางแผนสูงสุด | 10 m (33 ft) |
ความเร็วสูงสุด |
|
ประจุแบตเตอรี่ | 35–40 Wh (130–140 kJ)[33] |
เนื่องจากชั้นบรรยากาศของดาวอังคารมีความหน้าแน่นเพียง 1100 ของชั้นบรรยากาศโลกที่ระดับน้ำทะเล[34] มันจึงยากขึ้นมากสำหรับอากาศยานที่จะสร้างแรงยก ความยากที่ถูกชดเชยเพียงบางส่วนโดยแรงโน้มถ่วงที่ต่ำกว่าของดาวอังคาร (ประมาณ 13 ของแรงโน้มถ่วงโลก)[12] การบินใกล้กับพื้นผิวดาวอังคารถูกอธิบายว่า เทียบเท่ากับการบินที่ความสูงกว่า 27,000 m (89,000 ft) เหนือพื้นโลก ความสูงที่ไม่เคยไปถึงโดยเฮลิคอปเตอร์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ชั้นบรรยากาศดาวอังคารนั้นส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้อินเจนูอิตี ต้องหมุนใบพัดที่ 2,400 รอบต่อนาที เพื่อที่จะลอยอยู่ ซึ่งเป็นประมาณห้าเท่าของรอบใบพัดที่จำเป็นบนโลก[35]
อินเจนูอิตี นั้นถูกออกแบบมาเป็นตัวสาธิตเทคโนโลยีโดยห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่นเพื่อประเมินว่าเทคโนโลยีนี้สามารถบินได้อย่างปลอดภัย และมอบการสร้างแผนที่และนำทางที่จะช่วยให้ข้อมูลเพื่มเติมสำหรับผู้ควบคุมภารกิจในอนาคต สามารถวางแผนเดินทาง และหลีกเลี่ยงอันตราย รวมถึงระบุจุดสนใจสำหรับยานสำรวจดาวอังคาร[36][37][38] อินเจนูอิตี นั้นถูกออกแบบเพื่อมอบภาพมุมสูงที่มีความคมชัดประมาณสิบเท่าของภาพจากวงโคจร และจะมอบภาพของลักษณะบางอย่างที่อาจบดบังจากกล้องของยานสำรวจดาวอังคาร เพอร์เซเวียแรนส์ [39]มีการคาดหมายว่าการสำรวจแบบนี้อาจจะช่วยให้ยานสำรวจดาวอังคารในอนาคตขับไปได้ไกลกว่าเดิมถึงสามเท่าต่อโซล[40]
อินเจนูอิตี ใช้ใบพัดหมุนย้อนร่วมแกน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.2 m (4 ft) น้ำหนักบรรทุกของมันเป็นกล้องมองลงความละเอียดสูงสำหรับการนำทาง ลงจอด และสำรวจพื้นผิว และระบบสื่อสารสำหรับส่งข้อมูลสู่ยานสำรวจดาวอังคาร เพอร์เซเวียแรนส์ [41] แม้ว่ามันจะเป็นอากาศยาน มันถูกสร้างขึ้นด้วยรายละเอียดคุณลักษณะจำเพาะของยานอวกาศเพื่อให้มันสามารถทนอัตราเร่งและการสั่นขณะส่งจรวดได้[42] มันยังมีระบบที่สามารถต้านทานรังสีและสามารถทำงานในสภาพเย็นจัดของดาวอังคาร สนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่ไม่สม่ำเสมอของดาวอังคารทำให้การใช้เข็มทิศในการนำทางเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นมันจึงใช้กล้องติดตามดวงอาทิตย์ซึ่งอยู่รวมกับระบบนำทางด้วยแรงเฉี่อยของห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่น ตัวป้อนข้อมูลเข้าเพิ่มเติมได้แก่ ไจโรสโคป, การวัดระยะทางจากภาพ, เครื่องวัดความเอียง, เครื่องวัดความสูง และเครื่องตัวจับสิ่งอันตราย[43] มันถูกออกแบบให้ใช้เซลล์แสงอาทิตย์เพื่อเติมไฟฟ้าเข้าสู่แบตเตอรี่ของมัน ซึ่งเป็นแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนของโซนี่หกก้อน ซึ่งมีประจุพลังงาน 35–40 Wh (130–140 kJ)[33] [32]
ระยะเวลาในการบินนั้นไม่ได้ถูกจำกัดโดยพลังงาน แต่ถูกจำกัดโดยความร้อนส่วนเกิน ที่ทำให้มอเตอร์ร้อนขึ้นขณะบินที่อัตรา 1 เคลวินต่อวินาที[31]
อินเจนูอิตี ใช้หน่วยประมวลผลสแนปดรากอน 801 ของควอลคอมม์ กับระบบปฏิบัติการลินุกซ์[44] ท่ามกลางความสามาถอื่น ๆ หน่อยประมวลผลนี้ควบคุมขั้นตอนวิธีนำทางด้วยภาพผ่านการประมาณการอัตราเร็ว ซึ่งหาจากลักษณเฉพาะซึ่งติดตามโดย กล้องมองลงนำทางขาวดำซึ่งมีเซนเซอร์ชัตเตอร์ครอบคลุม โอวี7251 ของออมนิวิสชัน หรือผ่านกล้องมองขอบฟ้าถ่ายพื้นผิว[32][45] หน่วยประมวลผลควอลคอมม์นั้นเชื่อมต่อกับไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ควบคุมการบินสองหน่วย เพื่อปฏิบัติการควบคุมการบินที่จำเป็น[32] มันยังขนตัววัดแรงเฉี่อยชนิดสำหรับโทรศัพท์มือถือ บีเอ็มไอ-160 ของบอร์ช, เซ็นเซอร์วัดความเอียง เอสซีเอ100ที-ดี02 ของมูราตะ และเครื่องวัดความสูงเลเซอร์ ไลดาร์ไลท์ วี3 ของการ์มิน[44]
การสื่อสารกับยานสำรวจดาวอังคารนั้นผ่านการเชื่อมต่อทางวิทยุด้วยโพรโทคอลสื่อสารพลังงานต่ำของซิกบี บนคลื่น 914 MHz ดำเนินการผ่านชิปเซตไซเฟลคซ์ 02 ซึ่งติดอยู่ทั้งในยานสำรวจดาวอังคารและเฮลิคอปเตอร์ดาวอังคาร[46] ระบบสื่อสารนั้นถูกออกแบบมากดเพื่อส่งข้อมูลที่ 250 kbit/s ในระยะทางถึง 1,000 m (3,300 ft).[46] เฮลิคอปเตอร์สำรวจดาวอังคารใช้เสาอากาศแบบเสาเดี่ยวน้ำหนักเบาบนเซลล์แสงอาทิตย์ของเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งใช้เป็นระนาบพื้นขนาดใหญ่ที่ถูกออกแบบให้สามารถสื่อสารได้เท่ากันในทุกทิศทาง[46] ยานสำรวจดาวอังคารขนเสาอากาศแบบเสาเดียวสำหรับสื่อสารกับเฮลิคอปเตอร์เช่นกัน แม้จะเป็นเสาอากาศที่มีขนาดใหญ่กว่ามาก[46]
รายละเอียดภารกิจ
[แก้]ภายหลังจากการปล่อยตัว ยานสำรวจดาวอังคารได้เคลื่อนออกมาจากโดรนประมาณ 100 m (330 ft) ไปให้มีเขตการบินปลอดภัย[14][15] เฮลิคอปเตอร์ อินเจนูอิตี นั้นถูกคาดว่าจะสามารถบินขึ้นได้ห้าครั้ง ระหว่างช่วงทดสอบสามสิบวัน ในระยะเริ่มต้นในภารกิจของยานสำรวจดาวอังคาร [1][20]
ในการบินแต่ละครั้ง มีการวางแผนการบินที่ความสูงตั้งแต่ 3–5 m (10–16 ft) เหนือพื้นดิน ถึงกระนั้น ในไม่ช้า อินเจนูอิตี สามารถบินไปสูงกว่าความสูงที่วางแผนไว้ได้[1] การบินครั้งแรกเป็นการลอยตัวที่ความสูง 3 m (9.8 ft) นานประมาณ 40 วินาที และรวมถึงมีการถ่ายภาพยานสำรวจดาวอังคารด้วย ภายหลังจากความสำเร็จของการบินครั้งแรก การบินครั้งต่อๆ มาจึงมีความทะเยอทะยานมากขึ้น เพราะเวลาที่ถูกจัดสรรไว้สำหรับบการใช้งานเฮลิคอปเตอร์ลดลงไปเรื่อยๆ เจพีแอลแจ้งว่า ภารกิจอาจจะจบก่อนครบช่วงสามสิบวัน ในกรณีที่เป็นไปได้สูงว่าเฮลิคอปเตอร์จะตก[47]: 0:49:50–0:51:40 ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่ไม่เกิดขึ้น ในการบิน 90 วินาที ต่อครั้ง อินเจนูอิตี สามารถเดินทางไปได้ไกลถึง 50 m (160 ft) ในแนวระนาบ และกลับมายังจุดเริ่มต้น โดยนั้นก็เป็นเป้าหมายที่ถูกก้าวข้ามอย่างรวดเร็วในการบินครั้งที่สี่[1][48] อินเจนูอิตี ใช้ระบบควบคุมอัตโนมัติระหว่างการบินของมัน ซึ่งถูกวางแผนและออกคำสั่งจากระยะไกลโดยผู้ควบคุมที่ ห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่น (เจพีแอล) มันสื่อสารกับยานสำรวจดาวอังคาร เพอร์เซเวียแรนส์ โดยตรง ทั้งก่อนและหลังการลงจอดแต่ละครั้ง[47]: 1:20:38–1:22:20
ภายหลังการบินสำเร็จสามครั้งแรก วัตถุประสงค์นั้นถูกเปลี่ยนจากการสาธิตเทคโนโลยี เป็นการสาธิตการปฏิบัติการ เป้าหมายนั้นเปลี่ยนไปสู่การสนับสนุนภารกิจของยานสำรวจดาวอังคาร โดยการทำแผนที่และดูลาดเลาภูมิประเทศ[49] ระหว่างที่ อินเจนูอิตี จะสนับสนุน เพอร์เซเวียแรนส์ มากขึ้น ตัวยานสำรวจดาวอังคารจะให้ความสนใจกับเฮลิคอปเตอร์ลดลง และจะเลิกถ่ายภาพการบินของมัน ผู้จัดการเจพีแอลแจ้งว่า ขั้นตอนการถ่ายภาพใช้เวลา "มหาศาล" ดึงภารกิจหลังของโครงการในการหาร่องรอยของสิ่งมีชีวิตโบราณให้ช้าลง[50] ในวันที่ 30 เมษายน 2021 การบินครั้งที่สี่สามารถถ่ายภาพสีได้เป็นจำนวนมาก และได้สำรวจพื้นผิวด้วยกล้องสำรวจขาว-ดำ[48] ในวันที่ 7 พฤษภาคม อินเจนูอิตี ได้บินไปยังจุดลงจอดใหม่ได้สำเร็จ
ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2021 ภายหลังจากช่วงการสาธิตการปฏิบัติการนั้นสำเร็จ ภารกิจนั้นถูกต่อไปอย่างไม่มีกำหนด.[51]
ประวัติปฏิบัติการ
[แก้]เพอร์เซเวียแรนส์ ปล่อยโล่ป้องกันเศษชิ้นส่วนของ อินเจนูอิตี ในวันที่ 21 มีนาคม 2021 และตัวเฮลิคอปเตอร์ถูกปล่อยตัวลงจากด้านใต้ของยานสำรวจดาวอังคารสู่พื้นผิวดาวอังคารในวันที่ 3 เมษายน 2021.[8] ในวันนั้น กล้องทั้งสองตัวของเฮลิคอปเตอร์ถูกทดสอบในการถ่ายภาพพื้นหลุมอุกกาบาตเจซีโรภายใต้เงาของยานสำรวจดาวอังคาร เป็นทั้งภาพสี และขาว-ดำ เป็นครั้งแรก[53][54]
แผ่นใบพัดของ อินเจนูอิตีนั้นถูกปลดออกได้สำเร็จในวันที่ 8 เมษายน 2021 (โซลที่ 48 ของภารกิจ) และตัวเฮลิคอปเตอร์ได้ทำการทดสอบการหมุนของโรเตอร์ที่ความเร็วต่ำ 50 รอบต่อนาที[55][56][57][58]
มีความพยายามทดสอบการหมุนโรเตอร์ที่ความเร็วสูงในวันที่ 9 เมษายน แต่ล้มเหลวเนื่องจากการหมดอายุของตัวตั้งเวลาเฝ้าระวัง — มาตรการทางซอฟต์แวร์สำหรับป้องกันเฮลิคอปเตอร์จากการปฏิบัติการผิดปกติในสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด[59] ในวันที่ 12 เมษายน เจพีแอลแจ้งว่า สามารถระบุวิธีแก้ไขซอฟต์แวร์เพื่อแก้ปัญหาได้แล้ว[60] แต่เพื่อประหยัดเวลา เจพีแอลตัดสินใจที่จะใช้มาตรการแก้ปัญหาทางอ้อม ซึ่งผู้จัดการแจ้งว่า มีโอกาส 85% ที่จะสำเร็จ และเป็นขั้นตอนที่จะ "ส่งผลกระทบน้อยที่สุด" แก่เฮลิคอปเตอร์[61]
ในวันที่ 16 เมษายน 2021 อินเจนูอิตี ผ่านการทดสอบการหมุนโรเตอร์ที่ความเร็วสูงสุด 2400 รอบต่อนาที ในขณะที่ยังคงอยู่บนพื้นผิว[62][17] สามวันต่อมา ในวันที่ 19 เมษายน เจพีแอลบินเฮลิคอปเตอร์นี้เป็นครั้งแรก ในความพยายามในการบินครั้งที่สี่ปัญหาจากตัวตั้งเวลาเฝ้าระวังเกิดขึ้นอีกครั้ง คณะผู้ควบคุมจึงปรับกำหนดการบินใหม่ ซึ่งประสบความสำเร็จในวันที่ 30 เมษายน ในวันที่ 25 มิถุนายน เจพีแอลแจ้งว่า ได้มีการอัปเดตซอฟต์แวร์ในสัปดาห์ก่อนหน้าเพื่อแก้ไขปัญหาจากตัวตั้งเวลาเฝ้าระวังอย่างถาวร และการทดสอบการหมุนโรเตอร์ในการบินครั้งที่แปดได้ยืนยันว่าการแก้ไขใช้งานได้ [63]
คณะผู้ควบคุม อินเจนูอิตี วางแผนที่จะบินเฮลิคอปเตอร์ทุกสองถึงสามสัปดาห์ระหว่างภารกิจของมันที่ถูกต่อไปอย่างไม่มีกำหนด[51] ความสามารถในการบินของเฮลิคอปเตอร์ที่ยาวกว่าที่คาดนั้นทำให้มันเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนฤดูบนดาวอังคาร ซึ่งความหนาแน่นของชั้นบรรยากาศ ณ ตำแหน่งของมันเบาบางลงไปอีก คณะควบคุมการบินเตรียมพร้อมโดยการสั่งให้ อินเจนูอิตี ทำการทดสอบภาคพื้นดิน หมุนโรเตอร์ให้เร็วกว่าเดิม เพื่อให้ได้แรงยกที่จำเป็น เจพีแอลแจ้งว่าความเร็วโรเตอร์ที่วางแผนไว้สูงขึ้นที่ 2700 รอบต่อนาที จะทำให้เกิดความเสี่ยงใหม่ เช่น การสั่น การใช้พลังงาน และแรงต้านางอากาศพลศาสตร์หากปลายใบพัดเข้าถึงความเร็วเสียง ความเร็วในการทดสอบอยู่ที่ 2800 รอบต่อนาที ทำให้มีระยะสำหรับการเพิ่มรอบหากความเร็วใบพัดที่วางแผนไว้ที่ 2700 รอบต่อนาทีนั้นไม่เพียงพอ อินเจนูอิตี จะพบกับอีกหนึ่งความท้าทายเพื่อจะยังคงความสามารถในการทำงานไว้ระหว่างฤดูหนาวบนดาวอังคารและการเรียงตัวระหว่างดาวอังคารกับดวงอาทิตย์ ซึ่งดาวอังคารจะเคลื่อนไปหลังดวงอาทิตย์ ตัดการสื่อสารกับโลก บังคับให้เฮลิคอปเตอร์และยานสำรวจดาวอังคารและต้องหยุดปฏิบัติการณ์ชั่วคราว การปิดตัวจะเกิดขึ้นในช่วงกลางเดือนตุลาคม ซึ่งจะมีการเตรียมการก่อนตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกันยายน [64][65] อินเจนูอิตี จะอยู่คงที่ ณ ตำแหน่งของมัน 175 m (574 ft) จาก เพอร์เซเวียแรนส์ และจะสื่อสารสถานะของมันทุกอาทิตย์กับยานสำรวจดาวอังคารสำหรับการตรวจสอบสภาพ[66] จากเฮลิคอปเตอร์ยังรับคำสั่งหลังจากผ่านสภาพที่รุนแรงของช่วงขาดการสื่อสาร เจพีแอลอาจตัดสินใจบินมันต่อ มิเช่นนั้นคณะผู้ควบคุมจะตัดสินใจยุติภารกิจ[67][68]
รายการบิน
[แก้]ลำดับการบิน | วันที่ (UTC) (โซล) |
ระยะเวลา (วินาที) | ความสูงสูงสุด | ระยะทางแนวระนาบ | ความเร็วภาคพื้นสูงสุด | เส้นทาง | สรุป |
---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | 19 เมษายน 2021 ณ เวลา 07:34 (โซล 58) |
39.1 | 3 m (9.8 ft) | 0 m (0 ft) | 0 m/s (0 mph) | บินขึ้นแนวตั้ง ลอยตัว และลงจอดที่ลานพี่น้องไรต์ 18°26′41″N 77°27′04″E / 18.44486°N 77.45102°E | การบินขับเคลื่อนโดยใช้แรงยกจากชั้นบรรยากาศโดยอากาศยานใดๆ บนดาวเคราะห์ดวงอื่นเป็นครั้งแรก ขณะลอยตัว มันหมุน 96 องศาตามที่วางแผนไว้ ข้อมูลการบินนั้นได้รับ ณ เวลา 11:30 UTC.[9][69] |
2 | 22 เมษายน 2021 ณ เวลา 09:33 (โซล 61) |
51.9 | 5 m (16 ft) | 4 m (13 ft) ไป-กลับ | 0.5 m/s (~1 mph) | ลอยตัว เคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันตก 2 m (6.6 ft) ลอยตัว เคลื่อนที่กลับ ลอยตัว และลงจอด[70][71] 18°26′41″N 77°27′04″E / 18.44486°N 77.45102°E | จากการลอยแรกเริ่ม มันเอียง 5 องศา ทำให้มันสามารถบินไปได้ 2 เมตรในแนวระนาบ จากนั้นหยุด ลอยตัวอยู่กับที่ และหมุนทวนเข็มนาฬิกา จากการลอยตัวแรกเริ่ม มันเอียง 5 องศา ทำให้มันบินไป 2 เมตรในแนวระนาบ มันหยุด ลอยอยู่กับที่ หมุนทวนเข็มนาฬิกา หันจาก +90° สู่ 0° สู่ -90° สู่ -180°ใน 3 ขั้นตอน เพื่อที่จะชี้กล้องสีไปยังทิศทางต่างๆ เพื่อถ่ายภาพ หลังจากนั้นมันบินกลับสู่ตำแหน่งบินขึ้น[72] |
3 | 25 เมษายน 2021 ณ เวลา 11:31 (โซล 64) |
80.3 | 5 m (16 ft) | 100 m (330 ft) ไป-กลับ | 2 m/s (~4.5 mph) | ลอยตัว เคลื่อนที่ไปทางทิศเหนือ 50 m (160 ft) เคลื่อนที่กลับ ลอยตัว และลงจอด[73][74] 18°26′41″N 77°27′04″E / 18.44486°N 77.45101°E | นี้เป็นการบินครั้งแรกที่มีการเคลื่อนที่ไปไกลจากตำแหน่งปล่อยเฮลิคอปเตอร์ มันเคลื่อนที่ในแนวระนาบ 50 เมตร ที่ความเร็ว 2 เมตรต่อวินาที หลังจากการลอยตัวสั้นๆ ที่จุดหันหลังกลับ มันกลับไปยังตำแหน่งบินขึ้น[75] ข้อมูลการบินนั้นได้รับ ณ เวลา 14:16 UTC.[74] |
4 | 29 เมษายน 2021[76][77] (โซล 68) | ความพยายามครั้งแรกในการบินครั้งที่ 4 ล้มเหลว | ซอฟต์แวร์บนเครื่องไม่เข้าสู่สถานะบิน[78][63] | ||||
30 เมษายน 2021 ณ เวลา 14:49[48] (โซล 69) |
116.9 | 5 m (16 ft) | 266 m (873 ft) ไป-กลับ | 3.5 m/s (~8 mph) | ลอยตัว เคลื่อนที่ไปทางทิศใต้ 84 m (276 ft) ลอยตัว เคลื่อนที่กลับ ลอยตัว และลงจอด[79] 18°26′41″N 77°27′04″E / 18.44486°N 77.45112°E | ถ่ายภาพสีระหว่างลอยตัว ณ จุกไกลที่สุดจากจุดบินขึ้น[48] ระหว่างการบินครั้งที่สี่ ยานสำรวจดาวอังคาร เพอร์เซเวียแรนส์ บันทึกทั้งเสียงและภาพเคลื่อนไหวของ อินเจนูอิตี[80] ทำให้ อินเจนูอิตี เป็นยานพาหนะระหว่างดาวเคราะห์ดวงแรกที่เสียงของมันรับได้และถูกบันทึกโดยพาหนะระหว่างดาวเคราะห์อื่น ระหว่างการบินนี้ อินเจนูอิตี แซง เพอร์เซเวียแรนส์ ในระยะทางที่แต่ละพาหนะเดินทางในภารกิจ | |
5 | 7 พฤษภาคม 2021 ณ เวลา 19:26[81] (โซล 76) |
108.2 | 10 m (33 ft) | 129 m (423 ft) | 2 m/s (~4.5 mph) | ลอยตัว เคลื่อนที่ไปทางทิศใต้ 129 m (423 ft) บินขึ้นไปที่ความสูง 10 m (33 ft) ลอยตัว และลงจอดที่ลานบิน บี 18°26′34″N 77°27′05″E / 18.44267°N 77.45139°E | นี่เป็นครั้งแรกที่มีการลงจอดที่ตำแหน่งใหม่ 129 m (423 ft) ไปทางใต้ ขณะที่มันมาถึงจุดหมาย มันบินขึ้น ลอยตัว และถ่ายภาพสีของสภาพภูมิประเทศ ก่อนที่จะลงจอดที่ตำแหน่งใหม่ ลานบิน บี.[31][82] นี้เป็นการบินครั้งสุดท้ายในช่วงสาธิตเทคโนโลยี |
6 | 23 พฤษภาคม 2021 ณ เวลา 5:20[83][84][85] (โซล 91) |
139.9 | 10 m (33 ft) | 215 m (705 ft) มีการเปลี่ยนทิศทาง | 4 m/s (~9 mph) | เคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 150 m (490 ft) ทิศใต้ประมาณ 15 m (49 ft) ทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 50 m (160 ft) และลงจอดใกล้ลานบิน ซี 18°26′30″N 77°27′00″E / 18.44166°N 77.44994°E | การบินครั้งนี้เป็นครั้งแรกในช่วงสาธิตปฏิบัติการณ์ ในตอนปลายของช่วงแรกของเส้นทางการบิน เกิดความผิดปกติในระบบประมวลผลภาพเพื่อนำทาง ประทับภาพด้วยเวลาที่ผิดส่งผลให้อากาศยานเอียง หน้า-หลัง ไปมาถึง 20 องศา โดยมีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างมากและรวดเร็ว ถึงกระนั้น อินเจนูอิตี บินต่อไปในสภาพนั้น และลงจอดประมาณ 5 m (16 ft) จากจุดลงจอดที่วางแผนไว้ ลานบิน ซี[85][86]
นั้นเป็นครั้งแรกที่เฮลิคอปเตอร์จะต้องลงจอดที่ลานบินซึ่งไม่ถูกสำรวจสำหรับมันโดยวิธีอื่นนอกจากภาพจากมาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ |
7 | 6 มิถุนายน 2021[63] (โซล 105) | ความพยายามครั้งแรกในการบินครั้งที่ 7 ล้มเหลว | ซอฟต์แวร์บนเครื่องไม่เข้าสู่สถานะบิน[63] | ||||
8 มิถุนายน 2021 ณ เวลา 15:54[87][88] (โซล 107) |
62.8[89] | 10 m (33 ft)[90] | 106 m (348 ft) | 4 m/s (~9 mph) | เคลื่อนที่ไปทางทิศใต้ 106 m (348 ft) เพื่อลงจอดที่ลานบิน ดี 18°26′24″N 77°27′01″E / 18.43988°N 77.45015°E | อินเจนูอิตี บิน 106 m (348 ft) ไปทางใต้ไปยังจุดลงจอดใหม่ และลงจอดที่ ลานบิน ดี กล้องสีไม่ถูกใช้เพื่อป้องกันไม่ให้ความผิดปกติที่เกิดในการบินครั้งที่ 6 เกิดขึ้นอีกครั้ง | |
8 | 22 มิถุนายน 2021 ณ เวลา 0:27[91] (โซล 121) |
77.4 | 10 m (33 ft) | 160 m (520 ft) | 4 m/s (~9 mph) | เคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ 160 m (520 ft) เพื่อลงจอดที่ลานบิน อี[63] 18°26′14″N 77°27′03″E / 18.43724°N 77.45079°E | อินเจนูอิตี บินไปประมาณ 160 m (520 ft) ไปทางใต้เพื่อลงจอดที่ ลานบิน อี ห่างจาก เพอร์เซเวียแรนส์ ประมาณ 133.5 m (438 ft) เหมือนกับการบินครั้งที่แล้ว กล้องสีไม่ถูกใช้เพื่อป้องกันไม่ให้ความผิดปกติที่เกิดในการบินครั้งที่ 6 เกิดขึ้นอีกครั้ง ปัญหาซอฟต์แวร์นั้นถูกแก้ไขได้ก่อนการบินครั้งที่ 9[63] |
9 | 5 กรกฎาคม 2021 ณ เวลา 9:03[90] (โซล 133) |
166.4 | 10 m (33 ft) | 625 m (2,051 ft) | 5 m/s (~11 mph) | เคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 625 m (2,050 ft) ไปยังลานบิน เอฟ 18°25′41″N 77°26′44″E / 18.42809°N 77.44545°E | อินเจนูอิตี บินไปทางตะวันตกเฉียงใต้ ด้วยระยะทางที่เป็นสถิติที่ 625 m (2,050 ft) เหนือ Séítah ตำแหน่งที่มีความเป็นไปได้ในการวิจัยภายในหลุมอุกกาบาตเจซีโร มันบินที่ความเร็วที่เป็นสถิติที่ห้าเมตรต่อวินาที การบินครั้งนี้เป็นการบินที่มีความเสี่ยงสูง ผลักดันระบบนำทางไปถึงขั้นสุด ซึ่งคิดว่าพื้นเป็นพื้นเรียบ ในขณะที่ Séítah เป็นสันทรายที่ไม่เท่ากัน ปัญหานี้บรรเทาลงบางส่วนด้วยการที่ตัวเฮลิคอปเตอร์บินช้าลงในบริเวณที่มีความยากลำบากกว่า จากข้อผิดพลาดเหล่านี้ ทำให้ อินเจนูอิตี ลงจอด 47 m (154 ft) ห่างจากจุดศูนย์กลางของลานบินที่มีรัศมี 50 m (160 ft) การบินครั้งนี้ทำให้ระยะเดินทางของอินเจนูอิตี ก้าวข้ามระยะทางของเพอร์เซเวียแรนส์ อีกครั้ง[92][93][94] |
10 | 24 กรกฎาคม 2021 ณ เวลา 21:07[95] (โซล 152) |
165.4[96] | 12 m (39 ft)[95] | 233 m (764 ft)[90] | 5 m/s (~11 mph) | บินวนไปทางทิศใต้และตะวันออกเหนือ Raised Ridges ไปยังลานบิน จี | อินเจนูอิตี บินวนไปทางทิศใต้และตะวันออกเหนือ Raised Ridges ตำแหน่งที่มีความเป็นไปได้ในการทำวิจัยบนดาวอังคาร ต่างจากจุดที่แล้ว เพอร์เซเวียแรนส์วางแผนที่จะเยือนยังตำแหน่งนี้ อินเจนูอิตี บินด้วยระยะทางรวมทั้งหมด 233 m (764 ft) ผ่าน 10 จุดกำหนดการบิน รวมถึงการบินขึ้นและลงจอด ที่ความสูงที่เป็นสถิติที่ 12 m (39 ft).[97] |
11 | 5 สิงหาคม 2021 ณ เวลา 4:53[98][99] (โซล 164) |
130.9 | 12 m (39 ft) | 383 m (1,257 ft) | 5 m/s (~11 mph) | เคลื่อนไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 383 m (1,257 ft) เพื่อลงจอดที่ลานบิน เอช 18°25′58″N 77°26′21″E / 18.43278°N 77.43919°E | การบินครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะเปลี่ยนไปยังตำแหน่งบินขึ้นใหม่เป็นหลัก ซึ่งการบินครั้งต่อไปจะสามารถถ่ายภาพบริเวณบริเวณ Séítah ใต้ตามแผน[98] |
12 | 16 สิงหาคม 2021 ณ เวลา 12:57[100][101] (โซล 174) |
169.5 | 10 m (33 ft) | ~450 m (1,480 ft) ไป-กลับ | 4.3 m/s (~10 mph) | บินไป-กลับในทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 235 m (771 ft) ลงจอดอีกครั้งใกล้ ลานบิน เอช 18°25′58″N 77°26′21″E / 18.43268°N 77.43924°E | บินไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 105 m (344 ft) แล้วกลับ เส้นทางกลับถูกวางให้ห่างจากทางไปประมาณ 5 m (16 ft) เพื่อทำให้สามารถถ่ายภาพอีกชัดเพื่อสร้างภาพคู่สำหรับทำภาพสามมิติ ด้วยเหตุนั้น เฮลิคอปเตอร์จึงลงจอดประมาณ 25 m (82 ft) ไปทางทิศตะวันออกจากจุดออกตัว[102] |
13 | 5 กันยายน 2021 ณ เวลา 00:10[103] (โซล 194) |
160.5 | 8 m (26 ft) | ~210 m (690 ft) ไป-กลับ | 3.3 m/s (~7.3 mph) | บินไป-กลับในทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 105 m (344 ft) ลงจอดอีกครั้งใกล้ ลานบิน เอช 18°25′58″N 77°26′21″E / 18.43285°N 77.43915°E | บินไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 105 m (344 ft) แล้วกลับ การบินครั้งนี้เน้นที่บริเวณสันเขาและหินโผล่ใน Séítah ใต้ |
14 | 16 กันยายน 2021 (โซล 204) ถึง 23 กันยายน 2021 (โซล 211) | การบินถูกเลื่อนออกจนกว่าการเรียงตัวระหว่างดาวอังคารและดวงอาทิตย์จะจบลงในช่วงกลางเดือนตุลาคม หลังพบปัญหาทางฮาร์ดแวร์ระหว่งความพยายามบินครั้งแรก[104] | ทดสอบการหมุนโรเตอร์บนพื้น ที่ความเร็ว 2800 รอบต่อนาที สำเร็จ[105][106] ความพยายามในการบินสูง 4.9 m (16 ft) ที่การหมุน 2700 รอยต่อนาทีถูกยกเลิกอัตโนมัติเนื่องจากความผิดปกติในเซอร์โวมอเตอร์ การทดสอบเซอร์โวโดยเจพีแอลในความพยายามจะวินิจฉัยปัญหาในทำได้สำเร็จ[104] ความความตั้งใจที่จะมีการบินสั้นๆ เพื่อยืนยันการใช้รอบหมุนโรเตอร์ที่ 2700 รอบต่อนาทีระหว่างช่วงฤดูชั้นบรรยากาศเบาบาง[105] | ||||
24 ตุลาคม 2021 ณ เวลา 8:18[107] (โซล 241)[108] |
23.0 | 5 m (16 ft) | 2 m (6.6 ft)[109] | 0.5 m/s (1.1 mph) | ลอยตัว เคลื่อนไปทางทิศตะวันออก 2 m (6.6 ft) ลอบตัว และลงจอดอีกครั้งที่ ลานบิน เอช[105] 18°25′58″N 77°26′21″E / 18.43284°N 77.43920°E | การบินครั้งที่ 14 เป็นการตรวจสอบการหมุนโรเตอร์ที่ 2700 รอบต่อนาที โดยบินขั้นไปห้าเมตร และเคบื่อนไปทางด้านข้าง |
คุณสมบัติการบิน | เวลาตั้งแต่การปล่อย (3 เมษายน 2021/โซล 43) |
ในช่วงสาธิตเทคโนโลยี | ในช่วงสาธิตการปฏิบัติการณ์ | % ของงานที่ทำเกินกว่า ช่วงสาธิตเทคโนโลยี |
---|---|---|---|---|
จำนวนโซล | 1286 | 31 | 1255 | 535% |
จำนวนการบิน | 14 | 5 | 9 | 180% |
ระยะเดินทาง | 2.83 km (1.76 mi) | 0.50 km (0.31 mi) | 2.33 km (1.45 mi) | 466% |
เวลาในการบิน (วินาที) | 1492 วินาที (24 นาที 52 วินาที) |
396 วินาที (6 นาที 36 วินาที) |
1096 วินาที (19 นาที 16 วินาที) |
277% |
ระเบียงภาพ
[แก้]เสียง
[แก้]วิดีโอ
[แก้]แผนที่การบิน
[แก้]ภาพโดย เพอร์เซเวียแรนส์
[แก้]ภาพเพิ่มเติมของการบิน
[แก้]แอนิเมชันของการบิน
[แก้]- แอนิเมชัน และสไลด์โชว์ของการบินจากภาพที่ได้มาจากกล้องของ อินเจนูอิตี
ภาพโดย อินเจนูอิตี
[แก้]ช่วงการปล่อยลง
[แก้]ภาพถ่ายตนเอง
[แก้]เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ การบินครั้งที่ 1 กับ 2 ไม่ถูกรวมในนี้เพราะว่าการบินสองครั้งนี้แทบไม่มีหรือไม่มีการเคลื่อนที่ในแนวระนาบเลย
- ↑ จำนวนในตารางนี้ถึงคำนวณโดยการบวกค่าจากการบินแต่ละครั้งกับค่าฐานตามที่แสดงให้เห็นในเอกสารรายงานสถานะนี้[101] ของนาซา/เจพีแอล
- ↑ now named Van Zyl overlook
- ↑ HiRISE's view of Ingenuity's fourth flight path paving the way for it to move to second airfield on its fifth flight
- ↑ This is an animated gif containing sequence of images on second test flight. First image shows Ingenuity's rotor power during flight two. Second image shows Ingenuity's horizontal position relative to start during flight one hover. Third image shows Ingenuity's collective control during flight one. Fourth image shows Ingenuity's lower cyclic control on flight one. Similar cyclic controls applied on the upper rotor. Fifth image shows Ingenuity's estimate of vertical velocity during flight two.
- ↑ All images taken by Ingenuity are from either its black-and-white downward-facing navigation camera[110] or from horizon-facing color camera;[111] landing legs are seen at the side edges of images
- ↑ Perseverance Rover wheels are clearly seen in top corners
- ↑ 8.0 8.1 Please see the difference between the image on high-speed spin up test and the one on sol 48, that is the image on sol 48 has the upper blade in diagonal position while the high-speed spin up test has lower blade in diagonal position
อ้างอิง
[แก้]- นาซาเปิดตัวภารกิจใหม่ใช้ “เฮลิคอปเตอร์” สำรวจดาวอังคาร Mar2020 เก็บถาวร 2020-01-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน), สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2563.
- NASA's Mars Helicopter Attached to Mars 2020 Rover, NASA, สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2563.
- JPL Mars Helicopter Scout,สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2563.
- Mars Helicopter, NASA, สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2564
- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 "Ingenuity Mars Helicopter Landing Press Kit" (PDF). NASA. January 2021. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2021. สืบค้นเมื่อ 14 February 2021. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ Clarke, Stephen (14 May 2018). "Helicopter to accompany NASA's next Mars rover to Red Planet". Spaceflight Now.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 "Mars Helicopter Fact Sheet" (PDF). NASA. February 2020. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 22 March 2020. สืบค้นเมื่อ 2 May 2020. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ 4.0 4.1 "Mars Helicopter". mars.nasa.gov. NASA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 April 2020. สืบค้นเมื่อ 2 May 2020. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ 5.0 5.1 "Mars Rover Perseverance Set To Launch Drone". Today (American TV program). YouTube. 24 March 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-03-27.
- ↑ 6.0 6.1 hang, Kenneth (23 March 2021). "Get Ready for the First Flight of NASA's Mars Helicopter - The experimental vehicle named Ingenuity traveled to the red planet with the Perseverance rover, which is also preparing for its main science mission". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 23 March 2021.
- ↑ 7.0 7.1 Johnson, Alana; Hautaluoma, Grey; Agle, DC (23 March 2021). "NASA Ingenuity Mars Helicopter Prepares for First Flight". NASA. สืบค้นเมื่อ 23 March 2021.
- ↑ 8.0 8.1 "NASA's Mars Helicopter Survives First Cold Martian Night on Its Own". Nasa Mars Website.
- ↑ 9.0 9.1 Palca, Joe (19 April 2021). "Success! NASA's Ingenuity Makes First Powered Flight On Mars". National Public Radio. สืบค้นเมื่อ 19 April 2021.
- ↑ Hotz, Robert Lee (2021-04-19). "NASA's Mars Helicopter Ingenuity Successfully Makes Historic First Flight". Wall Street Journal (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0099-9660. สืบค้นเมื่อ 2021-04-19.
- ↑ AFP Staff Writers (Apr 19, 2021). "Ingenuity helicopter successfully flew on Mars: NASA". Mars Daily. ScienceDaily. สืบค้นเมื่อ 2021-04-19.
- ↑ 12.0 12.1 Chang, Kenneth (23 June 2020). "Mars Is About to Have Its "Wright Brothers Moment" – As part of its next Mars mission, NASA is sending an experimental helicopter to fly through the red planet's thin atmosphere". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 June 2020. สืบค้นเมื่อ 2021-03-07.
- ↑ Leone, Dan (19 November 2015). "Elachi Touts Helicopter Scout for Mars Sample-Caching Rover". SpaceNews. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 February 2021. สืบค้นเมื่อ 20 November 2015.
- ↑ 14.0 14.1 "NASA's Mars Helicopter: Small, Autonomous Rotorcraft To Fly On Red Planet" เก็บถาวร 10 กรกฎาคม 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Shubham Sharma, International Business Times, 14 May 2018
- ↑ 15.0 15.1 "Mars Helicopter a new challenge for flight" (PDF). NASA. July 2018. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 1 January 2020. สืบค้นเมื่อ 20 July 2018. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ "Work Progresses Toward Ingenuity's First Flight on Mars". NASA Mars Helicopter Tech Demo. NASA. 12 April 2021.
- ↑ 17.0 17.1 "Mars Helicopter completed full-speed spin test". Twitter. NASA. 17 April 2021. สืบค้นเมื่อ 17 April 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Mars Helicopter Tech Demo". Watch Online. NASA. April 18, 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-04-18.
- ↑ Mccurdy, Christen (Apr 17, 2021). "Mars Ingenuity flight scheduled for Monday, NASA says". Mars Daily. ScienceDaily. สืบค้นเมื่อ 2021-04-18.
- ↑ 20.0 20.1 Decision expected soon on adding helicopter to Mars 2020, Jeff Fout, SpaceNews 4 May 2018
- ↑ Griffith, Andrew (April 8, 2021). "NASA Unlocks Mars Helicopter's Rotor Blades Ahead Of Pioneering Ingenuity Flight". The Independent. สืบค้นเมื่อ April 8, 2021.
- ↑ Bartels, Meghan (April 8, 2021). "Mars helicopter Ingenuity unlocks its rotor blades to prepare for 1st flight on Red Planet". Space.com. สืบค้นเมื่อ April 8, 2021.
- ↑ "NASA Ingenuity Mars Helicopter Prepares for First Flight". NASA. March 24, 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-20. สืบค้นเมื่อ 20 April 2021. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ "NASA Ingenuity Mars Helicopter Prepares for First Flight". NASA. April 20, 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-20. สืบค้นเมื่อ 20 April 2021. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ Gallentine, Jay (20 April 2021). "The First Flight On Another World Wasn't on Mars. It Was on Venus, 36 Years Ago - Cool as it is, Ingenuity does not mark the dawn of extraterrestrial aviation". Air & Space/Smithsonian. สืบค้นเมื่อ 21 April 2021.
- ↑ After Three Years on Mars, NASA's Ingenuity Helicopter Mission Ends, NASA, สืบค้นเมื่อ 8 ก.พ. 2567.
- ↑ Hautaluoma, Grey; Johnson, Alana; Agle, D.C. (29 April 2020). "Alabama High School Student Names NASA's Mars Helicopter". NASA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 April 2020. สืบค้นเมื่อ 29 April 2020. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ Agle, D.C.; Cook, Jia-Rui; Johnson, Alana (29 April 2020). "Q&A with the Student Who Named Ingenuity, NASA's Mars Helicopter". NASA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 June 2020. สืบค้นเมื่อ 29 April 2020. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ 29.0 29.1 Mars Helicopter Scout. video presentation at Caltech บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ "Astronomy Picture of the Day". NASA. 2 March 2021. สืบค้นเมื่อ 4 March 2021. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ 31.0 31.1 31.2 31.3 NASA's Ingenuity Mars Helicopter's Next Steps. Media briefing. NASA/JPL. 30 April 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-04-30 – โดยทาง YouTube.
- ↑ 32.0 32.1 32.2 32.3 Mars Helicopter Technology Demonstrator เก็บถาวร 1 เมษายน 2019 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน J. (Bob) Balaram, Timothy Canham, Courtney Duncan, Matt Golombek, Håvard Fjær Grip, Wayne Johnson, Justin Maki, Amelia Quon, Ryan Stern, and David Zhu; American Institute of Aeronautics and Astronautics (AIAA) SciTech Forum Conference 8–12 January 2018 Kissimmee, Florida doi:10.2514/6.2018-0023 บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ 33.0 33.1 First Flight on Another Planet!. Veritasium. 10 August 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 July 2020. สืบค้นเมื่อ 3 August 2020 – โดยทาง YouTube.
- ↑ September 2017, Tim Sharp 12. "Mars' Atmosphere: Composition, Climate & Weather". Space.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-10.
- ↑ Bachman, Justin (April 19, 2021). "Why flying a helicopter on Mars is a big deal". phys.org. สืบค้นเมื่อ 21 April 2021.
Indeed, flying close to the surface of Mars is the equivalent of flying at more than 87,000 feet on Earth, essentially three times the height of Mount Everest, NASA engineers said. The altitude record for a helicopter flight on Earth is 41,000 feet.
- ↑ Brown, Dwayne; Wendel, JoAnna; Agle, D.C.; Northon, Karen (11 May 2018). "Mars Helicopter to Fly on NASA's Next Red Planet Rover Mission". NASA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 May 2018. สืบค้นเมื่อ 11 May 2018. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ Chang, Kenneth. "A Helicopter on Mars? NASA Wants to Try". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 May 2018. สืบค้นเมื่อ 12 May 2018.
- ↑ Gush, Loren (11 May 2018). "NASA is sending a helicopter to Mars to get a bird's-eye view of the planet – The Mars Helicopter is happening". The Verge. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 December 2020. สืบค้นเมื่อ 11 May 2018.
- ↑ Greicius, Tony (2021-02-19). "NASA's Mars Helicopter Reports In". NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-22. สืบค้นเมื่อ 2021-02-23. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ Review on space robotics: Toward top-level science through space exploration เก็บถาวร 21 กุมภาพันธ์ 2021 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Y. Gao, S. Chien – Science Robotics, 2017
- ↑ Volpe, Richard. "2014 Robotics Activities at JPL" (PDF). Jet Propulsion Laboratory. NASA. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 21 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 September 2015. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ "6 Things to Know About NASA's Mars Helicopter on Its Way to Mars". NASA Jet Propulsion Laboratory (JPL) (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-10.
- ↑ Heading Estimation via Sun Sensing for Autonomous Navigation เก็บถาวร 21 กุมภาพันธ์ 2021 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Parth Shah, 2017
- ↑ 44.0 44.1 "How NASA Designed a Helicopter That Could Fly Autonomously on Mars". IEEE Spectrum. 17 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2021. สืบค้นเมื่อ 19 February 2021.
- ↑ Matthies, Bayard; Delaune, Conway (2019). "Vision-Based Navigation for the NASA Mars Helicopter". AIAA Scitech 2019 Forum (1411): 3. doi:10.2514/6.2019-1411. ISBN 978-1-62410-578-4.
- ↑ 46.0 46.1 46.2 46.3 Chahat, Nacer; Miller, Joshua; Decrossas, Emmanuel; McNally, Lauren; Chase, Matthew; Jin, Curtis; Duncan, Courtney (December 2020). "The Mars Helicopter Telecommunication Link: Antennas, Propagation, and Link Analysis". IEEE Antennas and Propagation Magazine. 62 (6): 12–22. doi:10.1109/MAP.2020.2990088. ISSN 1045-9243.
- ↑ 47.0 47.1 Ingenuity Mars Helicopter Preflight Briefing (press conference livestreamed on YouTube). NASA Jet Propulsion Laboratory. 9 April 2021.
- ↑ 48.0 48.1 48.2 48.3 Status 297.
- ↑ "Breaking: Mars Helicopter Is Now A Fully Operational Partner Of Perseverance". IFLScience (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 30 April 2021.
- ↑ Gohd, Chelsea (April 30, 2021). "NASA extends Mars helicopter Ingenuity's high-flying mission on Red Planet". Space.com. สืบค้นเมื่อ 10 June 2021.
- ↑ 51.0 51.1 "Ingenuity Is So Good, NASA's Mars Helicopter Mission Just Got an Exciting Update". Science Alert (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-09-06. สืบค้นเมื่อ 2021-09-06.
- ↑ "Where is Perseverance?" (ภาษาอังกฤษ). NASA. สืบค้นเมื่อ September 2, 2021.
- ↑ บทความนี้ประกอบด้วยข้อความจากแหล่งข้อมูลนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ: Agle, D.C.; Hautaluoma, Gray; Johnson, Alana (23 June 2020). "How NASA's Mars Helicopter Will Reach the Red Planet's Surface". NASA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2021. สืบค้นเมื่อ 23 February 2021.
- ↑ "Ingenuity's First Color Snap". NASA. 5 April 2021. สืบค้นเมื่อ 8 April 2021.
- ↑ Griffith, Andrew (8 April 2021). "NASA Unlocks Mars Helicopter's Rotor Blades Ahead Of Pioneering Ingenuity Flight". The Independent. สืบค้นเมื่อ 8 April 2021.
- ↑ Bartels, Meghan (8 April 2021). "Mars helicopter Ingenuity unlocks its rotor blades to prepare for 1st flight on Red Planet". Space.com. สืบค้นเมื่อ 8 April 2021.
- ↑ "Ingenuity Begins to Spin Its Blades". NASA's Mars Exploration Program. NASA. 9 April 2021.
- ↑ "Mars Helicopter has moved its blades & spun to 50 rpm". Twitter. NASA JPL. 9 April 2021. สืบค้นเมื่อ 18 April 2021.
- ↑ Status 291.
- ↑ Status 290.
- ↑ Status 293.
- ↑ Status 292.
- ↑ 63.0 63.1 63.2 63.3 63.4 63.5 Status 308.
- ↑ "NASA's Ingenuity Helicopter to Begin New Demonstration Phase". NASA. 30 April 2021. สืบค้นเมื่อ 3 May 2021.
- ↑ mars.nasa.gov. "Solar Conjunction | Mars in our Night Sky". NASA’s Mars Exploration Program (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-08-18.
- ↑ "NASA's Mars Fleet Lies Low As Sun Moves Between Earth and Red Planet". NASA. 2021-09-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-28. สืบค้นเมื่อ 2021-09-28.
- ↑ "The 10 flights of NASA's Ingenuity Mars helicopter in one chart". Business Insider Australia (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). 2021-07-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-21. สืบค้นเมื่อ 2021-08-30.
- ↑ "After Six Months On Mars, NASA's Tiny Helicopter Is Still Flying High". NDTV (ภาษาอังกฤษ). 2021-09-05. สืบค้นเมื่อ 2021-09-05.
- ↑ Witze, Alexandra (2021). "Lift off! First flight on Mars launches new way to explore worlds". Nature. 592 (7856): 668–669. Bibcode:2021Natur.592..668W. doi:10.1038/d41586-021-00909-z. PMID 33875875. S2CID 233308286. สืบค้นเมื่อ 20 April 2021.
- ↑ "Mars helicopter's first flight could happen on Monday". CNN.
Ingenuity could fly four days after the first flight, then three days after the second flight and so on.
- ↑ Status 294.
- ↑ mars.nasa.gov. "NASA's Ingenuity Mars Helicopter Logs Second Successful Flight". NASA's Mars Exploration Program (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-25.
- ↑ Status 295.
- ↑ 74.0 74.1 "NASA's Ingenuity Mars Helicopter Flies Faster, Farther on Third Flight". 25 April 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-04-25.
- ↑ Chang, Kenneth (25 April 2021). "'Nothing Short of Amazing': NASA Mars Helicopter Makes Longest Flight Yet - Ingenuity made a 328-foot round-trip journey, helping to demonstrate the capability of the vehicle's navigation system". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 26 April 2021.
- ↑ "Aim high, and fly, fly again". Twitter (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-29.
- ↑ Wall, Mike (29 April 2021). "Mars helicopter Ingenuity misses takeoff for 4th flight on Red Planet - NASA's team is assessing what happened". Space.com. สืบค้นเมื่อ 29 April 2021.
- ↑ Chang, Kenneth (30 April 2021). "NASA's Mars Helicopter Flies Again and Gets a New Mission - Ahead of a successful fourth flight, the agency announced that Ingenuity would continue to fly beyond its original month-long mission". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 30 April 2021.
- ↑ "With Goals Met, NASA to Push Envelope With Ingenuity Mars Helicopter". 29 April 2021.
- ↑ "NASA's Perseverance Captures Video, Audio of Fourth Ingenuity Flight". NASA. 7 May 2021. สืบค้นเมื่อ 7 May 2021.
- ↑ May 2021, Mike Wall 08 (8 May 2021). "NASA's Mars helicopter Ingenuity lands at new airfield after 5th flight". Space.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-05-09.
- ↑ 82.0 82.1 82.2 Chang, Kenneth (7 May 2021). "NASA Mars Helicopter Makes One-Way Flight to New Mission – Ingenuity has flown almost flawlessly through the red planet's thin air and will now assist the science mission of the Perseverance rover". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 9 May 2021.
- ↑ May 2021, Mike Wall 27 (27 May 2021). "Mars helicopter Ingenuity experiences anomaly on 6th flight, but lands safely". Space.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-06-10.
- ↑ Strickland, Ashley (May 28, 2021). "Mars helicopter survives to tell the tale of stressful flight". CNN. สืบค้นเมื่อ 29 May 2021.
- ↑ 85.0 85.1 Status 305.
- ↑ Kooser, Amanda (May 27, 2021). "NASA Mars Ingenuity helicopter survives 'in-flight anomaly' on sixth flight". Cnet. สืบค้นเมื่อ 2 June 2021.
- ↑ Wall, Mike (9 June 2021). "Mars helicopter Ingenuity aces 7th flight on the Red Planet". Space.com. สืบค้นเมื่อ 9 June 2021.
- ↑ Status 306.
- ↑ "Another successful flight". Twitter (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-06-09.
- ↑ 90.0 90.1 90.2 "Flight Log". Mars Helicopter Tech Demo. NASA. สืบค้นเมื่อ September 2, 2021.
- ↑ "NASA JPL on Twitter". Twitter (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-06-22.
- ↑ Status 313.
- ↑ @nasajpl (2021-07-05). "MarsHelicopter pushes its Red Planet limits" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ Status 314.
- ↑ 95.0 95.1 Status 316.
- ↑ Malik, Tariq (26 July 2021). "NASA's Mars helicopter soars past 1-mile mark in 10th flight over Red Planet". Space.com.
- ↑ Bendix, Aria (July 24, 2021). "NASA's Mars helicopter nailed its 10th flight — double what engineers had hoped Ingenuity would do". Business Insider. สืบค้นเมื่อ 25 July 2021.
- ↑ 98.0 98.1 Status 318.
- ↑ "#MarsHelicopter has safely flown to a new location!". Twitter (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-08-05.
- ↑ @JPL (17 August 2021). "A dozen for the books!" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ 101.0 101.1 Status 321.
- ↑ "#With help from thomas_appere's rectified color images, I now have the rough locations of #MarsHelicopter's shadow in all 8 color images". Twitter (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-09-02.. See also a map from Twitter เก็บถาวร 2021-09-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน and another map published at unmannedspaceflight.com.
- ↑ mars.nasa.gov. "Lucky 13 – Ingenuity to Get Lower for More Detailed Images During Next Flight". mars.nasa.gov (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-09-04.
- ↑ 104.0 104.1 Karras, Jaakko. "2,800 RPM Spin a Success, but Flight 14 Delayed to Post Conjunction". Mars Helicopter Demo. NASA/JPL. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ 105.0 105.1 105.2 "flying-on-mars-is-getting-harder-and-harder". mars.nasa.gov.
- ↑ "rotor spin test at 2,800 rpm. Next up – flight 14". Twitter.
- ↑ "Flight 14 successful", NASA
- ↑ @NASAJPL (October 25, 2021). "Flight 14 completed" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ "Mars Helicopter Flight Log". Mars Helicopter (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-10-26.
- ↑ "Raw Images From Ingenuity Helicopter". NASA. 30 April 2021. สืบค้นเมื่อ 10 May 2021. (NAV images)
- ↑ "Raw Images From Ingenuity Helicopter". NASA. 30 April 2021. สืบค้นเมื่อ 10 May 2021. (RTE images)
รายงานสถานะ
[แก้]- Bob Balaram (March 19, 2021). "How is the Weather on Mars?". Status #287. NASA/JPL. สืบค้นเมื่อ July 25, 2021.
- Bob Balaram (April 2, 2021). "It's Cold on Mars". Status #288 (ภาษาอังกฤษ). NASA/JPL.
- "When Should Ingenuity Fly?". Status #289. NASA/JPL. April 8, 2021. สืบค้นเมื่อ July 25, 2021.
- "Work Progresses Toward Ingenuity's First Flight on Mars". Status #290. NASA/JPL. April 12, 2021. สืบค้นเมื่อ July 25, 2021.
- "Mars Helicopter Flight Delayed to No Earlier than April 14". Status #291. NASA/JPL. April 10, 2021. สืบค้นเมื่อ July 25, 2021.
- Ingenuity Flight Team (April 16, 2021). "Working the Challenge: Two Paths to First Flight on Mars". Status #292. NASA/JPL. สืบค้นเมื่อ July 25, 2021.
- MiMi Aung (April 17, 2021). "Why We Choose to Try Our First Helicopter Flight on Monday". Status #293. NASA/JPL. สืบค้นเมื่อ July 25, 2021.
- MiMi Aung (April 21, 2021). "We're Getting Ready for Ingenuity's Second Flight". Status #294. NASA/JPL. สืบค้นเมื่อ July 25, 2021.
- Håvard Grip (April 23, 2021). "We Are Prepping for Ingenuity's Third Flight Test". Status #295 (ภาษาอังกฤษ). NASA/JPL.
- "Mars Helicopter's Flight Four Rescheduled". Status #296. NASA/JPL. April 29, 2021. สืบค้นเมื่อ July 25, 2021.
- MiMi Aung (April 30, 2021). "Ingenuity Completes Its Fourth Flight". Status #297. NASA/JPL. สืบค้นเมื่อ July 25, 2021.
- Håvard Grip (April 30, 2021). "What We're Learning About Ingenuity's Flight Control and Aerodynamic Performance". Status #298. NASA/JPL. สืบค้นเมื่อ July 25, 2021.
- Josh Ravich (May 6, 2021). "Why Ingenuity's Fifth Flight Will Be Different". Status #299. NASA/JPL. สืบค้นเมื่อ July 25, 2021.
- Bob Balaram, Jeremy Tyler (May 10, 2021). "Keeping Our Feet Firmly on the Ground". Status #301. NASA/JPL. สืบค้นเมื่อ July 25, 2021.
- "Plans Underway for Ingenuity's Sixth Flight". Status #302. NASA/JPL. May 19, 2021. สืบค้นเมื่อ July 25, 2021.
- Håvard Grip (May 27, 2021). "Surviving an In-Flight Anomaly: What Happened on Ingenuity's Sixth Flight". Status #305. NASA/JPL. สืบค้นเมื่อ July 25, 2021.
- "Ingenuity Flight 7 Preview". Status #306. NASA/JPL. June 4, 2021. สืบค้นเมื่อ July 25, 2021.
- Teddy Tzanetos (June 25, 2021). "Flight 8 Success, Software Updates, and Next Steps". Status #308. NASA/JPL. สืบค้นเมื่อ July 25, 2021.
- Håvard Grip & Bob Balaram (July 2, 2021). "We're Going Big for Flight 9". Status #313. NASA/JPL. สืบค้นเมื่อ July 25, 2021.
- Håvard Grip and Ken Williford (July 7, 2021). "Flight 9 Was a Nail-Biter, but Ingenuity Came Through With Flying Colors". Status #314. NASA/JPL. สืบค้นเมื่อ July 25, 2021.
- Teddy Tzanetos (July 23, 2021). "Aerial Scouting of 'Raised Ridges' for Ingenuity's Flight 10". Status #316. NASA/JPL. สืบค้นเมื่อ July 25, 2021.
- Josh Ravich (August 4, 2021). "North-By-Northwest for Ingenuity's 11th Flight". Status #318. NASA/JPL. สืบค้นเมื่อ August 5, 2021.
- Teddy Tzanetos (August 15, 2021). "Better By the Dozen – Ingenuity Takes on Flight 12". Status #321. NASA/JPL. สืบค้นเมื่อ August 15, 2021.
- Teddy Tzanetos, Håvard Grip (September 3, 2021). "Lucky 13 – Ingenuity to Get Lower for More Detailed Images During Next Flight". Status #329. NASA/JPL. สืบค้นเมื่อ September 3, 2021.
- Håvard Grip (September 15, 2021). "Flying on Mars Is Getting Harder and Harder". Status #334. NASA/JPL. สืบค้นเมื่อ September 15, 2021.
- Jaakko Karras (September 28, 2021). "2,800 RPM Spin a Success, but Flight 14 Delayed to Post Conjunction". Status #336. NASA/JPL. สืบค้นเมื่อ September 28, 2021.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Mars Helicopter Technology Demonstrator. (PDF) – The key design features of the prototype drone.
- First Video of NASA’s Ingenuity Mars Helicopter in Flight, Includes Takeoff and Landing (High-Res)