เอ็ม 16
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
หัวข้อของบทความนี้อาจไม่ผ่านแนวปฏิบัติความโดดเด่นทั่วไป |
บทความนี้ต้องการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ โปรดเพิ่มพารามิเตอร์ reason หรือ talk ลงในแม่แบบนี้เพื่ออธิบายปัญหาของบทความ |
มีข้อสงสัยว่าบทความนี้อาจละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ระบุไม่ได้ชัดเจนเพราะขาดแหล่งที่มา หรืออ้างถึงสิ่งพิมพ์ที่ยังตรวจสอบไม่ได้ หากแสดงได้ว่าบทความนี้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แทนป้ายนี้ด้วย {{ละเมิดลิขสิทธิ์}} หากคุณมั่นใจว่าบทความนี้ไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แสดงหลักฐานในหน้าอภิปราย โปรดอย่านำป้ายนี้ออกก่อนมีข้อสรุป |
จากบนล่าง ปืน M16A1 , M16A2 , M4A1 และปืน M16A4 | |
M16 | |
---|---|
ชนิด | ปืนเล็กยาวจู่โจม (Assault Rifle) |
สัญชาติ | สหรัฐอเมริกา |
สมัย | สงครามเวียดนาม - ปัจจุบัน |
การใช้งาน | อาวุธประจำกาย |
เป้าหมาย | บุคคล |
เริ่มใช้ | พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) |
ช่วงผลิต | พ.ศ. 2500 - ปัจจุบัน |
ช่วงการใช้งาน | พ.ศ. 2503 - ปัจจุบัน |
ผู้ใช้งาน | ดู ผู้ใช้งาน |
สงคราม | สงครามเวียดนาม, สงครามอ่าวเปอร์เซีย, สงครามอิรัก |
ขนาดลำกล้อง | 5.56 มิลลิเมตร (0.223 นิ้ว) 6 เกลียว เวียนขวา |
ระยะครบรอบเกลียว | A1: 12 นิ้ว ,A2/A3/A4 : 7 นิ้ว |
ความยาวลำกล้อง | 508 มิลลิเมตร (20 นิ้ว) |
กระสุน | 5.56x45 mm. NATO |
ซองกระสุน | ซองกระสุนแบบ STANAG ความจุ 20, 30 นัด และแบบ Drum ความจุ 100 นัด |
ระบบปฏิบัติการ | ขับดันด้วยก๊าซ (Gas-operated) ขัดกลอนด้วยลูกเลื่อนหมุนตัว (Rotating Bolt) ปลดกลอนด้วยแรงดันก๊าซเป่าห้องลูกเลื่อนโดยตรง (Direct Impingement) |
อัตราการยิง | 600 - 900 นัด/นาที (แล้วแต่รุ่น) |
ความเร็วปากลำกล้อง | 975 m/s (3,200 ft/s Ball M193) 930 m/s (3,050 ft/s Ball M855) |
ระยะยิงหวังผล | A1 = 460 เมตร A2,A3,A4 = 550 เมตร |
ระยะยิงไกลสุด | 3,600 เมตร |
น้ำหนัก | 6.5 ปอนด์ |
ความยาว | A1=990.6 มม. A2=1006 มม. |
แบบอื่น | M4,AR-15 |
เอ็ม 16 เป็นชื่อทางราชการของอาวุธปืนเล็กยาวจู่โจมประจำกายที่ทาง กระทรวงกลาโหม (United States Department of Defense; US DOD) ประเทศสหรัฐอเมริกากำหนดขึ้น ภายหลังการรับปืน AR-15 ขนาด 5.56 มม. ที่ออกแบบโดยยูจีน สโตนเนอร์ (Eugene Stoner) วิศวกรของบริษัทอาร์มาไลท์ (ArmaLite) เมื่อ ค.ศ. 1957 มาพิจารณาในโครงการ Project SALVO เพื่อจัดหาอาวุธประจำกายรุ่นใหม่ และเข้าประจำการในกองทัพอากาศและกองทัพบกของสหรัฐอเมริกาเมื่อ ค.ศ. 1960 และ ค.ศ. 1967 ตามลำดับ แทนปืนเล็กยาว M14 ซึ่งใช้กระสุนขนาด 7.62x51 มม. นาโต และเป็นอาวุธปืนที่ใช้กันแพร่หลายในกลุ่มประเทศสมาชิกองค์การ NATO และนานาประเทศที่ได้รับความช่วยเหลือทางทหารจากสหรัฐฯในช่วงสงครามเย็นมาจนถึงปัจจุบัน
ปืน M16 เป็นอาวุธปืนที่มีน้ำหนักเบา ใช้ระบบการทำงานด้วยแรงดันก๊าซ (Gas-operated) ระบายความร้อนด้วยอากาศ ขัดกลอนด้วยลูกเลื่อนหมุนตัว (Rotating Bolt) และปลดกลอนด้วยการใช้แรงดันก๊าซดันเข้าห้องลูกเลื่อนโดยตรง (Direct Impingement) บรรจุกระสุนด้วยซองกระสุน โดยชิ้นส่วนต่างๆของปืนผลิตขึ้นจากวัสดุโลหะจำพวกเหล็ก อะลูมิเนียม และพลาสติก
ประวัติ
[แก้]นับแต่ประเทศสหรัฐอเมริกาประกาศเอกราชจากประเทศอังกฤษได้สำเร็จ กองทัพสหรัฐฯได้ประจำการปืนเล็กยาวแบบคาบศิลาเป็นจำนวนมากจนเมื่อล่วงเข้าสู่ยุคของกระสุนแบบปลอกโลหะและดินควันน้อย กองทัพสหรัฐฯจึงได้ทยอยเปลี่ยนจากปืนคาบศิลามาเป็นปืนเล็กยาวที่ใช้กระสุนแบบนัดทั้งหมด โดยได้เลือกประจำการปืนเล็กยาวขนาด .30 นิ้วมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1892 ปืนเล็กยาวรุ่นแรกที่ประจำการ คือ ปืน Krag-Jørgensen ขนาด .30-40 Krag ของประเทศนอร์เวย์ ซึ่งเป็นเล็กยาวแบบกระชากลูกเลื่อนด้วยมือ แต่เนื่องจากปืนรุ่นนี้มีปัญหาหลายประการ ภายหลังกองทัพสหรัฐฯจึงได้ซื้อสิทธิบัตรปืนเล็กยาว Gewehr 98 จากบริษัทเมาเซอร์ ประเทศเยอรมนี พร้อมทั้งนำระบบดึงขึ้นเข็มแทงชนวนของปืน Krag มาติดตั้งเพิ่มเข้าไปและผลิตเป็นปืน M1903 Springfield และได้นำกระสุนขนาด 8 มม. เมาเซอร์ (7.92×57 มม.) มาทำการดัดแปลงให้ใช้กับหัวกระสุนขนาด .30 นิ้ว (7.62 มิลลิเมตร) เดิมของปืน Krag ต่อไป พร้อมทั้งยืดปลอกออกเป็น 63 มิลลิเมตรทำให้บรรจุดินส่งได้มากขึ้นและเรียกว่ากระสุนใหม่นี้ว่า .30-06 Springfield (7.62×63 มม.)
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพฯสหรัฐฯได้เริ่มทยอยโอนปืน M1903 Springfield ไปให้กองกำลังท้องถิ่นและบางส่วนได้นำมาดัดแปลงเป็นปืนเล็กยาวซุ่มยิง M1903A4 ใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงสงครามเกาหลี ในขณะเดียวกันก็ได้ทยอยบรรจุปืนเล็กยาวบรรจุเอง M1 Garand เข้าประจำการ โดยปืน M1 Garand ออกแบบโดยจอห์น ซี กาแรนด์ ซึ่งในช่วงแรกออกแบบให้ใช้กับกระสุนขนาด 7×51 มิลลิเมตร (.276 Pedersen) และสามารถบรรจุในแนบกระสุนได้ 10 นัด แต่เมื่อกองทัพสหรัฐฯรับมาพิจารณาใน ค.ศ.1932 ก็มีคำสั่งให้เปลี่ยนมาใช้กระสุน .30-06 ทำให้ปืนบรรจุกระสุนได้เพียง 8 นัด และรับเข้าประจำการเมื่อวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1936 ให้ชื่อเป็นทางการว่า United States Rifle, Caliber .30, M1 และใช้งานมาจนถึงสงครามเกาหลี โดยในระหว่างที่ปืน M1 Garand ประจำการนี้ กองทัพสหรัฐฯก็ได้มีโครงการ T20 ทำการดัดแปลงปืน M1 Garand ให้บรรจุกระสุนได้มากขึ้นโดยใช้ซองกระสุน 20 นัดของปืนเล็กกล M1918 Browning Automatic Rifle (BAR) และทำการเพิ่มระบบยิงแบบอัตโนมัติเข้าไปกลายเป็นโครงการ T37
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้มีการวิจัยดินขับแบบใหม่สำเร็จ จนสามารถใช้ในปริมาณน้อยลงแต่ให้แรงขับเท่าเดิม กองทัพสหรัฐฯจึงได้นำกระสุน .30-06 มาทำการลดความยาวปลอกจาก 63 มิลลิเมตรลงเป็น 51 มิลลิเมตร เพื่อนำไปใช้กับปืนในโครงการ T37 กลายเป็นโครงการ T44 แล้วในที่สุดก็ประจำการเป็นปืน M14 และ M15 ในปี ค.ศ. 1957 ส่วนกระสุน 7.62 มิลลิเมตรของปืน M14 ก็กลายเป็นกระสุน 7.62×51 มม. นาโต ซึ่งเป็นกระสุนมาตรฐานของปืนกลและปืนเล็กยาวหลายรุ่นในปัจจุบัน นอกจากนั้นบริษัทวินเชสเตอร์ยังได้นำกระสุน 7.62 มม. นาโตนี้ไปผลิตขายให้พลเรือนในชื่อว่า .308 Winchester อีกด้วย
หลังจากปืน M14 ประจำการได้ไม่นาน ก็มีคำวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับปืนดังกล่าว ทั้งปัญหาเรื่องตัวปืนและกระสุนมีน้ำหนักมากทำให้ทหารพกพาไปได้น้อย อีกทั้งมีปัญหาเรื่องแรงสะท้อนถอยหลังสูง โดยเฉพาะเมื่อยิงแบบอัตโนมัติจะไม่สามารถควบคุมปืนได้เลย ทำให้ปืน M14 มีอายุการใช้งานได้ไม่นาน ในขณะเดียวกันก็ทำให้โครงการวิจัยปืนเล็กยาวที่ใช้กระสุนขนาดหน้าตัดเล็กแต่มีความเร็วสูงที่ตั้งมาก่อนหน้านั้นมีความชัดเจนมากขึ้น ซึ่งโครงการนี้มีชื่อว่า Project SALVO ตั้งขึ้นมาแต่ ค.ศ. 1948 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างอาวุธประจำกายทหารราบที่ใช้กระสุนขนาด .22 ความเร็วสูง มีระยะหวังผล 300 เมตรขึ้นไป ภายหลังจึงได้มีข้อกำหนดเพิ่มเติมว่าต้องมีน้ำหนักเบา เลือกยิงได้ทั้งแบบทีละนัดและยิงเป็นชุด และต้องยิงเจาะหมวกเหล็กได้ในระยะ 500 เมตร
ใน ค.ศ. 1957 บริษัทอาร์มาไลท์ (Armalite) ซึ่งเป็นแผนกอาวุธปืนของบริษัท Fairchild Aircraft Corp. ได้เข้าร่วมโครงการนี้โดย ยูจีน สโตนเนอร์ ได้นำแบบปืน AR-10 ขนาด 7.62 มิลลิเมตรมาย่อส่วนเป็นปืน AR-15 เพื่อใช้กับกระสุน .223 เรมิงตัน ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทเรมิงตัน อาร์มส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้รับมอบหมายจากกองทัพสหรัฐฯให้ออกแบบและวิจัยกระสุนชนิดใหม่ ที่จะนำมาใช้กับปืนเล็กยาวจู่โจมในโครงการ SALVO นี้ และกองทัพสหรัฐฯได้รับแบบปืน AR-15 มาพิจารณา
ใน ค.ศ. 1958 บริษัทอาร์มาไลท์ได้รับคำวิจารณ์และคำสั่งแก้ไขปืน AR-15 จากทางกองทัพสหรัฐฯหลายครั้ง จนถอดใจและประสบปัญหาทางการเงิน จึงได้ตัดสินใจขายแบบพิมพ์เขียวปืน AR-15 ให้แก่บริษัทโคลต์ (Colt Firearms) และได้รับการพัฒนาปรับปรุงจนเป็นปืน M16 และเข้าประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐฯในปี ค.ศ.1964
ส่วนทางกองทัพบกสหรัฐฯก็ได้นำปืน M16 ไปพัฒนาต่อเป็นปืน XM16E1 ซึ่งได้มีการเปลี่ยนปลอกลดแสง เพิ่มชุดส่งลูกเลื่อน (Forward Assist Assembly) และเพิ่มอัตราครบรอบเกลียวให้เร็วขึ้นจาก 14 นิ้วเป็น 12 นิ้ว เพื่อรองรับการใช้กระสุนส่องวิถี M196 ที่มีหัวกระสุนยาวกว่ากระสุนธรรมดาแบบ M193 และเข้าประจำการในกองทัพบกสหรัฐฯพร้อมทั้งเรียกชื่อใหม่ว่า ""US Rifle, 5.56mm, M16A1" ในปีค.ศ. 1967 และยังมีการเปิดสายการผลิตปืน M16 ในรูปแบบอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกันในอีกหลายประเทศทั่วโลก
ต่อมาในปีค.ศ. 1981 บริษัทโคลต์จึงได้พัฒนาและปรับปรุงปืน M16A1 จนออกมาเป็นปืน M16A1E1 เพื่อรองรับกระสุนขนาด 5.56x45 mm. NATO รุ่นใหม่คือกระสุน M855 หรือ SS-109 ของบริษัท FN ซึ่งมีความแม่นยำและอานุภาพมากกว่าเดิม จนในปีค.ศ. 1982 หน่วย US Department of Defense (US DoD) จึงได้บรรจุปืน M16 รุ่นนี้เข้าประจำการและเรียกในชื่อใหม่ว่า "US Rifle, 5.56mm, M16A2" ซึ่งปืน M16A2 นี้สามารถยิงได้เพียง 2 รูปแบบ คือ แบบกึ่งอัตโนมัติ (Semi-Auto) ครั้งละ 1 นัด/ครั้ง และแบบอัตโนมัติชุดละ 3 นัด (Burst Auto) โดยมีคันบังคับการยิงให้จัดเลือกอยู่ทางด้านซ้ายเหนือด้ามปืน ซึ่งต่างจากปืน M16A1 ตรงที่แบบอัตโนมัติของรุ่น A1 จะเป็นแบบอัตโนมัติเต็มตัว (Full-Auto) กล่าวคือปืนจะทำการยิงตามวงรอบการทำงานไปเรื่อยๆจนกว่าผู้ยิงจะเลิกเหนี่ยวไกปืนหรือจนกว่ากระสุนจะหมดซองกระสุน มิใช่ยิงเป็นชุดเพียง 3 นัดเท่านั้น ไม่ว่าผู้ยิงจะเหนี่ยวไกค้างไว้หรือไม่ก็ตาม
ในปีค.ศ. 1994 ทางบริษัทโคลต์ได้มีการปรับปรุงสมรรถภาพของปืน M16A2 อีกครั้งเป็นรุ่น A3 และ A4 ตามลำดับ โดยปืน M16A3 นั้นสามารถยิงได้สองโหมดคือ ยิงทีละนัด (Semi-Auto) และยิงอัตโนมัติเต็มตัว (Full-Auto) เท่านั้น ส่วนปืน M16A4 นั้นจะยิงได้สองโหมดนี้คือ โหมดยิงทีละนัด (Semi-Auto) และแบบอัตโนมัติชุดละ3นัด (Three-Burst Auto) โดยรุ่น A4 มีลักษณะภายนอกคล้ายกับ A2 และ A3 ทุกประการ เพียงแต่สามารถถอดด้ามหูหิ้ว (Flat Top Receiver) ออกเพื่อใช้ราง Picatinny ในการติดตั้งอุปกรณ์เสริมต่างๆได้ ในขณะที่รุ่น A2 และ A3 จะเป็นแบบติดตั้งตายตัว
ในช่วงทศวรรษ 1980 ปืนกลเบา M60 จะถูกแทนที่ด้วยปืนกล SAW M249 ซึ่งใช้กระสุนขนาด 5.56x45 mm. NATO รุ่น M855 เช่นเดียวกับปืน M16A2 เพื่อเพิ่มอานุภาพของอาวุธและลดภาระในการจัดส่งกระสุนและส่งกำลังบำรุงเข้าสู่สนามรบของหน่วยพลาธิการ ครั้นถึงทศวรรษ 1990 ปืน M16A2 จำนวนมากเริ่มถูกแทนที่ด้วยปืน M4 Carbine ซึ่งปรับปรุงมาจากปืน M16 เพื่อเพิ่มสมรรถนะและความคล่องตัวกับการรบในที่แคบหรือในอาคารต่างๆ
ลักษณะโดยทั่วไป
[แก้]ชิ้นส่วนต่างๆของปืน M16 ผลิตขึ้นจากกรรมวิธีต่างๆดังนี้ ปลอกลดแสง ลำกล้อง โครงปืน และชิ้นส่วนในระบบลั่นไกผลิตด้วยวิธีการขึ้นรูปด้วยกระบวนการ Forging จากวัสดุเหล็กกล้าผสมอะลูมิเนียม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายความร้อนและมีความทนทานต่อการใช้งานสูง ส่วนพานท้ายและฝาครอบลำกล้องทำจากวัสดุโพลิเมอร์ไฟเบอร์ทนความร้อน ทำให้ปืน M16 รุ่นแรกๆ นั้นมีน้ำหนักเบาเพียง 3.60 กิโลกรัมเท่านั้น (น้ำหนักปืนพร้อมซองกระสุนขนาด 30 นัด) ซึ่งเบากว่าปืนเล็กยาวจู่โจมรุ่นก่อนๆอย่างปืน M14 ในขณะที่ปืนอาก้า (AK-47) ซึ่งเป็นที่นิยมกันในกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์เวลานั้นมีน้ำหนักมากถึง 4.30 กิโลกรัม แต่ปืน M16 รุ่นหลังจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 3.77 กิโลกรัมจากการออกแบบให้ลำกล้องและโครงปืนมีความหนามากขึ้นเพื่อรองรับการใช้งานกระสุน 5.56 มม.แบบใหม่คือ กระสุนแบบ M855 หรือ SS-109 จึงทำให้มีน้ำหนักมากตามไปด้วย มีความยาวของปืนทั้งกระบอกเพิ่มเป็น 40 นิ้ว (1.06 เมตร) โดยเป็นความยาวส่วนลำกล้อง 20 นิ้ว (508 มิลลิเมตร) อนึ่ง ปืน M16/M4 นั้นสามารถเพิ่มสมรรถนะด้วยการติดตั้งอุปกรณ์เสริม เช่น เครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 40 มม. M203, กล้องเล็งจุดแดง (Red Dot), ขาทราย (Bi-pod) ฯลฯ เป็นต้น
ผู้ผลิตและใช้งาน
[แก้]M16 เป็นปืนไรเฟิลขนาด 5.56×45 มม. ที่ผลิตมากที่สุดในโลก ปัจจุบัน M16 มีการใช้งานใน 15 ประเทศในกลุ่มนาโต้ และมากกว่า 80 ประเทศทั่วโลก เมื่อรวมกันแล้ว บริษัทจำนวนมากในสหรัฐอเมริกา แคนาดา และจีนได้ผลิตปืนไรเฟิลมากกว่า 8,000,000 กระบอกในทุกรูปแบบ ยังใช้งานอยู่ประมาณ 90% M16 แทนที่ทั้งปืนไรเฟิล M14 และปืนสั้น M2 ในฐานะปืนไรเฟิลทหารราบมาตรฐานของกองทัพสหรัฐฯ
ประเทศผู้ใช้งาน
[แก้]- อัฟกานิสถาน: กลุ่มตาลีบันใช้ปืนไรเฟิล M16A2 และ M16A4 ซึ่งเคยจัดหาให้กับกองทัพแห่งชาติอัฟกานิสถาน ใช้กับกองพันบาดรี 313 ด้วย
- แอลเบเนีย
- แอนทีกาและบาร์บิวดา
- อาร์เจนตินา: หน่วยรบพิเศษใช้ M16A1 ใน สงครามฟอล์กแลนด์ และปัจจุบันยังใช้ M16A2 (โดยกองทัพทั้งหมด)
- อาเซอร์ไบจาน: M16A4 ใช้โดยหน่วยรบพิเศษและ State Border Service (DSX).
- บาห์เรน
- บังกลาเทศ
- บาร์เบโดส
- บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา: M16A1/A4
- เบลีซ
- โบลิเวีย
- บราซิล: ใช้โดยหน่วยรบพิเศษและช่วงท้ายของสงคราม Araguaia guerilla. M16A2s ใช้โดยนาวิกโยธินบราซิล
- บรูไน: M16A2 ใช้โดยกองทัพยรูไนในถานะปืนไรเฟิลประจำการหลัก
- บุรุนดี: กบฏบุรุนดี
- กัมพูชา M16A1
- แคเมอรูน
- แคนาดา: ปืน C7 และ C8 ที่ผลิตโดย Colt Canada ถูกใช้โดยกองทัพแคนนาดา
- สาธารณรัฐแอฟริกากลาง
- ชิลี M16A1 ถูกใช้โดยนาวิกโยธินชิลี
- โคลอมเบีย
- สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
- จีน ได้ต้นแบบ M16A1 เพื่อใช้เป็นต้นแบบในการผลิต Norinco CQ
- กองกำลังประชาธิปไตยเพื่อการปลดปล่อยรวันดา
- คอสตาริกา
- เช็กเกีย
- เดนมาร์ก:
- จิบูตี
- สาธารณรัฐโดมินิกัน
- ติมอร์-เลสเต M16A2
- เอกวาดอร์
- อียิปต์
- เอลซัลวาดอร์ M16A1/A2/A3/A4
- เอสโตเนีย Ex-U.S. M16A1s
- หมู่เกาะฟอล์กแลนด์
- ฟีจี
- ฝรั่งเศส: ใช้โดยหน่วยต่อต้านก่อการร้ายและกองกำลังปฏิบัติการพิเศษ
- กาบอง
- จอร์เจีย
- กานา M16A2
- กรีซ M16A2/A3/A4/M4/A2E M4 ใช้โดยหน่วยรบพิเศษของ กองทัพบกกรีก, กองทัพอากาศกรีก และ กองทัพเรือกรีก
- กรีเนดา
- กัวเตมาลา M16A1/M16A2
- เฮติ
- ฮังการี
- ฮอนดูรัส M16A1
- อินเดีย
- อินโดนีเซีย
- อิรัก
- อิสราเอล
- อิตาลี
- โกตดิวัวร์
- จาเมกา
- ญี่ปุ่น: M16A1 ใช้โดยกรมทหารราบภาคตะวันตก
- จอร์แดน M16A1/A
- เคนยา
- คูเวต M16A1/A2.
- ลัตเวีย
- เลบานอน M16A1/A2/A4.
- เลโซโท
- ไลบีเรีย M16A2
- ลิทัวเนีย
- มาเลเซีย
- มอริเชียส
- เม็กซิโก: M16A2 ใช้โดยนาวิกโยธินเม็กซิโกในสงครามยาเสพติด
- โมนาโก
- มองโกเลีย
- โมร็อกโก M16A1/M16A2/M16A3/M16A4
- พม่า: M16S1 ผลิตโดย Chartered Industries ใน Singapore อย่างลับๆโดยฝ่าฝืนสัญญาอนุญาตกับ Colt[1]
- เนปาล M16A2 และ M16A4; M16A2 ที่ยึดมาได้ยังถูกใช้โดยกลุ่มกบฏลัทธิเหมาของกองทัพปลดปล่อยประชาชน เนปาล ในช่วงสงครามกลางเมืองเนปาล
- เนเธอร์แลนด์: C7 และ C8 ถูกใช้ในกองทัพและนาวิกโยธินเนเธอร์แลนด์
- นิการากัว: ถูกใช้โดยตำรวจและกองทัพบกนิการากัว
- ไนจีเรีย
- เกาหลีเหนือ: M16A1 (ลอกเลียนแบบโดยไม่ได้รับอนุญาติ) ใช้โดยหน่วยรบพิเศษ KPA ในเหตุการณ์การแทรกซึมของเรือดำน้ำ Gangneung 1996
- โอมาน
- ปากีสถาน M16A1
- องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์: ถูกใช้โดยกองกำลังความมั่นคงแห่งชาติปาเลสไตน์และกองกำลังติดอาวุธในพื้นที่ต่างๆ
- ปานามา M16A1
- ปาปัวนิวกินี M16A2
- บูเกนวิลล์: ถูกใช้โดยกองทัพบูเกนวิลล์ยึดมาจากกองกำลังป้องกันประเทศปาปัวนิวกินี
- เปรู M16A2. M16A1 ถูกใช้โดยหน่วยปฏิบัติการพิเศษกองทัพเรือและกองกำกับการปฏิบัติการพิเศษสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- ฟิลิปปินส์: ผลิตภายใต้ลิขสิทธิ์ของ Elisco Tool and Manufacturingcarbine.
- โปรตุเกส: M16A2 จำนวนน้อยถูกใช้โดยหน่วยปฎิบัติการพิเศษของกองทัพเรือโปรตุเกส
- กาตาร์ M16A1
- โรมาเนีย
- เซเนกัล: M16A1 and M16A2
- เซอร์เบีย
- เซียร์ราลีโอน: M16A1 ถูกใช้ในจำนวน 1,000+
- สิงคโปร์: รุ่นเฉพาะของ M16A1 (M16S1) ผลิตภายใต้ลิขสิทธิ์ของ ST Kinetics
- โซมาเลีย
- แอฟริกาใต้: ถูกใช้โดยหน่วยรบพิเศษน่าจะได้รับจากหุ้นโมร็อกโก
- เกาหลีใต้: ในสงครามเวียดนาม สหรัฐฯ ได้จัดหาปืนไรเฟิล M16 จำนวน 27,000 กระบอกให้แก่กองทัพสาธารณรัฐเกาหลีในเวียดนาม นอกจากนี้ M16A1 จำนวน 600,000 กระบอก (Colt Model 603K) ผลิตภายใต้ใบอนุญาตโดย Daewoo Precision Industries โดยมีการส่งมอบตั้งแต่ปี 1974 ถึง 1985 KATUSA (การเสริมกำลังของเกาหลีสำหรับกองทัพสหรัฐฯ) ทหารที่ประจำการในกองทัพสหรัฐฯ ใช้ M16A2
- ศรีลังกา
- ซูดาน
- ซูรินาม
- สวีเดน กองทัพสวีเดนใช้ M16A2 จำนวนเล็กน้อยสำหรับการฝึกทำความคุ้นเคย เช่นเดียวกับ AKM ในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน แต่ไม่ได้ออกให้กับหน่วยรบ ปืนไรเฟิล Ak 4 และ Ak 5 ถูกใช้โดยกองทัพสวีเดน
- ไต้หวัน M16A1 รวมถึง Type 65/65K1/65K2 พื้นเมือง Type 86 และ Type 91 (พร้อมระบบลูกสูบแก๊สสไตล์ AR-18)
- ไทย M16A1/A2/A4 แบบจำลองของ XM177 ที่เรียกว่า Type 49 carbine (ปลส.49) ใช้ในการก่อความไม่สงบในภาคใต้ของประเทศไทย
- ตูนิเซีย M16A2/A4
- ตุรกี M16A1/A2/A4
- ยูกันดา
- ยูเครน
- สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
- สหราชอาณาจักร: หนึ่งในลูกค้าทางการทหารรายแรกๆ ที่อังกฤษซื้อ AR-15 เครื่องแรกเพื่อใช้ในสงครามกลางป่าในการเผชิญหน้าระหว่างอินโดนีเซีย-มาเลเซีย Colt Canada C8 (L119A1/L119A2) ถูกใช้โดย Royal Military Police Close Protection Units, the Pathfinder Group, United Kingdom Special Forces และ 43 Commando Fleet Protection Group Royal Marines
- สหรัฐอเมริกา
- อุรุกวัย
- เวียดนาม: ได้รับจากเวียดนามใต้หลังสงครามเวียดนาม เอ็ม 16 กว่า 946,000 กระบอกถูกจับในปี 2518 เพียงปีเดียว
- เยเมน
ผู้ใช้ที่ไม่ใช่รัฐ
[แก้]- มูจาฮิดีนอินโดนีเซียตะวันออก
- ขบวนการปาปัวเสรี
- ไอซิล
- บังซาโมโร นักรบเพื่อเสรีภาพอิสลาม
- กลุ่มมาอูเต
- พรรคแรงงานเคอร์ดิสถาน
- กองทัพประชาชนใหม่: ได้รับจากจาก AFP และ PNP จัดทำโดยโซเซียลมีเดีย หรือซื้อจากตลาดมืด
- เวียดกง: ได้ยึดจากกองกำลังสหรัฐฯ และ ARVN
ผู้ใช้ในอดีต
[แก้]- สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน: ปืนไรเฟิลรุ่นมาตรฐานของกองทัพแห่งชาติอัฟกานิสถาน ตัวแปร Colt Canada C7 ยังมีบริการที่ จำกัด
- ออสเตรเลีย: M16A1 เปิดตัวในช่วงสงครามเวียดนามและถูกแทนที่ด้วย F88 Austyr ในปี 1989
- สาธารณรัฐบังซาโมโร
- กองกำลังติดอาวุธปฏิวัติโคลอมเบีย (FARC)
- ขบวนการอาเจะห์เสรี
- ฮ่องกง: รุ่น M16A2 ใช้โดยกองทหารฮ่องกง
- ลาว: ได้รับจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามเวียดนามและสงครามกลางเมืองลาว
- แนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร
- นิวซีแลนด์: M16; แทนที่ในปี 1988 โดย Steyr AUG ซึ่งถูกแทนที่ด้วยรุ่นที่ไม่ใช่ของ Colt M16 ในปี 2016
- Provisional IRA: ได้รับ M16 จำนวนหนึ่งในช่วง The Troubles ในไอร์แลนด์เหนือ
- โรดีเชีย: M16A1
- เวียดนามใต้: M16 จำวน 6,000 และ M16A1 จำนวน 938,000 กระบอกในปี1966–1975[2]
- ซาอีร์
อ้างอิง
[แก้]- Modern Warfare, Published by Mark Dartford, Marshall Cavendish (London) 1985
- Afonso, Aniceto and Gomes, Carlos de Matos, Guerra Colonial (2000), ISBN 9724611922
- Ezell, Edward Clinton (1984). The Great Rifle Controversy: Search for the Ultimate Infantry Weapon from World War II Through Vietnam and Beyond. Harrisburg, Pennsylvania: Halsted Press. ISBN 9780811707091.
- Hughes, David R. (1990). The History and Development of the M16 Rifle and its Cartridge. Oceanside, California: Armory Publications. ISBN 0962609609.
- Hutton, Robert, The .223, Guns & Ammo Annual Edition, 1971.
- McNaugher, Thomas L. "Marksmanship, Mcnamara and the M16 Rifle: Organisations, Analysis and Weapons Acquisition", http://www.rand.org/pubs/papers/P6306/
- Pikula, Sam (Major), The ArmaLite AR-10, 1998
- Rose, Alexander. American Rifle-A Biography. 2008; Bantam Dell Publishing. ISBN 978-0-553-80517-8.
- Stevens, R. Blake and Edward C. Ezell. (1994). The Black Rifle: M16 Retrospective, Ontario: Collector Grade Publications.
- Urdang, Laurence, Editor in Chief. The Random House Dictionary of the English Language. 1969; Random House/New York.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- 1. รายละเอียดของ M16A2 จากหน่วยรบพิเศษอิสราเอล[ลิงก์เสีย]
- 2. ปืนเล็กยาว M16A4 จาก Colt ผู้ผลิต เก็บถาวร 2003-06-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- 3. อาวุธปืนสมัยใหม่ เก็บถาวร 2010-02-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- 4. ประวัติอาวุธปืน ขนาด 5.56 mm
- ↑ Ashton, William (March 1, 1998). "Burma receives advances from its silent suitors in Singapore". Jane's Intelligence Review. Vol. 10 no. 3. p. 3298.
- ↑ Walter, John, Rifles of the World เก็บถาวร 23 มีนาคม 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Krause Publications, 2006, illustrated third edition, ISBN 0-89689-241-7, p. 41