ข้ามไปเนื้อหา

เอโนโมโตะ ทาเกอากิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พลเรือโท ไวเคานต์ เอโนโมโตะ ทาเกะอากิ (榎本 武揚, 5 ตุลาคม ค.ศ. 1836 – 26 ตุลาคม ค.ศ. 1908) เป็นซามูไรชาวญี่ปุ่นและพลเรือเอกแห่งกองทัพเรือของโชกุนโทกุงาวะในยุคสมัยบากุมัตสึในญี่ปุ่น ที่ยังคงจงรักภักดีต่อรัฐบาลโชกุนโทกุงาวะและต่อสู้กับรัฐบาลเมจิที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นมาใหม่จนกระทั่งสงครามโบชินจบลง ต่อมาเขาได้รับใช้ในรัฐบาลเมจิในฐานะหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น

ไวเคานต์
เอโนะโมโตะ ทาเกะอากิ
โซไซสาธารณรัฐเอโซะ
ดำรงตำแหน่ง
27 มกราคม – 21 มิถุนายน ค.ศ. 1869
รองประธานาธิบดีมัตสึไดระ ทะโร
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปยกเลิกตำแหน่ง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 ตุลาคม ค.ศ. 1836
เสียชีวิต26 ตุลาคม ค.ศ. 1908
บุตรเอโนโมโตะ ทาเกะโนริ (榎本 武憲) (ลูกชายคนโต)
เอโนโมโตะ ฮารุโนะสุเกะ (榎本 春之助) (ลูกชายคนรอง)
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้รัฐบาลโทกุงาวะ
สาธารณรัฐเอโซะ
จักรวรรดิญี่ปุ่น
สังกัดกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น
ประจำการค.ศ. 1874 - ค.ศ. 1908
ยศพลเรือโท
ผ่านศึกสงครามโบชิน
ยุทธการที่ฮาโกะดาเตะ
ยุทธนาวีที่อ่าวฮาโกะดาเตะ

ในช่วงต้น

[แก้]

เขาเกิดในครอบครัวซามูไรที่รับใช้โชกุนโทกุงาวะโดยตรง เขาเริ่มเรียนภาษาดัตช์ในช่วงปี ค.ศ. 1850 และหลังจากที่ญี่ปุ่นยอมเปิดประเทศตามคำร้องของพลเรือเพร์รี่ในปี ค.ศ. 1854 เขาก็เข้าศึกษาเล่าเรียนที่ศูนย์กลางการฝึกทัพเรือในนางาซากิและเข้าเรียนต่อที่อำเภอสึคิจิในเอโดะ

เมื่อเขาอายุได้ 26 ปี ก็ถูกส่งตัวไปยังเนเธอร์แลนด์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับเทคนิคตะวันตกในสงครามทางทะเลและคอยค้นคว้าเทคโนโลยีตะวันตก เขาอาศัยอยู่ในยุโรปตั้งแต่ปี ค.ศ. 1862 ถึง ค.ศ. 1867 และมีความชำนาญในภาษาดัตช์และภาษาอังกฤษ

เขาได้กลับไปญี่ปุ่นด้วยเรือไคโยมารุ ซึ่งเป็นเรือรบไอน้ำที่ทางโชกุนซื้อมาจากเนเธอร์แลนด์ ระหว่างที่เขาอยู่ในยุโรป เขาได้ตระหนักว่าโทรเลขจะเป็นวิธีการสื่อสารที่สำคัญในอนาคตและเริ่มวางแผนระบบเพื่อเชื่อมโยงเอโดะและโยโกฮามะเข้าด้วยกัน เมื่อเขาเดินทางกลับถึงญี่ปุ่น ก็ได้รับตำแหน่งเป็น ไคกุน ฟุกุโซไซ (Kaigun Fukusōsai, 海軍副総裁) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สูงเป็นอันดับ 2 ของกองทัพเรือโทกุงาวะ และก็ได้รับตำแหน่งขุนนางเป็น อิซุมิ โนะ คามิ (Izumi-no-kami, 和泉守) เมื่อเขาอายุได้ 31 ปี

ช่วงสงครามโบชิน

[แก้]
เอโนโมโตะ ทาเกะอากิ เมื่อตอนอายุ 32 ปี

ในช่วงสงครามโบชิน เขาทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการกองทัพเรือ แต่หลังจากที่ทางกองทัพโทกุงาวะยอมแพ้ต่อกองทัพซัตซุมะ-โจชู เขาจึงตัดสินใจหลบหนีไปที่ฮาโกะดาเตะในฮอกไกโด และได้ร่วมกับผู้ภักดีต่อโทกุงาวะที่เหลืออยู่ จัดตั้งสาธารณรัฐเอโซะขึ้น แต่ก็พ่ายแพ้ต่อกองทัพขององค์จักรพรรดิ เขาจึงถูกจับกุม หลังจากที่เขายอมแพ้

ในยุคเมจิ

[แก้]

เขาได้รับการอภัยโทษจากคุโรดะ คิโยตากะ ในปี ค.ศ. 1872 เนื่องจากทางคุโรดะได้เห็นถึงความสามารถในตัวเขา ในปี ค.ศ. 1874 เขาได้เป็นพลเรือโท และได้เดินทางไปยังรัสเซีย เพื่อเจรจาเกี่ยวกับสนธิสัญญาเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ผลปรากฏว่า การเจรจาเป็นผลสำเร็จและเขาได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากชาวญี่ปุ่น และเขาก็เริ่มมีชื่อเสียงในทางการเมือง มีเรื่องเล่าที่ว่า การที่เอโนโมโตะได้รับเลือกให้ทำภารกิจสำคัญดังกล่าว ถูกมองว่าเป็นหลักฐานการปรองดองระหว่างอดีตศัตรูในรัฐบาล

ในปี ค.ศ. 1880 เอโนโมโตะได้เป็นรัฐมนตรีกองทัพเรือ (Kaigun kyō, 海軍卿) และเขาก็ได้ใช้ทักษะการทูต ให้ความช่วยเหลืออิโตะ ฮิโรบุมิ ในการสรุปอนุสัญญาเทียนซินกับราชวงศ์ชิง หลังจากนั้นเอโนโมโตะก็ได้แสดงบทบาทอันโดดเด่นในรัฐบาลญี่ปุ่น และได้รับเลือกเป็นคณะองคมนตรีในปี ค.ศ. 1887 เขาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมคนแรกของญี่ปุ่น นอกจากนี้ เขายังดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ค.ศ. 1894 – ค.ศ. 1897) รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ (ค.ศ. 1889 – ค.ศ. 1890) และรัฐมนตรีการต่างประเทศ (ค.ศ. 1891 – ค.ศ. 1892)

เขาทำงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการส่งเสริมการอพยพของญี่ปุ่นผ่านอาณานิคมไม้ตายในมหาสมุทรแปซิฟิก ทวีปอเมริกาใต้และอเมริกากลาง ในปี ค.ศ. 1891 เขาได้ต่อต้านเจตนารมณ์ของคณะรัฐมนตรีมัตสึกาตะ มาซาโยชิ ส่วน "การย้ายถิ่นฐาน" ในกระทรวงการต่างประเทศนั้น มีหน้าที่ส่งเสริมการย้ายถิ่นฐานและการค้นหาดินแดนใหม่ ๆ สำหรับการตั้งถิ่นฐานของชาวญี่ปุ่นในต่างประเทศ สองปีต่อมา หลังจากที่เขาได้ออกจากรัฐบาล เขาก็ช่วยจัดตั้งองค์กรเอกชนคือ "สมาคมอาณานิคม" เพื่อส่งเสริมการค้าและการย้ายถิ่นฐานภายนอก เขาเสียชีวิตในวัย 72 ปี

อ้างอิง

[แก้]
  • Yamamoto, Atsuko. Jidai o shissoshita kokusaijin Enomoto Takeaki: Raten Amerika iju no michi o hiraku. Shinzansha (1997).ISBN 4-7972-1541-0 (Japanese)
  • Akita, George. (1967) Foundations of constitutional government in modern Japan, 1868-1900. Cambridge, Harvard University Press, ISBN 978-0-8248-2560-7.
  • Hane, Mikiso. Modern Japan: A Historical Survey. Westview Press (2001). ISBN 0-8133-3756-9
  • Hillsborough, Romulus. Shinsengumi: The Shogun's Last Samurai Corps. Tuttle Publishing (2005). ISBN 0-8048-3627-2
  • Jansen, Marius B. and John Whitney Hall, eds. (1989). The Emergence of Meiji Japan, The Cambridge History of Japan, Vol. 5. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 9780521482387; ISBN 9780521484053; OCLC 31515308
  • Keene, Donald. (1984). Dawn to the West: Japanese Literature of the Modern Era. New York: Holt, Rinehart, and Winston. ISBN 9780030628146; ISBN 9780030628160; OCLC 8728400
  • Ravina, Mark. (2004). The Last Samurai: The Life and Battles of Saigo Takamori. Hoboken, New Jersey: Wiley. ISBN 9780471089704; OCLC 427566169