ข้ามไปเนื้อหา

เอเอฟซีแชลเลนจ์ลีก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอเอฟซีแชลเลนจ์ลีก
ไฟล์:AFC Challenge League logo.svg
ผู้จัดเอเอฟซี
ก่อตั้งค.ศ. 2005; 20 ปีที่แล้ว (2005) (ในชื่อ เอเอฟซีเพรสซิเดนส์คัพ)
ค.ศ. 2024; 1 ปีที่แล้ว (2024) (ในชื่อ เอเอฟซีแชลเลนจ์ลีก)
ภูมิภาคเอเชีย
จำนวนทีม18 (รอบแบ่งกลุ่ม)
ผ่านเข้าไปเล่นในเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกทู
การแข่งขันที่เกี่ยวข้องเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกอีลิท (ระดับที่ 1)
เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกทู (ระดับที่ 2)
ทีมชนะเลิศปัจจุบันประเทศเติร์กเมนิสถาน เอชทีทียู อาชกาบัต
(สมัยที่ 1)
ทีมที่ประสบความสำเร็จที่สุดประเทศทาจิกิสถาน เรการ์ทาดาซ
(3 สมัย)
เว็บไซต์www.the-afc.com
เอเอฟซีแชลเลนจ์ลีก ฤดูกาล 2024–25

เอเอฟซีแชลเลนจ์ลีก (อังกฤษ: AFC Challenge League) (หรือในอดีตรู้จักในชื่อ เอเอฟซีเพรสซิเดนส์คัพ (อังกฤษ: AFC President's Cup)) เป็นการแข่งขันฟุตบอลสโมสรประจำปีจัดโดย สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย การแข่งขันจะจัดขึ้นระหว่างสโมสรจากประเทศต่าง ๆ ที่ไม่ได้รับสิทธิ์ผ่านเข้ารอบโดยตรงไปยังเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกอีลิท ซึ่งเป็นการแข่งขันระดับสูงสุด หรือเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกทู ซึ่งเป็นการแข่งขันระดับที่สอง โดยอิงจากอันดับการแข่งขันสโมสรเอเอฟซี ฤดูกาล 2024–25 เป็นการแข่งขันครั้งแรกของรูปแบบใหม่ โดยผู้ชนะเลิศเอเอฟซีแชลเลนจ์ลีกจะได้สิทธิ์เข้าไปแข่งขันในเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกทูรอบแบ่งกลุ่มในฤดูกาลถัดไป หากพวกเขายังไม่ผ่านเข้ารอบจากผลงานลีกภายในประเทศ

ประวัติ

[แก้]

เอเอฟซีเพรสซิเดนส์คัพก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 2005 ให้เป็นการแข่งขันระดับที่สาม เพื่อให้สโมสรจากประเทศสมาชิกเอเอฟซีที่อยู่ในอันดับต่ำกว่าสามารถเข้าร่วมการแข่งขันระดับทวีปได้[1] การแข่งขันดำเนินมาเป็นเวลาแปดปี จนกระทั่งเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013 คณะกรรมการการแข่งขันเอเอฟซีเสนอให้ปี 2014 เป็นครั้งสุดท้ายของการแข่งขัน[2] โดยตั้งแต่ ค.ศ. 2015 เป็นต้นไป แชมป์ลีกของประเทศกำลังพัฒนาจะมีสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน เอเอฟซีคัพ รอบคัดเลือกเพลย์ออฟ[3] ในการแข่งขันครั้งสุดท้ายเมื่อ ค.ศ. 2014 เอชทีทียู อาชกาบัต เอาชนะรีมยองซูจากเกาหลีเหนือ ในนัดชิงชนะเลิศด้วยผลประตูรวม 2–1 กลายเป็นทีมที่สองจากเติร์กเมนิสถานที่ชนะเลิศรายการนี้ติดต่อกัน

เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 2022 มีการประกาศว่าโครงสร้างการแข่งขันของเอเอฟซีจะเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบเดิมในฤดูกาล 2024–25 โดยจะมีการเปิดตัวการแข่งขันระดับสามใหม่ที่เรียกว่า เอเอฟซีแชลเลนจ์ลีก[4][5][6] เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 2024 เอเอฟซีประกาศว่าบันทึกและสถิติต่าง ๆ จะได้รับการยอมรับและรวมเข้าไว้ในการแข่งขันสโมสรที่ปรับปรุงใหม่ โดยข้อมูลจากเอเอฟซีเพรสซิเดนส์คัพจะถูกโอนไปยังเอเอฟซีแชลเลนจ์ลีก[7]

รูปแบบ

[แก้]

การคัดเลือกเข้ามาแข่งขันในรายการนี้ แต่เดิมสำหรับสโมสรจากประเทศในเครือของเอเอฟซีที่จัดอยู่ในหมวดหมู่ ประเทศกำลังพัฒนา ตามที่ระบุไว้ในเอกสาร วิชันเอเชีย มีสโมสรเข้าร่วมการแข่งขันในแต่ละปีระหว่าง 8 ถึง 12 สโมสร ตั้งแต่ ค.ศ. 2005 ถึง 2007 8 สโมสรจะถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 4 สโมสร ผู้ชนะเลิศและรองชนะเลิศของกลุ่มจะได้ผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศ การแข่งขันทั้งหมดจัดขึ้นในประเทศเจ้าภาพเพียงประเทศเดียว ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 ถึง 2010 การแข่งขันได้เพิ่มเป็น 11 สโมสร มีการสร้างรอบคัดเลือกและสโมสรถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มจะเล่นในประเทศที่แตกต่างกัน ผู้ชนะเลิศและรองชนะเลิศอันดับสูงสุดของกลุ่มจะผ่านเข้ารอบสุดท้าย ตั้งแต่ ค.ศ. 2011 ถึง 2014 การแข่งขันได้เพิ่มเป็น 12 สโมสร ในรอบคัดเลือกมี 3 กลุ่ม ๆ ละ 4 สโมสร ผู้ชนะเลิศและรองชนะเลิศของกลุ่มจะผ่านเข้าสู่รอบสุดท้าย ทั้ง 6 สโมสรนี้ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 3 สโมสร สโมสรที่ดีที่สุดของแต่ละกลุ่มจะเข้าสู่นัดชิงชนะเลิศ[8]

เอเอฟซีประกาศในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2013 ว่า เอเอฟซีเพรสซิเดนส์คัพ 2014 จะเป็นการแข่งขันครั้งสุดท้าย[9] เริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 2015 แชมป์ลีกของ ประเทศกำลังพัฒนา มีสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน เอเอฟซีคัพ ในรอบคัดเลือกเพลย์ออฟ[10] รอบคัดเลือกของเอเอฟซีคัพ 2016 มีรูปแบบคล้ายกับเอเอฟซีเพรสซิเดนส์คัพ (โดยไม่มีรอบสุดท้าย) จัดขั้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2015 โดยคัดเลือกสองสโมสรเข้าสู่เอเอฟซีคัพรอบเพลย์ออฟ[11]

หลังจากการเปลี่ยนโฉมใหม่ใน ค.ศ. 2024 รูปแบบใหม่ประกอบด้วยสโมสรที่เข้าร่วม 18 แห่ง โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มสำหรับการแข่งขันครั้งแรก สโมสรต่าง ๆ จะแข่งขันกันในรูปแบบรวมศูนย์แบบนัดเดียว โดย 8 สโมสรที่อันดับดีที่สุดจะผ่านสู่เข้ารอบก่อนรองชนะเลิศ โดยรอบก่อนรองชนะเลิศและรอบรองชนะเลิศจะแข่งขันกันแบบ 2 นัด ก่อนที่จะแข่งขันนัดชิงชนะเลิศในรูปแบบนัดเดียว[12][13]

เงินรางวัล

[แก้]
ถ้วยรางวัลเอเอฟซีเพรสซิเดนส์คัพ

เริ่มตั้งแต่ฤดูกาล 2024–25 การแจกจ่ายเงินรางวัลจะเป็นดังต่อไปนี้:[14]

รอบ ทีม จำนวน
ต่อทีม รวม
ชิงชนะเลิศ (ชนะเลิศ) 1 $1 ล้าน
ชิงชนะเลิศ (รองชนะเลิศ) 1 $500,000
รองชนะเลิศ 4 $120,000 $480,000
ก่อนรองชนะเลิศ 8 $80,000 $640,000
แบ่งกลุ่ม 18 $100,000 $1,800,000
รวม 18 $4,420,000

บันทึกและสถิติ

[แก้]

รายชื่อนัดชิงชนะเลิศ

[แก้]
สัญลักษณ์
ชนะการแข่งขันหลังต่อเวลาพิเศษ
* ชนะการแข่งขันโดยการดวลลูกโทษ
  • คอลัมน์ "ฤดูกาล" หมายถึงฤดูกาลที่การแข่งขันจัดขึ้น และวิกิลิงก์ไปยังบทความที่เกี่ยวข้องกับฤดูกาลดังกล่าว
รายชื่อนัดชิงชนะเลิศเอเอฟซีเพรสซิเดนส์คัพและเอเอฟซีแชลเลนจ์ลีก[15]
ฤดูกาล ประเทศ ผู้ชนะเลิศ ผลประตูรวม รองชนะเลิศ ประเทศ สถานที่ ผู้ชม อ้างอิง
เอเอฟซีเพรสซิเดนส์คัพ (2005–2014)
2005  ทาจิกิสถาน เรการ์ทาดาซ 3–0 ดอร์ดอย-ไดนาโม  คีร์กีซสถาน สนามกีฬาดาษราฐ, กาฐมาณฑุ, เนปาล 8,000 [16]
2006  คีร์กีซสถาน ดอร์ดอย-ไดนาโม 2–1 วาคช์  ทาจิกิสถาน สนามกีฬาซาราวัก, กูจิง, มาเลเซีย 500 [17]
2007  คีร์กีซสถาน ดอร์ดอย-ไดนาโม 2–1 สโมสรตำรวจมเหนทระ  เนปาล สนามกีฬาปัญจาบ, ลาฮอร์, ปากีสถาน 2,000 [18]
2008  ทาจิกิสถาน เรการ์ทาดาซ 1–1*[a] ดอร์ดอย-ไดนาโม  คีร์กีซสถาน สนามกีฬาสปาร์ตัก, บิชเคก, คีร์กีซสถาน 10,000 [19]
2009  ทาจิกิสถาน เรการ์ทาดาซ 2–0 ดอร์ดอย-ไดนาโม  คีร์กีซสถาน สนามกีฬาเมทัลลูร์ก, ตูร์ซุนโซดา, ทาจิกิสถาน 10,000 [20]
2010  พม่า ยะดะนาโบน 1–0 ดอร์ดอย-ไดนาโม  คีร์กีซสถาน สนามกีฬาตุวูนนะ, ย่างกุ้ง, เมียนมา 23,720 [21]
2011  จีนไทเป บริษัทการไฟฟ้าไต้หวัน 3–2 พนมเปญคราวน์  กัมพูชา สนามกีฬาแห่งชาติ, เกาสฺยง, ไต้หวัน 3,238 [22]
2012  ทาจิกิสถาน อิสติคลอล 2–1 ศูนย์เยาวชนอัล-อามารี  ปาเลสไตน์ สนามกีฬากลางรีพับลิกัน, ดูชานเบ, ทาจิกิสถาน 19,323 [23]
2013  เติร์กเมนิสถาน บอลข่าน 1–0 เคอาร์แอล  ปากีสถาน สนามกีฬาฮังเจอบัต, มะละกา, มาเลเซีย 578 [24]
2014  เติร์กเมนิสถาน เอชทีทียู อาชกาบัต 2–1 รีมยองซู  เกาหลีเหนือ สนามกีฬาซูกาทาดาสะ, โคลัมโบ, ศรีลังกา 200 [25]
เอเอฟซีแชลเลนจ์ลีก (2024–ปัจจุบัน)
2024–25 v

ผลงานแบ่งตามสโมสร

[แก้]
ผลงานในเอเอฟซีเพรสซิเดนส์คัพและเอเอฟซีแชลเลนจ์ลีกแบ่งตามสโมสร
สโมสร ชนะเลิศ รองชนะเลิศ ปีที่ชนะเลิศ ปีที่ได้รองชนะเลิศ
ประเทศทาจิกิสถาน เรการ์ทาดาซ 3 0 2005, 2008, 2009
ประเทศคีร์กีซสถาน ดอร์ดอย-ไดนาโม 2 4 2006, 2007 2005, 2008, 2009, 2010
ประเทศพม่า ยะดะนาโบน 1 0 2010
จีนไทเป บริษัทการไฟฟ้าไต้หวัน 1 0 2011
ประเทศทาจิกิสถาน อิสติคลอล 1 0 2012
ประเทศเติร์กเมนิสถาน บอลข่าน 1 0 2013
ประเทศเติร์กเมนิสถาน เอชทีทียู อาชกาบัต 1 0 2014
ประเทศทาจิกิสถาน วาคช์ 0 1 2006
ประเทศเนปาล สโมสรตำรวจมเหนทระ 0 1 2007
ประเทศกัมพูชา พนมเปญคราวน์ 0 1 2011
รัฐปาเลสไตน์ ศูนย์เยาวชนอัล-อามารี 0 1 2012
ประเทศปากีสถาน เคอาร์แอล 0 1 2013
ประเทศเกาหลีเหนือ รีมยองซู 0 1 2014

ผลงานแบ่งตามชาติ

[แก้]
ผลงานในนัดชิงชนะเลิศแบ่งตามชาติ
ชาติ ชนะเลิศ รองชนะเลิศ รวม
 ทาจิกิสถาน 4 1 5
 คีร์กีซสถาน 2 4 6
 เติร์กเมนิสถาน 2 0 2
 จีนไทเป 1 0 1
 พม่า 1 0 1
 กัมพูชา 0 1 1
 เนปาล 0 1 1
 เกาหลีเหนือ 0 1 1
 ปากีสถาน 0 1 1
 ปาเลสไตน์ 0 1 1

ผลงานแบ่งตามผู้ฝึกสอน

[แก้]
ผู้ฝึกสอน สโมสร ชนะเลิศ
ประเทศทาจิกิสถาน มัคห์มัดจอน คาบิบูลโลเยฟ ประเทศทาจิกิสถาน เรการ์ทาดาซ 2005, 2008, 2009
ประเทศคีร์กีซสถาน บอริส พอดโคริตอฟ ประเทศคีร์กีซสถาน ดอร์ดอย-ไดนาโม 2006, 2007
ประเทศพม่า อู ซอ เล ออง ประเทศพม่า ยะดะนาโบน 2010
จีนไทเป เฉิน กุย-เจิน จีนไทเป บริษัทการไฟฟ้าไต้หวัน 2011
ประเทศเซอร์เบีย นิโคลา คาวาโซวิช ประเทศทาจิกิสถาน อิสติคลอล 2012
ประเทศเติร์กเมนิสถาน ราฮิม คูร์บันแมมเมโดว์ ประเทศเติร์กเมนิสถาน บอลข่าน 2013
ประเทศเติร์กเมนิสถาน เบเกนช์ การาเยฟ ประเทศเติร์กเมนิสถาน เอชทีทียู อาชกาบัต 2014

รางวัล

[แก้]

ผู้เล่นที่ทำประตูสูงสุดในแต่ละฤดูกาล

[แก้]
ฤดูกาล ผู้เล่น จำนวนประตู
2005 ประเทศศรีลังกา ดัดลีย์ สไตน์วอลล์
ประเทศกัมพูชา ฮก โสเชตรา
ประเทศทาจิกิสถาน คูร์เชด มาห์มูดอฟ
ประเทศทาจิกิสถาน โจมิคอน มูฮิดินอฟ
4
2006 จีนไทเป จวง เหยา-ซ่ง
ประเทศคีร์กีซสถาน โรมัน คอร์นิลอฟ
5
2007 ประเทศศรีลังกา ชานนา เอดิริ บันดานาจ 6
2008 ประเทศพม่า ที ฮา จอ 6
2009 ประเทศพม่า โซ มิน อู 6
2010 ประเทศทาจิกิสถาน รุสตัม อุสมอนอฟ 5
2011 จีนไทเป โฮ หมิง-ซัน 6
2012 ประเทศคีร์กีซสถาน มิร์ลาน มูร์ซาเยฟ 8
2013 ประเทศคีร์กีซสถาน มิร์ลาน มูร์ซาเยฟ 9
2014 ประเทศเติร์กเมนิสถาน สุลัยมาน มูฮาโดว์ 11

ผู้เล่นที่ดีที่สุด

[แก้]
ฤดูกาล ผู้เล่น สโมสร
2005 - -
2006 - -
2007 ประเทศคีร์กีซสถาน วาเลรี คาชูบา ดอร์ดอย-ไดนาโม
2008 - -
2009 ประเทศทาจิกิสถาน คูร์เชด มาห์มูดอฟ เรการ์ทาดาซ
2010 ประเทศคีร์กีซสถาน มิร์ลาน มูร์ซาเยฟ ดอร์ดอย-ไดนาโม
2011 จีนไทเป เฉิน โป-เหลียง บริษัทการไฟฟ้าไต้หวัน
2012 ประเทศทาจิกิสถาน อลิเชอร์ ทุยชีฟ อิสติคลอล
2013 ประเทศเติร์กเมนิสถาน อามีร์ กูร์บานี บอลข่าน
2014 ประเทศเติร์กเมนิสถาน สุลัยมาน มูฮาโดว์ เอชทีทียู อาชกาบัต

ผู้เล่นที่ทำประตูสูงสุดในการแข่งขัน

[แก้]
อันดับ ผู้เล่น สโมสร จำนวนประตู
1 ประเทศคีร์กีซสถาน มิร์ลาน มูร์ซาเยฟ ดอร์ดอย-ไดนาโม 19
2 ประเทศคีร์กีซสถาน เดวิด เทตเทห์ ดอร์ดอย-ไดนาโม 12
3 ประเทศทาจิกิสถาน คูร์เชด มัคมูดอฟ เรการ์ทาดาซ 11
ประเทศเติร์กเมนิสถาน สุลัยมาน มูฮาโดว์ เอชทีทียู อาชกาบัต
5 ประเทศเติร์กเมนิสถาน อามีร์ กูร์บานี อาชกาบัต
บอลข่าน
10
ประเทศศรีลังกา ชานนา เอดิริ บันดานาจ รัตนัม
ประเทศทาจิกิสถาน อิบราฮิม ราบิมอฟ เรการ์ทาดาซ
อิสติคลอล
8 ประเทศปากีสถาน คาลีมุลลาห์ ข่าน เคอาร์แอล 9
9 ประเทศเติร์กเมนิสถาน อาร์สลันมีรัต อามาโนว์ อาชกาบัต
เอชทีทียู อาชกาบัต
8
ประเทศพม่า หยาน ผิง ยะดะนาโบน
ประเทศเนปาล จู มนู ไร สโมสรตำรวจมเหนทระ

ดูเพิ่มเติม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ผลประตู 1–1 หลัง 90 นาทีและต่อเวลาพิเศษ เรการ์ทาดาซชนะการดวลลูกโทษ 4–3

อ้างอิง

[แก้]
  1. "AFC President's Cup: The end of a glorious journey". www.the-afc.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-06-08. สืบค้นเมื่อ 2024-06-09.
  2. "ACL: East vs West final proposed". AFC. 25 November 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 November 2018. สืบค้นเมื่อ 9 June 2024.
  3. "AFC President's Cup: The end of a glorious journey". AFC. 26 July 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 August 2018. สืบค้นเมื่อ 9 December 2016.
  4. "AFC Competitions Committee recommends strategic reforms to elevate Asian club football". theAFC.com (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2022. สืบค้นเมื่อ 24 December 2022.
  5. "AFC Executive Committee approves biggest prize purse in Asian club football history from 2024/25; announces AFC Women's Champions League". AFC. 14 August 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 January 2024. สืบค้นเมื่อ 14 August 2023.
  6. "AFC Club Competitions 2024/25 Slot Allocation" (PDF). Football Association of Singapore. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 21 October 2023. สืบค้นเมื่อ 11 October 2023.
  7. "Pivotal reforms approved by AFC Competitions Committee". the-AFC (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-05-24. สืบค้นเมื่อ 2024-05-24.
  8. "AFC Competitions Committee meeting". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-18. สืบค้นเมื่อ 2009-11-24.
  9. "ACL: East vs West final proposed". The-afc.com. 2013-11-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-03. สืบค้นเมื่อ 2013-11-25.
  10. "AFC President's Cup: The end of a glorious journey". AFC. 26 July 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 August 2018. สืบค้นเมื่อ 9 December 2016.
  11. "Stage set for 2016 AFC Cup play-off qualifiers". AFC. 29 June 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2015. สืบค้นเมื่อ 9 December 2016.
  12. "AFC Competitions Committee recommends strategic reforms to elevate Asian club football". theAFC.com (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2022. สืบค้นเมื่อ 24 December 2022.
  13. "Pivotal reforms approved by AFC Competitions Committee". the-AFC (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-05-24. สืบค้นเมื่อ 2024-05-24.
  14. The AFC Hub (2024-06-19). AFC Challenge League™ 2024/25. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-06-20. สืบค้นเมื่อ 2024-06-20 – โดยทาง YouTube.
  15. "AFC Cup and Presidents Cup". rsssf (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-12-12.
  16. "AFC President's Cup 2005 - Results, fixtures, tables and stats - Global Sports Archive". globalsportsarchive.com.
  17. "AFC President's Cup 2006 - Results, fixtures, tables and stats - Global Sports Archive". globalsportsarchive.com.
  18. "AFC President's Cup 2007 - Results, fixtures, tables and stats - Global Sports Archive". globalsportsarchive.com.
  19. "AFC President's Cup 2008 - Results, fixtures, tables and stats - Global Sports Archive". globalsportsarchive.com.
  20. "AFC President's Cup 2009 - Results, fixtures, tables and stats - Global Sports Archive". globalsportsarchive.com.
  21. "AFC President's Cup 2010 - Results, fixtures, tables and stats - Global Sports Archive". globalsportsarchive.com.
  22. "AFC President's Cup 2011 - Results, fixtures, tables and stats - Global Sports Archive". globalsportsarchive.com.
  23. "AFC President's Cup 2012 - Results, fixtures, tables and stats - Global Sports Archive". globalsportsarchive.com.
  24. "AFC President's Cup 2013 - Results, fixtures, tables and stats - Global Sports Archive". globalsportsarchive.com.
  25. "AFC President's Cup 2014 - Results, fixtures, tables and stats - Global Sports Archive". globalsportsarchive.com.