การสลายให้อนุภาคบีตา
การสลายให้กัมมันตรังสี | ||||||||||||||
การสลายให้กัมมันตรังสี การแบ่งแยกนิวเคลียสฟิชชัน
| ||||||||||||||
ในฟิสิกส์นิวเคลียร์, การสลายให้อนุภาคบีตา (อังกฤษ: beta decay) เป็นรูปแบบหนึ่งของการสลายตัวของสารกัมมันตรังสีที่อนุภาคบีตา (อิเล็กตรอนหรือโพซิตรอน) ถูกปลดปล่อยออกมา ในกรณีปลดปล่อยอิเล็กตรอน จะเป็น บีตาลบ () ขณะที่ในกรณีปลดปล่อยโพซิตรอนจะเป็น บีตาบวก () พลังงานจลน์ของอนุภาคบีตามีพิสัยสเปกตรัมต่อเนื่องจาก 0 ถึงค่าสูงสุดที่จะเป็นไป (Q) ซึ่งขึ้นกับสภาวะนิวเคลียร์ของต้นกำเนิดและลูกที่เกี่ยวข้องกับการสลาย โดยทั่วไป Q มีค่าประมาณ 1 MeV แต่สามารถมีพิสัยจากสองสาม keV ไปจนถึง สิบ MeV อนุภาคบีตากระตุ้นส่วนใหญ่มีความเร็วสูงมากเป็นซึ่งมีความเร็วใกล้เคียงอัตราเร็วของแสง
การสลาย
[แก้]ในการสลาย อันตรกิริยาอย่างอ่อนจะเปลี่ยนนิวตรอน (n) ไปเป็นโปรตอน (p) ขณะปลดปล่อยอิเล็กตรอน () และ แอนทินิวตริโน ():
ที่ระดับมูลฐาน (ที่ต่ำกว่าไฟน์แมนไดอะแกรม (Feynman diagram) ) เนื่องจากการเปลี่ยนจากควาร์กลง (down quark) เป็นควาร์กขึ้น (up quark) โดยการปลดปล่อยของ โบซอน จะสลายในภายหลังเป็นอิเล็กตรอนและแอนทินิวตริโน
-
ไฟน์แมนไดอะแกรมสำหรับการสลาย ของนิวตรอนไปเป็นโปรตอน อิเล็กตรอน และ อิเล็กตรอน แอนทินิวตริโนร่วมกับตัวกลาง โบซอน
การสลาย
[แก้]ในการสลาย พลังงานจะถูกใช้ในการเปลี่ยนจากโปรตอนไปเป็นนิวตรอน, โพซิตรอน ()และนิวตริโน ():
การสลาย ไม่เหมือนกับการสลาย เนื่องจากการสลาย ไม่สามารถเกิดขึ้นในการแตกตัวได้ เพราะมันต้องการพลังงาน มวลของนิวตรอนจะมีพลังงานมากกว่าโปรตอน การสลาย สามารถเกิดขึ้นได้ภายในนิวเคลียสเท่านั้น เมื่อปริมาณของพลังงานยึดเหนี่ยวของนิวเคลียสสูงกว่านิวเคลียสลูก ความแตกต่างของพลังงานทำให้เกิดปฏิกิริยาเปลี่ยนโปรตอนไปเป็นนิวตรอน โพซิตรอน และ นิวตริโน และกลายเป็นพลังงานจลล์ของอนุภาคนั้น
อ้างอิง
[แก้]- Kurie, F. N. D.; Richardson, J. R.; Paxton, H. C. (1936). "The Radiations Emitted from Artificially Produced Radioactive Substances. I. The Upper Limits and Shapes of the β-Ray Spectra from Several Elements". Physical Review. 49 (5): 368–381. Bibcode:1936PhRv...49..368K. doi:10.1103/PhysRev.49.368.
- Kurie, F. N. D. (1948). "On the Use of the Kurie Plot". Physical Review. 73 (10): 1207. Bibcode:1948PhRv...73.1207K. doi:10.1103/PhysRev.73.1207.
- Tuli, J. K. (2011). Nuclear Wallet Cards (PDF) (8th ed.). Brookhaven National Laboratory. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-09.