ข้ามไปเนื้อหา

เรือลำเลียงพล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บรรดาทหารขณะไต่ลงตาข่ายด้านข้างของเรือรบสหรัฐแมคคอวลีย์ (เอพีเอ-4) ซึ่งเป็นเรือขนส่งโจมตี ในการซ้อมยกพลขึ้นบกที่นิวจอร์เจียเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 1943
เรือรบสหรัฐแฮมเบลน (เอพีเอ-114) ซึ่งเป็นเรือขนส่งโจมตีชั้นเบย์ฟิลด์ กำลังเตรียมการร่วมกับเรือระบายพล

เรือลำเลียงพล หรือ เรือลำเลียงทหาร (อังกฤษ: troopship หรือ troop ship หรือ troop transport หรือ trooper) เป็นเรือที่ใช้บรรทุกทหารไม่ว่าในยามสงบหรือในยามสงคราม ในทางปฏิบัติแล้ว เรือลำเลียงพลมาตรฐานมักจะเกณฑ์จากกองเรือขนส่งเพื่อการพาณิชย์ ไม่สามารถลงจอดบนฝั่งได้โดยตรง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วทำการโหลด และการขนถ่ายที่ท่าเรือเดินทะเล หรือบนเรือขนาดเล็กทั้งเรือพี่เลี้ยงหรือเรือบาร์จ

เรือขนส่งโจมตี ซึ่งเป็นเรือแบบหนึ่งของเรือลำเลียงพลทางทะเลที่ปรับให้เข้ากับการขนส่งกองกำลังบุกเข้าฝั่ง ได้บรรทุกกองเรือระบายพลของตัวเอง เช่นเดียวกับเรือยกพลขึ้นบกริมทะเลด้วยตนเองและนำกองกำลังของพวกเขาขึ้นฝั่งโดยตรง

ประวัติ

[แก้]

เรือลำเลียงพลหรือเรือขนส่งโจมตีได้รับการนำมาใช้ในสมัยโบราณ โรมโบราณได้ใช้นาวิสลูโซเรีย ซึ่งเรือลำเล็กที่ขับเคลื่อนโดยฝีพายและใบเรือ เพื่อขนย้ายทหารในแม่น้ำไรน์และแม่น้ำดานูบ[1]

อาร์เอ็มเอส ควีนแมรี ซึ่งมีชื่อเล่นว่า"ปีศาจสีเทา" ยังคงครองสถิติตลอดกาลสำหรับการขนส่งกองกำลังมากที่สุด ในการโดยสารเที่ยวเดียวด้วยจำนวน 15,740 นาย เมื่อปลายเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1943 โดยแล่นจากสหรัฐไปยังยุโรป[2]

อ้างอิง

[แก้]

บรรณานุกรม

[แก้]
  • James Dugan, The Great Iron Ship, 1953 (regularly reprinted) ISBN 0-7509-3447-6
  • Stephen Harding, Great Liners at War, Motorbooks Int'l, Osceola, WI, USA, 1997 ISBN 0-7603-0346-0
  • Goron Newell, Ocean Liners of the 20th Century, Bonanza Books, USA, 1963 ISBN 0-517-03168-X

หมายเหตุ

[แก้]
  1. Pferdehirt B. "The Museum of Ancient Shipping". สืบค้นเมื่อ August 3, 2010.
  2. Queen Mary - Ship History and Specifications

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]