ข้ามไปเนื้อหา

เอนรีโก แฟร์มี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เอนริโก แฟร์มี)
เอนรีโก แฟร์มี
เกิด29 กันยายน ค.ศ. 1901(1901-09-29)
โรม, ประเทศอิตาลี
เสียชีวิต28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1954(1954-11-28) (53 ปี)
ชิคาโก, รัฐอิลลินอย, ประเทศสหรัฐ
พลเมืองอิตาลี (1901–44)
อเมริกัน (1944–54)
ศิษย์เก่าScuola Normale Superiore
มีชื่อเสียงจาก
คู่สมรสLaura Capon Fermi
รางวัล
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาฟิสิกส์
สถาบันที่ทำงาน
อาจารย์ที่ปรึกษา
ลูกศิษย์ในระดับปริญญาเอก
ลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ
ลายมือชื่อ

เอนรีโก แฟร์มี (อิตาลี: Enrico Fermi) (29 กันยายน พ.ศ. 244428 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497) นักฟิสิกส์รางวัลโนเบลชาวอิตาลีผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาวิชานิวเคลียร์ฟิสิกส์ เป็นนักฟิสิกส์ที่เชี่ยวชาญทั้งการทดลองและทฤษฎี ซึ่งหาได้ยากยิ่งในวงการฟิสิกส์ปัจจุบัน

ผลงานที่สำคัญทางด้านการทดลอง

[แก้]

ในช่วงประมาณคริสต์ทศวรรษ 1930 แฟร์มีและกลุ่มนักวิจัยของเขาค้นพบว่านิวเคลียสภายในอะตอมสามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อถูกระดมยิงด้วยอนุภาคนิวตรอน ซึ่งทราบต่อมาภายหลังว่าสิ่งที่แฟร์มี (และอ็อทโท ฮาน นักวิจัยชาวเยอรมัน) ค้นพบ ก็คือ ปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบแตกตัว (นิวเคลียร์ฟิชชัน) นั่นเอง แฟร์มียังมีส่วนสำคัญในการสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขึ้นครั้งแรกในโลก ที่มหาวิทยาลัยชิคาโก (University of Chicago) สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มนุษย์สามารถสร้างและควบคุมปฏิกิริยานิวเคลียร์ได้ นับเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้สหรัฐอเมริกา สามารถพัฒนาระเบิดปรมาณูได้สำเร็จ จึงนับได้ว่าเขาเป็นบิดา (คนหนึ่ง) ของวิชานิวเคลียร์ฟิสิกส์

ผลงานที่สำคัญทางด้านฟิสิกส์ทฤษฎี

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2469 งานที่สำคัญของแฟร์มีในวิชากลศาสตร์สถิติ (Statistical Mechanics) คือการค้นพบสถิติแบบแฟร์มี-ดิแรก (Fermi-Dirac Statistics) ซึ่งเป็นการศึกษาระบบอนุภาคจำนวนมากที่อยู่ภายใต้หลักการกีดกันของเพาลี (Pauli's exclusion principle)

ระบบทางฟิสิกส์ที่ต้องใช้สถิติแบบแฟร์มี-ดิแรกในการอธิบายมีจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น กลุ่มแก๊สของอิเล็กตรอน) นับเป็นการปรับปรุงวิชากลศาสตร์สถิติแบบแผนให้ครอบคลุมสมบัติเชิงควอนตัมของอนุภาค (สปิน) ด้วย

ด้วยเหตุนี้สถิติแบบแฟร์มี-ดิแรกถูกไปสู่การประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางตั้งแต่การอธิบายปรากฏการณ์ระดับสเกลเล็ก ๆ ในระดับอะตอมไปจนถึงวัฏจักรชีวิตของดาวฤกษ์ ให้สังเกตว่าเป็นปี พ.ศ. 2469 แฟร์มี และ พอล ดิแรก ศึกษาเรื่องนี้ เป็นปีที่เพิ่งเริ่มมีวิชากลศาสตร์ควอนตัม (Quantum Mechanics) ที่สมบูรณ์เท่านั้น และดิแรกเองก็ยังเป็นหนึ่งในผู้ค้นพบวิชากลศาสตร์ควอนตัมด้วย

งานชิ้นต่อมาทางด้านทฤษฎีของแฟร์มีที่มีผู้ศึกษาต่อกันมาอย่างแพร่หลาย คือ แนวคิดเกี่ยวกับแรงอันตรกิริยาแบบอ่อน ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่แรงมูลฐานที่ศึกษากันในฟิสิกส์ปัจจุบัน จากแนวคิดเรื่องแรงอันตรกิริยาแบบอ่อนนี้ เขาและเพาลีได้เสนออนุภาคใหม่คือ อนุภาคนิวตริโน (neutrio) - ตั้งชื่อโดยแฟร์มี- ซึ่งสำคัญอย่างยิ่งในการอธิบายการกำเนิดแสงของดวงอาทิตย์ อนุภาคนิวตริโนก็ยังมีปริศนาที่สำคัญอีกมากมายที่วิชาฟิสิกส์อนุภาคในปัจจุบันยังไม่สามารถให้คำอธิบายได้ ยังรอการค้นคว้าใหม่ๆทั้งในแง่ของการทดลองและทฤษฎี

ในด้านกลศาสตร์ควอนตัม แฟร์มียังได้คิดค้น กฎทองคำของแฟร์มี (Fermi's golden rule) ซึ่งเป็นสมการที่ใช้ในการอธิบายอัตราการเปลี่ยนสถานะของอนุภาคอีกด้วย

ด้วยผลงานการศึกษาอย่างจริงจังในสาขาเหล่านี้ ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ประจำปี พ.ศ. 2481

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]