หลักการกีดกันของเพาลี
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ส่วนหนึ่งของชุดบทความเกี่ยวกับ |
กลศาสตร์ควอนตัม |
---|
หลักการกีดกันของเพาลี (อังกฤษ: Pauli exclusion principle) คือหลักการของกลศาสตร์ควอนตัมที่ว่า ต้องไม่มีเฟอร์มิออน (อนุภาคที่มีสปินไม่เป็นจำนวนเต็ม) ที่เทียบเท่ากันสองตัวใด ๆ ครอบครองสถานะควอนตัมเดียวกันได้ในเวลาเดียวกัน หากกล่าวให้เข้มงวดยิ่งขึ้นคือ ฟังก์ชันคลื่นรวมของเฟอร์มิออนที่เทียบเท่ากันสองตัวจะเป็นแบบกึ่งสมมาตรเมื่อเทียบกับการแลกเปลี่ยนอนุภาค หลักการนี้พัฒนาขึ้นโดยนักฟิสิกส์ชาวออสเตรีย โวล์ฟกัง เพาลี เมื่อปี ค.ศ. 1925
ตัวอย่างเช่น จะไม่มีอิเล็กตรอนสองตัวใด ๆ ในอะตอมเดี่ยวอะตอมหนึ่งจะมีเลขควอนตัมทั้งสี่แบบเดียวกัน ถ้า n, l, และ ml มีค่าเท่ากันแล้ว ms จะต้องต่างกันทำให้อิเล็กตรอนสองตัวนั้นมีทิศทางสปินตรงข้ามกัน
อนุภาคสปินที่เป็นเลขจำนวนเต็มคือ โบซอน นั้นไม่ได้อยู่ภายใต้หลักการกีดกันของเพาลี โบซอนที่เทียบเท่ากันจำนวนเท่าใดก็ตามสามารถครอบครองสถานะควอนตัมเดียวกันได้ เช่นการผลิตโฟตอนขึ้นด้วยเลเซอร์และของเหลวผลควบแน่นโพส–ไอน์สไตน์
อ้างอิง
[แก้]- Dill, Dan (2006). "Chapter 3.5, Many-electron atoms: Fermi holes and Fermi heaps". Notes on General Chemistry (2nd ed.). W. H. Freeman. ISBN 1-4292-0068-5.
- Griffiths, David J. (2004). Introduction to Quantum Mechanics (2nd ed.). Prentice Hall. ISBN 0-13-805326-X.
- Liboff, Richard L. (2002). Introductory Quantum Mechanics. Addison-Wesley. ISBN 0-8053-8714-5.
- Massimi, Michela (2005). Pauli's Exclusion Principle. Cambridge University Press. ISBN 0-521-83911-4.
- Tipler, Paul; Llewellyn, Ralph (2002). Modern Physics (4th ed.). W. H. Freeman. ISBN 0-7167-4345-0.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Nobel Lecture: Exclusion Principle and Quantum Mechanics Pauli's own account of the development of the Exclusion Principle.