ข้ามไปเนื้อหา

เสาปติกบรรพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เสาปติกบรรพ (อักษรโรมัน: Sauptika Parva, สันสกฤต: सौप्तिक पर्व) แปลว่า "บรรพแห่งการหลับใหล" เป็นหนังสือบรรพที่ 10 ของ มหาภารตะ ประกอบไปด้วย 2 บรรพย่อย รวมทั้งหมด 18 ตอน[1][2][3][4] เป็นเรื่องราวก่อนทุรโยชน์จะเสียชีวิต อัศวัตถามา กฤปาจารย์ และกฤตวรมัน กองกำลัง 3 คนสุดท้ายของฝ่ายเการพที่เหลืออยู่ ลอบทำลายกองทัพปาณฑพขณะกำลังนอนหลับ (เสาปติก แปลว่า การหลับใหล) ฝ่ายปาณฑพรอดชีวิตเพียง 7 คนเท่านั้น บรรพนี้มีเนื้อหาต่อเนื่องมาจาก ศัลยบรรพ ส่วนบรรพต่อไปจากนี้คือ สตรีบรรพ

เนื้อเรื่อง และบรรพย่อย

[แก้]

เสาปติกบรรพ ประกอบไปด้วย 2 บรรพย่อย รวมทั้งหมด 18 ตอน[1][5] ดังนี้

  1. เสาปติกบรรพ
  2. อิสิกบรรพ

นักรบฝ่ายเการพที่เหลืออยู่ 3 คน ลักลอบเข้าไปโจมตีพวกปาณฑพที่เหลืออยู่ในตอนกลางคืน มีเพียงพระกฤษณะและพี่น้องปาณฑพ 5 คนกับ "สาตยกี" เท่านั้นที่ไม่ได้นอนอยู่ค่ายที่พัก อัศวถามาสังหารธฤตทยุมันเพื่อแก้แค้นให้พ่อก่อนเป็นคนแรก และหลังจากนั้นก็เดินไปตามที่นอนของนักรบแต่ละคนเพื่อสังหารและฆ่าทหารทุกคนที่นอนหลับอยู่ในค่ายพักรวมทั้งศิขัณฑิณ และลูกชายทั้ง 5 คนของพระนางเทราปตี กับพี่น้องปาณฑพด้วย

พวกอสูรได้เข้ามาร่วมเฉลิมฉลองชัยชนะด้วยการกินเนื้อสด ๆ ของนักรบฝ่ายปาณฑพที่ถูกอัศวถามาฆ่าตายอย่างสยดสยอง แล้วอัศวถามาจึงกลับไปเล่าเรื่องให้ทุรโยธน์ที่นอนรอความตายฟังว่าได้ล้างแค้นให้แล้ว[ต้องการอ้างอิง]

ในขณะที่พระนางเทราปตีเสียใจจนแทบจะเป็นบ้า เพราะลูกชายถูกฆ่าตายทั้งหมดทั้ง 5 คนและนางได้เรียกร้องให้พี่น้องปาณฑพผู้เป็นสามีจัดการกับอัศวถามาเพื่อล้างแค้นให้ตนให้จงได้

บัดนี้สงครามที่ทุ่งเกษตรได้จบสิ้นลงแล้ว ด้วยความพ่ายแพ้ของฝ่ายเการพอย่างสิ้นเชิง ผู้ที่รอดตายในสงครามครั้งนี้ในฝ่ายเการพมีเพียงสามคนคือ "กฤปาจารย์" "อัศวถามา" และ "กฤตวรมัน" ส่วนทางฝ่ายปาณฑพเองก็รอดตายเพียงแค่ พี่น้องปาณฑพห้าคน คือ ยุธิษฐิระ ภีมะ อรชุน นกุล และสหเทพ รวมทั้งพระกฤษณะและสาตยกีเท่านั้นรวมกันเป็นเจ็ดคน ส่วนคนอื่นที่เหลือตายในสนามรบกันหมดทุกคน นี่คือสงครามล้างผลาญชีวิตผู้คนขนานใหญ่อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในตำนานเรื่องใด[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Ganguli, K.M. (1883-1896) "Sauptika Parva" in The Mahabharata of Krishna-Dwaipayana Vyasa (12 Volumes). Calcutta
  2. Dutt, M.N. (1902) The Mahabharata (Volume 10): Sauptika Parva. Calcutta: Elysium Press
  3. van Buitenen, J.A.B. (1973) The Mahabharata: Book 1: The Book of the Beginning. Chicago, IL: University of Chicago Press, p 477
  4. Debroy, B. (2010) The Mahabharata, Volume 1. Gurgaon: Penguin Books India, pp xxiii - xxvi
  5. Sauptika Parva The Mahabharata, Translated by Manmatha Nath Dutt (1897)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]