เลโซโทซอรัส
เลโซโทซอรัส ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Early Jurassic, 199–190Ma | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chardata |
ชั้น: | Reptilia |
อันดับใหญ่: | Dinosauria |
อันดับ: | Ornithischia |
อันดับย่อย: | Saphornithischia |
อันดับฐาน: | Genasauria |
สกุล: | extinction'Lesothosaurus' Galton, 1978 |
ชนิดต้นแบบ | |
†'Lesothosaurus diagnosticus' Galton, 1978 |
เลโซโทซอรัส (อังกฤษ: Lesothosaurus) คือ ไดโนเสาร์กลุ่มออร์นิทิสเกีย เป็นสัตว์กินพืชขนาดเล็ก โดยมันมีขนาดไม่ใหญ่มากเมื่อเปรียบกับกลุ่มของมัน เลโซโทซอรัสเป็นไดโนเสาร์ที่อาศัยอยู่ในช่วงต้นยุคจูแรสซิกในเขตประเทศแอฟริกาใต้และราชอาณาจักรเลโซโท มันถูกค้นพบและตั้งชื่อโดย Peter Galton (ปีเตอร์ แกลตัน) เมื่อปี ค.ศ. 1978 ชื่อของมันนั้นหมายถึง "กิ้งก่าจากเลโซโท" สกุลของมันนั้นมีเพียงแค่สปีชีส์เดียวคือ "Lesothosaurus diagnosticus" (เลโซโทซอรัส ดีอักนอสติคัส)
เลโซโทซอรัสเป็นหนึ่งในออร์นิทิสเกียยุคแรกเริ่มที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดในหมู่นักบรรพชีวินวิทยาและกลุ่มคนรักไดโนเสาร์ แต่สำหรับคนอื่นๆจะไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันมากนัก มันมีซากฟอสซิลที่ค่อนข้างสมบูรณ์ในระดับหนึ่งเลยทีเดียว ส่วนใหญมักพบซากของมันแถบ ชั้นหิน Eliot (Eliot Formation) ซึ่งร่างกายของมันนั้นถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการเอาชีวิตรอดในช่วงยุคจูแรสซิกเป็นอย่างมาก มันมีฟันที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อนเหมือนพวกออร์นิทิสเกียรุ่นหลัง โดยมันอาจจะกินได้แทบทุกอย่างตั้งแต่พืชตระกูลเฟิร์นจนถึงแมลงและสัตว์ขนาดเล็ก พูดง่ายๆคือมันอาจจะกินแบบไม่เลือกเลย (สัตว์กินทั้งพืชและเนื้อ)[1]
รายละเอียด
[แก้]อันเนื่องมาจากสภาพฟอสซิลของเลโซโทซอรัสนั้นอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์จึงทำให้เราได้รู้ถึงลักษณะของกายวิภาคมันได้เป็นอย่างดี โดยมันเป็นสัตว์ที่เดินสองขาขนาดเล็กซึ่งมันมีขนาดอยู่ที่ 1 เมตร (3.3ฟุต) ถึง 2 เมตร (6.6ฟุต) เป็นหนึ่งในออร์นิทิสเกียรุ่นแรก มีขายาวที่มีรูปร่างเพรียว แขนสั้นที่มีมือที่จับอะไรไม่ค่อยได้ หางที่มีรูปร่างเพรียวเพื่อใช้ในการวิ่ง[2] เหมือนกับออร์นิสทิเกียทุกตัว มีปากที่รูปร่างเหมือนนก[3] โดยเลโซโทซอรัสอาจจะกินสัตว์ที่มีขนาดเล็กในช่วงที่พืชขาดแคลน[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://www.researchgate.net/publication/254313592;วารสารบรรพชีวินวิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลัง Sereno, Paul C. (1997)
- ↑ Matthew G. Baron; David B. Norman; Paul M. Barrett (2016). "Postcranial anatomy of Lesothosaurus diagnosticus (Dinosauria: Ornithischia) from the Lower Jurassic of southern Africa: implications for basal ornithischian taxonomy and systematics". Zoological Journal of the Linnean Society. in press. doi:10.1111/zoj.12434
- ↑ Benton, Michael J. (2012). Prehistoric Life. Edinburgh, Scotland: Dorling Kindersley. p. 271. ISBN 978-0-7566-9910-9.
- ↑ Sciscio L, Knoll F, Bordy EM, de Kock MO, Redelstorff R. (2017). Digital reconstruction of the mandible of an adult Lesothosaurus diagnosticus with insight into the tooth replacement process and diet. PeerJ, 5: e3054 https://doi.org/10.7717/peerj.3054
หนังสืออ่านเพิ่ม
[แก้]- P. M. Galton. 1978. Fabrosauridae, the basal family of ornithischian dinosaurs (Reptilia: Ornithischia). Paläontologische Zeitschrift 52(1/2):138-159
- Butler, R.J., 2005. "The 'fabrosaurid' ornithischian dinosaurs of the Upper Elliot Formation (Lower Jurassic) of South Africa and Lesotho." Zoological Journal of the Linnean Society 145: 175-218.