ข้ามไปเนื้อหา

เลขา อภัยวงศ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เลขา อภัยวงศ์
คู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย
ดำรงตำแหน่ง
1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488
ก่อนหน้าละเอียด พิบูลสงคราม
ถัดไปอำภาศรี บุณยเกตุ
ดำรงตำแหน่ง
31 มกราคม – 24 มีนาคม พ.ศ. 2489
ก่อนหน้าอุศนา ปราโมช ณ อยุธยา
ถัดไปพูนศุข พนมยงค์
ดำรงตำแหน่ง
10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 – 8 เมษายน พ.ศ. 2491
ก่อนหน้าระเบียบ ธำรงนาวาสวัสดิ์
บรรจง ธำรงนาวาสวัสดิ์
ถัดไปละเอียด พิบูลสงคราม
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2514 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
สมาชิกวุฒิสภา
ดำรงตำแหน่ง
21 มิถุนายน พ.ศ. 2492 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
เจน เล็ก คุณะดิลก

10 ธันวาคม พ.ศ. 2449
เสียชีวิตพ.ศ. 2526 ~(ประมาณ 76-77 ปี)
เชื้อชาติไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์
คู่สมรสควง อภัยวงศ์
บุตรดิลก อภัยวงศ์
คทา อภัยวงศ์
คลอ อภัยวงศ์
บุพการี
อาชีพสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)
สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)

คุณหญิงเลขา อภัยวงศ์ (นามเดิม: เจน เล็ก คุณะดิลก; 10 ธันวาคม พ.ศ. 2449 - พ.ศ. 2526) เป็นนักการเมือง และนักธุรกิจชาวไทย เป็นภริยาของควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรีไทย

ประวัติ

[แก้]

คุณหญิงเลขา อภัยวงศ์ มีชื่อเดิมและนามสกุลเดิมว่า เจน เล็ก คุณะดิลก เป็นบุตรีของมหาอำมาตย์โท พระยาอรรถการประสิทธิ์ (วิลเลียม แอลเฟรด ติลเลกี) นักกฎหมายชาวศรีลังกา[1][2] ต้นสกุล คุณะดิลก[3] และมีปู่ชื่อ เอ็ม. คุณะดิลก เป็นชนชั้นสูงชั้นราชะของซีลอน (ปัจจุบันคือ ศรีลังกา)[4] มีพี่ชายร่วมอุทรคนหนึ่งซึ่งเป็นสมาชิกเสรีไทย คือ แดง คุณะดิลก

การศึกษา

[แก้]

คุณหญิงเลขาสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนราชินี แล้วจึงไปเรียนต่อที่ประเทศฝรั่งเศส พร้อมกับนายแดง พี่ชาย ซึ่งที่นี่ทั้งนายแดง และคุณหญิงเลขาได้พบกับเพื่อนนักเรียนไทยที่ไปเรียนในวาระเดียวกันหลายคน ซึ่งต่อมาหลายคนได้กลายเป็นสมาชิกคณะราษฎร รวมทั้ง ควง อภัยวงศ์ด้วย ซึ่งทั้งคู่ได้ทำความรู้จักและสนิทสนมกัน

การทำงาน

[แก้]

เมื่อสำเร็จการศึกษา ทั้งคู่กลับมาและได้สมรสกัน พร้อมกับได้เปลี่ยนชื่อเป็น เลขา อภัยวงศ์ ตามนโยบายรัฐนิยมของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นที่กำหนดให้ชื่อของผู้ชายให้ตั้งเข้มแข็ง ชื่อของผู้หญิงให้อ่อนหวาน เธอและควง มีบุตร-ธิดาด้วยกันสามคน ได้แก่ ดิลก, คทา และคลอ อภัยวงศ์[5]

คุณหญิงเลขา อภัยวงศ์ เป็นนักธุรกิจ ประกอบธุรกิจหลายอย่าง รวมทั้งบริษัทสุวรรณภูมิ จำกัด ที่ขายอาวุธให้แก่เวียดมินห์ พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามและพรรคก๊กมินตั๋ง รวมถึงฝรั่งเศสอินโดจีน การค้าในนามบริษัทสุวรรณภูมิ ได้ส่งผลกำไรด้วยดี บริษัทฯ ดังกล่าวตั้งขึ้นสมัยญี่ปุ่นยึดครองประเทศไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และสืบต่อมาหลังสงครามสงบ สถานที่ตั้งอยู่บริเวณตึกสามแยก ใกล้วงเวียนโอเดียนในปัจจุบัน ซึ่งอาวุธส่วนหนึ่งของขบวนการเสรีไทยในการปฏิบัติการ ก็มาจากอาวุธเหล่านี้ด้วย

หลังการอสัญกรรมของนายควง อภัยวงศ์

[แก้]

ภายหลังการถึงแก่อสัญกรรมของควง อภัยวงศ์ สามีและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งพรรคมา ในปี พ.ศ. 2511 คุณหญิงเลขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดพระนคร แทนที่นายควง ผู้เป็นสามี ซึ่งผลปรากฏว่าได้รับเลือกตั้งไป ทั้ง ๆ ที่เป็นเพียงคนหน้าใหม่ในวงการการเมือง และต่อมาเมื่อมีการเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่ คุณหญิงเลขา อภัยวงศ์ ได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกพรรคจำนวนหนึ่ง ให้เป็นรองหัวหน้าพรรค เพื่อแข่งขันกับหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ซึ่งยุติบทบาททางการเมืองไปนานแล้วตั้งแต่การรัฐประหาร พ.ศ. 2494 แต่กลุ่มผู้สนับสนุน หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช มีมากกว่า เนื่องจากเห็นว่า หม่อมราชวงศ์เสนีย์ เป็นถึงอดีตนายกรัฐมนตรีผู้เจรจาถอนทหารอังกฤษออกจากประเทศไทยหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งมีส่วนอย่างมากมิให้ไทยต้องกลายสภาพเป็นประเทศแพ้สงคราม เป็นผู้นำเสรีไทยในสหรัฐอเมริกา และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์มาพร้อมกับนายควง อภัยวงศ์ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช จึงได้เป็นหัวหน้าพรรคสืบต่อไป

และหลังจากนี้คุณหญิงเลขา อภัยวงศ์ ก็ยังได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)

บทบาททางสังคม

[แก้]

ในทางสังคม คุณหญิงเลขา อภัยวงศ์ เป็นผู้ที่มีบทบาทอย่างมากในแวดวงสังคม เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมนักเรียนเก่าราชินีในพระบรมราชินูปถัมภ์ ขึ้นในปี พ.ศ. 2483 และรับตำแหน่งนายกสมาคม 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2485 และ พ.ศ. 2494 และเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งสภาสตรีแห่งชาติและโรงเรียนสตรีแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2495 ร่วมกับท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ภริยาจอมพล ป. พิบูลสงคราม และท่านผู้หญิงอุศนา ปราโมช ภริยาหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. SCG-HERITAGE. พระยาอรรถการประสิทธิ์. เมื่อดูเมื่อ 1 กันยายน 2556
  2. Songsri Foran (1981), Thai-British-American relations during World War II and the immediate postwar period, 1940-1946, Thai Khadi Research Institute, Thammasat University, p. 83
  3. "บทบาทของนักกฎหมายชาวต่างประเทศในยุคปฏิรูปกฎหมายและการศาลไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-10. สืบค้นเมื่อ 2012-10-17.
  4. ร้านหนังสือคุณแม่. อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงเลขา อภัยวงศ์ ท.จ.ท.ม. เก็บถาวร 2012-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เรียกดูเมื่อ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555
  5. ฐานข้อมูลบูรพาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. พันตรี ควง อภัยวงศ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เรียกดูเมื่อ 31 สิงหาคม 2556
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๗๐, ๔ มกราคม ๒๕๐๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๓๙ ง หน้า ๑๕๕๔, ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๐๑

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • หนังสือ กำเนิดพรรคประชาธิปัตย์ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ๖๑ ปี ประชาธิปัตย์ ยังอยู่ยั้งยืนยง โดย จรี เปรมศรีรัตน์ 2550
ก่อนหน้า เลขา อภัยวงศ์ ถัดไป
ละเอียด พิบูลสงคราม คู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย
(สมัยที่ 1)

(1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488)
อำภาศรี บุณยเกตุ
อุศนา ปราโมช ณ อยุธยา คู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย
(สมัยที่ 2)

(31 มกราคม พ.ศ. 2489 - 24 สิงหาคม พ.ศ. 2489)
พูนศุข พนมยงค์
แฉล้ม สุมาวงศ์
ระเบียบ สุมาวงศ์
บรรจง สุมาวงศ์
คู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย
(สมัยที่ 3 และ 4)

(10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 - 8 เมษายน พ.ศ. 2491)
ละเอียด พิบูลสงคราม