เรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร
เรือหลวงนเรศวร (FFG-421)
| |
ภาพรวมชั้น | |
---|---|
ผู้สร้าง: | อู่ต่อเรือไชน่าสเตตท์, เซี่ยงไฮ้ |
ผู้ใช้งาน: | กองทัพเรือไทย |
ก่อนหน้าโดย: | เรือฟริเกตชุดเรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก |
ตามหลังโดย: | เรือฟริเกตชุดเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช |
ชั้นย่อย: | เรือฟริเกต แบบ 053 |
สร้างเมื่อ: | พ.ศ. 2534–2538 |
ในประจำการ: | พ.ศ. 2537–ปัจจุบัน |
เสร็จแล้ว: | 2 ลำ |
ใช้การอยู่: | 2 ลำ |
ลักษณะเฉพาะ | |
ประเภท: | เรือฟริเกต |
ขนาด (ระวางขับน้ำ): | 2,985 ตัน (เต็มที่) |
ความยาว: | 120.5 เมตร |
ความกว้าง: | 13.7 เมตร |
กินน้ำลึก: | 6 เมตร |
ระบบขับเคลื่อน: |
|
ความเร็ว: | 32 นอต (59 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) สูงสุด |
พิสัยเชื้อเพลิง: | 4,000 ไมล์ทะเล (7,408 กม.) ที่ 18 นอต |
กำลังพล: |
|
อัตราเต็มที่: | 150 นาย |
ระบบตรวจการและปฏิบัติการ: | |
สงครามอิเล็กทรอนิกส์และเป้าลวง: |
|
ยุทโธปกรณ์: |
|
อากาศยาน: | 1 × ซูเปอร์ลิงซ์ 300 |
อุปกรณ์สนับสนุนการบิน: | ดาดฟ้าเฮลิคอปเตอร์ และโรงเก็บ |
เรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร[1] (อังกฤษ: Naresuan-class frigate) เป็นเรือรบรุ่นปรับปรุงขนาดจากเรือฟริเกต แบบ 053 ของประเทศจีน ที่สร้างโดยประเทศจีน สำหรับใช้งานโดยกองทัพเรือไทย
การออกแบบ
[แก้]เรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร เป็นเรือรบชุดที่ออกแบบร่วมกันระหว่างกองทัพเรือไทยและจีน โดยปรับปรุงจากแบบเรือฟรีเกตแบบ 053[2] แบบย่อย 053H2 ซึ่งเป็นเรือฟรีเกตชั้นเจียงฮู 3 (Jianghu III-class) ของกองทัพเรือจีน ดำเนินการต่อโดย อู่ต่อเรือไชน่าสเตตท์ ในเซี่ยงไฮ้ และติดตั้งระบบอาวุธจากประเทศตะวันตก ซึ่งการต่อในประเทศจีนในขณะนั้นมีมูลค่าต่อลำเพียงลำละ 2 พันล้านบาท หากเทียบกับเรือฟริเกตที่ต่อจากประเทศตะวันตกซึ่งราคาลำละ 8 พันล้านบาทในขณะนั้น แต่หลังจากต่อเรือเสร็จ เรือชุดนี้ประสบปัญหาคุณภาพของเนื้องานที่ไม่เป็นที่ประทับใจของกองทัพเรือ หลังจากรับมอบจึงต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของตัวเรือเป็นจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงระบบสายไฟต่าง ๆ ภายในเรือ และติดตั้งระบบใหม่เองเกือบทั้งหมด[3] และส่งผลกระทบมาจนถึงปัจจุบันในด้านการซ่อมบำรุง[4]
เรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร ลำแรกคือเรือหลวงนเรศวร ต่อเรือ ณ อู่จงหัว เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน วางกระดูกงูในปี พ.ศ. 2534 ปล่อยเรือลงน้ำในเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2536 และเข้าประจำการในกองทัพเรือเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2537[5] และลำต่อมาคือเรือหลวงตากสิน ต่อเรือ ณ อู่จงหัว เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน วางกระดูกงูในปี พ.ศ. 2534 ปล่อยเรือลงน้ำในปี พ.ศ. 2536 และเข้าประจำการในกองทัพเรือเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2538[6] โดยมีการติดอาวุธและระบบเดินเรือ ระบบอำนวยการรบเบื้องต้นมาให้ ทำความเร็วสูงสุดมากกว่า 32 นอต ความเร็วมัธยัสถ์ 18 นอต มีรัศมีทำการ 4,000 ไมล์ทะเล (ที่ความเร็วมัธยัสถ์) ระวางขับน้ำปกติ 2,800 ตัน ระวางขับน้ำเต็มที่ 2,985 ตัน ความยาวตลอดลำตัวเรือ 120.5 เมตร ความยาวที่แนวระดับน้ำ 112.50 เมตร ความกว้างสูงสุด 13.70 เมตร ความกว้างที่แนวระดับน้ำ 12.98 เมตร ตัวเรือกินน้ำลึกเฉลี่ย 3.783 เมตร (บริเวณหัวเรือ 3.4 เมตร ท้ายเรือ 3.9 เมตร) กินน้ำลึกสูงสุดประมาณ 6 เมตร[6][5] ท้ายเรือมีอุปกรณ์สนับสนุนคือดาดฟ้าบิน สำหรับเฮลิคอปเตอร์แบบ ซูเปอร์ลิงซ์ 300 พร้อมกับโรงเก็บ[4]
การเพิ่มประสิทธิภาพ
[แก้]เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ซ้าบได้ประกาศว่าได้รับสัญญาจ้างในการปรับปรุงเรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร 2 ลำ ในส่วนของระบบอำนวยการรบ 9LV MK4 ของซ้าบ, Sea Giraffe AMB, เรดาร์ควบคุมการยิง CEROS 200, ระบบอิเล็กโทรออพติก EOS 500 และระบบในการเชื่อมโยงข้อมูลการสื่อสารกับเครื่องบินตรวจการณ์ Erieye ของกองทัพอากาศ[7]
ในส่วนของกองทัพเรือ ได้วางแผนในการเพิ่มประสิทธิภาพและปรับปรุงขีดความสามารถเรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวรให้สามารถปฏิบัติการได้ 3 มิติ คือผิวน้ำ ใต้น้ำ และทางอากาศ ได้อย่างสมบูรณ์ขึ้น แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ระหว่างปี พ.ศ. 2554–2557 ระยะที่ 2 ระหว่างปี พ.ศ. 2555–2557 ระยะที่ 3 ระหว่างปี 2556–2558 โดยส่วนหนึ่งในการปรับปรุงมีการจัดซื้อระบบอำนวยการรบ และการจัดซื้อระบบอาวุธปล่อยนำวิถีแบบพื้นสู่อากาศ รวมไปถึงการปรับปรุงระบบเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับกองทัพอากาศในส่วนของเครื่องบินยาส 39 และเครื่องบินตรวจการณ์ Erieye[8]
เรือในชุด
[แก้]ชื่อ | หมายเลข | สร้างโดย | ปล่อยลงน้ำ | ประจำการ | ปลดประจำการ | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|---|
เรือหลวงนเรศวร | 421 | อู่จงหัว, เซี่ยงไฮ้ | กรกฎาคม 2536 | 15 ธันวาคม 2537 | ประจำการ | |
เรือหลวงตากสิน | 422 | อู่จงหัว, เซี่ยงไฮ้ | 2537 | 28 กันยายน 2538 | ประจำการ |
ภารกิจ
[แก้]เรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร ถือเป็นเรือฟริเกตชุดที่มีสมรรถนะสูงที่สุดชุดหนึ่งของกองทัพเรือไทย[9] ปัจจุบันประจำการอยู่กองเรือฟริเกตที่ 2 กองเรือยุทธการ[1] ที่มีศักยภาพในการยิงขีปนาวุธปล่อยแบบนำวิถีรูปแบบต่าง ๆ ที่ทันสมัยได้อย่างแม่นยำ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พร้อมผู้บัญชาการเหล่าทัพ สังเกตการณ์ฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถี แบบ Harpoon บนเรือหลวงจักรีนฤเบศร". rtarf.mi.th.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Royal Thai Navy Frigate Corvette Patrol Vessel Submarine". www.seaforces.org.
- ↑ ""เจนส์" ปูดข่าวไทยเริ่มยกเครื่องเรือนเรศวร-ตากสิน เชื่อม "กริพเพน"". mgronline.com. 2012-09-21.
- ↑ 4.0 4.1 "โครงการ "เรือฟริเกต" 2 ลำ 3 หมื่นล้าน เพื่อปกป้องอธิปไตยหรือผลประโยชน์ใคร ? - หึ่งล้มแผน "เรือดำน้ำ" กับ "ใบสั่ง" ซื้อเรือสัญชาติจีน - ThaiPublica". thaipublica.org. 2012-10-10.
- ↑ 5.0 5.1 "ร.ล.นเรศวร - Royal Thai Navy - Detail Today". www.fleet.navy.mi.th.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 6.0 6.1 "ร.ล.ตากสิน - Royal Thai Navy - Detail Today". www.fleet.navy.mi.th.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Saab receives order from Thailand regarding the upgrading of combat management system and fire control systems". Saab. 3 June 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 November 2011.
- ↑ "โครงการ "เรือฟริเกต" 2 ลำ 3 หมื่นล้าน เพื่อปกป้องอธิปไตยหรือผลประโยชน์ใคร ? - หึ่งล้มแผน "เรือดำน้ำ" กับ "ใบสั่ง" ซื้อเรือสัญชาติจีน - ThaiPublica". thaipublica.org. 2012-10-10.
- ↑ "เรือรบไทยอวดธงในทะเลจีนใต้ไปต่ออันดามัน รล.นเรศวรฝึก CARAT กับเรือพิฆาตสหรัฐ เรือฟริเกตสิงคโปร์". mgronline.com. 2017-05-14.
ข้อมูลเพิ่มเติม
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร