ข้ามไปเนื้อหา

เรือพี่น้อง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาร์เอ็มเอส โอลิมปิก และอาร์เอ็มเอส ไททานิก ที่เบลฟาสต์ในวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1912
มาเจสตีออฟเดอะซีส์ และมอนาร์กออฟเดอะซีส์ ที่แนสซอ ประเทศบาฮามาส ในปี ค.ศ. 2011

เรือพี่น้อง หรือ เรือแฝด (อังกฤษ: sister ship) หมายถึงเรือในกลุ่มชั้นเดียวกันหรือมีการออกแบบที่คล้ายคลึงกับเรืออีกลำหนึ่ง ซึ่งจะมีรูปแบบตัวเรือและโครงสร้างบนเกือบเหมือนกัน ขนาดใกล้เคียงกัน และมีคุณลักษณะและอุปกรณ์ใกล้เคียงกันโดยประมาณ และมักจะใช้รูปแบบการตั้งชื่อร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการตั้งชื่อตามสิ่งของหรือบุคคลประเภทเดียวกัน เช่น สถานที่ กลุ่มดาว ประมุขของรัฐ หรือด้วยการสัมผัสอักษรบางอย่าง โดยทั่วไปแล้วชั้นเรือจะถูกตั้งชื่อตามเรือลำแรกของชั้นนั้น บ่อยครั้งที่เรือแฝดจะมีความแตกต่างกันมากขึ้นในระหว่างการประจำการ เนื่องจากอุปกรณ์ (ในกรณีของเรือรบคืออาวุธยุทโธปกรณ์) จะถูกปรับเปลี่ยนแยกกัน

ตัวอย่างเช่น เรือรบของสหรัฐอเมริกา ยูเอสเอส ไอโอวา (USS Iowa), ยูเอสเอส นิวเจอร์ซีย์ (USS New Jersey), ยูเอสเอส มิสซูรี (USS Missouri) และยูเอสเอส วิสคอนซิน (USS Wisconsin) เป็นเรือแฝดกัน แต่ละลำอยู่ในกลุ่มเรือประจัญบานชั้นไอโอวา

เรือแฝดที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือเรือเดินสมุทรชั้นโอลิมปิกของบริษัทไวต์สตาร์ไลน์ (White Star Line) ซึ่งประกอบด้วยเรืออาร์เอ็มเอส โอลิมปิก (RMS Olympic), อาร์เอ็มเอส ไททานิก (RMS Titanic) และ เอชเอ็มเอชเอส บริแทนนิก (HMHS Britannic) เช่นเดียวกับเรือเดินสมุทรลำอื่น ๆ เรือแฝดจะทำหน้าที่เป็นเพื่อนร่วมวิ่ง เรือแฝดลำอื่น ๆ เช่น เอ็มเอส เอกซ์ปลอเรอร์ออฟเดอะซีส์ (MS Explorer of the Seas) และเอ็มเอส แอดเวนเจอร์ออฟเดอะซีส์ (MS Adventure of the Seas) ของบริษัทรอยัลแคริบเบียนอินเตอร์เนชันแนล (Royal Caribbean International)

เรือกึ่งแฝด (อังกฤษ: Half-sister ship) หมายถึงเรือในชั้นเดียวกัน แต่มีความแตกต่างที่สำคัญบางประการ ตัวอย่างเช่นเรือลาดตระเวนประจัญบานชั้นเคอเรจัส (Courageous-class battlecruisers) ของอังกฤษ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยที่เรือสองลำแรกติดตั้งปืนขนาด 15 นิ้ว (381 มม.) แต่ลำสุดท้ายคือเอชเอ็มเอส ฟิวเรียส (HMS Furious) ติดตั้งปืนขนาด 18 นิ้ว (457 มม.) แทน ทั้งสามลำถูกดัดแปลงเป็นเรือบรรทุกอากาศยาน โดยฟิวเรียส แตกต่างจากเรือพี่น้องลำอื่น คือมีหอบังคับการที่เล็กกว่ามาก อีกตัวอย่างหนึ่งคือเรือบรรทุกอากาศยานชั้นเอสเซ็กซ์ (Essex-class aircraft carriers)ของสหรัฐฯ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มีทั้ง"ลำเรือยาว" และ "ลำเรือสั้น"

ส่วนในเรือเหาะ เช่น ยูเอสเอส แอครอน (USS Akron) และยูเอสเอส มาคอน (USS Macon) ของสหรัฐฯ และเรือเหาะชั้นฮินเดินบวร์ค คือ เอ็ลเซ็ท 129 ฮินเดินบวร์ค (LZ 129 Hindenburg) และเอลเซท 130 กรัฟ เซพเพลิน 2 (LZ 130 Graf Zeppelin II) ของเยอรมัน

ความแตกต่างทางการค้าที่ยอมรับโดยทั่วไปของเรือแฝด มีดังต่อไปนี้:

  • ประเภท: ประเภทเรือที่เหมือนกัน (เทกอง, บรรทุกสินค้าเหลว, โรโร, ฯลฯ)
  • น้ำหนักขณะไม่ได้บรรทุก (Dry Weight Tonnage; DWT): ± 10% (หากเรือมีขนาด 100,000 DWT, น้ำหนักจะอยู่ที่ 90,000–110,000 DWT)
  • ผู้สร้าง: บริษัทต่อเรือเดียวกัน (ไม่ใช่ที่ตั้งอู่ต่อเรือหรือประเทศที่สร้าง)

เกณฑ์ที่สำคัญคือมีการออกแบบตัวเรือที่เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น

องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization; IMO) ได้กำหนดขอบเขตของเรือแฝด ในปี 2006 ว่า:

  • เรือพี่น้อง หรือเรือแฝด คือเรือที่สร้างขึ้นในอู่เรือเดียวกันจากแบบแปลนเดียวกัน
  • ค่าความต่างของน้ำหนักเรือที่ยอมรับได้ ควรอยู่ระหว่าง 1–2% ของน้ำหนักเรือลำดับแรกของชั้นเรือนั้นๆ ขึ้นอยู่กับความยาวของเรือ

รูปภาพ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]