เรือป้องกันชายฝั่งรัสเซียเจเนอรัลแอดมิรัลอะพรักซิน
เรือป้องกันชายฝั่งรัสเซียเจเนอรัลแอดมิรัลอะพรักซิน ซึ่งต่อมากลายเป็นโอกิโนชิมะของญี่ปุ่น
| |
ประวัติ | |
---|---|
จักรวรรดิรัสเซีย | |
ชื่อ | เจเนอรัลแอดมิรัลอะพรักซิน |
อู่เรือ | นิวแอดมิแรลทีเวิกส์ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย |
ปล่อยเรือ | 24 ตุลาคม ค.ศ. 1894 |
เดินเรือแรก | 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1896 |
เข้าประจำการ | ค.ศ. 1899 |
Stricken | 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1905 |
ความเป็นไป | ตกเป็นทรัพย์เชลยของญี่ปุ่น |
ประเทศญี่ปุ่น | |
ชื่อ | โอกิโนชิมะ |
ส่งมอบเสร็จ | ค.ศ. 1905 |
เข้าประจำการ | 6 มิถุนายน ค.ศ. 1905 |
ปลดระวาง | 1 เมษายน ค.ศ. 1922 |
ความเป็นไป | ขาย ค.ศ. 1924 เป็นเรืออนุสรณ์ |
สถานะ | ทำให้เป็นเศษ เดือนกันยายน ค.ศ. 1939 |
ลักษณะเฉพาะ | |
ชั้น: | เรือป้องกันชายฝั่งชั้นแอดมิรัลอูชาคอฟ |
ขนาด (ระวางขับน้ำ): | 4,165 ตัน (ปกติ); 4,270 ตัน (สูงสุด) |
ความยาว: | 80.62 ม. (264.5 ฟุต) ที่เส้นน้ำลึกของเรือ |
ความกว้าง: | 15.85 ม. (52.0 ฟุต) |
กินน้ำลึก: | 5.18 ม. (17 ฟุต) |
ระบบขับเคลื่อน: | เครื่องจักรไอน้ำทูชาฟต์ วีทีอี, 6,000 แรงม้าเพลา (4,470 กิโลวัตต์); หม้อไอน้ำ 4 ตัว |
ความเร็ว: | 15 นอต (28 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) |
พิสัยเชื้อเพลิง: |
|
อัตราเต็มที่: | 406 นาย |
ยุทโธปกรณ์: |
ตามที่สร้างขึ้น:
ในฐานะโอกิโนชิมะ:
|
สิ่งป้องกัน: |
เจเนอรัลแอดมิรัลอะพรักซิน (รัสเซีย: Генералъ-Адмиралъ Апраксинъ; อังกฤษ: General-Admiral Apraksin; บางครั้งทับศัพท์ว่า Apraxin) เป็นสมาชิกเรือป้องกันชายฝั่งชั้นแอดมิรัลอูชาคอฟแห่งกองทัพเรือจักรวรรดิรัสเซีย มันได้รับการตั้งชื่อตามพลเรือเอกอาวุโส ฟิโอดอร์ มาตเวเยวิช อะพรักซิน ซึ่งเป็นผู้บัญชาการคนแรกของกองเรือบอลติกรัสเซีย มันเป็นหนึ่งในแปดเรือประจัญบานก่อนเดรดนอตรัสเซียที่ถูกเข้ายึดโดยกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น ค.ศ. 1904–1905 ต่อมามันได้ประจำการในกองทัพเรือญี่ปุ่นในฐานะโอกิโนชิมะ (沖ノ島) จนกระทั่งถูกปลดระวางในปี ค.ศ. 1922
มันมีปืนเพียงสามกระบอกเท่านั้น (ป้อมปืนทางส่วนท้ายเรือกระบอกเดียว ดังที่แสดงในรูป) แทนที่จะเหมือนเรือพี่น้องของมัน ซึ่งติดตั้งปืนสี่กระบอก
ประจำการรัสเซีย
[แก้]ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1899 ไม่นานหลังจากเข้าประจำการกับกองเรือบอลติก เจเนอรัลแอดมิรัลอะพรักซินได้แล่นเกยฝั่งบนเกาะฮอกแลนด์ในอ่าวฟินแลนด์ มันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการกู้เรือ เนื่องจากเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันในปี ค.ศ. 1897 มีเรือประจัญบานของกองทัพเรือรัสเซียได้รับความเสียหายอีกลำ นั่นคือแกงกุต พวกลูกเรือเจเนอรัลแอดมิรัลอะพรักซินได้รับคำสั่งให้อยู่บนเรือเพื่อประคับประคองเรือให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้เมื่ออ่าวแข็งตัวในช่วงฤดูหนาว
ตามคำแนะนำของผู้บุกเบิกวิทยุ เอ.เอฟ. โพพอฟ ลูกเรือของเรือได้จัดตั้งสถานีวิทยุบนเกาะเพื่อประคับประคองการสื่อสารกับสำนักงานใหญ่ของกองเรือที่โครนชตัดท์ (ผ่านสถานีที่คีมิ) ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1900 หลังจากล่าช้าหลายสัปดาห์ ในขณะเดียวกัน พลเรือตรี ซิโนวี รอเชสทเวนสกี ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้นำในการปฏิบัติการกู้เรือ ผลของการลงดินเป็นสิ่งที่พยายามชักลากเจเนอรัลแอดมิรัลอะพรักซินให้เป็นอิสระไม่สามารถแก้ไขได้ รวมถึงตกอยู่ในอันตรายจากการอัปปาง และได้แทนที่วิธีของรอเชสทเวนสกีด้วยการจ้างบริษัทเหมืองแร่พลเรือนเพื่อเอาก้อนหินที่ยึดเจเนอรัลแอดมิรัลอะพรักซินออกด้วยระเบิดเล็ก ๆ ความช่วยเหลือในการกอบกู้คือเรือตัดน้ำแข็งยิร์มาก ในตอนแรกรอเชสทเวนสกีมีข้อสงสัยเกี่ยวกับประโยชน์ของยิร์มาก แต่มันได้พิสูจน์คุณค่าของมันในระหว่างปฏิบัติการ ซึ่งได้ข้อสรุปที่ประสบความสำเร็จในช่วงแรกของเดือนพฤษภาคม หลังจากเจเนอรัลแอดมิรัลอะพรักซินได้เป็นอิสระ มันก็ถูกลากกลับไปที่โครนชตัดท์เพื่อทำการซ่อมแซมที่จำเป็น[1]
ต่อมา เจเนอรัลแอดมิรัลอะพรักซิน และสองเรือพี่น้องของมัน แอดมิรัลอูชาคอฟ และแอดมิรัลเซเนียวิน ได้รับการจัดชั้นใหม่ในฐานะเรือป้องกันชายฝั่ง
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ Constantine Pleshakov, The Tsar's Last Armada, pp. 50-51.
อ้างอิง
[แก้]- Burt, R.A. Japanese Battleships, 1897–1945.
- Gibbons, Tony (1983). The Complete Encyclopedia of Battleships and Battlecruisers.
- Grove, Eric (1998). Big Fleet Actions. London: Brockhampton Press.
- Hore, Peter (2005). Battleships. Anness Publishing Ltd. ISBN 0-7548-1407-6.
- Jentsura, Hansgeorg (1976). Warships of the Imperial Japanese Navy, 1869-1945. Naval Institute Press. ISBN 0-87021-893-X.
- Pleshakov, Constantine (2002). The Tsar's Last Armada: The Epic Voyage to the Battle of Tsushima. New York: Basic Books. ISBN 0-465-05792-6.
- Schencking, J. Charles (2005). Making Waves: Politics, Propaganda, And The Emergence Of The Imperial Japanese Navy, 1868-1922. Stanford University Press. ISBN 0-8047-4977-9.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เรือป้องกันชายฝั่งรัสเซียเจเนอรัลแอดมิรัลอะพรักซิน
- Nishidah, Hiroshi (2002). "Armoured ships prize of Russo-Japanese War". Materials of the Imperial Japanese Navy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-04. สืบค้นเมื่อ 2020-04-19.