ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ
ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ (อังกฤษ: purchasing power parity, PPP) หรือ ประสิทธิผลของเงิน เป็นค่าค่าหนึ่งที่เกิดจากการประมาณทางเทคนิคโดยใช้ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เพื่อคำนวณหาระดับการบริโภคสินค้าและบริการในแต่ละประเทศ โดยใช้ราคาสินค้าและบริการในสหรัฐอเมริกาเป็นฐานในการคำนวณ และแสดงผลในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ
ในบริบทของจีดีพี
[แก้]จีดีพีแบบความเสมอภาคของอำนาจซื้อ จะสะท้อนว่าประเทศนั้น ๆ ได้ผลิตสินค้าและบริการรวมกันมากน้อยแค่ไหนหากใช้ราคาสินค้าและบริการในสหรัฐอเมริกาเป็นฐานในการคำนวณ อาทิ ประเทศไทยผลิตน้ำตาลในหนึ่งปีได้หนึ่งแสนตัน การคำนวณแบบ PPP จะไม่สนว่าหนึ่งแสนตันนี้จะจำหน่ายในประเทศและส่งออกได้เงินเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ แต่เราจะสนว่าราคาน้ำตาลในสหรัฐอเมริกาเป็นเท่าไหร่แล้วจึงนำราคานั้นมาคำนวณมูลค่า ก็จะได้เป็น PPP จากภาคอุตสาหกรรมน้ำตาลของไทย
ดังนั้นจีดีพีแบบอำนาจซื้อจะสะท้อนอำนาจการบริโภคหรือชีวิตความเป็นอยู่ได้ดีกว่าจีดีพีแบบตัวเงิน ประเทศกำลังพัฒนา มักจะมีจีดีพี (พีพีพี) สูงกว่าจีดีพี (ตัวเงิน) อาทิ
ประเทศ | จีดีพีต่อหัว (ตัวเงิน) | จีดีพีต่อหัว (พีพีพี) | อัตราทด |
---|---|---|---|
อินเดีย | 1,630 ดอลลาร์สหรัฐ | 5,833 ดอลลาร์สหรัฐ | 3.58 |
ไทย | 5,560 ดอลลาร์สหรัฐ | 14,660 ดอลลาร์สหรัฐ | 2.63 |
แอฟริกาใต้ | 6,477 ดอลลาร์สหรัฐ | 13,046 ดอลลาร์สหรัฐ | 2.01 |
สหรัฐอเมริกา | 54,598 ดอลลาร์สหรัฐ | 54,598 ดอลลาร์สหรัฐ | 1.00 |
เดนมาร์ก | 60,634 ดอลลาร์สหรัฐ | 44,862 ดอลลาร์สหรัฐ | 0.74 |
จากข้อมูลข้างต้น จะพบว่า แอฟริกาใต้มีรายได้ตัวเงินต่อหัวสูงกว่าประเทศไทย แต่กลับมีอำนาจซื้อต่อหัวต่ำกว่าไทย ซึ่งสามารถสะท้อนได้ว่า "ในประเทศไทยสามารถใช้เงินในจำนวนที่น้อยกว่าเพื่อบริโภคสินค้าและบริการที่มากกว่าในประเทศแอฟริกาใต้" และเมื่อพิจารณาอัตราทดแล้ว (อำนาจซื้อต่อหัว/รายได้ตัวเงินต่อหัว) จะพบว่า ในบรรดาห้าประเทศนี้ ชาวอินเดียสามารถใช้เงินได้มีประสิทธิผลมากที่สุด (สินค้าและบริการมีราคาถูกที่สุด) ในขณะที่ชาวเดนมาร์กนั้นมีราคาสินค้าและบริการแพงที่สุด
อ้างอิง
[แก้]- ↑ GDP per capita (current US$) ธนาคารโลก
- ↑ GDP per capita, PPP (current international $) ธนาคารโลก