เมกาซิตี้ บางนา
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ที่ตั้ง | 39 หมู่ที่ 6 ถนนเทพรัตน 19 ถนนกาญจนาภิเษก ตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ |
---|---|
พิกัด | 13°38′55″N 100°40′47″E / 13.648608°N 100.679807°E |
เปิดให้บริการ | 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 (เมกาบางนา) | (อิเกีย)
ผู้บริหารงาน | บริษัท เอสเอฟ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด โดย
|
เจ้าของ | บริษัท เซ็นทรัลเวิลด์ จำกัด |
พื้นที่ชั้นขายปลีก | 201,491 ตารางเมตร (พื้นที่ให้เช่า) 577,500 ตารางเมตร (ทั้งโครงการ) |
จำนวนชั้น | 3 ชั้น (รวมชั้นพื้นดิน) (อาคารเมกาบางนาและอาคารฟู้ดวอล์คพลาซา) 4 ชั้น (รวมชั้นพื้นดิน) (อาคารจอดรถของฟู้ดวอล์คพลาซาและอาคารอิเกีย) |
ที่จอดรถ | 11,700 คัน อาคารเมกาบางนา 5,000 คัน อาคารฟู้ดวอล์คพลาซา 1,200 คัน อาคารจอดรถอิเกีย 2,000 คัน นอกอาคาร 2,500 คัน |
เว็บไซต์ | www |
เมกาซิตี้ บางนา เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมแบบผสมบนที่ดินขนาด 400 ไร่ บริเวณหัวมุมด้านตะวันตกเฉียงใต้ของทางแยกต่างระดับวัดสลุด จุดตัดระหว่างถนนกาญจนาภิเษกกับถนนเทพรัตน ช่วงกิโลเมตรที่ 8 ในพื้นที่ตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ บริหารงานโดย บริษัท เอสเอฟ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ในเครือเซ็นทรัลพัฒนา, บริษัท อิคาโน่ เอเชีย แอนด์ เม็กซิโก จำกัด และบริษัท ไทย กริยา จำกัด ในสัดส่วนร้อยละ 49:49:2 ตามลำดับ
โครงการประกอบไปด้วยศูนย์การค้าขนาดใหญ่ โรงเรียน สำนักงาน โรงแรม สวนสนุกในร่ม สวนสาธารณะ และอาคารที่พักอาศัย
การจัดสรรพื้นที่
[แก้]โครงการเมกาซิตี้ บางนา ประกอบไปด้วยอาคารใช้สอยหลายส่วนบนพื้นที่ทั้งหมด 400 ไร่ แบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
อาคารเมกาบางนา
[แก้]อาคารเมกาบางนา หรือศูนย์การค้าเมกาบางนาเดิม เป็นอาคารศูนย์การค้าแนวราบขนาดใหญ่ มีพื้นที่ใช้สอยทั้งหมดสามชั้นรวมชั้นพื้นดิน ยกเว้นอาคารอิเกียที่มีพื้นที่ใช้สอยสี่ชั้น และอาคารจอดรถอิเกียที่มีพื้นที่ใช้สอยเจ็ดชั้น รวมถึงเป็นอาคารที่มีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ทั่วทั้งชั้นดาดฟ้าอาคารรวมถึงส่วนของอาคารเมกาสมาร์ทคิดส์ รวมพื้นที่ 62,000 ตารางเมตร[1] โดยดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ ในเครือดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น เป็นผู้ดำเนินการลงทุนและก่อสร้างให้ทั้งหมด[2] นับเป็นอาคารอสังหาริมทรัพย์ประเภทศูนย์การค้าที่มีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ภายในอาคารแบ่งพื้นที่ภายในออกเป็น 6 โซน โดยมีพื้นที่สำคัญดังนี้
- เซ็นทรัล เดอะสโตร์ แอท เมกาบางนา
- ท็อปส์ ฟู้ด ฮอลล์
- เพาเวอร์บาย
- บีทูเอส ธิงค์สเปซ
- ออฟฟิศเมท
- ซูเปอร์สปอร์ต
- บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า
- อิเกีย สาขาแรกของประเทศไทย
- สปอตส์เวิลด์
- ศูนย์อาหารฟู้ดพาทิโอ
- สถานออกกำลังกาย ฟิตเนส เฟิร์สท์
- โรงภาพยนตร์เมกา ซีนีเพล็กซ์ ในเครือเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ จำนวน 15 โรงภาพยนตร์ ในจำนวนนี้มีโรงภาพยนตร์ระบบไอแมกซ์เลเซอร์ ระบบ 4DX และระบบแอลจี มิราคลาส ที่ใช้จอรูปแบบแอลอีดีพร้อมระบบเสียงดอลบี แอทมอส อย่างละ 1 โรง รวมถึงมีโรงภาพยนตร์สำหรับเด็ก 1 โรง[3] และโรงภาพยนตร์สำหรับ Pet Parents แห่งแรกในประเทศไทยอีก 1 โรง ถือเป็นโรงภาพยนตร์แห่งแรกที่อนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงเข้าไปร่วมรับชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ได้
- บลูโอ ริทึ่ม แอนด์ โบว์ล
- ซับซีโร่ ไอซ์ สเก็ต
อาคารเมกาสมาร์ทคิดส์
[แก้]อาคารเมกาสมาร์ทคิดส์ เป็นอาคารศูนย์การค้าขนาดกลาง มีพื้นที่ใช้สอยสามชั้น รวมชั้นพื้นดิน โดยเป็นการสร้างต่อขยายจากอาคารโฮมโปรเพิ่มเติมออกมาเพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ครบวงจรสำหรับเด็ก โดยมีพื้นที่สำคัญดังนี้
- โฮมโปร
- เดอะเพาเวอร์ บาย โฮมโปร
- ไบค์ เอ็กซ์เพรส
- มายยิม ฟิตเนส
- สวนสนุก เมกา ฮาร์เบอร์แลนด์
- สวนน้ำฮาร์เบอร์ไอซ์แลนด์
- สวนสาธารณะ เมกาพาร์ค
อาคารฟู้ดวอล์คพลาซา
[แก้]อาคารฟู้ดวอล์คพลาซา เป็นอาคารศูนย์การค้าแบบเปิดขนาดใหญ่ มีพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด 3 ชั้น และเชื่อมต่อกับอาคารจอดรถ 7 ชั้น ตัวอาคารออกแบบในลักษณะทางเดินลาดเอียงผสมทางเลื่อน เช่นเดียวกับอาคารฮีลิกซ์ควอเทียร์หรืออาคาร A ของศูนย์การค้าเอ็มควอเทียร์ ตลอดทางเดินมีผู้เช่าส่วนใหญ่เป็นร้านอาหาร อาคารแห่งนี้เป็นการขยายเพิ่มเติมจากโซนฟู้ดวอล์คเดิมที่อยู่ด้านหน้าของศูนย์การค้า และมีพื้นที่สำคัญดังต่อไปนี้
- ท็อปส์
- สตาร์บัคส์ รีเซิฟ คอนเซปท์สโตร์
ส่วนประกอบอื่น ๆ
[แก้]ภายในโครงการเมกาซิตี้ บางนา นอกจากอาคารศูนย์การค้าทั้งสองอาคารแล้ว ยังมีส่วนประกอบอื่น ๆ ดังต่อไปนี้
- เมกา เทอร์มินัล จุดให้บริการขนส่งสาธารณะ
- เซเว่น อีเลฟเว่น
- คัดสรร เบเกอรี่ แอนด์ คอฟฟี่ โดยเซเว่น
- เซเว่น อีเลฟเว่น
- อาคารสำนักงาน เมกา ออฟฟิศเศส (โครงการ)
- โรงแรมจำนวน 3 อาคาร (โครงการ)
- ท็อปกอล์ฟ เมกาซิตี้ ศูนย์กีฬาท็อปกอล์ฟแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[4]
- อู่เมกาบางนา กลุ่มปฏิบัติการเดินรถที่ 3 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ[5]
- อาคารชุดเพื่อการพักอาศัย เอ สเปซ เมกา และ เอ สเปซ เมกา 2 โดย เรียลแอสเสท
- อาคารชุดเพื่อการพักอาศัย นาวว์ เมกา โดย อารียา พรอพเพอร์ตี้ (กำลังก่อสร้าง)
- โรงเรียนนานาชาติดิษยะศริน กรุงเทพ (ดี-เพร็พ) แผนกอนุบาลและประถมศึกษา[6]
รอบศูนย์การค้า
[แก้]- ไทวัสดุ x บีเอ็นบีโฮม บางนา (บริษัท ซีอาร์ซี ไทวัสดุ จำกัด สำนักงานใหญ่)
- ดับบลิวเอชเอ ทาวเวอร์
- โลตัส สาขาบางนา
- โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "เมกาบางนา ขยายแผงโซลาร์เซลล์อีก 62,000 ตรม". mgronline.com. 2023-07-29.
- ↑ Chaiyachot, Waranya (2022-05-23). "WHAUP คว้างานโซลาร์รูฟเมกาบางนา 10 MW มูลค่า 245 ลบ.จ่อเซ็นอีก 3 โครงการ : อินโฟเควสท์". สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ 10 คำตอบทำไม เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ต้องทำ “โรงหนังเด็ก” แห่งแรกในไทย
- ↑ "ท็อปกอล์ฟ เมกาซิตี้ แหล่งรวมกีฬา-บันเทิงครบวงจร เปิด 17 ส.ค.นี้". thansettakij. 2022-07-05.
- ↑ "กลุ่มปฏิบัติการเดินรถที่ 3 อู่เมกาบางนา | องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ". www.bmta.co.th.
- ↑ "สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก". D-PREP International School.