เผ่าทอง ทองเจือ
เผ่าทอง ทองเจือ | |
---|---|
ชื่อเกิด | เผ่าทอง ทองเจือ |
เกิด | 3 ตุลาคม พ.ศ. 2499 อำเภอบางรัก จังหวัดพระนคร |
อาชีพ | พิธีกร นักแสดง อาจารย์ วิทยากร ผู้เชี่ยวชาญผ้าไทย นักโบราณคดี นักประวัติศาสตร์ |
ThaiFilmDb |
เผ่าทอง ทองเจือ ชื่อเล่น แพน เป็นนักโบราณคดี นายแบบ พิธีกร นักแสดง ชาวไทย และ อดีตอาจารย์ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่อดีตผู้ก่อตั้งและคณบดีคนแรกของ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบันเป็นอาจารย์พิเศษโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เขาชะโงก และโรงเรียนจิตรลดา
ประวัติ
[แก้]เผ่าทอง ทองเจือ เกิดเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2499 ที่แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของนายพานทอง กับนางไพบูลย์บุญ ทองเจือ (สกุลเดิม เนติกุล) อาจารย์เผ่าทองจึงมีศักดิ์เป็นหลานปู่ พระยาไพชยนต์เทพ (ทองเจือ) ท่านเป็นต้นสกุล "ทองเจือ" และท้าวอนงค์รักษา (พร้อง ทองเจือ) อาจารย์เผ่าทองเป็นนักประวัติศาสตร์ไทย นักโบราณคดี พิธีกรและวิทยากรผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ไทย มีชื่อเล่นว่า "แพน" เป็นน้องชายคนละแม่กับ ภิญโญ ทองเจือ อดีตนักแสดงละครโทรทัศน์ และ ปรางค์ทิพย์ ทวีพาณิชย์ เผ่าทองจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ระดับอุดมศึกษาจากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ด้วยความชอบในเรื่องโบราณคดีมาแต่เด็ก ๆ ขณะที่ศึกษาอยู่นั้นถือว่าอาจารย์เผ่าทองเป็นบุคคลคณะแรก ๆ ที่ได้เข้าไปขุดค้นในแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ที่จังหวัดอุดรธานี
ในทางวิชาการเคยเป็นอาจารย์ในคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะวิจิตรศิลป์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จนกระทั่งอาจารย์เผ่าทองได้เป็นคณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นอาจารย์พิเศษตามสถาบันต่าง ๆ เช่น โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร.), คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, โรงเรียนจิตรลดา เป็นต้น ก่อนจะเกษียณตัวเองออกมาก่อนอายุครบ 60 ปี
ในแวดวงบันเทิงเคยเป็นนายแบบ พิธีกรและวิทยากรที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมของไทยหลายรายการ เช่น คุณพระช่วย ทางช่อง 9, มิติลี้ลับ ทางช่อง 7 อาจารย์เผ่าทองเคยเป็นตัวประกอบในละครโทรทัศน์เรื่อง ศิลามณี ทางช่อง 7 ในปี พ.ศ. 2551 และได้ร่วมแสดงในภาพยนตร์ไทยเรื่อง ฉันผู้ชายนะยะ ในปี พ.ศ. 2530[1] อาจารย์เผ่าทองได้เป็นที่ปรึกษาฝ่ายศิลปะและวัฒนธรรมและเป็นนักแสดงประกอบในภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด เรื่อง Anna and the King ที่ได้เข้าไปถ่ายทำในประเทศมาเลเซีย เมื่อปีพ.ศ. 2542 และรอยไหม ในปีพ.ศ. 2554 กับช่อง 3 ด้วย
ชีวิตส่วนตัว เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องผ้าไทยและเป็นเจ้าของ ห้องเสื้อเผ่าทอง ทองเจือ หรือ Paothong's PRIVATE COLLECTION ที่จังหวัดเชียงใหม่ รวมไปถึงห้างสรรพสินค้าชั้นนำ และเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงความเป็นมาของกรุงเทพมหานคร ที่ถนนราชดำเนิน[2] เคยมีปัญหาด้านสุขภาพ คือ เป็นโรคมะเร็งและมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือ ลูคิเมีย โดยเป็นมาตั้งแต่อายุ 37 ปี[3] และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชนนีพันปีหลวง ทรงรับไว้เป็นคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์ ปัจจุบันรักษาหายจนเป็นปกติแล้ว
ผลงานภาพยนตร์
[แก้]- พ.ศ. 2529 พ่อจอมยวน แม่จอมยุ่ง
- พ.ศ. 2530 ฉันผู้ชายนะยะ
ละครโทรทัศน์
[แก้]ปี พ.ศ. | เรื่อง | ออกอากาศ | รับบทเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
2543 | ปริศนา (นวนิยาย) | ช่อง 7 | หลวงวิรัชราชกิจ หรือ วิรัช สุทธากุล | รับเชิญ |
2547 | เลิฟสตรอเบอรี่ | ช่อง 3 | นพดล (นพ) | |
2551 | ศิลามณี | ช่อง 7 | เจ้าวงตะวัน | |
2554 | รอยไหม | ช่อง 3 | เจ้าหลวง | |
2555 | บ่วง | ลุงช่วง | ||
2558 | สะใภ้จ้าว | หม่อมเจ้า จันทร์ส่องหล้า
รัชนีกุล |
ผลงานพิธีกร
[แก้]- วิกสยาม ทางช่องไทยพีบีเอส[4]
- ที่นี่หมอชิต พิธีกรรับเชิญ ตอน เที่ยวประเทศพม่า ทางช่อง 7 [5]
- เปิดตำนานกับเผ่าทอง ทองเจือ ทุกวันเสาร์ เวลา 09.30 - 10.30 น. ทางช่องพีพีทีวี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[6]
- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[7]
- พ.ศ. 2549 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ข้อมูลจากมูลนิธิหนังไทย
- ↑ รายการ ก๊วนข่าวเช้าวันหยุด ทางช่อง 3: 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อสุริวิภา
- ↑ รายการวิกสยาม คมชัดลึก
- ↑ ที่นี่หมอชิต ตอน เที่ยวประเทศพม่า
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๔๑, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๑๐๐, ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-07-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๐ ข หน้า ๑๖๓, ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๐
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2499
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักประวัติศาสตร์ชาวไทย
- นักโบราณคดีชาวไทย
- อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ - ศิลปศาสตร์ - มนุษยศาสตร์
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- บุคคลจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
- บุคคลจากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
- บุคคลจากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- บุคคลจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พิธีกรชาวไทย
- นายแบบไทย
- บุคคลจากเขตบางรัก
- นักแสดงไทยที่มีความหลากหลายทางเพศ
- นักวิชาการที่มีความหลากหลายทางเพศ
- สกุลทองเจือ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา