ข้ามไปเนื้อหา

เทศกาลลิ้นจี่และเนื้อหมา

พิกัด: 22°38′N 110°09′E / 22.633°N 110.150°E / 22.633; 110.150
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศกาลลิ้นจี่และเนื้อหมา
玉林荔枝狗肉节
สถานะยังจัดอยู่
ประเภทเทศกาล
เริ่มต้น21 มิถุนายน
สิ้นสุด30 มิถุนายน
ความถี่เป็นประจำทุกปี
ที่ตั้งยฺวี่หลิน เขตปกครองตนเองกว่างซี
พิกัดภูมิศาสตร์22°38′N 110°09′E / 22.633°N 110.150°E / 22.633; 110.150
ประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน
ประเดิม21 มิถุนายน ค.ศ. 2009 (2009-06-21)[1]
ล่าสุด21 มิถุนายน ค.ศ. 2022 (2022-06-21)
เหตุการณ์ก่อนหน้า21 มิถุนายน ค.ศ. 2020 (2020-06-21)

เทศกาลลิ้นจี่และเนื้อหมา โดยทั่วไปเรียก เทศกาลเนื้อหมายฺวี่หลิน เป็นการเฉลิมฉลองประจำปีจัดในยฺวี่หลิน เขตปกครองตนเองกว่างซี ประเทศจีน ระหว่างครีษมายันซึ่งผู้เข้าร่วมเทศกาลกินเนื้อหมาและลิ้นจี่ เทศกาลนี้กินเวลาประมาณสิบวัน โดยระหว่างนั้นประมาณว่ามีการบริโภคหมา 10,000–15,000 ตัว เทศกาลดังกล่าวถูกผู้สนับสนุนสวัสดิภาพสัตว์วิจารณ์

ภูมิหลัง

[แก้]

เทศกาลนี้จัดขึ้นประจำปีในยฺวี่หลิน เขตปกครองตนเองกว่างซี ประเทศจีน ระหว่างครีษมายันในเดือนมิถุนายน โดยการกินเนื้อหมาและลิ้นจี่ เชื่อว่ากิจกรรมนี้ต้านฤทธิ์ความร้อนแห่งฤดูร้อน[2] มีการบริโภคหมาประมาณ 10,000 ถึง 15,000 ตัวระหว่างเทศกาลสิบวัน[2][3]

ในถ้อยแถลงที่ออกต่อสำนักข่าวซินหัว รัฐบาลท้องถิ่นของยฺวี่หลินปฏิเสธความเกี่ยวข้องหรือการสนับสนุนอย่างเป็นทางการใด ๆ ต่อเทศกาล โดยอธิบายว่าเป็นประเพณีท้องถิ่นโดย "ผู้อยู่อาศัยส่วนน้อยของยฺวี่หลิน" และโทษเหตุการณ์นี้ต่อธุรกิจและผู้อยู่อาศัยท้องถิ่น[4]

ความกังวลด้านสวัสดิภาพสัตว์

[แก้]

ผู้จัดเทศกาลอ้างว่าหมาถูกฆ่าอย่างมีมนุษยธรรม และ "การกินหมาไม่ต่างจากการกินเนื้อหมูหรือวัว"[5] ทว่า ผู้รณรงค์อ้างว่าสัตว์ถูก "ปฏิบัติอย่างต่ำช้า"[6] ศาสตราจารย์ พีเตอร์ เจ. ลี อ้างว่า หมาที่ถูกกินบางส่วนเป็นสัตว์เลี้ยงในครัวเรือนที่ถูกขโมย[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Friend or food? Dog meat trade divides China". CNN. 19 June 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 June 2015. สืบค้นเมื่อ 19 June 2015.
  2. 2.0 2.1 "China Yulin dog meat festival under way despite outrage". BBC News. สืบค้นเมื่อ 22 June 2015.
  3. "Tasteless? Food festival in Yulin, China celebrates canine culinary culture – with 15,000 dogs on the menu". Daily Mail. London. 28 June 2011. สืบค้นเมื่อ 30 June 2011.
  4. "玉林市政府就网络上所谓"夏至荔枝狗肉节"作出回应". China Daily. 7 June 2014. สืบค้นเมื่อ 24 June 2015.
  5. "Dog Meat Festival Faces Social Media Backlash". Sky News. 22 June 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 June 2015. สืบค้นเมื่อ 23 June 2015.
  6. "Dog-lovers v dog-eaters: Pet food". The Economist. 20 June 2015. สืบค้นเมื่อ 21 June 2015.
  7. O'Neil, Lauren (22 June 2015). "Dog meat festival in China takes place despite massive online protest". CBC News. สืบค้นเมื่อ 25 June 2015.