ข้ามไปเนื้อหา

ครีษมายัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แสงจากดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลกในส่วนครึ่งซีกโลกเหนือในวันครีษมายัน

ครีษมายัน (สันสกฤต: ग्रीष्मायन, อังกฤษ: summer solstice) หรือ อุตตรายัน (สันสกฤต: उत्तरायन) เป็นการที่ดวงอาทิตย์ โคจรไปถึงจุดหยุด (อายัน) คือ จุดสุดทางเหนือในราววันที่ 20 มิถุนายน หรือ 21 มิถุนายน เป็นจุดในฤดูร้อน มีกลางวันนานกว่ากลางคืน ตรงข้ามกับ เหมายัน ซึ่งเป็นจุดหยุดในฤดูหนาว

คำว่า "ครีษมายัน" มาจากภาษาสันสกฤต ग्रीष्म (คฺรีษฺม) + अयन (อายน)[1]

การเฉลิมฉลอง

[แก้]

การเฉลิมฉลองในวันครีษมายัน แตกต่างกันไปตามแต่ประเพณีทั่วโลก เช่นเดียวกับวันเหมายัน ที่เมืองยวี่หลิน ในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ของจีน ในวันเริ่มต้นของฤดูร้อนของเดือนมิถุนายน หรือวันครีษมายัน ที่นี่จะมีประเพณีรื่นเริงรับประทานเนื้อสุนัข[1]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 May 217, SUMMER SOLSTICE วันกินเนื้อสุนัขที่จีน. "ส่องกระจกข้ามโลก" โดย ปอมอ. แพรวปีที่ 37 ฉบับที่ 881: 10 พฤษภาคม 2559