เนื้อหมา
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์) | |
---|---|
พลังงาน | 1,096 กิโลจูล (262 กิโลแคลอรี) |
0.1 g | |
ใยอาหาร | 0 g |
20.2 g | |
19 g | |
วิตามิน | |
วิตามินเอ | (0%) 3.6 μg |
ไทอามีน (บี1) | (10%) 0.12 มก. |
ไรโบเฟลวิน (บี2) | (15%) 0.18 มก. |
ไนอาซิน (บี3) | (13%) 1.9 มก. |
วิตามินซี | (4%) 3 มก. |
แร่ธาตุ | |
แคลเซียม | (1%) 8 มก. |
เหล็ก | (22%) 2.8 มก. |
ฟอสฟอรัส | (24%) 168 มก. |
โพแทสเซียม | (6%) 270 มก. |
โซเดียม | (5%) 72 มก. |
องค์ประกอบอื่น | |
น้ำ | 60.1 g |
คอเลสเตอรอล | 44.4 mg |
เถ้า | 0.8 g |
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่ แหล่งที่มา: Yong-Geun Ann (1999)[1] |
เนื้อหมา หมายถึง เนื้อและส่วนอื่นที่กินได้ที่มาจากหมา การบริโภคเนื้อหมาของมนุษย์มีบันทึกในหลายส่วนของโลก รวมทั้งเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอฟริกาตะวันตก ทวีปยุโรปและทวีปอเมริกาก่อนโคลัมบัส[2] ปัจจุบัน มีบริโภคเนื้อหมาในหลายส่วนของประเทศจีน[3] เกาหลี[4] เวียดนาม[5] และบางพื้นที่ของประเทศไทย เนื้อหมายังใช้เป็นอาหารยังชีพในยามสงครามและ/หรือประสบความยากลำบากอื่น ๆ[6][7]
ในปัจจุบัน บางวัฒนธรรมมองว่าการบริโภคเนื้อหมาเป็นส่วนหนึ่งของอาหารของตน ขณะที่บางวัฒนธรรมถือว่าการบริโภคเนื้อหมาไม่เหมาะสมและน่ารังเกียจด้วยเหตุผลทางสังคมและศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยโลกาภิวัฒน์ทางวัฒธรรม มีการวิจารณ์ระหว่างประเทศมากขึ้น (โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประเทศตะวันตก ตลอดจนองค์การอย่างการคุ้มครองสัตว์โลก) ต่อการบริโภคเนื้อหมาและการทรมานหมาที่ถูกขังในกรงและเลี้ยงเอาเนื้อ ผู้สนับสนุนเนื้อหมาตอบโต้การวิจารณ์โดยแย้งว่า ข้อแตกต่างระหว่างปศุสัตว์และสัตว์เลี้ยงเป็นอัตวิสัย และไม่มีข้อแตกต่างระหว่างการกินเนื้อของสัตว์อื่น[8][9][10] ทว่า บันทึกวัฒนธรรมทางประวัตศาสตร์ในประเทศจีนบันทึกว่า ศาสนาพุทธแบบจีนห้ามบริโภคเนื้อหมา ซึ่งถือเป็นหนึ่งในห้า "เนื้อต้องห้าม" นอกจากนี้ การกินหมายังถูกห้ามทั้งในกฎหมายอาหารยิว[11]และอิสลาม[12][13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Ann Yong-Geun "Dog Meat Foods in Korea" เก็บถาวร 2007-10-07 ที่ Wikiwix, Table 4. Composition of dog meat and Bosintang (in 100g, raw meat), Korean Journal of Food and Nutrition 12(4) 397 – 408 (1999).
- ↑ Schwabe, Calvin W. (1979). Unmentionable cuisine. University of Virginia Press. p. 168. ISBN 978-0-8139-1162-5.
- ↑ Rupert Wingfield-Hayes (29 June 2002). "China's taste for the exotic". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2007-05-15.
- ↑ Anthony L. Podberscek (2009). "Good to Pet and Eat: The Keeping and Consuming of Dogs and Cats in South Korea" (PDF). Journal of Social Issues. 65 (3): 615–632. doi:10.1111/j.1540-4560.2009.01616.x.
Dog meat is eaten nationwide and all year round, although it is most commonly eaten during summer, especially on the (supposedly) three hottest days.
- ↑ "Vietnam's dog meat tradition". BBC News. 31 December 2001. สืบค้นเมื่อ 2007-05-15.
- ↑ "Dachshunds Are Tenderer". Time. 25 November 1940. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2007. สืบค้นเมื่อ 20 January 2008.
- ↑ Mawson, Douglas (1914). The Home of the Blizzard.
- ↑ William Saletan (January 16, 2002). "Wok The Dog – What's wrong with eating man's best friend?". slate.com. สืบค้นเมื่อ 2007-07-23.
- ↑ Ahmed Zihni (2004). "Dog Meat Dilemma". sunysb.edu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-11. สืบค้นเมื่อ 2008-05-11.
- ↑ John Feffer (June 2, 2002). "The Politics of Dog – When globalization and culinary practice clash". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-04-27. สืบค้นเมื่อ 2007-05-11.
- ↑ Dogs are quadrupeds with paws and so are not kosher. Leviticus 11:27; Nicholas Robert Michael De Lange, An Introduction to Judaism (2000). Oxford Univ. Press: p. 90.
- ↑ Carnivorous animals with fangs, including lions, tigers, and wolves as well as dogs, are not Halal. Amy Christine Brown, Understanding Food: Principles and Preparation, 4th ed. (2010). Cengage: p. 4.
- ↑ For instance, see Wu Cheng'en, "Journey to the West" (Xi You Ji), Renmin Wenxue Chubanshe (2002).