ข้ามไปเนื้อหา

จอห์น เบาว์ริง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เซอร์จอห์น เบาริง)
เซอร์ จอห์น เบาว์ริง
จอห์น เบาว์ริง ในปี ค.ศ. 1826
ผู้สำเร็จราชการเกาะฮ่องกง คนที่ 4
ดำรงตำแหน่ง
13 เมษายน 2397 - 9 กันยายน 2402
ก่อนหน้าเซอร์ จอร์จ บอนแฮม
ถัดไปเฮอร์คิวลิส รอบินสัน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด17 ตุลาคม พ.ศ. 2335
เอ็กเซเตอร์, อังกฤษ ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่
เสียชีวิต23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2415 (80 ปี)
แกลร์มงต์, อังกฤษ ,สหราชอาณาจักร
พรรคการเมืองกลุ่มหัวรุนแรง
คู่สมรส
  • มาเรีย เลวิน (สมรส 1816; เสียชีวิต 1858)
  • เดโบร่าห์ แคสเซิล
    (สมรส 1860)

เซอร์จอห์น เบาว์ริง (อังกฤษ: Sir John Bowring; 17 ตุลาคม พ.ศ. 2335 — 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2415) หรือ พระยาสยามานุกูลกิจ สยามมิตรมหายศ เป็นนักเศรษฐศาสตร์การเมืองชาวอังกฤษ นักเดินทาง นักเขียน นักแปลวรรณกรรม พูดได้หลายภาษา และผู้สำเร็จราชการเกาะฮ่องกงคนที่ 4 เขาได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียให้เป็นราชทูตมายังสยาม ต่อมาเขาได้รับการแต่งตั้งจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้เป็นราชทูตสยามประจำกรุงลอนดอนพร้อมกับได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสยามมานุกูลกิจ สยามมิตรมหายศ

สนธิสัญญาฉบับนี้มีผลให้สยามต้องเสียอำนาจอธิปไตยทางการศาลและคนในบังคับอังกฤษมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขตในสยาม นอกจากนี้ สนธิสัญญาดังกล่าวเป็นการเปิดการค้าเสรีกับต่างประเทศ ถือเป็นการสิ้นสุดของการผูกขาดการค้ากับต่างประเทศโดยกรมพระคลังสินค้าของสยาม สนธิสัญญานี้มีผลใช้บังคับอยู่นานกว่า 70 ปี

ท้ายที่สุดสมัยปลายรัชกาลที่ 4 และต้นรัชกาลที่ 5 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นอัครราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอนและทวีปยุโรป ถือได้ว่าเป็น “ตัวแทนประจำคนแรกของไทย” ก็ว่าได้[1] มีบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาสยามมานุกูลกิจ สยามมิตรมหายศ

ประวัติ

[แก้]

เซอร์ จอห์น เบาว์ริง เกิดที่นครเอ็กซิเตอร์ มณฑลเดวอน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอังกฤษ เป็นเด็กฉลาดหลักแหลม เรียนเก่ง เขาสามารถพูดได้ถึง 10 ภาษาหลัก ๆ ในทวีปยุโรปทั้งหมดรวมถึงจีนกลาง เริ่มเขียนบทความลงใน "Westminster Review” นิตยสารวิเคราะห์เศรษฐกิจ ต่อมาในปี 2368 ได้ขึ้นเป็นบรรณาธิการ และได้ย้ายไปเนเธอร์แลนด์เรียนจบนิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Laws) จากมหาวิทยาลัยกรอนิงเกน (University of Groningen) ต่อมาได้เป็นสมาชิกของสภา Kilmarnock Burghs จากนั้นได้รับการแต่งตั้งไปเจรจาทางการค้ากับฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี ซีเรีย และเยอรมัน ซึ่งต่อมาได้เป็นตัวแทน การเจรจาทางการค้ากับจีนที่เมืองกวางจูในปี 2392 หลังจากนั้นอีก 5 ปี ก็ขึ้นเป็นข้าหลวงอังกฤษประจำฮ่องกง เมื่อฮ่องกงตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ หลังจีนพ่ายแพ้ในสงครามฝิ่นครั้งที่สอง และได้ขึ้นเป็นเจ้าเมืองฮ่องกง ในปี 2398

เบาว์ริงได้เชิญพระราชสาสน์ในสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย พร้อมด้วยเครื่องราชบรรณาการเข้ามาทำสนธิสัญญาทางไมตรีกับสยาม สัญญาฉบับนั้นคือ "สนธิสัญญาเบาว์ริง” เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2398 ซึ่งเป็นผลทำให้สยามต้องสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางการศาล และมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และทำให้เกิดการค้าเสรีถือเป็นการสิ้นสุดของการผูกขาดการค้าต่างประเทศ โดยพระคลังสินค้าของสยาม

ช่วงต้นรัชกาลที่ 5 เบาว์ริง ได้รับแต่งตั้งเป็นอัครราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอน และทวีปยุโรป มีบรรดาศักดิ์เป็น "พระยาสยามมานุกูลกิจ สยามมิตรมหายศ” ต่อมาในปี พ.ศ. 2404 เบาว์ริงย้ายไปเป็นตัวแทนทางการค้าที่อิตาลี และอีกหลายประเทศในยุโรป เบาว์ริงเสียชีวิตเมือวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2415

สนธิสัญญาเบาว์ริง

[แก้]

สนธิสัญญาเบาว์ริง ว่าด้วย “การค้าเสรี” อันเป็น “ระเบียบใหม่” ของโลกในยุคลัทธิจักรวรรดินิยม อาณานิคมตะวันตก ลงนามกันระหว่างอังกฤษและสยามเมื่อ 18 เมษายน พ.ศ. 2398 (ค.ศ. 1855) ในสมัยนายกรัฐมนตรี เฮนรี จอห์น เทมเพิล ไวเคานท์พาลเมอร์สตันที่ 3 รัฐบาลในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย และราชอาณาจักรสยาม สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

สนธิสัญญานี้มีความสำคัญอย่างยิ่งและใช้บังคับอยู่เป็นเวลา ถึง 70 กว่าปี จนกระทั่งมีการแก้ไขค่อยๆยกเลิกไปในสมัยรัชกาลที่ 6 ภายหลังเมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สิ้นสุดลงเมื่อปี พ.ศ. 2461 (1918) แต่กว่าจะสิ้นสุดสมบูรณ์ ก็ล่วงมาถึงในปี พ.ศ. 2482 (1938) ในรัฐบาล จอมพลแปลก พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ที่ได้มีการแก้ไขและลงนามในสนธิสัญญาใหม่กับประเทศตะวันตก (และญี่ปุ่น) ใหม่ทั้งหมด

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 18 เม.ย.2398 รู้จัก พระยาสยามมานุกูลกิจผู้ที่ทำได้ทุกอย่าง ข่าวสดออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2561

บรรณานุกรม

  • Bartle, G. F. (1963). "Jeremy Bentham and John Bowring: a study of the relationship between Bentham and the editor of his Collected Works". Bulletin of the Institute of Historical Research. 36 (93): 27–35. doi:10.1111/j.1468-2281.1963.tb00620.x.
  • Bartle, George Frederick (1994). An old radical and his brood: a portrait of Sir John Bowring and his family based mainly on the correspondence of Bowring and his son, Frederick Bowring. London: Janus.
  • แม่แบบ:Cite Maclise
  • Bowring, Philip (2011). "Sir John Bowring: the imperial role of a lifelong radical". Asian Affairs. 42 (3): 419–29. doi:10.1080/03068374.2011.605604. S2CID 163009129.
  • Bowring, Philip (2014). Free Trade's First Missionary: Sir John Bowring in Europe and Asia. Hong Kong University Press. ISBN 9789888208722.
  • Endacott, G. B. (2005) [1962]. A Biographical Sketch-Book of Early Hong Kong. Hong Kong: Hong Kong University Press. pp. 36–44. ISBN 978-962-209-742-1.
  • Hurd, Douglas. "Sir John Bowring of Hong Kong, The Radical Governor" History Today (1967) 17#10 pp 651-659 online
  • Jumsai, M L Manich (1970). King Mongkut and Sir John Bowring. Great Britain: Chalermnit.
  • Ringmar, Erik (2013). Liberal Barbarism: The European Destruction of the Palace of the Emperor of China. New York: Palgrave Macmillan. ISBN 9781137268907.
  • Stone, Gerald (2009) [2004]. "Bowring, Sir John (1792–1872)". Oxford Dictionary of National Biography (online ed.). Oxford University Press. doi:10.1093/ref:odnb/3087. (ต้องสมัครสมาชิก)
  • Todd, David (2008). "John Bowring and the global dissemination of free trade". Historical Journal. 51 (2): 373–97. doi:10.1017/s0018246x08006754. S2CID 153892975.
  • Youings, Joyce Alice, บ.ก. (1993). Sir John Bowring, 1792–1872: aspects of his life and career. Plymouth: Devonshire Association.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]