ข้ามไปเนื้อหา

เชเลียบินสค์

พิกัด: 55°09′17″N 61°22′33″E / 55.15472°N 61.37583°E / 55.15472; 61.37583
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เชเลียบินสค์
การถอดเสียงอื่น
บาทวิถีใจกลางนครเชเลียบินสค์
บาทวิถีใจกลางนครเชเลียบินสค์
ธง
ธง
ตราราชการของเชเลียบินสค์
ตราอาร์ม
ที่ตั้งของเชเลียบินสค์
แผนที่
เชเลียบินสค์ตั้งอยู่ในรัสเซีย
เชเลียบินสค์
เชเลียบินสค์
ที่ตั้งของเชเลียบินสค์
เชเลียบินสค์ตั้งอยู่ในรัสเซีย
เชเลียบินสค์
เชเลียบินสค์
เชเลียบินสค์ (รัสเซีย)
พิกัด: 55°09′17″N 61°22′33″E / 55.15472°N 61.37583°E / 55.15472; 61.37583
ประเทศรัสเซีย
หน่วยองค์ประกอบแคว้นเชเลียบินสค์
สถาปนาพ.ศ. 2279[2]
การปกครอง
 • องค์กรสภาเมือง[3]
 • นายกเทศมนตรี[5]นาตาลียา โคโตวา[4]
ความสูง220 เมตร (720 ฟุต)
ประชากร
 (สำมะโนครัวปี 2010)[6]
 • ทั้งหมด1,130,132 คน
 • ประมาณ 
(2018)[7]
1,202,371 (+6.4%) คน
 • อันดับอันดับ 9 ในปี 2010
สถานะการบริหาร
 • เมืองศูนย์กลางทางการบริหารของ แคว้นเชเลียบินสค์[1], นครเชเลียบินสค์[1]
สถานะเทศบาล
 • เมืองศูนย์กลางทางการบริหารของเทศบาลนครเชเลียบินสค์[1]
รหัสไปรษณีย์[8]454xxx
รหัสโทรศัพท์+7 351[9]
รหัส OKTMO75701000001
เว็บไซต์www.cheladmin.ru

เชเลียบินสค์ (รัสเซีย: Челя́бинск; ออกเสียง: [tɕɪˈlʲæbʲɪnsk]) เป็นนครในประเทศรัสเซีย เป็นศูนย์กลางการปกครองของแคว้นเชเลียบินสค์ ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของแคว้น อยู่ห่างจากเมืองเยคาเตรินบุร์กทางทิศใต้ 210 กิโลเมตร (130 ไมล์) อยู่ทางทิศตะวันออกของเทือกเขายูรัล บนฝั่งแม่น้ำมิอัส (รัสเซีย: Река Миасс; บัชกอร์ต: Мейәс йылғаһы) บนเขตแดนระหว่างทวีปยุโรปและเอเชีย[10][11][12]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

อารยธรรมเวทโบราณ

[แก้]

นักโบราณคดีได้ค้นพบซากปรักหักพังของเมืองโบราณ อาร์คาอิม (รัสเซีย: Аркаим) ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับเมืองเชเลียบินสค์ มีรายงานว่ามีสิ่งบ่งชี้ถึงอารยธรรมที่ก้าวหน้าของแหล่งกำเนิดอารยธรรมอินโด-เวท ซึ่งมีอายุอย่างน้อย 4,000 ปีในอาร์คาอิม[13]

ฐานอาคารสองหลังในพิพิธภัณฑ์
แหล่งโบราณคดีเมืองป้อมอาร์คาอิม

แหล่งโบราณคดีนี้เป็นที่รู้จักของนักโบราณคดีชาวรัสเซียเป็นเวลาอย่างน้อย 70 ปี ในฐานะแหล่งวัฒนธรรม ซินตัชตา-เปตรอฟกา-อาร์คาอิม (รัสเซีย: Синташта-Петровка-Аркаим) ของชาวอารยันโบราณ แต่ก็มักจะไม่ได้รับการพิจารณาในการให้ทุนเพื่อศึกษาวิจัยจากองค์กรด้านประวัติศาสตร์ของแองโกล-อเมริกัน พื้นที่วัฒนธรรมซินตัชตา-เปตรอฟกา ทอดยาวไปตามทางตะวันออกของเทือกเขายูรัลในทุ่งหญ้าสเตปป์ยูเรเชียนที่กว้างใหญ่กว่า 400 กม. ทางใต้ของเชเลียบินสค์ และไปทางทิศตะวันออกประมาณ 200 กม. มีแหล่งโบราณคดีที่ได้รับการยอมรับว่าอยู่ในกลุ่มนี้ 23 แหล่ง การฝังศพของแหล่งวัฒนธรรมซินตัชตา และที่พบในแหล่งอื่น ๆ ของอาร์คาอิมนั้น มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในรายละเอียด การฝังศพของแหล่งนี้ให้หลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับพิธีกรรมฝังศพในคัมภีร์ฤคเวท และคัมภีร์อเวสตะ และด้วยเหตุนี้อารยธรรมนี้จึงถูกเรียกว่า อินโด-อิราเนียน[14]

แหล่งอารยธรรมเหล่านี้ถูกเรียกว่า "เมือง" และส่วนใหญ่ถูกค้นพบผ่านภาพถ่ายทางอากาศ เมืองเหล่านี้ถูกวางผังในรูปทรงกลม, สี่เหลี่ยมหรือรูปไข่ ในขณะที่มีเพียงสองเมืองเท่านั้นคือที่อาร์คาอิม และซินตัชตา ที่ถูกขุดค้นเป็นหลัก ทั้งสองเมืองมีลักษณะเป็นป้อมปราการ มีการเชื่อมต่อบ้านและมีหลักฐานมากมายเกี่ยวกับโลหการ[14] การขุดค้นหลุมฝังศพที่แหล่งซินตัชตา ได้ให้หลักฐานทางโบราณคดีหลายแง่มุมของพิธีฝังศพที่ถูกบันทึกอยู่ในตำราของฤคเวท และอเวสตะ[14]

ผู้คนในวัฒนธรรมซินตัชตา คาดว่าพูดภาษาโปรโต-อินโด-อิราเนียน ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของกลุ่มภาษาอินโด-อิราเนียน สิ่งบ่งชี้นี้มีพื้นฐานอยู่บนความคล้ายคลึงกันระหว่าง หลายส่วนของคัมภีร์ฤคเวทซึ่งเป็นข้อความทางศาสนาของอินเดีย ซึ่งได้รวมเพลงสวดอินโด-อิราเนียนโบราณที่บันทึกไว้ในพระเวทภาษาสันสกฤต กับพิธีกรรมฝังศพของวัฒนธรรมซินตัชตา ที่ถูกเปิดเผยโดยนักโบราณคดี[15]

ประวัติศาสตร์ยุครัสเซียสมัยใหม่

[แก้]

ป้อมปราการแห่งเชเลียบา ซึ่งต่อมาเมืองได้ใช้ชื่อนี้ในการก่อตั้ง ได้สร้างขึ้นในสถานที่ตั้งของหมู่บ้านเชเลียบีของชาวแบชเคียร์ (บัชกอร์ต: Силәбе, Siläbe) โดยนายพันอเล็กซี เตฟเคเลฟ (คุตลู-มูฮัมเหม็ด) (ตาตาร์: Qotlımөxəmmət Mameş uğlı Təfkilev) ในปี พ.ศ. 2279[2] เพื่อป้องกันเส้นทางการค้าโดยรอบจากการโจมตีที่อาจเป็นไปได้โดยชาวแบชเคียร์นอกกฎหมาย ในช่วงการจลาจลของปูกาเชฟ (รัสเซีย: Восстание Пугачёва) ป้อมปราการยืนหยัดต่อต้านการโจมตีโดยกองกำลังกบฏในปี พ.ศ. 2317 แต่ในที่สุดก็ถูกยึดครองเป็นเวลาหลายเดือนในปี พ.ศ. 2318 ในปี พ.ศ. 2325 ในฐานะส่วนหนึ่งของเขตอุปราชแห่งอูฟา (รัสเซีย: Уфимское наместничество) ซึ่งต่อมาถูกปฏิรูปให้เป็นจังหวัดอาเรนบุร์ก (รัสเซีย: Оренбургская губерния) เชเลียบินสค์กลายเป็นเขตการปกครองและในที่สุดก็ได้รับสถานะเมืองและชื่อปัจจุบันในปี พ.ศ. 2330

โรงงานบรรจุชา คุซเนตซอฟ
(พ.ศ. 2441)
อาคารการค้า วาเลเยฟ (พ.ศ. 2454)

จนกระทั่งถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เชเลียบินสค์ เป็นเมืองเล็ก ๆ ในชนบท ต่อมาในปี พ.ศ. 2435 ทางรถไฟสาย ซามารา-ซลาเตาสต์ เสร็จสมบูรณ์ซึ่งเชื่อมต่อกับมอสโกและส่วนที่เหลือของรัสเซียภาคพื้นยุโรป นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2435 การก่อสร้างทางรถไฟสายทรานส์-ไซบีเรียจากเมืองเชเลียบินสค์เริ่มต้นขึ้นและในปี พ.ศ. 2439 ก็เชื่อมโยงกับเมืองเยคาเตรินบุร์ก เชเลียบินสค์กลายเป็นศูนย์กลางสำหรับการย้ายถิ่นฐานไปยังไซบีเรีย ในเวลาสิบห้าปีมีกว่าสิบห้าล้านคน ซึ่งเป็นหนึ่งในสิบของประชากรชาวรัสเซีย เดินทางผ่านเชเลียบินสค์ บางคนตั้งรกรากอยู่ในเชเลียบินสค์ ซึ่งทำให้เมืองมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ในเชเลียบินสค์ สำนักงานศุลกากรได้มีการจัดตั้ง "จุดแบ่งแยกพิกัดศุลกากร" ข้าวและชาปลอดภาษีที่ถูกส่งไปยังส่วนภาคพื้นยุโรปของประเทศ นำไปสู่การเกิดขึ้นของโรงสีและการจัดตั้งโรงงานบรรจุชา ในไม่ช้าเชเลียบินสค์เริ่มเปลี่ยนเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ ประชากรที่อาศัยอยู่เพิ่มขึ้นถึง 20,000 คนในปี พ.ศ. 2440, เพิ่มเป็น 45,000 คนในปี พ.ศ. 2456 และเป็น 70,000 คนในปี พ.ศ. 2460 ซึ่งการเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงเปลี่ยนสู่คริสต์ศตวรรษที่ 20 คล้ายคลึงกับเมืองในสหรัฐอเมริกา เชเลียบินสค์จึงถูกเรียกว่า "ชิคาโกเบื้องหลังทิวเขายูรัล"[16]

ในช่วงแผนห้าปีแรกของคริสต์ทศวรรษ 1930 เชเลียบินสค์มีการเติบโตทางอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว สถานประกอบการหลายแห่งรวมถึงโรงงานประกอบรถแทรกเตอร์เชเลียบินสค์ และโรงงานโลหการเชเลียบินสค์ ถูกสร้างขึ้นในเวลานี้ ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โจเซฟ สตาลิน ตัดสินใจย้ายโรงงานการผลิตส่วนใหญ่ของสหภาพโซเวียต ไปยังสถานที่ที่อยู่ห่างไกลจากการรุกคืบของกองทัพเยอรมันที่กำลังจะมาถึงในปลายปี พ.ศ. 2484 ซึ่งนำอุตสาหกรรมใหม่และแรงงานนับพันมาสู่เชเลียบินสค์ มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการผลิตรถถัง ที-34 และเครื่องยิงจรวดคัตยูชาภายในเมือง ซึ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองได้ผลิตรถถัง 18,000 คันและเครื่องยนต์ดีเซลสำหรับรถถัง 48,500 เครื่องรวมทั้งกระสุนมากกว่า 17 ล้านนัด ในช่วงเวลานั้น เชเลียบินสค์ ถูกเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า แทงโกกราด หรือเมืองแห่งรถถัง โรงงานหมายเลข 185 ของเอส. เอ็ม. คิรอฟ ถูกย้ายมาจากเลนินกราดเพื่อผลิตรถถังหนัก ซึ่งถูกย้ายต่อไปยังเมืองออมสค์ หลังจากปี พ.ศ. 2505

เหตุการณ์ดาวตก พ.ศ. 2556

[แก้]
เหตุการณ์ดาวตกที่เมืองเชเลียบินสค์ (พ.ศ. 2556)

ไม่นานหลังจากรุ่งสาง เวลาท้องถิ่นประมาณ 9:20 นาฬิกา (YEKT; UTC+5) ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 เกิดการแตกระเบิดขนาดใหญ่ของสะเก็ดดาวตก (อังกฤษ: Superbolide meteor) ที่เคลื่อนที่ลงมาด้วยความเร็ว 60,000[17]- 69,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (40,000[17]- 42,900 ไมล์ต่อชั่วโมง)[18] เหนือเทือกเขายูรัล มีการระเบิดที่ระดับความสูง 29.7 กิโลเมตร (18.5 ไมล์หรือ 97,000 ฟุต)[18]

ดาวตกได้สร้างแสงสว่างวาบชั่วขณะหนึ่งที่สว่างราวกับดวงอาทิตย์ และสร้างคลื่นกระแทกที่ทำให้ผู้คนบาดเจ็บกว่าพันคน เศษเล็กเศษน้อยตกอยู่รอบ ๆ และในเมืองเชเลียบินสค์ วาดิม กาเลสนิคอฟ โฆษกกระทรวงมหาดไทยกล่าวว่ามีผู้คน 1,100 รายเรียกความช่วยเหลือทางการแพทย์หลังเกิดเหตุการณ์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการรักษาอาการบาดเจ็บจากกระจกแตกจากการระเบิด ผู้หญิงคนหนึ่งประสบเหตุกระดูกสันหลังหัก[19] กาเลสนิคอฟ ยังกล่าวอีกว่าหลังคาที่โรงงานสังกะสีขนาดประมาณ 600 ตารางเมตร (6,500 ตารางฟุต) ได้ถล่มลงมา โฆษกหญิงคนหนึ่งของกระทรวงฉุกเฉินบอกกับสื่อมวลชนที่ติดตามว่ามีฝนดาวตก แต่กระนั้นโฆษกหญิงของกระทรวงอีกคนหนึ่ง อ้างกับสำนักข่าวอินเตอร์แฟกซ์ว่าเป็นดาวตกดวงเดียว[20][21][22] ขนาดได้รับการประมาณที่เส้นผ่าศูนย์กลาง 20 เมตร (66 ฟุต) ที่มีมวล 12,000–13,000 เมตริกตัน[23] พลังของการระเบิดนั้นอยู่ที่ประมาณ 500 กิโลตันของทีเอ็นที (ประมาณ 1.8 เพตาจูล) ซึ่งเป็นพลังงาน 20-30 เท่ามากกว่าที่ปล่อยจากระเบิดปรมาณูเหนือเมืองฮิโรชิมา เมืองสามารถหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บล้มตายและการทำลายล้างสูงเนื่องจากการระเบิดเกิดในชั้นบรรยากาศระดับสูง

สถานะหน่วยการบริหารและเทศบาล

[แก้]
อาคารที่ทำการสภานิติบัญญัติของแคว้นเชเลียบินสค์

เชเลียบินสค์ เป็นศูนย์กลางการปกครองของแคว้น[1] ภายในกรอบของการแบ่งเขตการปกครองของประเทศรัสเซีย นครเชเลียบินสค์ เป็นหน่วยการปกครองที่มีสถานะเทียบเท่ากับเขตการปกครองอื่น[1] ในฐานะที่เป็นเทศบาล นครเชเลียบินสค์ มีสถานะเป็นเทศบาลนครเชเลียบินสค์[1] ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 เขตของนครเชเลียบินสค์เจ็ดเมือง ได้รับการรับรองสถานะตามกฎหมาย[24]

ภูมิศาสตร์

[แก้]

เชเลียบินสค์ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเทือกเขายูรัล ห่างจากเยคาเตรินบุร์กไปทางใต้ 199 กม. ระดับความสูงจากน้ำทะเล 200–250 เมตร

เมืองถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนโดยแม่น้ำมิอัสซึ่งถือเป็นพรมแดนระหว่างเทือกเขายูรัลและไซบีเรีย ซึ่งลักษณะทางธรณีวิทยาของพื้นที่มีเนินเขาหินแกรนิตเตี้ย ๆ ของเทือกเขายูรัลทางด้านตะวันตกและหินตะกอนชั้นล่างของที่ราบไซบีเรียตะวันตกอยู่ทางทิศตะวันออก

"สะพานเลนินกราด" เชื่อมต่อทั้งสองด้านดังนั้นจึงเรียกว่า "สะพานแห่งเทือกเขายูรัลกับไซบีเรีย" เชเลียบินสค์ยังเป็นที่รู้จักกันในนาม "ประตูสู่ไซบีเรีย"[25]

เช่นเดียวกับกรุงโรม, คอนสแตนติโนเปิล และมอสโก กล่าวกันว่าเชเลียบินสค์ตั้งอยู่บนเนินเขาทั้งเจ็ด[26]

ภูมิอากาศ

[แก้]

เมืองมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นฤดูร้อนภาคพื้นทวีป (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน: Dfb) แบบทางตอนเหนือไกลกว่าแบบที่พบในทุ่งหญ้าแพรรีของแคนาดา อุณหภูมิเฉลี่ยในเดือนมกราคมต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง (-14 °C / 6.6 °F) ถึงกระนั้นเดือนกรกฎาคมมีค่าเฉลี่ยค่อนข้างเย็น (19 °C / 66.7 °F) และค่าเฉลี่ยประจำปีอยู่เหนือศูนย์องศาเซลเซียสเล็กน้อย (3 °C / 37.8 °F) ซึ่งแสดงว่ายังมีค่าพอประมาณอยู่บ้าง ช่วงของความแตกต่างที่มากที่สุดกล่าวว่ามีช่วงถึง 70 °C / 158 °F อ้างได้ว่าเป็นแบบอย่างของภูมิอากาศแถบละติจูดกลางในทวีปใหญ่เช่นยูเรเชีย[27]

การตกของหยาดน้ำฟ้าสูงสุดมีความถี่สูงในฤดูร้อนและลดลงในฤดูหนาว เดือนกรกฎาคมมีปริมาณหยาดน้ำฟ้าที่สูงสุดเฉลี่ย 87 มม. / 3.44" และเดือนมกราคมเป็นเดือนที่แล้งที่สุดมีปริมาณหยาดน้ำฟ้าเฉลี่ย 15 มม. / 0.6" ปริมาณน้ำฝนประจำปีโดยรวมทั้งหมดคือ 16.9" และดังนั้นจึงเข้าใกล้กับสภาพภูมิอากาศกึ่งแห้งแล้ง ในหนึ่งปีมี 119 วันที่ฝนตก แต่เดือนแรกของปีบันทึกเฉลี่ยเพียงสามวัน[27]

ข้อมูลภูมิอากาศของเชเลียบินสค์
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 4.9
(40.8)
5.6
(42.1)
19.9
(67.8)
34.9
(94.8)
39.9
(103.8)
39.9
(103.8)
39.9
(103.8)
39.9
(103.8)
34.9
(94.8)
24.9
(76.8)
14.9
(58.8)
9.9
(49.8)
39.9
(103.8)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) -10.5
(13.1)
-7.9
(17.8)
1.0
(33.8)
10.6
(51.1)
20.3
(68.5)
23.9
(75)
25.2
(77.4)
23.6
(74.5)
17.2
(63)
9.3
(48.7)
-0.4
(31.3)
-6.9
(19.6)
8.8
(47.8)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) -14.9
(5.2)
-13.4
(7.9)
-4.8
(23.4)
4.7
(40.5)
12.1
(53.8)
18.3
(64.9)
19.3
(66.7)
17.1
(62.8)
10.9
(51.6)
4.1
(39.4)
-5.2
(22.6)
-11.1
(12)
3.0
(37.4)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) -19.0
(-2.2)
-18.9
(-2)
-9.3
(15.3)
-0.3
(31.5)
7.9
(46.2)
12.9
(55.2)
14.5
(58.1)
13.5
(56.3)
7.6
(45.7)
1.3
(34.3)
-5.9
(21.4)
-14.6
(5.7)
−0.9
(30.4)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -49.9
(-57.8)
-44.9
(-48.8)
-44.9
(-48.8)
-29.9
(-21.8)
-19.9
(-3.8)
-4.9
(23.2)
0.1
(32.2)
0.1
(32.2)
-9.9
(14.2)
-24.9
(-12.8)
-39.9
(-39.8)
-44.9
(-48.8)
−49.9
(−57.8)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 17
(0.67)
16
(0.63)
19
(0.75)
27
(1.06)
47
(1.85)
55
(2.17)
87
(3.43)
44
(1.73)
41
(1.61)
30
(1.18)
26
(1.02)
21
(0.83)
430
(16.93)
ความชื้นร้อยละ 85 77 76 66 61 64 69 71 73 73 82 83 73
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย 0.1 0.3 4 10 15 19 17 16 16 10 6 1 114
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย 18 16 15 6 1 0.3 0 0 1 6 15 19 97
แหล่งที่มา 1: Pogoda.ru.net[28]
แหล่งที่มา 2: World Meteorological Organization (เฉพาะจำนวนวันที่มีหยาดน้ำฟ้า)[29]

ภูมิทัศน์ของเมือง

[แก้]
ทิวทัศน์ของเมืองเชเลียบินสค์โดยมีแม่น้ำมิอัสไหลผ่าน

สถาปัตยกรรม

[แก้]

สถาปัตยกรรมของเชเลียบินสค์ ได้รับการหล่อหลอมผ่านประวัติศาสตร์ของเมือง โดยการเปลี่ยนแปลงของยุคประวัติศาสตร์ในการพัฒนาของรัสเซียก่อนการปฏิวัติในปี พ.ศ. 2460 เมืองนี้เป็นศูนย์กลางการค้าขาย มีอาคารร้านค้าจำนวนมากในรูปแบบสถาปัตยกรรมตามคตินิยมสรรผสานและแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ซึ่งมีองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมรัสเซียยุคฟื้นฟู โดยบางส่วนได้รับการเก็บรักษาไว้บริเวณถนนคีรอฟกา ซึ่งเป็นถนนที่สงวนไว้สำหรับคนเดินเท้า

อาคารอนุรักษ์บริเวณจตุรัสการปฏิวัติ
สร้างในสถาปัตยกรรมตามแนวศิลปะเค้าโครง (พ.ศ. 2481)

การพัฒนาอุตสาหกรรมเริ่มในปลายคริสต์ทศวรรษ 1920 การก่อสร้างโรงงานขนาดใหญ่นั้นมาพร้อมกับการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัย และอาคารสาธารณะแห่งใหม่ในรูปแบบสถาปัตยกรรมตามแนวศิลปะเค้าโครง (อังกฤษ: Constructivist architecture) บริเวณของสถาปัตยกรรมในแนวทางนี้ทั้งหมดสามารถพบเห็นได้ในพื้นที่ของโรงงานแทรกเตอร์เชเลียบินสค์ (รัสเซีย: Челябинский тракторный завод; ЧТЗ)[30]

ในช่วงปลายยุคคริสต์ทศวรรษ 1930 ยุคใหม่เริ่มขึ้นในเมืองโดยการเริ่มต้นการก่อสร้างอาคารอนุสาวรีย์ ในรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิคสังคมนิยมของสตาลิน บริเวณใจกลางเมืองและถนนสายกลางถูกสร้างขึ้นในรูปแบบนี้อย่างมีนัยสำคัญ[31]

อีก 60 ปีต่อมามีการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยทรงสูงอย่างหนาแน่น เนื่องจากประชากรของเมืองเพิ่มขึ้นเป็นประมาณหนึ่งล้านคน มีการบันทึกบนแผนที่ถึงบริเวณที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่เรียกว่า "เซเวโร-ซาปาด" (รัสเซีย: Северо-запад; เหนือ-ตะวันตก)

ด้วยการปฏิรูปตลาดในยุคคริสต์ทศวรรษ 1990 ทำให้เมืองเริ่มก่อสร้างอาคารสำนักงานเพื่อธุรกิจและห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ในแบบสถาปัตยกรรมหลังสมัยใหม่และรูปแบบสถาปัตยกรรมไฮเทค

สวนสาธารณะ

[แก้]

เชเลียบินสค์มีสวนสาธารณะสิบเจ็ดแห่ง แห่งที่ใหญ่ที่สุดคือหนึ่งในสวนสาธารณะที่ดีที่สุดในรัสเซีย - ซุนตรานีปาร์ค (รัสเซีย: Центральный парк; Central Park) หรือปาร์คกาการินา (รัสเซีย: Парк Гагарина) ซึ่งตั้งชื่อตามยูริ กาการิน นักบินอวกาศคนแรกของโลกที่เดินทางกลับถึงพื้นโลกอย่างปลอดภัย[32] พื้นที่ของสวนเป็นการอนุรักษ์ป่าในเมืองซึ่งประกอบด้วยหมู่ต้นสนและหินแกรนิต มีทิวทัศน์ที่งดงามของเหมืองหินเก่าหลายแห่งซึ่งจมอยู่ใต้น้ำ

การศึกษา

[แก้]
มหาวิทยาลัยการเกษตรของรัฐ
ภูมิภาคยูรัลใต้

มีมหาวิทยาลัยมากกว่าสิบแห่งในเชเลียบินสค์ เช่น ที่เก่าแก่ที่สุดคือมหาวิทยาลัยการเกษตรของรัฐภูมิภาคยูรัลใต้ (รัสเซีย: ЮУрГАУ) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2473, สถาบันศิลปะของรัฐภูมิภาคยูรัลใต้ในนามปิออตร์ อิลิช ไชคอฟสกี (รัสเซีย: ЮУрГИИ) เป็นต้น หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เชเลียบินสค์กลายเป็นศูนย์กลางหลักในการศึกษาสายอาชีพของภูมิภาคยูรัลทั้งหมด[33]

เศรษฐกิจ

[แก้]

เชเลียบินสค์เป็นหนึ่งในศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่สำคัญของรัสเซีย อุตสาหกรรมหนักโดยเฉพาะอย่างยิ่งโลหะวิทยาและเครื่องจักรกลทหาร ที่มีชื่อเสียงเช่นโรงงานผลิตเหล็กกล้าของบริษัท "Mechel", โรงงานประกอบรถแทรกเตอร์เชเลียบินสค์, โรงงานสังกะสีเชเลียบินสค์ ซึ่งผลิต 60% ของผลผลิตสังกะสีของรัสเซียและ 2% ของโลก, บริษัทเชเลียบินสค์เครื่องจักรสำหรับงานก่อสร้างถนนผู้ผลิตรถบรรทุกกระบะยกเท (อังกฤษ: Dump truck) "Terex"[34]

รถรางไฟฟ้าและทรอลลีบัส
ในเมืองเชเลียบินสค์

เมืองยังเป็นที่ตั้งของบริษัทอุตสาหกรรมเกษตร "Makfa" ผู้ผลิตพาสตารายใหญ่ที่สุดของรัสเซียและเป็นหนึ่งในห้าของผู้ผลิตพาสตารายใหญ่ที่สุดของโลก, บริษัทผลิตรองเท้า "Unichel" เป็นผู้ผลิตรองเท้ารายใหญ่ที่สุดในรัสเซีย

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเชเลียบินสค์ มีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจเกิดใหม่, กิจกรรมการธนาคารและการประกันภัย, ศูนย์โลจิสติกส์, การท่องเที่ยว และมีห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่หลายแห่งเปิดดำเนินกิจการ

การคมนาคม

[แก้]

ระบบขนส่งสาธารณะของเชเลียบินสค์ มีระบบเครือข่ายรถประจำทาง, ระบบรถรางไฟฟ้า และทรอลลีบัส รวมถึงบริการรถโดยสารส่วนตัวร่วม (รัสเซีย: маршрутка; Marshrutka) และมีบริษัท รถแท็กซี่หลายแห่ง

อาคารท่าอากาศยานเชเลียบินสค์

เชเลียบินสค์เริ่มก่อสร้างเครือข่ายรถไฟใต้ดิน (รัสเซีย: Челябинский метрополитен; อังกฤษ: Chelyabinsk Metro) สามเส้นทางในปี พ.ศ. 2535[35] (กำหนดเปิดดำเนินการ พ.ศ. 2568)[36]

ท่าอากาศยานเชเลียบินสค์เป็นสนามบินที่ใกล้ที่สุดอยู่ห่างไป 18 กม. ทางทิศเหนือของเมือง

วัฒนธรรม

[แก้]

มีพิพิธภัณฑ์เก้าแห่งในเชเลียบินสค์ พิพิธภัณฑ์ภูมิภาคเชเลียบินสค์[37] ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2456 มีสิ่งจัดแสดงประมาณ 300,000 ชิ้น มีการแสดงโบราณวัตถุของวัฒนธรรมอาร์คาอิม "ดินแดนแห่งเมือง" อายุระหว่าง 3 ถึง 2 พันปีก่อนคริสต์ศักราช, มีการจัดแสดงชิ้นส่วนที่ใหญ่ที่สุดของอุกาบาตเชเลียบินสค์ ซึ่งมีน้ำหนัก 570 กก., นิทรรศการอาวุธที่ได้รับการตกแต่งที่มีชื่อเสียงในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 ซึ่งสร้างจากโรงงานในเมืองซลาเตาสต์, นิทรรศการศิลปะเหล็กหล่อจากเมืองคาสลี (รัสเซีย: Касли́)[38] เป็นต้น

เมืองพี่น้องและเมืองแฝด

[แก้]

เชเลียบินสค์ มีความร่วมมือเป็นเมืองพี่น้องและเมืองแฝดกับ[39][40]

และเป็นเมืองพันธมิตรรัสเซียกับ

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 Постановление Законодательного Собрания Челябинской области №161 от 25 мая 2006 г. "Об утверждении перечня муниципальных образований (административно-территориальных единиц) Челябинской области и населённых пунктов, входящих в их состав (Resolution #161 of the Legislative Assembly of Chelyabinsk Oblast of May 25, 2006 On Adoption of the List of the Municipal Formations (Administrative-Territorial Units) of Chelyabinsk Oblast and of the Inhabited Localities in Their Composition)
  2. 2.0 2.1 "Chelyabinsk - Russia". สืบค้นเมื่อ September 21, 2017.
  3. "Челябинская городская Дума" [Chelyabinsk City Council]. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-11. สืบค้นเมื่อ 2020-01-11.
  4. "Гордума Челябинска выбрала нового мэра" (ภาษารัสเซีย). РБК. 2019-11-19. สืบค้นเมื่อ 2019-11-24.
  5. "Глава города Челябинска" [The head of the city of Chelyabinsk]. Администрация Города Челябинска. 2018-11-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-12. สืบค้นเมื่อ 2020-01-13.
  6. Russian Federal State Statistics Service (2011). "Всероссийская перепись населения 2010 года. Том 1" [2010 All-Russian Population Census, vol. 1]. Всероссийская перепись населения 2010 года (2010 All-Russia Population Census) (ภาษารัสเซีย). Federal State Statistics Service. สืบค้นเมื่อ June 29, 2012.
  7. "26. Численность постоянного населения Российской Федерации по муниципальным образованиям на 1 января 2018 года". สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2019.
  8. "Information about central postal office" (ภาษารัสเซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03.
  9. Ministry of Telecom and Mass Communications of the Russian Federation. "Russian Federation (country code +7) Communication of 26.X.2016" (PDF). ITU. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-01-13. สืบค้นเมื่อ 2020-01-13.
  10. "Investing in Chelyabinsk city". Invest in Russia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-01. สืบค้นเมื่อ February 14, 2013.
  11. "Murzina" (PDF).
  12. "Invest in Ural". Invest in Ural. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-24. สืบค้นเมื่อ February 14, 2013.
  13. "Ancient Aryan civilization achieved incredible technological progress 40 centuries ago". Pravda.
  14. 14.0 14.1 14.2 Basu, Dipak (2017). India as an Organization: Volume One. London: Palgrave Macmillan. p. 23. ISBN 978-3-319-53372-8.
  15. Anthony, D. W. (2007). The Horse, the Wheel, and Language. Princeton, NJ: Princeton University Press. pp. 408–411. ISBN 978-0-691-05887-0.
  16. "Челябинск: Ворота в Сибирь и Зауральский Чикаго". Портал Челябинская область. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-18. สืบค้นเมื่อ 2020-01-13.
  17. 17.0 17.1 Atkinson, Nancy (15 February 2013). "Airburst Explained: NASA Addresses the Russian Meteor Explosion". Universe Today. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 February 2013.
  18. 18.0 18.1 Popova, Olga P.; Jenniskens, Peter; และคณะ (2013). "Chelyabinsk Airburst, Damage Assessment, Meteorite Recovery, and Characterization". Science. 342 (6162): 1069–1073. Bibcode:2013Sci...342.1069P. doi:10.1126/science.1242642. hdl:10995/27561. PMID 24200813. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 January 2014.
  19. "Meteorite hits Russian Urals: Fireball explosion wreaks havoc, up to 1,200 injured (PHOTOS, VIDEO)". RT. February 15, 2013.
  20. Plait, Phil (February 15, 2013). "Breaking: Huge Meteor Blazes Across Sky Over Russia; Sonic Boom Shatters Windows [UPDATED]". Slate. สืบค้นเมื่อ February 15, 2013.
  21. "Meteor strikes Earth in Russia's Urals". Pravda. สืบค้นเมื่อ February 15, 2013.
  22. "400 Injured by Meteorite Falls in Russian Urals". Associated Press. สืบค้นเมื่อ February 15, 2013.
  23. Schiermeier, Quirin (6 November 2013). "Risk of massive asteroid strike underestimated". Nature News. Nature Publishing Group. doi:10.1038/nature.2013.14114. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 November 2013.
  24. Законодательное Собрание Челябинской области. Закон №706-ЗО от 10 июня 2014 г. «О статусе и границах Челябинского городского округа и внутригородских районов в его составе». Вступил в силу со дня официального опубликования. Опубликован: "Южноуральская панорама", №87 (спецвыпуск №24), 14 июня 2014 г. (Legislative Assembly of Chelyabinsk Oblast. Law #706-ZO of June 10, 2014 On the Status and Borders of Chelyabinsky Urban Okrug and the City Districts It Comprises. Effective as of the day of the official publication.).
  25. "История Челябинска - от крепости до железнодорожной станции" (ภาษารัสเซีย). Портал Челябинская область. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-31. สืบค้นเมื่อ 2020-01-13.
  26. "Холмы Челябинска". Электронное периодическое издание Mediazavod.ru. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 14, 2014. สืบค้นเมื่อ July 9, 2014.
  27. 27.0 27.1 "Chelyabinsk, Russia Köppen Climate Classification (Weatherbase)". Weatherbase. สืบค้นเมื่อ 2018-11-13.
  28. "Weather and Climate (Погода и Климат – Климат Челябинска)" (ภาษารัสเซีย). Pogoda.ru.net. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-22. สืบค้นเมื่อ December 13, 2012.
  29. "World Weather Information Service – Cheljabinsk". World Meteorological Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-17. สืบค้นเมื่อ December 13, 2012.
  30. "Конструктивизм в архитектуре Челябинска" (ภาษารัสเซีย).
  31. "Сталинский ампир".
  32. "Парк Гагарина в Челябинске попал в топ-5 лучших в России".
  33. "На Урале".
  34. "В Челябинске начали производство 100-тонных самосвалов".
  35. "О компании" (ภาษารัสเซีย). Челябметрострой. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-22. สืบค้นเมื่อ 2014-05-07.
  36. СМИ: метро в Челябинске достроят за 80 млрд рублей
  37. "About the museum". The State Museum of the South Ural History. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-28. สืบค้นเมื่อ 2020-01-13.
  38. Inna Peshkova (January 1982). "KASLI - Synonymous with iron casting". Soviet Life. No. 304. Embassy of the Union of the Soviet Socialist Republics in the USA. pp. 60–63.
  39. "Города-побратимы". Администрация Челябинска. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-22. สืบค้นเมื่อ 2020-01-13.
  40. "Нихао – Здравствуйте! Челябинск и Харбин стали городами-побратимами". Ура.ру. 18 July 2012.
  41. "Sister cities". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 8, 2013. สืบค้นเมื่อ July 5, 2013.
  42. Cities with over 1 million population Rosstat
  43. Cities with population between 500,000 and 1 million Rosstat

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
Wikinews
Wikinews
วิกิข่าว มีข่าวเกี่ยวกับบทความ:
เชเลียบินสค์ (ภาษารัสเซีย)