ข้ามไปเนื้อหา

สถาปัตยกรรมรัสเซียยุคฟื้นฟู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถาปัตยกรรมโดยคอนสแตนติน ทอน มหาวิหารพระผู้ช่วยให้รอด มอสโก ค.ศ. 1839-60
บ้านอีกุมนอฟ

สถาปัตยกรรมรัสเซียยุคฟื้นฟู (Russian Revival architecture) เป็นรูปแบบที่แสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวที่แตกต่างในสถาปัตยกรรมรัสเซีย (มักถูกเรียกว่า รูปแบบรัสเซียแฝง, รูปแบบรัสเซียใหม่, รูปแบบรัสเซีย-ไบแซนไทน์ หรือเรียกว่า รูปแบบไบแซนไทน์) (รัสเซีย: псевдорусский стиль, неорусский стиль, русско-византийский стиль)) สถาปัตยกรรมรูปแบบนี้เกิดขึ้นในช่วงที่สองของคริสต์ศตวรรษที่ 19 และเป็นสถาปัตยกรรมแบบผสมผสานยุคก่อนสถาปัตยกรรมสมัยซาร์ปีเตอร์ และมีองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมไบแซนไทน์

สถาปัตยกรรมรัสเซียยุคฟื้นฟูเกิดขึ้นมาในช่วงกรอบแนวคิดที่มีการให้ความสนใจต่อสถาปัตยกรรมที่เป็นของชาติ ซึ่งพัฒนาขึ้นในยุโรปช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 และได้ถูกนำมาตีความและทำให้เข้ากับรูปแบบมรดกทางสถาปัตยกรรมของรัสเซีย บางครั้งรูปแบบสถาปัตนกรรมฟื้นฟูของรัสเซีย มักถูกเรียกอย่างเข้าใจผิดว่า เป็นสถาปัตยกรรมแบบรัสเซีย หรือ สถาปัตยกรรมรัสเซียเก่า แต่โดยส่วนใหญ่เหล่าสถาปนิกในยุคฟื้นฟูไม่ได้ทำซ้ำโดยตรงกับสถาปัตยกรรมตามประเพณีแบบเก่า โดยรูปแบบสถาปัตยกรรมฟื้นฟูของรัสเซีย จะเป็นการผสมผสานกันระหว่างรูปแบบอื่นๆที่เป็นสากลเข้าด้วยกัน นับตั้งแต่สถาปัตยกรรมสมัยโรแมนติกในช่วงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนถึงรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่

ภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]