เจ้าฟ้าพินทวดี
เจ้าฟ้าพินทวดี | |
---|---|
เจ้าฟ้า | |
สิ้นพระชนม์ | พ.ศ. 2344 |
ราชวงศ์ | บ้านพลูหลวง |
พระบิดา | สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ |
พระมารดา | กรมพระเทพามาตุ (พลับ) |
ศาสนา | พุทธ |
เจ้าฟ้าพินทวดี บางแห่งเรียก เจ้าฟ้าอินทวดี[1] หรือ เจ้าฟ้าหญิงแก่[2] (สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2344)[3] เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศกับกรมพระเทพามาตุ (พลับ) เป็นพระเชษฐภคินีในสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรและสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์[4] หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พระองค์ได้รับการอนุเคราะห์จากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและประทับอยู่ในราชสำนักธนบุรี[5]
เจ้าฟ้าพินทวดีเป็นหนึ่งในเจ้านายยุคกรุงศรีอยุธยาเพียงไม่กี่พระองค์ที่มีพระชนมายุยืนนานจนถึงยุครัตนโกสินทร์ และได้รับการถวายพระเกียรติเป็นเจ้าฟ้าตราบจนสิ้นพระชนม์ชีพ ทั้งยังเป็นเจ้านายที่ถ่ายทอดขนบธรรมเนียมและพระราชพิธีโบราณสู่ราชสำนักยุคหลัง[2][6]
พระประวัติ
[แก้]เจ้าฟ้าพินทวดี เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ประสูติแต่กรมพระเทพามาตุ (พลับ) ใน คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ระบุว่าพระองค์มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าพิน ต่อมาพระบิดาให้เปลี่ยนพระนามเป็น เจ้าฟ้าพินทวดี[7] แต่ใน คำให้การชาวกรุงเก่า ระบุพระนามว่า เจ้าฟ้าอินทวดี[1] คำให้การขุนหลวงหาวัด ระบุว่าพระชนนีสืบเชื้อสายพราหมณ์จากเมืองเพชรบุรี[8] พระองค์มีพระพี่น้องร่วมพระชนกชนนีแปดพระองค์ ได้แก่ เจ้าฟ้าสิริประชา (หรือประชาวดี), เจ้าฟ้าสิริประภา (หรือประภาวดี), เจ้าฟ้ากษัตรีย์, สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์, เจ้าฟ้าบัวจัน (หรือจันทรวดี), เจ้าฟ้านวน (หรือนุ่ม) และสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร[4]
หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พม่าได้ทำการกวาดต้อนเจ้านายอยุธยา 869 องค์ และผู้สืบเชื้อสายพระราชวงศ์อีก 2,000 คนเศษ แต่ปรากฏว่าเหลือเจ้านายบางส่วนตกค้างที่ค่ายโพธิ์สามต้น และบางส่วนหนีรอดออกไป[9] เจ้าฟ้าพินทวดีถูกกุมขังในค่ายโพธิ์สามต้นไม่ได้ถูกกวาดไปพม่า เพราะทรงพระประชวร โดยถูกจองจำพร้อมกับเจ้านายฝ่ายในจำนวนหนึ่ง[10] ดังปรากฏใน พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ความว่า[11]
"...ในเขตแดนแว่นแคว้นสยามประเทศ เหตุว่าหาเจ้าแผ่นดินจะปกครองบมิได้ เหมือนดุจสัตถันดรกัล์ปและทุพภิกขันดรกัล์ป และพระราชวงศานุวงศ์ ซึ่งเหลืออยู่พม่ามิได้เอาไปนั้น ตกอยู่ ณ ค่ายโพธิ์สามต้นก็มีบ้าง ที่หนีไปเมืองอื่นนั้นก็มีบ้าง และเจ้าฟ้าสุริยา 1 เจ้าฟ้าพินทวดี 1 เจ้าฟ้าจันทวดี 1 พระองค์เจ้าฟักทอง 1 ทั้ง 4 พระองค์นี้ เป็นราชบุตรีพระพุทธเจ้าหลวงในพระบรมโกศ และเจ้ามิตรบุตรีกรมพระราชวัง 1 หม่อมเจ้ากระจาดบุตรีกรมหมื่นจิตรสุนทร 1 หม่อมเจ้ามณีบุตรีกรมหมื่นเสพภักดี 1 หม่อมเจ้าฉิมบุตรีเจ้าฟ้าจีด 1 เจ้าทั้งนี้ตกอยู่กับพระนายกอง ณ ค่ายโพธิ์สามต้น อนึ่งพระองค์เจ้าทับทิมบุตรีสมเด็จพระอัยกานั้น พวกข้าไทพาหนีออกไป ณ เมืองจันทบูร เจ้าตากก็สงเคราะห์รับเลี้ยงดูไว้..."
ภายหลังสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรียกทัพตีค่ายโพธิ์สามต้นแตก อันเป็นที่สิ้นสุดสงครามกู้กรุงศรีอยุธยา พระองค์ก็ทรงอุปการะเจ้าหญิงอยุธยามาไว้ในราชสำนักธนบุรี ดังปรากฏใน พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ความว่า[11]
"...อนึ่ง ซึ่งพระขัตติยวงศ์ครั้งกรุงเก่านั้น บรรดาเจ้าหญิงทรงพระกรุณาโปรดเลี้ยงไว้ในพระราชวัง และเจ้าฟ้าสุริยา เจ้าฟ้าจันทวดี สองพระองค์นั้นดับสูญสิ้นพระชนม์ ยังอยู่แต่เจ้าฟ้าพินทวดี พระองค์เจ้าฟักทอง พระองค์เจ้าทับทิม ซึ่งเรียกว่าเจ้าครอกจันทบูรนั้น และเจ้ามิตร บุตรีกรมพระราชวัง โปรดให้ชื่อ เจ้าประทุม หม่อมเจ้ากระจาด บุตรีกรมหมื่นจิตรสุนทร โปรดให้ชื่อ เจ้าบุปผา กับหม่อมเจ้าอุบล บุตรีกรมหมื่นเทพพิพิธ หม่อมเจ้าฉิม บุตรีเจ้าฟ้าจีด ทั้งสี่องค์นี้ทรงพระกรุณาเลี้ยงเป็นห้าม..."
หลังผลัดแผ่นดินสู่ยุครัตนโกสินทร์ พระองค์ยังได้รับการถวายพระเกียรติเป็นเจ้าฟ้า ด้วยมีพระชันษาสูงจึงถูกเรียกว่าเจ้าฟ้าหญิงแก่[2] เมื่อเจ้าฟ้าพินทวดีทอดพระเนตรพระราชพิธีโสกันต์ที่จัดขึ้นในแผ่นดินใหม่ ก็ตรัสว่าพระราชพิธีไม่ได้ทำเต็มตามตำราแต่กรุงเก่าสักพระองค์หนึ่ง หากพระองค์ซึ่งเคยทอดพระเนตรการเตรียมการพระราชพิธีต่าง ๆ มาตั้งแต่กรุงเก่าสิ้นพระชนม์ไป คงไม่มีผู้ใดมาชี้แนะแบบแผนพระราชพิธีที่ถูกต้อง พระองค์จึงบันทึกแบบแผนพระราชพิธีการลงสรงโสกันต์ให้เจ้านายพระองค์อื่น ๆ ทรงทราบ[2] เจ้าฟ้าพินทวดีตรัสว่า "จะทำอะไรก็ให้ถามฉันนะ จะได้บอกให้ว่าทำอย่างไร"[6] เมื่อความไปถึงสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ก็ทรงเห็นชอบด้วย จึงก่อสร้างเขาไกรลาศ ยอดเขามีพระมณฑป เบื้องล่างมีสระอโนดาต และต่อท่อไขน้ำออกจากปากสัตว์หิมพานต์ โดยมีพระราชพิธีโสกันต์ในวังหน้าสามครั้งก่อนพระองค์สิ้นพระชนม์[2] หลังจากนั้นใน พ.ศ. 2351 วังหลวงจึงจัดพระราชพิธีโสกันต์ครั้งแรกตามตำราที่เจ้าฟ้าพินทวดีทรงบันทึกไว้คือพระราชพิธีโสกันต์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช[3][12] หลังเจ้าฟ้าพินทวดีสิ้นพระชนม์ไปแล้ว 7 ปี[3]
เจ้าฟ้าพินทวดีสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2344[3] และในหมายรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชกล่าวถึงการพระราชทานเพลิงพระศพเจ้าฟ้ากิม (คาดว่าคือเจ้าฟ้าพินทวดี) ณ เมรุวัดสุวรรณารามราชวรวิหาร เมื่อ พ.ศ. 2345[13]
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของเจ้าฟ้าพินทวดี | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ 1.0 1.1 พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 551
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 หนังสือจดหมายเหตุ (PDF). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2537. p. 272-273. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-06-24. สืบค้นเมื่อ 2020-04-09.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 หนังสือจดหมายเหตุ (PDF). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2537. p. 283. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-06-24. สืบค้นเมื่อ 2020-04-09.
...เจ้าฟ้านั้นเมื่อถึงปีมโรงสัมฤทธิศก, ศักราช ๑๑๗๐, ตรงกับปีมีคฤษตศักราช ๑๘๐๘ พระชนมายุครบ ๑๑ ปี, ถึงกำหนดที่จะโสกันต์เมื่อนั้น, เจ้าฟ้าพินทวดีที่เปนผู้ชี้การมา, ก็สิ้นพระชนม์ไปแล้วถึง ๗ ปี...
- ↑ 4.0 4.1 พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 624
- ↑ "พระราชวงศ์และตระกูลอันเป็นเชื้อพระวงศ์". สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 6.0 6.1 "เล่าเรื่อง 'พระราชพิธีโสกันต์' ในราชสำนักสยาม". อิศรา. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง, หน้า 285
- ↑ ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง, หน้า 478
- ↑ "ชะตากรรมเจ้าหญิงอยุธยาหลังกรุงแตก ย้อนบันทึกพม่าที่น่าสลดใจ". ศิลปวัฒนธรรม. 7 เมษายน 2563. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สงครามกู้อิสรภาพจากพม่า". สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 11.0 11.1 ปรามินทร์ เครือทอง (7 มกราคม 2563). ""ท้องกับเจ๊ก" การเมืองราชสำนักฝ่ายใน เรื่องซุบซิบเจ้าหญิงอยุธยาในพระเจ้าตากสินฯ". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ โสกันต์เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "วัดสุวรรณาราม". ระบบฐานข้อมูลกฐินพระราชทาน. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
- บรรณานุกรม
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9
- ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง. กรุงเทพฯ : แสงดาว, 2553. 536 หน้า. ISBN 978-616-508-073-6