ข้ามไปเนื้อหา

สมเด็จพระราชินีเจจุน ปัทมา วังชุก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เจตซุน เพมา)
สมเด็จพระราชินีเจจุน ปัทมา วังชุก
ดรุก กยาลเซิน (ราชินีมังกร)
พระฉายาลักษณ์ พ.ศ. 2554
สมเด็จพระราชินีแห่งภูฏาน
ดำรงพระยศ13 ตุลาคม พ.ศ. 2554 – ปัจจุบัน
ราชาภิเษก13 ตุลาคม พ.ศ. 2554
ประสูติ4 มิถุนายน พ.ศ. 2533 (34 ปี)
Jigme Dorji Wangchuck National Referral Hospital ทิมพู ประเทศภูฏาน
คู่อภิเษกสมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก (สมรส 2554)
พระราชบุตรเจ้าชายชิกเม นัมเกยล วังชุก
เจ้าชายชิกเม อุกเยน วังชุก
เจ้าหญิงโซนัม ยังเดน วังชุก
พระนามเต็ม
เจจุน ปัทมา[fn 1]
ราชวงศ์วังชุก (เสกสมรส)
พระราชบิดาธอนทุบ กยอลเซน
พระราชมารดาโซนัม ชูกี
ศาสนาDrukpa Kagyu

สมเด็จพระราชินีเจจุน ปัทมา (ซองคา: རྗེ་བཙུན་པདྨ་; ไวลี: rje btsun padma, พระราชสมภพ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2533) เป็นดรุก กยาลเซิน (ซองคา: Dragon Queen) แห่งประเทศภูฏาน เป็นสมเด็จพระราชินีในสมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก ที่สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมีได้ทรงประกาศอย่างเป็นทางการ ซึ่งพระองค์เป็นนักศึกษาวัย 21 พรรษา ทั้งสองพระองค์มีกำหนดอภิเษกสมรสในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554[1] โดยการอภิเษกสมรสจัดขึ้นในวันที่ 13 ตุลาคม[2]

พระราชประวัติ

[แก้]

สมเด็จพระราชินีเจจุน ปัทมา วังชุก ทรงเป็นธิดาคนที่สองจากจำนวนพี่น้องห้าคนของนายธอนทุบ กยอลเซน กับนางโซนัม ชูกี[3] โดยพระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่ประเทศภูฏาน ก่อนที่จะเสด็จไปทรงศึกษาต่อที่ลอว์เรนซ์สคูล ในซานาวาร์ หิมาจัลประเทศ และที่เซนต์โจเซฟคอนแวนต์ ในกาลิมพง ประเทศอินเดีย[4] ในภายหลังได้ทรงศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยรีเจนต์คอลเลจ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ[5][6] พระองค์มีความสนพระทัยในงานศิลปะเรอเนสซองส์ และมีงานอดิเรกคือการถ่ายภาพเช่นเดียวกับสมเด็จพระราชาธิบดี รวมทั้งยังโปรดฟังเพลงพื้นเมืองด้วยเช่นกัน[7]

อภิเษกสมรส

[แก้]

ในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมีได้ทรงประกาศอย่างเป็นทางการว่าพระองค์จะอภิเษกสมรสกับ เจตซุน เพมา ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554[5] การอภิเษกสมรสจะจัดขึ้นในรูปแบบดั้งเดิมด้วยตามพระพรของอารักษ์[5] ทั้งนี้เจตซุน เพมา ได้โดยเสด็จไปยังสถานที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศแล้วในขณะนี้[5]

งานอภิเษกสมรสถูกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ณ พูนาคาซอง (Punakha Dzong) และมีการเฉลิมฉลองตามหัวเมืองใหญ่ อันได้แก่พูนาคา, ทิมพู[8] และพาโร[9] และได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งภูฏาน[10] โดยพระราชพิธีอภิเษกสมรสครั้งนี้แม้จะจัดแบบดั้งเดิม แม้ว่าภูฏานจะมีประเพณีหลายเมีย แต่สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมีได้ตรัสว่าพระองค์จะไม่อภิเษกสมรสกับสตรีนางใดอีก และจะมีเพียงแต่เจตซุน เพมา เป็นพระชายาในอนาคตเท่านั้น หลังจากอภิเษกสมรสแล้ว นางสาว เจตซุน ได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระราชินีแห่งภูฏาน โดยมีการเฉลิมพระนามาภิไธยว่า สมเด็จพระราชินีเจตซุน เพมา วังชุก[11]

ปัจจุบันสมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุกและสมเด็จพระราชินีเจจุน ปัทมา วังชุก ทั้งสองพระองค์ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดาทั้งสามพระองค์ได้แก่

ชีวิตส่วนพระองค์

[แก้]

สมเด็จพระราชินีเจตซุน เพมา วังชุก สนพระราชหฤทัยในงานศิลปะ จิตรกรรม และกีฬาบาสเกตบอล[12] ซึ่งพระองค์เคยทรงดำรงตำแหน่งกัปตันทีมบาสเก็ตบอล และเคยได้รับการทูลเกล้าถวายรางวัลการพูดในที่ชุมชนอีกด้วย[13]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Bhutan 31-year-old King Jigme Khesar Namgyel Wangchuck to marry (05-20-2011) 31-year-old King Jigme Khesar Namgyel Wangchuck to marry 20-year-old commoner Jetsun Pema in October
  2. ภูฎานชื่นมื่นกษัตริย์จิกมีอภิเษกวันนี้[ลิงก์เสีย]
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ เจตซุน
  4. สมเด็จพระราชินีเจตซุน เพมา วังชุก พระราชินีแห่งภูฏาน
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "Royal Wedding in October". Bhutan Observer. สืบค้นเมื่อ 26 May 2011.
  6. "Bhutan king to wed Sanawar girl". Times of India. 22 May 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-23. สืบค้นเมื่อ 27 May 2011.
  7. "Know the royal bride". Businessbhutan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-17. สืบค้นเมื่อ 27 May 2011.
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร". BBS page. 20 October 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-13. สืบค้นเมื่อ 13 November 2014.
  9. "สำเนาที่เก็บถาวร". BBS page. 20 October 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-13. สืบค้นเมื่อ 13 November 2014.
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร". BBS. 13 October 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-13. สืบค้นเมื่อ 13 November 2014.
  11. "Royal Wedding in October". Bhutan Observer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-03. สืบค้นเมื่อ 26 May 2011.
  12. "Spike in Bhutan's happiness index". The Hindu. สืบค้นเมื่อ 27 May 2011.
  13. เจตซุน เพมา ส่วนเติมเต็มชีวิต 'ดรุก กัลโป'. มติชน. ปีที่ 34 ฉบับที่ 12270. วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2554. หน้า 30

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "fn" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="fn"/> ที่สอดคล้องกัน