ข้ามไปเนื้อหา

เคพีเอ็น อวอร์ด ครั้งที่ 22

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เคพีเอ็น อวอร์ด ครั้งที่ 22
ภาพสัญลักษณ์รายการเคพีเอ็น อวอร์ด ครั้งที่ 22
พิธีกรพิษณุ นิ่มสกุล
ศกุนตลา เทียนไพโรจน์
ดนตรีแก่นเรื่องเปิดสะพานเชื่อมดาว
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย ประเทศไทย
ภาษาต้นฉบับไทย
การผลิต
สถานที่ถ่ายทำแจ้งวัฒนะฮอลล์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ
ออกอากาศ
เครือข่ายโมเดิร์นไนน์ทีวี
เพลย์แชนแนล
ออกอากาศ22 กันยายน พ.ศ. 2555 –
10 มกราคม พ.ศ. 2556

เคพีเอ็น อวอร์ด ครั้งที่ 22 เป็นการประกวดร้องเพลงถ้วยพระราชทานชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ปีที่ 22 โดยเริ่มรับสมัครผู้เข้าแข่งขันตั้งแต่เดือนกรกฎาคม[1]

รูปแบบและกติกาการแข่งขัน

[แก้]

รายการเริ่มต้นโดยการรับสมัครผู้เข้าแข่งจากทั่วประเทศไทย โดยแบ่งออกเป็น 4 ช่วงในแต่ละภาค ได้แก่ ภาคใต้, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาคเหนือ, และภาคกลาง (รวมภาคตะวันออกกับภาพตะวันตกด้วย) โดยจะคัดเลือกจากคณะกรรมการ 4 ท่าน ได่แก่ สุทธิพงษ์ วัฒนจัง, วินัย สุขแสวง, วรายุฑ มิลินทจินดา และอภิสราฐ์ เพชรเรืองรอง ผู้ผ่านการคัดเลือกจากแต่ละภาคเข้าร่วมแข่งขันร้องเพลง และแข่งขันกันอีกรอบเพื่อหาตัวแทน 10 คน และแบ่งผู้เข้าประกวดเป็น 2 ทีม ได้แก่ ทีมสีแดง คือ ทีมที่มีผู้เข้าแข่งขันที่คัดเลือกที่เสียงร้อง และทีมสีน้ำเงิน คือ ทีมที่มีผู้เข้าแข่งขันที่คัดเลือกที่บุคลิกภาพและหน้าตา มาแข่งในรอบสุดท้าย จนได้ผู้ชนะเลิศ

นอกจากจะแบ่งผู้เข้าแข่งขันออกเป็น 2 ทีมแล้ว คณะกรรมการตัดสินในปีนี้ก็แบ่งเป็น 2 ทีมเช่นเดียวกัน โดยกรรมการที่ตัดสินด้านเสียงร้อง คือ สุทธิพงษ์ วัฒนจัง และวินัย สุขแสวง ส่วนกรรมการที่ตัดสินด้านการแสดงออก คือ วรายุฑ มิลินทจินดา และอภิสราฐ์ เพชรเรืองรอง

ผลการแข่งขันในครั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินของคนไทยทั้งประเทศ โดยคะแนนของผู้เข้าแข่งขัน 30% มาจากคะแนนโหวตจากผู้ชมทางบ้าน และอีก 70% มาจากคะแนนของคณะกรรมการ โดยจะมีการเริ่มนับคะแนนใหม่ในทุกสัปดาห์ นอกจากนั้นมีการโหวตแบบการกดโหวตแบบ Realtime สำหรับผู้ชมที่ได้ที่นั่งแบบ VIP 200 ที่นั่ง กราฟคะแนนที่ถูกกดโหวตในห้องส่ง จะปรากฏผลคะแนนโหวตทันที โดยหลังจากที่การแข่งขันจบ พิธีกรจะประกาศให้ที่นั่ง VIP กดโหวต ซึ่งจะกดได้ เบอร์เดียว ครั้งเดียว ภายในเวลา 5 วินาที[2]

การรับสมัคร

[แก้]
ภาค วันรับสมัคร สถานที่
ใต้ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 โรงแรมไดมอนด์พลาซ่า
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ตะวันออกเฉียงเหนือ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เซ็นทรัลพลาซาขอนแก่น
จังหวัดขอนแก่น
เหนือ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เซ็นทรัลพลาซาเชียงใหม่แอร์พอร์ต
จังหวัดเชียงใหม่
กลาง 28 กรกฎาคม และ29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เซ็นทรัลเวิลด์
กรุงเทพมหานคร

ภาคใต้

[แก้]

การแข่งขันภาคใต้ได้จัดการแข่งขันขึ้นในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ที่โรงแรมไดมอนด์พลาซ่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีผู้ผ่านเข้ารอบ ดังนี้

# ผู้เข้ารอบ
1 ไหมแก้ว ไหมแก้ว เพชรแก้ว

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

[แก้]

การแข่งขันภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้จัดการแข่งขันขึ้นในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ที่เซ็นทรัลพลาซาขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น มีผู้ผ่านเข้ารอบ ดังนี้

# ผู้เข้ารอบ
1 โอห์ม ธันยวุฒิ จัตุโพธิ์[3]
2 เฟื้อง รักชน พุทธรังษี
3 พิม ฐิติยากร ทองศรี
4 เจน เจนนภา ฝั้นสกุล
5 จี จีราภรณ์ วิเศษเจริญ
6 โอ๊ต ธนปกรณ์ อุปลกะลิน

ภาคเหนือ

[แก้]

การแข่งขันภาคเหนือได้จัดการแข่งขันขึ้นในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ที่เซ็นทรัลพลาซาเชียงใหม่แอร์พอร์ต จังหวัดเชียงใหม่ มีผู้ผ่านเข้ารอบ ดังนี้

# ผู้เข้ารอบ
1 ขนมเนย ณภัสร์ชญภรณ์ เพชรรัชต์เมธา
2 เบสท์ ปรัชญ์วรกิตติ์ ฆฤตภูริภาคย์
3 โกะ มรุพงศ์ เทวรังษี
4 ดรีม กวี คีติวัฒน์

ภาคกลาง

[แก้]

การแข่งขันภาคกลางได้จัดการแข่งขันขึ้นในวันที่ 28 กรกฎาคม และ29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ที่เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร มีผู้ผ่านเข้ารอบ ดังนี้

# ผู้เข้ารอบ
1 จ๊ะ วงศ์กร วชิรอนันต์
2 กู๊ด ชยพล ปัญหกาญจน์
3 อดัม ปิยะบุตร ฉิมมณี
4 วิน ณัฐพงษ์ ธนกรพิสิฐกุล
5 ฟลุ๊ค วิชชากาญจน์ จารุเรืองพงศ์
6 เต้ ธีระ จรรยาศิริกุล
7 คิวยู สุศจันทร์ โพธิ์วิจิตร
8 เก๋ บุษรินทร์ งามดี
9 แบงค์ ปรัชญ์ธนวิชญ์ ฆฤตภูริภาคย์

รอบ 10 คนสุดท้าย

[แก้]
# ผู้เข้ารอบ ตัวแทนภาค 10 คน
1 ไหมแก้ว ไหมแก้ว เพชรแก้ว ใต้
2 โอห์ม ธันยวุฒิ จัตุโพธิ์ ตะวันออกเฉียงเหนือ
3 เฟื้อง รักชน พุทธรังษี ตะวันออกเฉียงเหนือ
4 พิม ฐิติยากร ทองศรี ตะวันออกเฉียงเหนือ
5 เจน เจนนภา ฝั้นสกุล ตะวันออกเฉียงเหนือ
6 จี จีราภรณ์ วิเศษเจริญ ตะวันออกเฉียงเหนือ
7 โอ๊ต ธนปกรณ์ อุปลกะลิน ตะวันออกเฉียงเหนือ
8 ขนมเนย ณภัสร์ชญภรณ์ เพชรรัชต์เมธา เหนือ
9 เบสท์ ปรัชญ์วรกิตติ์ ฆฤตภูริภาคย์ เหนือ
10 โกะ มรุพงศ์ เทวรังษี เหนือ
11 ดรีม กวี คีติวัฒน์ เหนือ
12 จ๊ะ วงศ์กร วชิรอนันต์ กลาง
13 กู๊ด ชยพล ปัญหกาญจน์ กลาง
14 อดัม ปิยะบุตร ฉิมมณี กลาง
15 วิน ณัฐพงษ์ ธนกรพิสิฐกุล กลาง
16 ฟลุ๊ค วิชชากาญจน์ จารุเรืองพงศ์ กลาง
17 เต้ ธีระ จรรยาศิริกุล กลาง
18 คิวยู สุศจันทร์ โพธิ์วิจิตร กลาง
19 เก๋ บุษรินทร์ งามดี กลาง
20 แบงค์ ปรัชญ์ธนวิชญ์ ฆฤตภูริภาคย์ กลาง
  ผู้เข้าแข่งขันเข้าทีมสีแดงที่คัดเลือกที่เสียงร้อง
  ผู้เข้าแข่งขันเข้าทีมสีน้ำเงินที่คัดเลือกที่บุคลิกภาพและหน้าตา

ผู้เข้ารอบ 10 คนสุดท้าย

[แก้]

ทีมสีแดง

[แก้]

ทีมสีน้ำเงิน

[แก้]

ตารางสรุปผลการแข่งขัน

[แก้]
รหัส ชื่อ สัปดาห์การแข่งขัน ตำแหน่งที่ได้รับ/
โจทย์เพลงในสัปดาห์ที่ไม่ได้ไปต่อ
1 2 3 4 5 6
KPN 9   กู๊ด ชยพล ปัญหกาญจน์   นักร้องยอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย
KPN 3   จี จีราภรณ์ วิเศษเจริญ     รองนักร้องยอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย อันดับ 1
KPN 10   เฟื้อง รักชน พุทธรังสี       รองนักร้องยอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย อันดับ 2
KPN 4   โอ๊ต ธนปกรณ์ อุปลกะลิน       รองนักร้องยอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย อันดับ 2
KPN 8   เต้ ธีระ จรรยาศิริกุล       Be My Guest
KPN 1   ไหมแก้ว ไหมแก้ว เพชรแก้ว     Be My Guest
KPN 6   โอห์ม ธันยวุฒิ จัตุโพธิ์     ลูกทุ่ง Las Vegus
KPN 5   อดัม ปิยะบุตร ฉิมมณี   ลูกทุ่ง Las Vegus
KPN 7   แบงค์ ปรัชญ์ธนวิชญ์ ฆฤตภูริภาคย์   Real Me
KPN 2   เก๋ บุษรินทร์ งามดี   Real Me
  แสดงถึงคะแนนที่มากที่สุดจาก 200 เสียงจากผู้ชมที่นั่ง VIP ในห้องส่ง
  แสดงถึงคะแนนที่น้อยที่สุดจาก 200 เสียงจากผู้ชมที่นั่ง VIP ในห้องส่ง
  แสดงถึงผู้เข้าแข่งขันทำคะแนนสะสมสูงสุด
  แสดงถึงผู้ที่ถูกคัดออกในสัปดาห์นั้น
  แสดงถึงผู้เข้าแข่งขันที่ได้ถ้วยพระราชทานจากพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
  แสดงถึงผู้เข้าแข่งขันที่ได้ตำแหน่งรองชนะเลิศ
  แสดงถึงผู้เข้าแข่งขันที่อยู่ทีมสีแดง
  แสดงถึงผู้เข้าแข่งขันที่อยู่ทีมสีน้ำเงิน

สัปดาห์การแข่งขัน

[แก้]

สัปดาห์ที่ 1

[แก้]

ในสัปดาห์ที่ 1 เป็นการแข่งขันในหัวข้อ "Battle Series" มีรายละเอียดดังนี้

รหัส ทีมสีแดง โจทย์เพลงประจำสัปดาห์ รหัส ทีมสีน้ำเงิน โจทย์เพลงประจำสัปดาห์
KPN 1 ไหมแก้ว ไหมแก้ว เพชรแก้ว Lady Marmalade (คริสตินา อากีเลรา) KPN 10 เฟื้อง รักชน พุทธรังสี ไม่ยากหรอก (คริสติน่า อากีล่าร์)
KPN 2 เก๋ บุษรินทร์ งามดี Rolling in the deep (อะเดล) KPN 8 เต้ ธีระ จรรยาศิริกุล ฝากเลี้ยง (เจตริน วรรธนะสิน)
KPN 3 จี จีราภรณ์ วิเศษเจริญ เสี่ยงเหลือเกิน (นรารักษ์ ใจบำรุง) KPN 9 กู๊ด ชยพล ปัญหกาญจน์ เล่นของสูง (บิ๊กแอส)
KPN 4 โอ๊ต ธนปกรณ์ อุปลกะลิน เจ็บแต่จบ (ปองศักดิ์ รัตนพงษ์) KPN 6 โอห์ม ธันยวุฒิ จัตุโพธิ์ รักกันมั๊ย (ธงไชย แมคอินไตย์)
KPN 5 อดัม ปิยะบุตร ฉิมมณี เงียบๆคนเดียว (ธงไชย แมคอินไตย์) KPN 7 แบงค์ ปรัชญ์ธนวิชญ์ ฆฤตภูริภาคย์ อยากร้องดังๆ (ปาล์มมี่)
  แสดงถึงผู้เข้าแข่งขันดที่ได้ผลโหวตมากที่สุดจาก 200 เสียงจากผู้ชมที่นั่ง VIP ในห้องส่ง
  แสดงถึงผู้เข้าแข่งขันที่ได้ผลโหวตน้อยที่สุดจาก 200 เสียงจากผู้ชมที่นั่ง VIP ในห้องส่ง

หมายเหตุ: ในสัปดาห์นี้ไม่มีผู้เข้าประกวดคนไหนไม่ได้ไปต่อ[4]

สัปดาห์ที่ 2

[แก้]

ในสัปดาห์ที่ 2 เป็นการแข่งขันในหัวข้อ "Real Me" มีรายละเอียดดังนี้

รหัส ทีมสีแดง โจทย์เพลงประจำสัปดาห์ รหัส ทีมสีน้ำเงิน โจทย์เพลงประจำสัปดาห์
KPN 1 ไหมแก้ว ไหมแก้ว เพชรแก้ว เสียใจแต่ไม่แคร์ (ปัญญริสา เธียรประสิทธิ์) KPN 6 โอห์ม ธันยวุฒิ จัตุโพธิ์ I See U (ศรัณยู วินัยพานิช)
KPN 2 เก๋ บุษรินทร์ งามดี หญิงไทย (ธนิดา ธรรมวิมล) KPN 7 แบงค์ ปรัชญ์ธนวิชญ์ ฆฤตภูริ โรคประจำตัว (แคลช)
KPN 3 จี จีราภรณ์ วิเศษเจริญ รักเธอทั้งหมดของหัวใจ (พริมรตา เดชอุดม) KPN 10 เฟื้อง รักชน พุทธรังสี รักฉันทำไม (ปัญญริสา เธียรประสิทธิ์)
KPN 4 โอ๊ต ธนปกรณ์ อุปลกะลิน ที่สูง (ปองศักดิ์ รัตนพงษ์) KPN 9 กู๊ด ชยพล ปัญหกาญจน์ ไม่แข่งยิ่งแพ้ (ธงไชย แมคอินไตย์)
KPN 5 อดัม ปิยะบุตร ฉิมมณี กรุณาฟังให้จบ (แช่ม แช่มรัมย์) KPN 8 เต้ ธีระ จรรยาศิริกุล ใจสั่งมา (เสกสรร สุขพิมาย)
  แสดงถึงผู้เข้าแข่งขันที่ได้ผลโหวตมากที่สุดจาก 200 เสียงจากผู้ชมที่นั่ง VIP ในห้องส่ง
  แสดงถึงผู้เข้าแข่งขันที่ได้ผลโหวตน้อยที่สุดจาก 200 เสียงจากผู้ชมที่นั่ง VIP ในห้องส่ง
  แสดงถึงผู้เข้าแข่งขันทำคะแนนสะสมสูงสุด
  แสดงถึงผู้เข้าแข่งขันที่ไม่ได้ไปต่อ

สัปดาห์ที่ 3

[แก้]

ในสัปดาห์ที่ 3 เป็นการแข่งขันในหัวข้อ "ลูกทุ่ง Las Vegus" มีรายละเอียดดังนี้

รหัส ทีมสีแดง โจทย์เพลงประจำสัปดาห์ รหัส ทีมสีน้ำเงิน โจทย์เพลงประจำสัปดาห์
KPN 1 ไหมแก้ว ไหมแก้ว เพชรแก้ว สตอเบอแหล (จ๊ะ คันหู) KPN 10 เฟื้อง รักชน พุทธรังสี เจ้าที่แรง (บลูเบอร์รี่ อาร์-สยาม)
KPN 3 จี จีราภรณ์ วิเศษเจริญ เปิดใจสาวแต (นิภาพร แปงอ้วน) KPN 9 กู๊ด ชยพล ปัญหกาญจน์ มาลัยน้ำใจ (ชาย เมืองสิงห์)
KPN 4 โอ๊ต ธนปกรณ์ อุปลกะลิน คิดถึงพี่ไหม (ศรคีรี ศรีประจวบ) KPN 8 เต้ ธีระ จรรยาศิริกุล กลับมาทำไหม (เอกราช สุวรรณภูมิ)
KPN 5 อดัม ปิยะบุตร ฉิมมณี ยาใจคนจน (พรภิรมย์ พินทะปะกัง) KPN 6 โอห์ม ธันยวุฒิ จัตุโพธิ์ หนอนผีเสื้อ (หนู มิเตอร์)
  แสดงถึงผู้เข้าแข่งขันที่ได้ผลโหวตมากที่สุดจาก 200 เสียงจากผู้ชมที่นั่ง VIP ในห้องส่ง
  แสดงถึงผู้เข้าแข่งขันที่ได้ผลโหวตน้อยที่สุดจาก 200 เสียงจากผู้ชมที่นั่ง VIP ในห้องส่ง
  แสดงถึงผู้เข้าแข่งขันทำคะแนนสะสมสูงสุด
  แสดงถึงผู้เข้าแข่งขันที่ไม่ได้ไปต่อ

สัปดาห์ที่ 4

[แก้]

ในสัปดาห์ที่ 4 เป็นการแข่งขันในหัวข้อ "Be My Guest" มีรายละเอียดดังนี้

รหัส ทีมสีแดง ร้องคู่กับ โจทย์เพลงประจำสัปดาห์ รหัส ทีมสีน้ำเงิน ร้องคู่กับ โจทย์เพลงประจำสัปดาห์
KPN 1 ไหมแก้ว ไหมแก้ว เพชรแก้ว นิภาภรณ์ ฐิติธนการ ผิดมากไหม KPN 8 เต้ ธีระ จรรยาศิริกุล วิวิศน์ บวรกีรติขจร คิดถึงดังดัง
KPN 3 จี จีราภรณ์ วิเศษเจริญ อัครินทร์ ฉายแก้วสกุลชัย อย่ากลับมาอีกเลย KPN 9 กู๊ด ชยพล ปัญหกาญจน์ ยุทธนา เปื้องกลาง จินตนาการ
KPN 4 โอ๊ต ธนปกรณ์ อุปลกะลิน จารุวัฒน์ เชี่ยวอร่าม คำอธิษฐานด้วยน้ำตา KPN 10 เฟื้อง รักชน พุทธรังสี กนกฉัตร มรรยาทอ่อน คนน่ารักหักอกได้
  แสดงถึงผู้เข้าแข่งขันที่ได้ผลโหวตมากที่สุดจาก 200 เสียงจากผู้ชมที่นั่ง VIP ในห้องส่ง
  แสดงถึงผู้เข้าแข่งขันทำคะแนนสะสมสูงสุด
  แสดงถึงผู้เข้าแข่งขันที่ไม่ได้ไปต่อ

สัปดาห์ที่ 5

[แก้]

ในสัปดาห์ที่ 5 เป็นการแข่งขันในหัวข้อ "Let’s Party" มีรายละเอียดดังนี้

รหัส ทีมสีแดง โจทย์เพลงประจำสัปดาห์ รหัส ทีมสีน้ำเงิน โจทย์เพลงประจำสัปดาห์
KPN 4 โอ๊ต ธนปกรณ์ อุปลกะลิน Music Lover (มาช่า วัฒนพานิช) KPN 10 เฟื้อง รักชน พุทธรังสี คืนนี้อยากได้กี่ครั้ง (ชินวุฒ อินทรคูสิน)
KPN 3 จี จีราภรณ์ วิเศษเจริญ ผู้ชาย (สะเลอ)
ยังโสด (โอลีฟส์)
KPN 9 กู๊ด ชยพล ปัญหกาญจน์ เช้าไม่กลัว (ลีโอลโอ พุฒ)
ไม่รักได้ไง (ลีโอลโอ พุฒ)
  แสดงถึงผู้เข้าแข่งขันที่ได้ผลโหวตมากที่สุดจาก 200 เสียงจากผู้ชมที่นั่ง VIP ในห้องส่ง
  แสดงถึงผู้เข้าแข่งขันทำคะแนนสะสมสูงสุด
  แสดงถึงผู้เข้าแข่งขันที่ไม่ได้ไปต่อ

สัปดาห์ที่ 6 (สุดท้าย)

[แก้]

ในสัปดาห์ที่ 6 เป็นการแข่งขันเพื่อชิงถ้วยพระราชทานจากพระราชทานพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีรายละเอียดดังนี้

รหัส ทีมสีแดง โจทย์เพลงประจำสัปดาห์ รหัส ทีมสีน้ำเงิน โจทย์เพลงประจำสัปดาห์
KPN 3 จี จีราภรณ์ วิเศษเจริญ Hurt (คริสตินา อากีเลรา)
สักวันหนึ่ง (นริศ อารีย์)
KPN 9 กู๊ด ชยพล ปัญหกาญจน์ Just The Way You are (บรูโน มาร์ส)
จะได้ไม่ลืมกัน (ธงไชย แมคอินไตย์)
  แสดงถึงผู้เข้าแข่งขันที่ได้ถ้วยพระราชทานจากพระราชทานพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
  แสดงถึงผู้เข้าแข่งขันที่ได้ตำแหน่งรองชนะเลิศ

การเคพีเอ็น อวอร์ด ครั้งที่ 22 หรือการประกวดร้องเพลงถ้วยพระราชทานชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ปีที่ 22 โดยได้ผู้เข้าแข่งขันที่ชนะเลิศ คือ KPN 9 กู๊ด ชยพล ปัญหกาญจน์ ได้รับรางวัลถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมรถยนต์นิสสัน ซิลฟี่ พร้อมเงินรางวัลกว่า 1.2 ล้านบาท และได้เป็นนักร้องยอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2555[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "KPN AWARD 22nd เคพีเอ็น อวอร์ด ครั้งที่ 22 เปิดรับสมัครแล้วพร้อมช่องทางสมัครพิเศษ". Rongpleng.com. 27 มิถุนายน 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-15. สืบค้นเมื่อ 2012-10-28.
  2. KPN Award กับ รีโมทมหัศจรรย์. MThai
  3. "20 คนสุดท้าย KPN Award ครั้งที่ 22 06". Music MThai.
  4. KPN AWARD 22nd สัปดาห์แรก… โอกาสยังมีให้แก้ตัว. MThai
  5. กู๊ด KPN9 คว้าแชมป์ เคพีเอ็น อวอร์ด ครั้งที่ 22. MThai