ข้ามไปเนื้อหา

เขตมหานครไทเป–จีหลง

พิกัด: 25°2′N 121°38′E / 25.033°N 121.633°E / 25.033; 121.633
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เขตมหานครไทเป–จีหลง
ทิวทัศน์กรุงไทเป
ทิวทัศน์กรุงไทเป
ที่ตั้งของเขตมหานครไทเป–จีหลง
พิกัด: 25°2′N 121°38′E / 25.033°N 121.633°E / 25.033; 121.633
ประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)
เมืองหลักไทเป
พื้นที่
 • รวมปริมณฑล2,457.13 ตร.กม. (874.59 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (สิ้นเดือนมกราคม 2019)
 • รวมปริมณฑล7,034,084 คน
 • ความหนาแน่นรวมปริมณฑล2,862.7 คน/ตร.กม. (8,042.7 คน/ตร.ไมล์)

เขตมหานครไทเป–จีหลง (จีน: 臺北基隆都會區; พินอิน: Táiběi-Jīlóng Dūhùiqū) หรือเรียกโดยทั่วไปว่า ภูมิภาคไทเปและปริมณฑล (จีน: 大臺北地區; พินอิน: Dà Táiběi Dìqū) เป็นเขตมหานครที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไต้หวัน ประกอบด้วย 3 เขตการปกครอง ได้แก่ นครไทเป นครซินเป่ย์ และนครจีหลง ภูมิภาคนี้ครอบคลุมพื้นที่ 2,457.13 ตารางกิโลเมตร (948.70 ตารางไมล์) และมีประชากร 7,034,084 คนในปี 2019 เป็นเขตมหานครที่มีประชากรมากที่สุดและหนาแน่นที่สุดในไต้หวัน โดยชาวไต้หวัน 1 ใน 3 อาศัยและทำงานอยู่ที่นี่ ในบางแหล่งข้อมูล บ้างถือว่านครเถาหยวนเป็นส่วนหนึ่งของเขตมหานครในขอบเขตที่กว้างขึ้น บ้างก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งเขตมหานครที่อยู่ติดกัน ซึ่งมีชื่อว่า เขตมหานครเถาหยวน–จงลี่

ภูมิภาคนี้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม การศึกษา และการปกครองของไต้หวัน ภูมิภาคนี้ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการค้า การเงิน สื่อ ศิลปะ แฟชั่น การวิจัย เทคโนโลยี การศึกษา และความบันเทิงในภูมิภาค ด้วยความที่เป็นศูนย์กลางทางการทูต จึงเป็นที่ตั้งของสถานกงสุลและสถานทูตทั้งหมดในไต้หวัน และด้วยอำนาจทางเศรษฐกิจ ทำให้ภูมิภาคนี้เป็นศูนย์กลางการค้าและการเงินชั้นนำของประเทศ

ไทเปเป็นส่วนหนึ่งของเขตอุตสาหกรรมไฮเทคที่สำคัญ[1] มีรถไฟ ทางหลวง สนามบิน และรถประจำทางเชื่อมต่อไทเปกับทุกส่วนของเกาะ เขตมหานครนี้มีสนามบินให้บริการสองแห่ง ได่แก่ ท่าอากาศยานซงชาน และท่าอากาศยานนานาชาติเถาหยวน

คำจำกัดความ

[แก้]
ชื่อเขตการปกครอง ประชากร
(31 มกราคม 2019)[2]
พื้นที่
(ตร.กม.)
ความหนาแน่น
(คน/ตร.กม.)
นครไทเป 2,666,908 271.80 9,812.0
นครซินเป่ย์ 3,997,189 2,052.57 1,947.4
นครจีหลง 369,987 132.76 2,786.9
เขตมหานครไทเป–จีหลง 7,034,084 2,457.13 2,862.7
นครเถาหยวน 2,223,733 1,220.95 1,821.3
เขตมหานครไทเป–จีหลง–เถาหยวน 9,257,817 3,678.08 2,517.0

รายงานระหว่างประเทศบางฉบับถือว่าไทเป–จีหลง–เถาหยวน (臺北基隆桃園都會區; Táiběi–Jīlóng–Táoyuán Dūhùiqū) เป็นเขตมหานครหนึ่งโดยสมบูรณ์อย่างแท้จริง[2][3][4]

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ใจกลางของเขตมหานครไทเป–จีหลงตั้งอยู่ในแอ่งไทเป นครไทเปทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของเขตมหานครโดยมีรัฐบาลไต้หวันและย่านการค้าที่สำคัญตั้งอยู่

การแบ่งเขตทางภูมิศาสตร์

[แก้]

เขตมหานครนี้ประกอบด้วยนครไทเป นครจีหลง และนครซินเป่ย์ (นครซินเป่ย์มีอาณาเขตล้อมรอบทั้งไทเปและจีหลง) การแบ่งเขตทางภูมิศาสตร์มีการระบุไว้ดังต่อไปนี้

ตะวันออกเฉียงเหนือ
เหนือ
ตะวันออก
ตะวันตกเฉียงใต้
กลาง
ใต้

เศรษฐกิจ

[แก้]

ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัว (PPP) ของเขตมหานครไทเป–จีหลงประจำปี 2014 อยู่ที่ 46,102 ดอลลาร์สหรัฐ[5]

การขนส่ง

[แก้]

ทางราง

[แก้]
ชานชาลาของสถานีศาลาว่าการนครไทเป ในระบบรถไฟใต้ดินไทเป

เขตมหานครไทเป–จีหลงให้บริการโดยเส้นทางของสำนักงานการรถไฟไต้หวัน (สายตะวันตก) และรถไฟความเร็วสูงไต้หวัน ซึ่งเชื่อมต่อพื้นที่กับทุกส่วนของเกาะ

ขนส่งมวลชน

[แก้]

สำหรับการขนส่งสาธารณะ มีรถไฟขนส่งมวลชนเร็วไทเปที่ให้บริการในไทเปและซินเป่ย์ ซึ่งมีผู้โดยสารมากกว่า 2 ล้านคนต่อวัน และมีเพียงรถไฟรางเบาตั้นไห่เท่านั้นที่ดำเนินการโดยรถไฟขนส่งมวลชนเร็วซินเป่ย์ นอกจากนี้ยังมี รถไฟขนส่งมวลชนเร็วท่าอากาศเถาหยวน ซึ่งเชื่อมต่อนครไทเป ซินเป่ย์ และเถาหยวน เข้ากับสนามบินนานาชาติเถาหยวน

ทางอากาศ

[แก้]

ในพื้นที่นี้มีท่าอากาศยานนานาชาติไต้หวันเถาหยวนให้บริการสำหรับเที่ยวบินระหว่างประเทศ ในขณะที่ท่าอากาศยานไทเปซงชานให้บริการสำหรับเที่ยวบินภายในประเทศ อีกทั้งยังมีเที่ยวบินระหว่างประเทศไปยังโตเกียวและโซล รวมทั้งเที่ยวบินข้ามช่องแคบ

รถประจำทาง

[แก้]

ในเขตมหานครนี้มีระบบรถประจำทางให้บริการ คือ ระบบรถโดยสารร่วมไทเป

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Taiwan tech industry faces up to South Korea's Samsung". The Seattle Times. April 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 August 2017. สืบค้นเมื่อ 25 August 2017.
  2. 2.0 2.1 鄉鎮市區人口及按都會區統計. Taiwan Ministry of Interior. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-29. สืบค้นเมื่อ 2021-11-24.
  3. World: metropolitan areas เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน World Gazetteer, 2010
  4. Taipei: largest cities and towns and statistics of their population [ลิงก์เสีย] World Gazetteer, 2010
  5. "Global Metro Monitor". 30 November 2001.