นครภายใต้มณฑล
นคร 市[หมายเหตุ 1] | |
---|---|
นครแสดงด้วยพื้นที่สีม่วง | |
หมวดหมู่ | นครปกครองโดยตรง เทศมณฑล และนครภายใต้มณฑล |
ที่ตั้ง | พื้นที่เสรีของสาธารณรัฐจีน |
จำนวน | 3 (ณ 2019) |
ประชากร | 267,772–448,207 |
พื้นที่ | 60–133 ตร.กม. |
การปกครอง |
|
หน่วยการปกครอง | เขต |
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดบทความ |
เขตการปกครอง ของไต้หวัน |
---|
ระดับปกครองโดยตรง |
ระดับตำบล |
ระดับหมู่บ้าน |
ประวัติเขตการปกครองของ ไต้หวัน (1895–1945) สาธารณรัฐจีน (1912–1949) |
นคร[หมายเหตุ 1] เดิมเรียกว่า นครภายใต้มณฑล เป็นหน่วยการปกครองประเภทหนึ่งของสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)[1]
ประวัติ
[แก้]เขตการปกครองที่เรียกว่า "นคร" ในไต้หวันได้ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในทศวรรษ 1920 ระหว่างที่อยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น ในเวลานั้น นครต่าง ๆ อยู่ภายใต้การปกครองของจังหวัด หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นครที่อยู่ภายใต้จังหวัดจำนวน 9 แห่งจากทั้งหมด 11 แห่งที่จัดตั้งโดยรัฐบาลญี่ปุ่น ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบเป็นนครที่อยู่ภายใต้มณฑล การอ่านชื่อของนครต่าง ๆ ได้เปลี่ยนจากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาจีนกลาง โดยยังคงตัวอักษรจีนของญี่ปุ่นไว้
ตัวอักษร | ภาษาญี่ปุ่น (ก่อนปี 1945) |
ภาษาจีน (หลังปี 1945) |
ตัวอักษร | ภาษาญี่ปุ่น (ก่อนปี 1945) |
ภาษาจีน (หลังปี 1945) | |
---|---|---|---|---|---|---|
臺北 | ไทโฮกุ Taihoku |
ไถเป่ย์ Taipei |
嘉義 | คางิ Kagi |
เจียอี้ Chiayi | |
基隆 | คีรุง Kīrun |
จีหลง Keelung |
臺南 | ไทนัง Tainan |
ไถหนาน Tainan | |
新竹 | ชินจิกุ Shinchiku |
ซินจู๋ Hsinchu |
高雄 | ทากาโอะ Takao |
เกาสยง Kaohsiung | |
臺中 | ไทจู Taichū |
ไถจง Taichung |
屏東 | เฮโต Heitō |
ผิงตง Pingtung | |
彰化 | โชกะ Shōka |
จางฮว่า Changhua |
การเปลี่ยนแปลงเป็นไปตาม กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งนคร (市組織法) ของสาธารณรัฐจีน ซึ่งกฎหมายนี้ออกในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เกณฑ์ในการจัดตั้งเป็นนครภายใต้มณฑล ได้แก่ เมืองที่เป็นเมืองหลวงของมณฑล หรือมีประชากรมากกว่า 200,000 คน หรือมากกว่า 100,000 คน หากเมืองนั้นมีความสำคัญในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงระบบการแบ่งเขตการปกครองในปี 1945 นั้น ได้มีการอะลุ่มอล่วยระหว่างระบบของญี่ปุ่นกับระบบของจีน นครที่มีประชากรไม่ถึงเกณฑ์บางแห่งก็ยังสามารถจัดตั้งเป็นนครภายใต้มณฑล
หลังจากที่รัฐบาลสาธารณรัฐจีนย้ายที่ตั้งไปอยู่ที่ไทเป มณฑลไต้หวันในปี 2492 เกณฑ์จำนวนประชากรในการจัดตั้งนครภายใต้มณฑลก็ได้เพิ่มขึ้นเป็น 500,000 คน ตาม โครงร่างการปกครองท้องถิ่นของเทศมณฑลและนครในมณฑลไต้หวัน (臺灣省各縣市實施地方自治綱要) ซึ่งบังคับใช้ในปี 1981 ต่อมาได้เพิ่มขึ้นอีกเป็น 600,000 คน หลังจากการปรับปรุงการบริหารของมณฑลให้คล่องตัวขึ้นในปี 1998 ทำให้นครภายใต้มณฑลทั้งหมดอยู่ภายใต้การปกครองรัฐบาลกลางโดยตรง และเปลี่ยนชื่อเรียกให้สั้นลงว่า นคร
สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่อ้างสิทธิ์ไต้หวันเป็นมณฑลที่ 23 ได้กำหนดประเภทให้นครภายใต้มณฑลทั้งหมดในไต้หวันมีสถานะเป็นนครระดับอำเภอ
ปี-เดือน-วัน | จัดตั้งเพิ่ม | ถอดถอน | จำนวน | คำอธิบาย |
---|---|---|---|---|
1945-10 | จางฮว่า, เจียอี้, ซินจู๋, เกาสฺยง, จีหลง, ผิงตง, ไถจง, ไถหนาน, ไทเป[2] |
9 | จัดระเบียบใหม่จากเดิมเป็นนครภายใต้จังหวัดระหว่างที่อยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น | |
1950-08-16 | เจียอี้ | 8 | ยุบรวมเข้ากับเทศมณฑลเจียอี้ และกลายเป็นนครภายใต้เทศมณฑล | |
1951-12-01 | จางฮว่า, ซินจู๋, ผิงตง | 5 | ลดฐานะลงเป็นนครภายใต้เทศมณฑล | |
1967-07-01 | ไทเป | 4 | ยกฐานะขึ้นเป็นนครปกครองโดยตรง | |
1979-07-01 | เกาสฺยง | 3 | ยกฐานะขึ้นเป็นนครปกครองโดยตรง | |
1982-07-01 | เจียอี้, ซินจู๋ | 5 | ยกฐานะขึ้นจากเดิมเป็นนครภายใต้เทศมณฑล | |
2010-12-25 | ไถจง, ไถหนาน | 3 | ยุบรวมเข้ากับเทศมณฑลไถจง และเทศมณฑลไถหนาน และยกฐานะขึ้นเป็นนครปกครองโดยตรง | |
นครในปัจจุบัน: เจียอี้, ซินจู๋, จีหลง (3) |
นครในปัจจุบัน
[แก้]ในปัจจุบัน รัฐบัญญัติการปกครองท้องถิ่นของกระทรวงมหาดไทยไต้หวันมีผลบังคับใช้ในการจัดตั้งนคร ซึ่งนครจำเป็นต้องมีประชากรระหว่าง 500,000 ถึง 1,250,000 คน และมีบทบาทสำคัญทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม[3] โดยทั้งนครทั้ง 3 แห่งที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ไม่มีคุณสมบัติในด้านจำนวนประชากร แต่ได้รับการจัดตั้งด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์
ปัจจุบัน มีนครจำนวน 3 แห่ง ทั้งหมดอยู่ในมณฑลไต้หวัน
ชื่อ[4] | อักษรจีน | ฮั่นยฺหวี่ พินอิน |
เวด-ไจลส์ | ทงย่ง พินอิน |
เป่อ่วยจี ภาษาฮกเกี้ยน |
พักฟ้าซื้อ ภาษาฮากกา |
พื้นที่ (ตร.กม.) |
ที่ตั้ง ศาลาว่าการ |
วันที่จัดตั้ง (ปี-เดือน-วัน) | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
นครเจียอี้ | 嘉義市 | Jiāyì | Chia¹-i⁴ | Jiayì | Ka-gī | Kâ-ngi | 60.03 | เขตตะวันออก | 東區 | 1982-07-01 |
นครซินจู๋ | 新竹市 | Xīnzhú | Hsin¹-chu² | Sinjhú | Sin-tek | Sîn-chuk | 104.10 | เขตเหนือ | 北區 | 1982-07-01 |
นครจีหลง | 基隆市 | Jīlóng | Chi¹-lung² | Jilóng | Ke-lâng | Kî-lùng | 132.76 | เขตจงเจิ้ง | 中正區 | 1945-10-25 |
หน่วยงานปกครองท้องถิ่นของนครจะประกอบด้วย ฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งวางระเบียบโดยรัฐบัญญัติการปกครองท้องถิ่น
ดูเพิ่ม
[แก้]- หมายเหตุ
- ↑ เรียกอีกอย่างว่า พื้นที่ไต้หวัน หรือ พื้นที่ไถ-หมิ่น (จีน: 臺閩地區; แปลตรงตัว: "เขตไต้หวัน–ฝูเจี้ยน")
- ↑ แผ่นดินใหญ่ในที่นี้ประกอบด้วย จีนแผ่นดินใหญ่ ทิเบต และมองโกเลียนอก (ก่อนหน้านี้)
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 มีฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติมาจากการเลือกตั้ง
- ↑ 4.0 4.1 4.2 นครปกครองโดยตรง, นคร, และนครภายใต้เทศมณฑล ทั้งหมดนี้ในภาษาจีนเรียกว่า ชื่อ (จีน: 市; พินอิน: shì; แปลตรงตัว: "นคร")
- ↑ ปัจจุบันเป็นมณฑลในนาม การปกครองระดับมณฑลได้ถูกยกเลิกแล้ว
- ↑ จากรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐจีน พื้นที่แผ่นดินใหญ่มีโครงสร้างการปกครองเดียวกันกับพื้นที่เสรี ซึ่งปัจจุบันอยู่ภายใต้การควบคุมของพรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยมีโครงสร้างที่แตกต่างกับของสาธารณรัฐจีน
- ↑ บางครั้งก็เรียกว่า นครภายใต้มณฑล (จีน: 省轄市) เพื่อที่จะแยกความแตกต่างจาก นครปกครองโดยตรง และนครภายใต้เทศมณฑล
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 มีผู้อำนวยการเขตที่มาจากการแต่งตั้ง เพื่อบริหารจัดการกิจการท้องถิ่น และดำเนินงานที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานที่สูงกว่า
- ↑ 9.0 9.1 มีผู้ใหญ่บ้านที่มาจากการเลือกตั้ง เพื่อบริหารจัดการกิจการท้องถิ่น และดำเนินงานที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานที่สูงกว่า
หมายเหตุ
[แก้]คำในภาษาพื้นเมือง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1
- อักษรจีนตัวเต็ม: 市
- พินอินภาษาจีนกลาง: Shì
- ภาษาฮกเกี้ยน: Chhī
- ภาษาแคะถิ่นซื่อเซี่ยน: Sṳ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Local governments". Office of the President Republic of China (Taiwan). สืบค้นเมื่อ 30 November 2020.
- ↑ "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-30. สืบค้นเมื่อ 2014-03-30.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-11. สืบค้นเมื่อ 2021-12-30.
- ↑ "Glossary of Names for Admin Divisions" (PDF). Taiwan Geographic Names Information Systems. The Ministry of Interior of ROC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-08-19. สืบค้นเมื่อ 6 June 2015.