ข้ามไปเนื้อหา

เกมส์ซ่าท้ากึ๋น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกมส์ซ่าท้ากึ๋น
เป็นที่รู้จักกันในชื่อคาโซ ไทโช
ALL JAPAN KASOH GRAND-PRIX
พิธีกรคินจัง (คินอิจิ ฮากิโมโตะ) (ครั้งที่ 1-98)
โงจัง (ชิงโงะ คาโตริ) (ครั้งที่ 65-ปัจจุบัน)
ประเทศแหล่งกำเนิดธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
จำนวนตอน98 ครั้ง
การผลิต
ความยาวตอน2-3 ชั่วโมง
ออกอากาศ
เครือข่าย สถานีโทรทัศน์นิปปอน
ออกอากาศ31 ธันวาคม พ.ศ. 2522 –
ปัจจุบัน

เกมซ่าท้ากึ๋น (ญี่ปุ่น: 欽ちゃん&香取慎吾の全日本仮装大賞; อังกฤษ: Kinchan and Katori Shingo's All Japan Costume Grand Prix) หรือ คาโซ ไทโช (อังกฤษ: Kasou Taisho) เป็นรายการวาไรตี้เกมโชว์ของประเทศญี่ปุ่น ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์นิปปอนในช่วงครึ่งปี เปิดโอกาสให้ผู้เข้าประกวด ที่มีความคิดสร้างสรรค์ผลงานต่างๆ เช่น ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม พระอาทิตย์ขึ้น ปีศาจ ดอกไม้ไฟ สัตว์ประหลาด อาหารหลากหลายแบบ งานเทศกาล ส่วนของร่างกาย ฤดู การเดินทางด้วยยานพาหนะ ผี ละคร ผจญภัย วัฒนธรรม โลกใต้ทะเล การ์ตูนดังต่างๆ สัตว์ กิจวัตรประจำวัน ฮีโร่ การแปลงร่าง บุคคลสำคัญของโลก กีฬาทุกประเภท ภาพล้อเลียน อารมณ์ต่าง ๆ เป็นต้น ครั้งแรกสุดออกอากาศในคืนวันส่งท้ายปีเก่า 31 ธันวาคม พ.ศ. 2522 ในปัจจุบันออกอากาศปีละ 2 ครั้ง คือเดือนมกราคมและเดือนพฤษภาคม ในอดีตเคยออกอากาศในเดือนกันยายนด้วย

พิธีกรของรายการนี้ก็คือ คินอิจิ ฮากิโมโตะ (คินจัง) และ ชิงโงะ คาโตริ (โงจัง) ในทั่วโลกที่มีชื่อเสียงที่สุดของการละเล่นเหล่านี้ และประสบความสำเร็จมากที่สุดในเทคนิคพิเศษประดิษฐ์ เป็นโชว์การแสดงที่รู้จักกันแพร่หลายว่า "Matrix ping pong"

ในประเทศไทย มีการซื้อลิขสิทธิ์มาออกอากาศรายการต้นฉบับโดยลงเสียงภาษาไทยทับลงไปรวม 2 ครั้ง ครั้งแรกออกอาาศทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี เวลา 20.40 น. ทุกวันอังคาร ต่อมาย้ายมาออกอากาศในวันพุธ และครั้งที่ 2 ออกอากาศทางพีพีทีวี เอชดี ช่อง 36 และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "เกมส์ซ่าท้าทุกกึ๋น" (ปัจจุบันในประเทศไทยไม่ได้ออกอากาศมาเป็นระยะหลายปี)

ในครั้งที่ 98 (วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564) ของรายการ ฮากิโมโตะ ชินอิจิ ได้ประกาศว่าจะเป็นครั้งสุดท้ายที่เขาจะนำเสนอรายการ

กติกา

[แก้]

ในแต่ละโชว์จะต้องแสดงที่เน้นความสร้างสรรค์เป็นหลัก โดยมีกรรมการเป็นผู้ตัดสินในเรื่องของความสามัคคี ความพร้อมเพรียง ความสวยงาม และความคิดสร้างสรรค์ การให้คะแนนทีมที่แสดงผลงานไม่ถูกใจกรรมการ จะได้คะแนนต่ำกว่า 15 คะแนน (1 - 11 คะแนน หมายถึง ควรปรับปรุง, 12 - 15 คะแนน หมายถึง พอใช้) นั่นหมายถึง ไม่ผ่าน หากการแสดงผลงานถูกใจกรรมการ จะได้ 15 คะแนนขึ้นไป (15 - 16 คะแนน หมายถึง ดี, 17 - 20 คะแนน หมายถึง ดีมาก) หมายถึง ผ่าน ในกรณีที่การแสดงผลงานไม่ถูกใจกรรมการแต่กลับถูกใจกรรมการบางคน จะให้คะแนนตามจำนวน นั่นหมายถึง 15 คะแนน จึงจะผ่าน โดยการแสดงที่ผ่าน จะได้เข้าไปลุ้นรางวัลในช่วงท้ายรายการ เพื่อชิงเงินรางวัล 1 ล้านเยน

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]