ข้ามไปเนื้อหา

ฮิยายักโกะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮิยายักโกะ
เครื่องปรุงโรย ต้นหอมซอย และขิงขูด
แหล่งกำเนิดประเทศญี่ปุ่น
ภูมิภาคเอเชียตะวันออก
ส่วนผสมหลักเต้าหู้เย็น, โชยุ, โรยหน้า

ฮิยายักโกะ หรือ เต้าหู้เย็นญี่ปุ่น[1][2] (ญี่ปุ่น: 冷奴 (ひややっこ) หรือ 奴豆腐โรมาจิHiyayakko หรือ Yakkodōfu; แปลตามตัว เต้าหู้เย็น) เป็นอาหารญี่ปุ่นที่นิยมในฤดูร้อน ทำจากเต้าหู้แช่เย็นตัดเป็นสีเหลี่ยมจตุรัส ราดด้วยโชยุ โรยด้วยเครื่องต่าง ๆ [3] เช่น ขิงขูด ปลาแห้งคัตสึโอบูชิ หอมสับ เป็นต้น ยังเหมาะสำหรับกินแกล้มเหล้าเช่น เหล้าสาเก ซึ่งเป็นหนึ่งในรายการอาหารที่พบในอิซากายะ[1]

โรยหน้า

[แก้]
ฮิยายักโกะโรยหน้าต่าง ๆ

เครื่องปรุงโรยหน้าบนก้อนเต้าหู้เย็น (ฮิยายักโกะ) นั้นแตกต่างกันไปตามครัวเรือนและร้านอาหาร โดยส่วนผสมของโรยหน้าแบบทั่วไปคือ ต้นหอมสับ, คัตสึโอบูชิ และซอสถั่วเหลือง (โชยุ) หน้าอื่น ๆ ได้แก่ ใบชิโซะ เปลือกยูซุ หัวไชเท้า ขิงญี่ปุ่นซอย ขิงขูด กระเจี๊ยบหั่นฝอย น้ำบ๊วย มัสตาร์ด

ประวัติ

[แก้]
ตรามีดตัดเล็บ ญี่ปุ่น: 釘抜紋โรมาจิKuginuki mon

ฮิยายักโกะ ยังเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ฮิยักโกะ หรือ ยัคโกะ-โดฟุ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ยักโกะ (やっこ)[4] (ซึ่งเป็นชื่อเรียกที่ใช้มาอย่างยาวนานกว่า ฮิยายักโกะ[5])

ฮิยะ แปลว่า เย็น และ ยักโกะ หมายถึง คนรับใช้ของซามูไรในสมัยเอโดะของญี่ปุ่น พวกเขาสวมเสื้อกั๊กที่ติด "ตราประจำตระกูลรูปมีดตัดเล็บ" (รูปข้าวหลามตัดที่มีรูข้าวหลามตัดตรงกลาง) และยืมมาใช้การตัดบางสิ่ง (เช่น เต้าหู้) เป็นลูกบาศก์จึงเรียกว่า "หั่นเป็นยักโกะ" (奴に切る, yakko ni kiru) (หั่นวัตถุดิบให้เป็นสี่เหลี่ยม)[1] ใน "ขุมสมบัติแห่งเต้าหู้" ที่ตีพิมพ์ใน พ.ศ. 2325 ในช่วงสมัยเอโดะ ได้มีการกล่าวถึงเต้าหู้เย็นนี้ว่าเป็นหนึ่งในแนวการทำอาหารด้วยเต้าหู้ที่รู้จักกันดี[6]

ฮิยะโคอิ (Hiyakkoi) หรือ เฮียกโคอิ (hyakkoi) ซึ่งเป็นชื่อเรียกเฉพาะของชาวโตเกียว

ระเบียงภาพ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "รู้จัก ฮิยายักโกะ และ ยุโดฟุ : เต้าหู้เย็น และ เต้าหู้ร้อน ญี่ปุ่น คืออะไร". Chill Chill Japan.
  2. "เต้าหู้เย็นแบบญี่ปุ่น Hiyayakko (cold tofu salad)". www.deksomboon.com.
  3. "อร่อยนุ่มลิ้น กินให้อิ่มคลายร้อนกับ Hiyayakko ( ๑ ❛ ڡ ❛ ๑ )❤". JGBThai (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2015-04-07.
  4. 新明解国語辞典第7版(三省堂、2012年)
  5. 日本国語大辞典第2版(小学館)
  6. "豆腐百珍 江戸の豆腐料理本". www.toyama-smenet.or.jp.