ฮันนีแบดเจอร์
ฮันนีแบดเจอร์ ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ยุคกลางไพลโอซีน – ปัจจุบัน | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Carnivora |
วงศ์: | Mustelidae |
วงศ์ย่อย: | Mellivorinae[1] หรือ Mustelinae[2] |
สกุล: | Mellivora Storr, 1780 |
สปีชีส์: | M. capensis |
ชื่อทวินาม | |
Mellivora capensis (Schreber, 1776) | |
ชนิดย่อย[2] | |
| |
การแพร่กระจายพันธุ์ของฮันนีแบดเจอร์ |
ฮันนีแบดเจอร์ (อังกฤษ: Honey badger, Ratel) (ชื่อวิทยาศาสตร์: Mellivora capensis) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับสัตว์กินเนื้อ จัดอยู่ในวงศ์เพียงพอน (Mustelidae) ชนิดหนึ่ง
จัดเป็นเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Mellivora และวงศ์ย่อย Mellivorinae (บางข้อมูลจัดให้อยู่ในวงศ์ย่อย Mustelinae[2])[1] มีถิ่นแพร่กระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกา, ตะวันออกกลาง, เอเชียกลาง และอนุทวีปอินเดีย
ศัพท์มูลวิทยา
[แก้]คำว่า "Ratel" เป็นภาษาอาฟรีกานส์ ที่มีต้นทางมาจากภาษาดัตช์ ขณะที่ชื่อโดยทั่วไป คือ "ฮันนีแบดเจอร์" หรือ "แบดเจอร์น้ำผึ้ง" มีที่มาจากพฤติกรรมการกินน้ำผึ้งเป็นปริมาณมาก โดยไม่กลัวผึ้งต่อย[3]
ชนิดย่อย
[แก้]ชนิดย่อย | ถิ่นที่อยู่ | ชื่ออื่น ๆ |
---|---|---|
ฮันนีแบดเจอร์เคป (M. c. capensis) (Schreber, 1776) | ภูมิภาคตอนใต้ และตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปแอฟริกา | mellivorus (Cuvier, 1798) ratel (Sparrman, 1777) |
ฮันนีแบดเจอร์อินเดีย (M. c. indica) (Kerr, 1792)[4] | ทางตะวันตกของเอเชียกลาง, แถบแม่น้ำอามูดาร์ยา รวมถึงอัฟกานิสถาน, อิหร่าน, ทางตะวันตกของปากีสถาน และทางตะวันตกของอินเดีย | mellivorus (Bennett, 1830) ratel (Horsfield, 1851) |
ฮันนีแบดเจอร์เนปาล (M. c. inaurita) (Hodgson, 1836)[5] | ประเทศเนปาล | |
ฮันนีแบดเจอร์หลังขาว (M. c. leuconota) (Sclater, 1867)[6] | แอฟริกาตะวันตก และตอนใต้ของประเทศโมร็อกโก | |
ฮันนีแบดเจอร์ดำ (M. c. cottoni) (Lydekker, 1906)[6] | ประเทศกานา และทางตะวันออกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐคองโก | sagulata (Hollister, 1910) |
ฮันนีแบดเจอร์ทะเลสาบชาด (M. c. concisa) (Thomas and Wroughton, 1907)[6] | เขตซาเฮล, ประเทศซูดาน ไปจนถึงประเทศโซมาเลีย | brockmani (Wroughton and Cheesman, 1920) buchanani (Thomas, 1925) |
ฮันนีแบดเจอร์กระ (M. c. signata) (Pocock, 1909)[6] | ประเทศเซียร์ราลีโอน | |
ฮันนีแบดเจอร์เอธิโอเปีย (M. c. abyssinica) (Hollister, 1910) | ประเทศเอธิโอเปีย | |
ฮันนีแบดเจอร์เปอร์เซีย (M. c. wilsoni) (Cheesman, 1920) | ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอิหร่าน และประเทศอิรัก | |
ฮันนีแบดเจอร์เคนยา (M. c. maxwelli) (Thomas, 1923) | ประเทศเคนยา | |
ฮันนีแบดเจอร์อาหรับ (M. c. pumilio) Pocock, 1946[7] | คาบสมุทรอาหรับ | |
ฮันนีแบดเจอร์เติร์กเมนิสถาน (M. c. buechneri) Baryshnikov, 2000[8] | ประเทศเติร์กเมนิสถาน |
ลักษณะและพฤติกรรม
[แก้]ฮันนีแบดเจอร์ มีรูปร่างคล้ายกับสกังก์ ที่เคยเป็นสัตว์ร่วมวงศ์มาก่อน[9][10] ด้วยการที่มีขนบริเวณส่วนหลังสีขาว ขณะที่มีลำตัวสีดำสนิท มีกรงเล็บที่แหลมคม และฟันเขี้ยวที่แหลมคมในปาก
ฮันนีแบดเจอร์ แบ่งออกได้เป็น 12 ชนิดย่อย (ดูในตาราง)[2] มีความสูงจากตีนจนถึงหัวไหล่โดยเฉลี่ย 23-28 เซนติเมตร (9.1-11 นิ้ว) และความยาวลำตัว 55–77 เซนติเมตร (22–30 นิ้ว) และความยาวหางประมาณ 12–30 เซนติเมตร (4.7–12 นิ้ว) ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้ ตัวผู้มีน้ำหนัก 9-16 กิโลกรัม (20-35 ปอนด์) ขณะที่ตัวเมียประมาณ 5-10 กิโลกรัม (11-22 ปอนด์) โดยเฉลี่ย กะโหลกมีความยาวประมาณ 13.9–14.5 เซนติเมตร (5.5–5.7 นิ้ว) ในตัวผู้ และ 13 เซนติเมตร (5.1 นิ้ว) ในตัวเมีย[11][12] อายุขัยในธรรมชาติยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่อายุในที่เลี้ยงสูงสุด 24 ปี[13] ส่วนใหญ่อยู่ตามลำพัง แต่อาจอยู่เป็นคู่ในฤดูผสมพันธุ์ มักอาศัยอยู่ในโพรงดินที่ขุดขึ้นมาเองด้วยกรงเล็บ หรือเป็นโพรงเก่าของอาร์ดวาร์ก, หมูป่าหน้าหูด หรือรังปลวก[14]
ฮันนีแบดเจอร์ได้ชื่อว่าเป็นสัตว์บกที่ดุร้ายที่สุดในโลก มีการบันทึกชื่อลงในกินเนสส์บุ๊คในปี ค.ศ. 2002 มาแล้ว ด้วยความที่เป็นสัตว์ที่ไม่เกรงกลัวอะไรเลย แม้แต่สัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่าหรือสัตว์มีพิษ สามารถกินอาหารได้หลากหลาย ทั้งแมลง, กบ, เต่าบก, กิ้งก่า, สัตว์ฟันแทะ, งู, นก, ไข่นก, แมงป่อง ตลอดจนเบอร์รี และรากไม้ แต่อาหารที่ชอบมากที่สุด คือน้ำผึ้ง ซึ่งฮันนีแบดเจอร์จะใช้กรงเล็บที่แหลมคมในการขุดเจาะทะลายรวงผึ้งฉีกเอาน้ำผึ้งมากิน โดยที่ไม่เกรงกลัวเหล็กในของผึ้ง เนื่องจากมีขนที่หนาและภูมิคุ้มกันพิษของเหล็กในผึ้งและพิษของงูพิษอยู่ในตัว เมื่อถูกงูพิษกัดหรือผึ้งต่อย ฮันนีแบดเจอร์จะล้มลงนอนเฉย ๆ 2-3 ชั่วโมง จากพฤติกรรมนี้ ทำให้นกพรานผึ้ง ที่ชอบกินผึ้งและน้ำผึ้งเหมือนกัน จะคอยบินติดตามฮันนีแบดเจอร์ เนื่องจากไม่สามารถบินฝ่าฝูงผึ้งเข้าไปกินเองได้ จึงต้องให้ฮันนีแบดเจอร์บุกเข้าไปทะลายรวงผึ้งเสียก่อน นกพรานผึ้งจึงบินตามเข้าไปกิน[15]
ด้วยความที่ไม่เกรงกลัวสัตว์ใหญ่กว่า ฮันนีแบดเจอร์กล้ากระทั่งพุ่งใส่หรือฆ่าสัตว์ดุร้ายที่มีขนาดใหญ่กว่าหลายตัวได้ เช่น เสือดาวแอฟริกา, ไฮยีนา, สิงโต หรือแม้กระทั่งควายป่าแอฟริกา[16] อย่างไรก็ตาม ฮันนีแบดเจอร์สามารถถูกล่าเป็นอาหารของงูหลามแอฟริกา, จระเข้แม่น้ำไนล์ หรือไฮยีนาลายจุดได้[17][18]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Steve Jackson. "Honey Badger..." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-25. สืบค้นเมื่อ 6 July 2011.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 จาก itis.gov
- ↑ "10 สุดยอดสัตว์คู่หูของโลก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-01-11.
- ↑ Pocock 1941, p. 458
- ↑ Pocock 1941, p. 462
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 Rosevear 1974, pp. 126–127
- ↑ Pocock, I. R. (1946). "External and cranial characters of some rare Asiatic mammals recently exhibited by the Society". Proceedings of the Zoological Society of London. 115 (3–4): 310–318. doi:10.1111/j.1096-3642.1946.tb00094.x.
- ↑ Baryshnikov, G. (2000). "A new subspecies of the honey badger Mellivora capensis from Central Asia". Acta Theriologica. 45 (1): 45–55. doi:10.4098/AT.arch.00-5.
- ↑ Wozencraft, W. C. (2005). "Species Mellivora capensis". ใน Wilson, D. E.; Reeder, D. M. (บ.ก.). Mammal Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference (3rd ed.). Johns Hopkins University Press. p. 612. ISBN 978-0-8018-8221-0. OCLC 62265494.
- ↑ Dragoo; Honeycutt, Rodney L (1997). "Systematics of Mustelid-like Carnvores". Journal of Mammalogy. Journal of Mammalogy, Vol. 78, No. 2. 78 (2): 426–443. doi:10.2307/1382896. JSTOR 1382896.
- ↑ Heptner, V. G.; Sludskii, A. A. (2002). Mammals of the Soviet Union. Vol. II, part 1b, Carnivores (Mustelidae). Washington, D.C.: Smithsonian Institution Libraries and National Science Foundation. ISBN 90-04-08876-8.
- ↑ ""Honey badger videos, photos and facts - Mellivora capensis". ARKive. Retrieved 2012-11-27". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-07. สืบค้นเมื่อ 2013-01-11.
- ↑ Rosevear, Donovan Reginald (1974). The Carnivores of West Africa. London: British Museum (Natural History). ISBN 978-0-565-00723-2.
- ↑ Rosevear 1974, pp. 117–118
- ↑ Dean, W. R. J.; Siegfried, W. R.; MacDonald, I. A. W. (1990). "The Fallacy, Fact, and Fate of Guiding Behavior in the Greater Honeyguide". Conservation Biology. 4 (1): 99–101. doi:10.1111/j.1523-1739.1990.tb00272.x.
- ↑ Hunter, L. (2011). Carnivores of the World. Princeton: Princeton University Press. ISBN 978-0-691-15228-8.
- ↑ Braczkowski, A.; Watson, L.; Coulson, D.; Randall, R. (2012). "Diet of leopards in the southern Cape, South Africa". African Journal of Ecology. 50 (3): 377–380.
- ↑ Hayward, M. W.; Henschel, P.; O'Brien, J.; Hofmeyr, M.; Balme, G. & Kerley, G. I. H. (2006). "Prey preferences of the leopard (Panthera pardus)" (PDF). Journal of Zoology. 270 (2): 298–313. doi:10.1111/j.1469-7998.2006.00139.x. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-02-29. สืบค้นเมื่อ 2020-08-11.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
อ่านเพิ้ม
[แก้]- Ewer, R. F. (1973). The Carnivores. Cornell University Press. ISBN 978-0-8014-8493-3.
- Heptner, V. G.; Sludskii, A. A. (2002). Mammals of the Soviet Union. Vol. II, part 1b, Carnivores (Mustelidae). Washington, D.C.: Smithsonian Institution Libraries and National Science Foundation. ISBN 978-90-04-08876-4.
- Kingdon, J. (1989). East African mammals. Vol. Volume 3 : an atlas of evolution in Africa. Chicago: University of Chicago Press. ISBN 978-0-226-43721-7.
- Rosevear, D. R. (1974). The Carnivores of West Africa. London: British Museum (Natural History). ISBN 978-0-565-00723-2.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ฮันนีแบดเจอร์
- ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ ฮันนีแบดเจอร์ ที่วิกิสปีชีส์