อำเภอผักไห่
อำเภอผักไห่ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Phak Hai |
ตลาดลาดชะโด เป็นตลาดเก่าแก่ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่มีอายุกว่า 100 ปี มีพัฒนาการมาจากตลาดน้ำที่มีเรือนแพค้าขายของชาวจีน จากนั้นได้เริ่มมีการก่อสร้างตลาดริมน้ำและบนบกขึ้นให้กว้างใหญ่กว่าร้อยคูหา ปัจจุบันยกจากน้ำขึ้นบกกลายเป็นตลาดวิถีชีวิตริมน้ำ | |
คำขวัญ: วัตถุมงคลล้ำค่า วังมัจฉามากมี ของดีทำจากปลา ในนามีข้าว | |
แผนที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เน้นอำเภอผักไห่ | |
พิกัด: 14°27′30″N 100°22′12″E / 14.45833°N 100.37000°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | พระนครศรีอยุธยา |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 189.8 ตร.กม. (73.3 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 38,297 คน |
• ความหนาแน่น | 201.78 คน/ตร.กม. (522.6 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 13120 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1408 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอผักไห่ หมู่ที่ 4 ตำบลผักไห่ อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13120 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ผักไห่ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดิมชื่อ อำเภอเสนาใหญ่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นชื่ออำเภอดังเช่นปัจจุบัน[1]
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอผักไห่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอวิเศษชัยชาญและอำเภอป่าโมก (จังหวัดอ่างทอง)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอป่าโมก (จังหวัดอ่างทอง) และอำเภอบางบาล
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเสนาและอำเภอบางซ้าย
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอบางปลาม้าและอำเภอเมืองสุพรรณบุรี (จังหวัดสุพรรณบุรี)
ประวัติ
[แก้]อำเภอผักไห่ เป็นอำเภอที่อยู่เขตปกครองของจังหวัดพระนครศรีอยุธยามาตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจในแคว้นทวาราวดีทั้งหมด และจากหลักฐานที่ค้นพบจากหนังสือ “400 ปี แห่งการสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. 2148 – 2548)… ” ในเส้นทางการเดินทัพของทหารพม่าที่ยกเข้ามาโจมตีกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยของพระองค์ท่านนั้น ปรากฏข้อความตอนหนึ่งว่า…..“ฝ่ายกองทหารพม่าของพวกหงสาวดีเที่ยวเล็ดลอดสอดแนมเข้ามาได้จนถึงบางกะทิง ใกล้บ้านผักไห่ในแขวงจังหวัดพระนคร”….. ทั้งหมดนี้ แสดงว่าอำเภอผักไห่นั้นประวัติความเป็นมาอันยาวนาน ตั้งแต่สมัยก่อนกรุงสุโขทัย แต่ก็เป็นชุมชนที่ไม่ใหญ่โตและมีบทบาททางการเมืองมากมายนัก
จวบจนกระทั่งสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงแบ่งเขตการปกครองจังหวัดพระนครศรีอยุธยาออกเป็น 4 แขวง ได้แก่ แขวงนครใน แขวงอุทัย แขวงรอบกรุง และแขวงเสนา อำเภอผักไห่ แต่เดิมไม่ได้ชื่อว่า อำเภอผักไห่ แต่เป็นเพียงซึ่งชุมชนเล็ก ๆ แห่งหนึ่งเท่านั้น หากแต่รวมอยู่ในแขวงเสนา ซึ่งมีอาณาเขตรวมอำเภอผักไห่ อำเภอเสนา อำเภอบางบาล และอำเภอบางไทรทั้งหมด ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงเห็นว่าแขวงเสนา มีประชาชนอาศัยกันอยู่อย่างหนาแน่นและมีอาณาเขตกว้างขวางมากยากแก่การปกครอง จึงได้แบ่งแยกเขตเสนาตอนเหนือเป็นแขวงเสนาใหญ่ และตอนใต้เป็นแขวงเสนาน้อย
ในปี พ.ศ. 2438 ได้จัดรูปการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล ได้แบ่งเสนาใหญ่ออกเป็น 2 ตอน ตอนบน ให้เป็นเสนาใหญ่ (อำเภอผักไห่) ตอนใต้ ให้เป็นแขวงอำเภอเสนากลาง (อำเภอเสนา) และแบ่งส่วนเสนาน้อย ออกเป็น 2 แขวง คือ แขวงเสนาใน (อำเภอบางบาล) และแขวงเสนาน้อย (อำเภอบางไทร) สำหรับที่ว่าการแขวงอำเภอเสนาใหญ่ (อำเภอผักไห่) ครั้งแรกตั้งอยู่ที่ตำบลอมฤต หมู่ที่ 3 เหนือคลองบางทอง โดยมีหลวงวารีโยธารักษ์ (อ่วม) เป็นนายอำเภอคนแรกซึ่งเป็นต้นตระกูลญาณวารี ต่อมาในปี พ.ศ. 2440 ได้ย้ายที่ว่าการแขวงอำเภอเสนาใหญ่ไปตั้งชั่วคราวที่ศาลาท่าน้ำวัดตาลานเหนือ และต่อมาก็ได้ย้ายมาตั้งที่หมู่ที่ 4 ตำบลผักไห่ และได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอผักไห่ เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อตำบลที่ตั้งอยู่ เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2460 และก็ได้ใช้ชื่ออำเภอผักไห่ มาจนทุกวันนี้
นอกจากนี้ จากหลักฐานจดหมายเหตุฯ ยังกล่าวถึงอำเภอผักไห่ ดังนี้ "ตำบลผักไห่นี้บริบูรณ์ ครึกครื้นกว่าเมืองสุพรรณบุรีเป็นอย่างมาก" แสดงให้เห็นว่าอำเภอผักไห่ในอดีตมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นชุมชนที่มีวัฒนธรรม ประเพณี และเป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำที่สำคัญสายหนึ่ง อุดมไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร สัตว์น้ำนานาชาติ เช่น ปลาพันธุ์ต่าง ๆ สมกับคำว่า "ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว" จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่กล่าวว่าในสมัยก่อน "จะต้องแหวกปลาหากุ้ง" มีคำกล่าวว่า "บ้านเรือนคนติดต่อกันอย่างหนาแน่นตลอดเหมือนอย่างในกรุงเก่า" นี่เป็นข้อความหนึ่งที่บันทึกอยู่ในจดหมายเหตุฯ ประพาสต้น มองให้เห็นว่าผู้คนในผักไห่สร้างบ้านเรือนติดกันและเป็นชุมชนที่เข้มแข็งต่างจากปัจจุบัน ริมแม่น้ำน้อยที่เคยหนาแน่นไปด้วยผู้คน ปัจจุบันเหลือแต่เพียงซากทิ้งรกร้าง เนื่องจากประชากรวัยทำงานหนีไปทำงานต่างถิ่นหมดเหลือแต่เด็กและคนแก่
- วันที่ 31 มกราคม 2446 โอนพื้นที่ตำบลบางหลวงโดด[2] และตำบลบางหลวงเอียง[3] ของอำเภอเสนาใหญ่ ไปขึ้นกับอำเภอเสนาใน
- วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอเสนาใหญ่ จังหวัดกรุงเก่า เป็น อำเภอผักไห่[1]
- วันที่ 1 พฤศจิกายน 2479 ยุบท้องที่ตำบลบ้านอ้อ รวมเข้ากับตำบลอัมริตย์[4]
- วันที่ 1 เมษายน 2480 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดสุพรรณบุรีกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยโอนพื้นที่หมู่ 6 ของตำบลจรเข้ใหญ่ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เฉพาะส่วนที่อยู่ฝั่งเหนือของคลองขุดพระยารักษ์ฯ ตั้งแต่ฝั่งตะวันออกลำรางหนองแปดบาท จนบรรจบแนวเขตเดิมที่ลำรางลาดบัวขาว ตำบลนาคู อำเภอผักไห่ ไปขึ้นกับตำบลดอนลาน อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา[5]
- วันที่ 15 พฤษภาคม 2482 โอนพื้นที่หมู่ 8 (ในขณะนั้น) ของตำบลบางกุ้ง ไปขึ้นกับตำบลฦๅไชย[6]
- วันที่ 27 กันยายน 2492 ตั้งตำบลบ้านใหญ่ แยกออกจากตำบลท่าดินแดง[7]
- วันที่ 30 พฤษภาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลผักไห่ ในท้องที่บางส่วนของตำบลหน้าโคก บางส่วนของตำบลอัมฤทธิ์ บางส่วนของตำบลผักไห่ บางส่วนของตำบลตาลาน บางส่วนของตำบลลาดชิด และบางส่วนของตำบลบ้านใหญ่[8]
- วันที่ 4 มกราคม 2512 จัดตั้งสุขาภิบาลลาดชะโด ในท้องที่บางส่วนของตำบลหนองน้ำใหญ่ และบางส่วนของตำบลจักราช[9]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลผักไห่ และสุขาภิบาลลาดชะโด เป็นเทศบาลตำบลผักไห่ และเทศบาลตำบลลาดชะโด ตามลำดับ[10] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 15 กันยายน 2547 ยุบสภาตำบลผักไห่และสภาตำบลโคกช้าง รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลลาดน้ำเค็ม และยุบสภาตำบลลำตะเคียน รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลดอนลาน[11] ยุบสภาตำบลหนองน้ำใหญ่และสภาตำบลจักราช รวมกับเทศบาลตำบลลาดชะโด
- วันที่ 24 กันยายน 2547 ยุบสภาตำบลอมฤตและสภาตำบลบ้านใหญ่ รวมกับเทศบาลตำบลผักไห่[12]
- วันที่ 1 ตุลาคม 2547 ยุบสภาตำบลตาลาน รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลลาดชิด[13]
- วันที่ 26 เมษายน 2555 ยกฐานะจากเทศบาลตำบลผักไห่ ขึ้นเป็นเทศบาลเมืองผักไห่[14]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอผักไห่แบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น 16 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็น หมู่บ้าน รวม 128 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | ผักไห่ | (Phak Hai) | 9. | กุฎี | (Kudi) | ||||||||||
2. | อมฤต | (Ammarit) | 10. | ลำตะเคียน | (Lam Takhian) | ||||||||||
3. | บ้านแค | (Ban Khae) | 11. | โคกช้าง | (Khok Chang) | ||||||||||
4. | ลาดน้ำเค็ม | (Lat Nam Khem) | 12. | จักราช | (Chakkarat) | ||||||||||
5. | ตาลาน | (Ta Lan) | 13. | หนองน้ำใหญ่ | (Nong Nam Yai) | ||||||||||
6. | ท่าดินแดง | (Tha Din Daeng) | 14. | ลาดชิด | (Lat Chit) | ||||||||||
7. | ดอนลาน | (Don Lan) | 15. | หน้าโคก | (Na Khok) | ||||||||||
8. | นาคู | (Na Khu) | 16. | บ้านใหญ่ | (Ban Yai) |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอผักไห่ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองผักไห่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอมฤตและตำบลบ้านใหญ่ทั้งตำบล รวมทั้งบางส่วนของตำบลตาลาน ตำบลลาดชิด ตำบลหน้าโคก และตำบลผักไห่
- เทศบาลตำบลลาดชะโด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจักราชและตำบลหนองน้ำใหญ่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแค ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านแคทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลลาดน้ำเค็ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลาดน้ำเค็มและตำบลโคกช้างทั้งตำบล รวมทั้งตำบลผักไห่ (นอกเขตเทศบาลเมืองผักไห่)
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าดินแดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าดินแดงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลดอนลาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนลานและตำบลลำตะเคียนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาคู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาคูทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลกุฎี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุฎีทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลลาดชิด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตาลานและตำบลลาดชิด (นอกเขตเทศบาลเมืองผักไห่)
- องค์การบริหารส่วนตำบลหน้าโคก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหน้าโคก (นอกเขตเทศบาลเมืองผักไห่)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ เก็บถาวร 2011-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 34 ตอนที่ ๐ก วันที่ 29 เมษายน 2460
- ↑ "ประกาศบอกล่วงหน้าจะแจกโฉนดสำหรับที่ดิน ในทุ่งบ้านบางทัก ทุ่งบ้านบางหลวงโดด อำเภอเสนาใหญ่ แขวงกรุงเก่า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 20 (44): 759. January 31, 1903.
- ↑ "ประกาศบอกล่วงหน้าจะแจกโฉนดสำหรับที่ดิน ในทุ่งบ้านวัดตะกู ทุ่งบ้านบางหลวงเอียง อำเภอเสนาใหญ่ แขวงกรุงเก่า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 20 (44): 759–760. January 31, 1903.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบตำบลบ้านอ้อรวมเข้ากับตำบลอัมริตย์ อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 53 (0 ง): 2014. November 1, 1936.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด พุทธศักราช ๒๔๗๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ก): 40–54. April 1, 1937. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2022-01-15.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ง): 436–437. May 15, 1939.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 66 (54 ง): 4530–4535. September 27, 1949.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลผักไห่ อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (45 ง): (ฉบับพิเศษ) 7-8. May 30, 1956.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลลาดชะโด อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (3 ง): 6–7. January 4, 1969.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-01-15.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมสภาตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 102 ง): 9–12. September 15, 2004.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมสภาตำบลกับเทศบาล" (PDF). September 24, 2004: 1–2.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมสภาตำบลตาลานกับองค์การบริหารส่วนตำบลลาดชิด" (PDF). October 1, 2004: 1.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลผักไห่ อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นเทศบาลเมืองผักไห่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 129 (ตอนพิเศษ 70 ง): 19. April 26, 2012.