ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอแม่จัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อ.แม่จัน)
อำเภอแม่จัน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Mae Chan
ดอยนางนอน
คำขวัญ: 
พระธาตุกู่แก้วคู่บ้าน แม่น้ำจันคู่เมือง
ลิ้นจี่หวานลือเลื่อง รุ่งเรืองวัฒนธรรม
แผนที่จังหวัดเชียงราย เน้นอำเภอแม่จัน
แผนที่จังหวัดเชียงราย เน้นอำเภอแม่จัน
พิกัด: 20°8′48″N 99°51′12″E / 20.14667°N 99.85333°E / 20.14667; 99.85333
ประเทศ ไทย
จังหวัดเชียงราย
พื้นที่
 • ทั้งหมด791.0 ตร.กม. (305.4 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด107,060 คน
 • ความหนาแน่น194.30 คน/ตร.กม. (503.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 57110

57240 ตำบลแม่คำและตำบลแม่ไร่

57270 ตำบลจันจว้าใต้และตำบลจันจว้า
รหัสภูมิศาสตร์5707
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอแม่จัน เลขที่ 4 หมู่ที่ 2 ตำบลแม่จัน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย 57110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

แม่จัน (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย

วัดพระธาตุจอมจันทร์
วัดพระธาตุจอมจันทร์

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอแม่จันมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

วัดพระธาตุจอมจันทร์
 ไร่ชาฉุยฟง ตั้งอยู่ที่ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เป็นแหล่งปลูกชาชั้นดีของบริษัท ฉุยฟงที จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตใบชารายใหญ่ที่สุดในจังหวัดเชียงรายมากว่า 40 ปี
จิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องโครงการในพระราชดำริ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ภายในพระที่นั่งทรงธรรม มณฑลพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ประวัติ

[แก้]

อำเภอแม่จันเดิมเป็นเพียงหมู่บ้านหรือตำบลหนึ่งในเขตควบคุมของเมืองเชียงแสนหลวง ตามพงศาวดารโยนก กล่าวว่า เมืองเชียงแสนมีพื้นที่ครอบคลุมบริเวณที่ราบลุ่มเชียงแสนทั้งหมด ซึ่งมีอาณาเขตที่กว้างขวางต่อมาเมืองเชียงแสนหลวงได้เกิดน้ำท่วมบ่อย ๆ ปีหนึ่งน้ำจะท่วมเป็นเวลาหลายเดือน ชาวบ้านแถบนี้ที่มีอาชีพเพาะปลูกและทำนาไม่สามารถที่จะทำนาได้จึงพากันอพยพลงมาทางใต้ ประมาณ 25 กิโลเมตร มาอยู่ที่ "บ้านขิ" (ซึ่งปัจจุบันคือ บ้านแม่คี หมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 9 ตำบลป่าซาง อำเภอแม่จัน) ซึ่งมีบริเวณเป็นที่ราบลุ่มกว้างมีแม่น้ำไหลผ่าน ทำเลดี เหมาะแก่การเพาะปลูกและทำนา และยังมีชาวบ้านมาตั้งบ้านเรือนก่อนแล้วเกือบ 400 หลังคาเรือน ประกอบกับเป็นเส้นทางค้าขายยังรัฐฉานและยูนาน และต่อมาชาวบ้านเมืองเชียงแสนหลวงก็อพยพมาอยู่ร่วมกันที่บ้านขิเพิ่มมากขึ้น

ในปี พ.ศ. 2424 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าให้เจ้าอินต๊ะ ซึ่งครองเมืองลำพูน เมืองลำปาง และเจ้ากาวิละ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ นำราษฎรจากเชียงใหม่ประมาณ 1,500 ครัวเรือน ไปตั้งถิ่นฐานที่เมืองเชียงแสนหลวง และพระราชทานบรรดาศักดิ์เจ้าอินต๊ะ เป็น พระยาราชเดชดำรง ตำแหน่งเจ้าเมืองเชียงแสน ในปี พ.ศ. 2437

ในปี พ.ศ. 2442 เป็นปีกุน (ช้าง) จุลศักราช 1261 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายไชยวงศ์ บุตรของพระยาราชเดชดำรง (เจ้าอินต๊ะ) เป็นพระยาราชเดชดำรง สืบตระกูลแทนบิดา เป็นนายอำเภอแม่จัน ที่เรียกว่า "แขวงเชียงแสนหลวง" คนแรก ซึ่งย้ายมาจากเมืองเชียงแสน มาตั้งอยู่ที่อำเภอแม่จัน โดยใช้ชื่อว่า "แขวงเชียงแสนหลวง" (แม่จัน) ในครั้งแรกมาตั้งอาคารที่ว่าการอยู่ที่หมู่บ้านแม่คี เพราะบ้านแม่คีสมัยนั้นเป็นหมู่บ้านใหญ่ เป็นศูนย์กลางการคมนาคม และการค้าแลกเปลี่ยนสินค้า จากนั้นได้ย้ายที่อาคารที่ทำการแขวงเชียงแสนหลวง (อำเภอแม่จัน) จากหมู่บ้านแม่คีลงมาทางทิศใต้ประมาณ 3 กิโลเมตร มาสร้างอาคารที่ว่าการแขวงเชียงแสนหลวงใหม่ที่ริมฝั่งแม่น้ำจัน ตำบลเวียงกาสา จนถึงปี พ.ศ. 2452 เป็นปีเปิกเล้า จุลศักราช 1271 ได้เปลี่ยนชื่อจาก "แขวงเชียงแสนหลวง" มาเป็น "อำเภอแม่จัน" ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

  • วันที่ - พ.ศ. 2442 ย้ายที่ว่าการอำเภอเชียงแสน ไปตั้งที่ตำบลกาษา และตั้งพื้นที่อำเภอเชียงแสน (เดิม) ได้แก่ ตำบลป่าสัก ตำบลในเวียง ตำบลบ้านแซว ตำบลท่าข้าวเปลือก และตำบลปงน้อย ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอเชียงแสน[1][2] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอเชียงแสน
  • วันที่ 12 มิถุนายน 2453 รวมเมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย เมืองฝาง เวียงป่าเป้า เมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สรวย เมืองเชียงคำ และเมืองเชียงของ จังหวัดพายัพเหนือ ขึ้นเป็นเมืองจัตวา เรียกว่า จังหวัดเชียงราย และกำหนดให้มีการปกครองทั้งหมด 10 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองเชียงแสน อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเมืองฝาง อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอเมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สรวย อำเภอเมืองเชียงคำ และอำเภอเมืองเชียงของ[3]
  • วันที่ 4 ตุลาคม 2468 ยุบกิ่งอำเภอเชียงแสน มีเขตการปกครองตำบลในเวียง ตำบลบ้านแซว และตำบลป่าสัก เข้ากับอำเภอเชียงแสน[4]
  • วันที่ 17 กรกฎาคม 2470 แยกพื้นที่ตำบลในเวียง ตำบลบ้านแซว และตำบลป่าสัก จากอำเภอเชียงแสน ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอเชียงแสนหลวง[5][6] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอเชียงแสน
  • วันที่ 8 พฤศจิกายน 2479 ตั้งตำบลแม่สาย แยกออกจากตำบลโป่งผา[7]
  • วันที่ 1 เมษายน 2480 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดเชียงรายกับจังหวัดเชียงใหม่ โดยโอนพื้นที่หมู่ 7 (ในขณะนั้น) เฉพาะส่วนที่อยู่ฝั่งเหนือของลำน้ำแม่งาม ของตำบลป่าตึง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ไปขึ้นกับตำบลแม่อาย อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่[8] โดยให้ถือฝั่งใต้ของลำน้ำแม่งามเป็นเส้นเขต
  • วันที่ 23 มกราคม 2481 รวมตำบลป่าตึง เข้ากับพื้นที่ตำบลกาษา แล้วจัดตั้งเป็น ตำบลกาษา กับรวมตำบลศาลา เข้ากับพื้นที่ตำบลป่าซาง แล้วจัดตั้งเป็น ตำบลป่าซาง กับรวมตำบลโป่งผา เข้ากับพื้นที่ตำบลแม่สาย แล้วจัดตั้งเป็น ตำบลแม่สาย กับรวมตำบลหนองร่อง เข้ากับพื้นที่ตำบลจันจว้า แล้วจัดตั้งเป็น ตำบลจันจว้า และยุบตำบลป่าตึง ตำบลศาลา ตำบลโป่งผา ตำบลหนองร่อง[9]
  • วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2481 แยกพื้นที่ตำบลแม่สาย และตำบลโป่งผา จากอำเภอเชียงแสน ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอแม่สาย[10] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอเชียงแสน
  • วันที่ 17 เมษายน 2482 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลกาษา เป็น ตำบลแม่จัน กับเปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็น อำเภอแม่จัน และเปลี่ยนแปลงชื่อกิ่งอำเภอเชียงแสนหลวง จังหวัดเชียงราย เป็น กิ่งอำเภอเชียงแสน[11]
  • วันที่ 12 พฤศจิกายน 2483 โอนพื้นที่หมู่ 12, 21 (ในขณะนั้น) ของตำบลป่าซาง ไปขึ้นกับตำบลแม่จัน และโอนพื้นที่หมู่ 8, 11-12 (ในขณะนั้น) ของตำบลป่าสัก ไปขึ้นกับตำบลแม่สาย[12]
  • วันที่ 4 เมษายน 2493 ยกฐานะกิ่งอำเภอแม่สาย อำเภอแม่จัน เป็น อำเภอแม่สาย[13]
  • วันที่ 30 พฤษภาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลเชียงแสน ในท้องที่เมืองเก่าเชียงแสน ตำบลเวียง (ใช้กำแพงเมืองเชียงแสนทั้งหมดเป็นเขต)[14] และจัดตั้งสุขาภิบาลแม่จัน ในท้องที่บางส่วนของตำบลแม่จัน[15]
  • วันที่ 9 เมษายน 2500 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอเชียงแสน อำเภอแม่จัน เป็น อำเภอเชียงแสน[16]
  • วันที่ 1 มีนาคม 2501 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลจันจว้า ในท้องที่ตำบลจันจว้า[17]
  • วันที่ 16 กันยายน 2501 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลแม่จัน[18] เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น
  • วันที่ 7 กรกฎาคม 2507 จัดตั้งสุขาภิบาลแม่คำ ในท้องที่บางส่วนของตำบลแม่คำ[19]
  • วันที่ 14 กันยายน 2508 จัดตั้งสุขาภิบาลสันทราย ในท้องที่บางส่วนของตำบลสันทราย[20]
  • วันที่ 9 พฤศจิกายน 2508 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลจันจว้า อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย และจัดตั้งสุขาภิบาลจันจว้า ในท้องที่ทั้งหมดของตำบลจันจว้า[21]
  • วันที่ 26 ตุลาคม 2514 ตั้งตำบลป่าตึง แยกออกจากตำบลแม่จัน[22]
  • วันที่ 12 พฤษภาคม 2524 ตั้งตำบลหนองป่าก่อ แยกออกจากตำบลปงน้อย[23]
  • วันที่ 25 กันยายน 2527 ตั้งตำบลแม่ไร่ แยกออกจากตำบลแม่คำ ตั้งตำบลศรีค้ำ แยกออกจากตำบลป่าซาง และตั้งตำบลจันจว้าใต้ แยกออกจากตำบลจันจว้า[24]
  • วันที่ 25 สิงหาคม 2530 ตั้งตำบลจอมสวรรค์ แยกออกจากตำบลสันทราย[25]
  • วันที่ 1 กรกฎาคม 2534 ตั้งตำบลเทอดไทย แยกออกจากตำบลแม่ไร่ และตำบลแม่คำ ตั้งตำบลแม่สลองใน แยกออกจากตำบลป่าซาง และตำบลศรีค้ำ ตั้งตำบลแม่สลองนอก แยกออกจากตำบลป่าซาง และตำบลป่าตึง[26]
  • วันที่ 22 เมษายน 2535 แยกพื้นที่ตำบลเทอดไทย ตำบลแม่สลองใน และตำบลแม่สลองนอก จากอำเภอแม่จัน ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง[27] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอแม่จัน
  • วันที่ 27 ตุลาคม 2536 ตั้งตำบลโชคชัย แยกออกจากตำบลปงน้อย[28]
  • วันที่ 2 พฤศจิกายน 2536 โอนพื้นที่หมู่ 7 บ้านสันทรายกองงาม (ในขณะนั้น) ของตำบลหนองป่าก่อ อำเภอแม่จัน ไปขึ้นกับตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน[29]
  • วันที่ 19 กรกฎาคม 2537 กำหนดเขตตำบลหนองป่าก่อ อำเภอแม่จัน โดยตัดหมู่ที่ 7 เดิมไปขึ้นกับอำเภอเชียงแสน และตั้งหมู่ 7 บ้านสันทรายกองงาม ของตำบลหนองป่าก่อ (เดิม) เป็นหมู่ 10 บ้านสันทรายกองงาม ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน[30]
  • วันที่ 4 มกราคม 2539 ตั้งตำบลแม่ฟ้าหลวง แยกออกจากตำบลเทอดไทย[31]
  • วันที่ 26 มิถุนายน 2539 แยกพื้นที่ตำบลปงน้อย ตำบลโชคชัย และตำบลหนองป่าก่อ จากอำเภอแม่จัน ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอดอยหลวง[32] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอแม่จัน
  • วันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่จัน เป็น อำเภอแม่ฟ้าหลวง[33]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลแม่จัน สุขาภิบาลแม่คำ สุขาภิบาลสันทราย และสุขาภิบาลจันจว้า เป็นเทศบาลตำบลแม่จัน เทศบาลตำบลแม่คำ เทศบาลตำบลสันทราย และเทศบาลตำบลจันจว้า ตามลำดับ[34] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 8 กันยายน 2550 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอดอยหลวง อำเภอแม่จัน เป็น อำเภอดอยหลวง[35]
  • วันที่ 18 กรกฎาคม 2551 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลป่าซาง เป็น เทศบาลตำบลป่าซาง[36]
  • วันที่ 12 ตุลาคม 2552 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าวเปลือก เป็น เทศบาลตำบลท่าข้าวเปลือก[37]
  • วันที่ 27 ตุลาคม 2552 เปลี่ยนแปลงชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลแม่คำ เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลสายน้ำคำ[38] และจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลสายน้ำคำ เป็น เทศบาลตำบลสายน้ำคำ[39]
  • วันที่ 24 สิงหาคม 2555 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ไร่ เป็น เทศบาลตำบลแม่ไร่[40]
  • วันที่ 3 ธันวาคม 2558 เปลี่ยนแปลงชื่อหมู่ที่ 10 บ้านแม่คำพัฒนา ตำบลศรีค้ำ เป็น หมู่ที่ 10 บ้านศรีค้ำ[41]

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอแม่จันแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 11 ตำบล 139 หมู่บ้าน ได้แก่

ที่ ชื่อตำบล ตัวเมือง อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน จำนวนประชากร[42]
1. แม่จัน Mae Chan 14 4,894 10,912
2. จันจว้า Chan Chwa 11 2,467 7,261
3. แม่คำ Mae Kham 14 4,255 10,799
4. ป่าซาง Pa Sang 15 5,146 10,566
5. สันทราย San Sai 9 1,853 4,942
6. ท่าข้าวเปลือก Tha Khao Plueak 14 2,873 7,489
7. ป่าตึง Pa Tueng 20 7,779 20,782
8. แม่ไร่ Mae Rai 9 3,150 8,319
9. ศรีค้ำ Si Kham 11 2,561 5,951
10. จันจว้าใต้ Chan Chwa Tai 12 3,082 8,202
11. จอมสวรรค์ Chom Sawan 10 1,555 4,050

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอแม่จันประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 13 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลแม่จัน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลแม่จัน
  • เทศบาลตำบลจันจว้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจันจว้าและตำบลจันจว้าใต้ทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลแม่คำ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลแม่คำ
  • เทศบาลตำบลสันทราย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลสันทราย
  • เทศบาลตำบลป่าซาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าซางทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลสายน้ำคำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่คำ (นอกเขตเทศบาลตำบลแม่คำ)
  • เทศบาลตำบลท่าข้าวเปลือก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าข้าวเปลือกทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลแม่ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ไร่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่จัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่จัน (นอกเขตเทศบาลตำบลแม่จัน)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสันทราย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสันทราย (นอกเขตเทศบาลตำบลสันทราย)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลป่าตึง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าตึงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลศรีค้ำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีค้ำทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลจอมสวรรค์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจอมสวรรค์ทั้งตำบล

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลพายัพ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ก): 592–606. วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2464
  2. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลพายัพ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 39 (0 ก): 554–558. วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2465
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศยกเมืองเชียงรายเป็นเมืองจัตวามณฑลพายัพ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (0 ง): 426–427. วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2453
  4. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบกิ่งเชียงแสนเข้ารวมกับอำเภอเชียงแสนจังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0 ง): 2159. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2022-01-04. วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2468
  5. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งกิ่งอำเภอเชียงแสนหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 44 (0 ง): 1232. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2022-01-04. วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2470
  6. "ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ สำหรับท้องที่กิ่งอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก และกิ่งอำเภอเชียงแสนหลวง จังหวัดเชียงรายซึ่งตั้งขึ้นใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 44 (0 ก): 118–119. วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2470
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลแม่สาย อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 53 (0 ง): 2123. วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479
  8. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด พุทธศักราช ๒๔๗๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ก): 40–54. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2022-03-25. วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2480
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 3449–3457. วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2481
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งกิ่งอำเภอแม่สาย ขึ้นอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 3873. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-24. สืบค้นเมื่อ 2022-01-04. วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481
  11. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ก): 354–363. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-19. สืบค้นเมื่อ 2015-08-07. วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2482
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 57 (0 ง): 2773–2778. วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483
  13. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยกฐานะกิ่งอำเภอแม่สาย อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ขึ้นเป็นอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 67 (21 ง): 1433. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-24. สืบค้นเมื่อ 2022-01-04. วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2493
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเชียงแสน กิ่งอำเภอเชียงแสน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (45 ง): (ฉบับพิเศษ) 53-54. วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2499
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลแม่จัน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (45 ง): (ฉบับพิเศษ) 49-50. วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2499
  16. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเชียงแสน พ.ศ. ๒๕๐๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (36 ก): 565–567. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-10. สืบค้นเมื่อ 2022-01-04. วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2500
  17. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล [จำนวน ๕๙ แห่ง]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (18 ง): (ฉบับพิเศษ) 2-6. วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2501
  18. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลแม่จัน จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (72 ง): 2543–2544. วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2501
  19. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลแม่คำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 81 (62 ง): 1818–1819. วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2507
  20. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลสันทราย อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (75 ง): 2335–2336. วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2508
  21. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลจันจว้า อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (96 ง): 2737–2738. วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508
  22. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอพะเยา อำเภอแม่จัน อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (113 ง): 2988–2993. วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2514
  23. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอพาน และอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (71 ง): 1360–1363. วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2524
  24. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (130 ง): 3357–3362. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-12-08. สืบค้นเมื่อ 2022-01-04. วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2527
  25. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอป่าแดด อำเภอแม่จัน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (168 ง): 5996–6004. วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2530
  26. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอพานและอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (115 ง): (ฉบับพิเศษ) 69-88. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-12-08. สืบค้นเมื่อ 2022-01-04. วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2534
  27. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ตั้งเป็นกิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (53 ง): (ฉบับพิเศษ) 5. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2022-01-04. วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2535
  28. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (173 ง): (ฉบับพิเศษ) 63-67. วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2536
  29. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนเขตอำเภอแม่จันและอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย พ.ศ. ๒๕๓๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (178 ง): (ฉบับพิเศษ) 64-65. วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536
  30. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน และตำบลหนองป่าก่อ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (57 ง): 5–15. วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2537
  31. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองเชียงราย และกิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (2 ง): 60–72. วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2539
  32. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ตั้งเป็นกิ่งอำเภอดอยหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (พิเศษ 18 ง): 26. วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2539
  33. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเหนือคลอง อำเภอนายายอาม อำเภอท่าตะเกียบ อำเภอขุนตาล อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ลาว อำเภอรัษฎา อำเภอพุทธมณฑล อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอชำนิ อำเภอโนนดินแดง อำเภอปางมะผ้า อำเภอลำสนธิ อำเภอหนองม่วง อำเภอเบญจลักษ์ อำเภอโพนนาแก้ว อำเภอบุ่งคล้า อำเภอดอนมดแดง และอำเภอลืออำนาจ พ.ศ. ๒๕๓๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (62 ก): 5–8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-05-21. สืบค้นเมื่อ 2022-01-04. วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
  34. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-01-04 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
  35. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2022-01-04. วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2550
  36. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล ป่าซาง เป็น เทศบาลตำบล". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
  37. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล ท่าข้าวเปลือก เป็น เทศบาลตำบลท่าข้าวเปลือก". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2552
  38. "เปลี่ยนชื่อ องค์การบริหารส่วนตำบลแม่คำ ไปเป็น องค์การบริหารส่วนตำบลสายน้ำคำ". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552
  39. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล สายน้ำคำ เป็น เทศบาลตำบลสายน้ำคำ". October 27, 2009. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  40. "เปลี่ยนฐานะจาก องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ไร่ เป็น เทศบาลตำบลแม่ไร่". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555
  41. "ประกาศจังหวัดเชียงราย เรื่อง เปลี่ยนแปลงชื่อหมู่บ้านในท้องที่อำเภอแม่จัน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 132 (127 ง): 247. วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2558
  42. จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดเชียงราย ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553, สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย