อำเภอพุทธมณฑล
อำเภอพุทธมณฑล | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Phutthamonthon |
พุทธมณฑล เป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนาภายในพื้นที่ที่เป็นที่มาของชื่ออำเภอ | |
คำขวัญ: ดินแดนธรรมะ พระปางลีลา การศึกษาก้าวหน้า พัฒนาคุณธรรม | |
แผนที่จังหวัดนครปฐม เน้นอำเภอพุทธมณฑล | |
พิกัด: 13°48′7″N 100°19′18″E / 13.80194°N 100.32167°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นครปฐม |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 76.33 ตร.กม. (29.47 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 44,014 คน |
• ความหนาแน่น | 576.63 คน/ตร.กม. (1,493.5 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 73170 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 7307 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอพุทธมณฑล เลขที่ 199 หมู่ที่ 5 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
พุทธมณฑล เป็นอำเภอในจังหวัดนครปฐม เป็นอำเภอที่มีพื้นที่น้อยที่สุดในจังหวัด แต่ได้รับความเจริญมาจากกรุงเทพมหานคร ทำให้มีหมู่บ้านจัดสรรอยู่หลายโครงการ มีมหาวิทยาลัยมากมายและยังเป็นที่ตั้งของ พุทธมณฑล ศูนย์รวมการทำกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญในประเทศไทยอีกด้วย
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอพุทธมณฑลมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบางเลน
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอไทรน้อย อำเภอบางใหญ่ อำเภอบางกรวย (จังหวัดนนทบุรี) และเขตทวีวัฒนา (กรุงเทพมหานคร) มีคลองนราภิรมย์ คลองทวีวัฒนา และแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างจังหวัดนครปฐมกับกรุงเทพมหานครเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอสามพราน มีคลองบางกระทึก ถนนพุทธมณฑล สาย 4 และถนนสุภาพบุรุษเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอนครชัยศรี มีคลองชัยขันธ์เป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติ
[แก้]ท้องที่อำเภอพุทธมณฑล เดิมเป็นส่วนหนึ่งของตำบลงิ้วราย (เปลี่ยนชื่อเป็นตำบลลานตากฟ้าในปัจจุบัน)[1] ตำบลห้วยพลู และตำบลศาลายา อำเภอนครชัยศรี และบางส่วนของตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2533 กระทรวงมหาดไทยให้แยกพื้นที่บางส่วนออกจากการปกครองของอำเภอนครชัยศรี รวมตั้งเป็น กิ่งอำเภอพุทธมณฑล[2] ให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอนครชัยศรี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2534 จนกระทั่งเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 จึงมีพระราชกฤษฎีกาฯ ยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอพุทธมณฑล โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2539
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลมหาสวัสดิ์ แยกออกจากตำบลงิ้วราย ตั้งตำบลคลองโยง แยกออกจากตำบลศาลายา และตำบลห้วยพลู[3]
- วันที่ 31 ธันวาคม 2526 โอนพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 6 ในขณะนั้น เฉพาะเขตพื้นที่ที่ตั้งของพุทธมณฑล จากตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน มาขึ้นกับตำบลศาลายา อำเภอนครชัยศรี[4] เพื่อให้พื้นที่พุทธมณฑลอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเดียวและเพื่อประโยชน์ในการปกครองดูแลพุทธมณฑล
- วันที่ 31 มกราคม 2534 แยกพื้นที่ตำบลศาลายา ตำบลคลองโยง และตำบลมหาสวัสดิ์ ของอำเภอนครชัยศรี ไปจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอพุทธมณฑล[2] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอนครชัยศรี
- วันที่ 22 เมษายน 2535 จัดตั้งสุขาภิบาลศาลายา ในท้องที่หมู่ 3–6 ของตำบลศาลายา[5]
- วันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 ยกฐานะกิ่งอำเภอพุทธมณฑล อำเภอนครชัยศรี เป็น อำเภอพุทธมณฑล[6]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลศาลายา เป็นเทศบาลตำบลศาลายา[7] ด้วยผลของกฎหมาย
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอพุทธมณฑลแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 3 ตำบล 18 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[8] |
---|---|---|---|---|
1. | ศาลายา | Sala Ya | 6
|
23,758
|
2. | คลองโยง | Khlong Yong | 8
|
10,784
|
3. | มหาสวัสดิ์ | Maha Sawat | 4
|
10,075
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอพุทธมณฑลประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลศาลายา ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 6 และบางส่วนของหมู่ที่ 3–5 ตำบลศาลายา
- เทศบาลตำบลคลองโยง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองโยงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลศาลายา ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 1–2 และบางส่วนของหมู่ที่ 3–5 ตำบลศาลายา
- องค์การบริหารส่วนตำบลมหาสวัสดิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมหาสวัสดิ์ทั้งตำบล
การคมนาคม
[แก้]ถนน
[แก้]ถนนสายสำคัญในอำเภอพุทธมณฑล ได้แก่
- ถนนบรมราชชนนี
- ถนนอุทยาน
- ถนนพุทธมณฑลสาย 4
- ถนนพุทธมณฑลสาย 5
- ถนนศาลายา-นครชัยศรี
- ทางหลวงชนบท นบ.1011
ขนส่งทางบก
[แก้]ในอำเภอพุทธมณฑล มีเส้นทางรถประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำนวนหลายเส้นทาง ดังนี้
- รถเมล์ ไทยสมายล์บัส สาย 124 ศาลายา-สนามหลวง
- รถเมล์ ไทยสมายล์บัส 163 ศาลายา-BTS สนามกีฬาแห่งชาติ
- รถเมล์ ไทยสมายบัส สาย 515 เซ็นทรัลศาลายา-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
- รถเมล์ ขสมก. สาย 515 (4-71E) เซ็นทรัลศาลายา - ทางด่วน - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
- รถเมล์ เอกชน สาย 539 อ้อมน้อย-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
- รถเมล์ สมาร์ทบัส สาย 547 หมู่บ้านเอื้ออาทรศาลายา-ถนนตก
- รถเมล์ ขสมก. สาย 556 แยกนครชัยศรี - อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
- รถเมล์ ขสมก.สาย ปอ.556 วัดไร่ขิง - อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
- รถเมล์ ไทยสมายล์บัส สาย 4-67 ศาลายา-กระทรวงพาณิชย์
- รถเมล์ ขสมก.สาย 4-70E เซ็นทรัล ศาลายา-BTS หมอชิต
ขนส่งทางราง
[แก้]ในอำเภอพุทธมณฑล มีเส้นทางรถไฟสายใต้ผ่านจำนวน 1 สถานี คือ
สถานศึกษา
[แก้]- มหาวิทยาลัยมหิดล
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
- มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
- สถาบันกันตนา
- สถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง (โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ)
- วิทยาลัยนาฏศิลป
- กองบังคับการฝึกอบรมตำรวจกลาง (โรงเรียนนายสิบตำรวจ)
- วิทยาลัยการอาชีพพุทธมณฑล สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
- สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
- โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม)
- โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
- โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมป์
- โรงเรียนวัดสาลวัน
- ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอพุทธมณฑล
- โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
- มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาเขตนครปฐม
- โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ มหามงคล
- โรงเรียนบ้านคลองมหาสวัสดิ์ ตั้งตรงจิตร 17
- โรงเรียนบ้านคลองโยง
- โรงเรียนบุณยศรีสวัสดิ์
- โรงเรียนบ้านคลองสว่างอารมณ์
- โรงเรียนวัดมะเกลือ (กาญจนลักษณ์วิทยา)
สถานที่สำคัญ
[แก้]- พุทธมณฑล สร้างขึ้นในวาระฉลอง 25 พุทธศตวรรษ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้พระพุทธศาสนา เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ และยังมีพระไตรปิฎกหินอ่อนด้วย
- วัดญาณเวศกวัน วัดขนาดเล็กใกล้พุทธมณฑล เจ้าอาวาสคือ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
- สวนศิลปะมีเซียม ยิบอินซอย ถนนพุทธมณฑล สาย 7 เป็นสถานที่รวบรวมงานประติมากรรมของคุณมีเซียม ยิบอินซอย
- หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) หน่วยงานจัดการอนุรักษ์ฟิล์มภาพยนตร์ สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อกิ่งอำเภอและตำบลบางแห่ง พ.ศ. ๒๕๑๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (98 ก): 774–777. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2022-02-28. วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2511
- ↑ 2.0 2.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ตั้งเป็นกิ่งอำเภอพุทธมณฑล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (15 ง): (ฉบับพิเศษ) 1067. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2013-08-19. วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2534
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2022-02-28. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอสามพราน กับอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม พ.ศ. ๒๕๒๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (206 ก): (ฉบับพิเศษ) 10-12. วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2526
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลศาลายา กิ่งอำเภอพุทธมณฑล อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (53 ง): (ฉบับพิเศษ) 52-54. วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2535
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเหนือคลอง อำเภอนายายอาม อำเภอท่าตะเกียบ อำเภอขุนตาล อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ลาว อำเภอรัษฎา อำเภอพุทธมณฑล อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอชำนิ อำเภอโนนดินแดง อำเภอปางมะผ้า อำเภอสนธิ อำเภอหนองม่วง อำเภอเบญจลักษ์ อำเภอโพนนาแก้ว อำเภอบุ่งคล้า อำเภอดอนมดแดง และอำเภอลืออำนาจ พ.ศ. ๒๕๓๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (62 ก): 5–8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-05-21. สืบค้นเมื่อ 2011-10-29. วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-02-28. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.