อำเภอน้ำเกลี้ยง
อำเภอน้ำเกลี้ยง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Nam Kliang |
จากซ้ายไปขวา:
| |
คำขวัญ: น้ำเกลี้ยงนามพันธุ์ไม้ ถิ่นชาวสวยน้ำใจดี มีลำห้วยมากหลาย ป่าสนสองใบร่มรื่น
ชื่นชมวัฒนธรรมหลายภาษา งามตระการตาบุญผะเหวด | |
แผนที่จังหวัดศรีสะเกษ เน้นอำเภอน้ำเกลี้ยง | |
พิกัด: 14°55′42″N 104°30′48″E / 14.92833°N 104.51333°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ศรีสะเกษ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 236.17 ตร.กม. (91.19 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2565) | |
• ทั้งหมด | 44,454 คน |
• ความหนาแน่น | 188.20 คน/ตร.กม. (487.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 33130 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 3315 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอน้ำเกลี้ยง หมู่ที่ 5 ตำบลน้ำเกลี้ยง อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ 33130 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
น้ำเกลี้ยง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษ เป็นที่ตั้งของสถานีวนวัฒนวิจัยห้วยทา ซึ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์ป่าสนสองใบที่ราบเพียงแห่งเดียวของจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งมีอายุกว่า 200 ปี และยังเป็นพื้นที่ 1 ใน 3 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่พบป่าสนสองใบ และเป็นที่ตั้งของเขตประวัติศาสตร์เมืองโบราณพังคู-แหล่งโบราณคดีบ้านขี้เหล็ก
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอน้ำเกลี้ยงมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองศรีสะเกษและอำเภอกันทรารมย์
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอโนนคูณ
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเบญจลักษ์และอำเภอศรีรัตนะ
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอพยุห์
ประวัติ
[แก้]พื้นที่ของอำเภอน้ำเกลี้ยงเดิมเป็นที่รู้จักในชื่อ บ้านน้ำเกลี้ยง อยู่ในเขตการปกครองในเขตอำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งตำบลน้ำเกลี้ยงตั้งขึ้นเป็นตำบลตั้งแต่ พ.ศ. 2441 (ค.ศ. 1898) ในประเทศไทย เป็นปีที่ 117 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นปีที่ 31 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และนับเป็นปี ร.ศ. 116 เข้ามาตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่บริเวณนี้มาเป็นเวลาหลายสิบปี บริเวณบ้านไร่เอราวัณ ตำบลเขิน เริ่มแรกได้ประกอบอาชีพทางเกษตรกรรมปลูกผัก ผลไม้ ได้ถ่ายทอดวัฒนธรรมต่อ ๆ กันมาหลายอย่าง จนกระทั่งเมื่อมีคราวสงคราม ได้มีกองทัพเดินทางมาใช้บริเวณดังกล่าวเป็นจุดพักค้างคืน บรรดาช้าง ม้า และสัตว์ต่าง ๆ ที่มากับกองทัพได้กิน ทำลาย พืชผักต่าง ๆ ของชาวบ้าน เมื่อเป็นเช่นนั้นชาวบ้านจึงอพยพมาตั้งถิ่นฐานใหม่บริเวณต้นไม้ใหญ่ คือ "ต้นน้ำเกลี้ยง" เป็นเหตุให้เรียกชื่อหมู่บ้านเป็น "น้ำเกลี้ยง" จนถึงปัจจุบัน
พ.ศ. 2528 กรมการปกครองได้พิจารณาดำเนินการจัดตั้งกิ่งอำเภอ ซึ่งจังหวัดศรีสะเกษได้เสนอขอตั้งกิ่งอำเภอน้ำเกลี้ยงในท้องที่อำเภอกันทรารมย์ ซึ่งกรมการปกครองได้บรรจุเข้าแผนการจัดตั้งกิ่งอำเภอและอำเภอระยะ 8 ปี (พ.ศ. 2528 - 2537) กระทั่งเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2529 ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอน้ำเกลี้ยง[1] ลงวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2529 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม ปีเดียวกัน และในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2529 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้แยกบางหมู่บ้านออกมาจากการปกครองของตำบลน้ำเกลี้ยง รวมตั้งเป็นตำบลเขิน[2] และในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2533 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้แยกบางหมู่บ้านออกมาจากการปกครองของตำบลละเอาะกับตำบลเขิน[3] รวมตั้งเป็นตำบลรุ่งระวี
เมื่อกิ่งอำเภอน้ำเกลี้ยงมีสภาพชุมชนและชุมนุมการค้าหนาแน่นหรือมีสภาพเจริญขึ้นกว่าเดิมมาก จึงได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะตั้งขึ้นเป็น อำเภอน้ำเกลี้ยง[4] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน ปีเดียวกัน เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารงานของหน่วยบริหารราชการส่วนภูมิภาค จนกระทั่งในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2539 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้แยกบางหมู่บ้านออกมาจากการปกครองของตำบลน้ำเกลี้ยง รวมตั้งเป็นตำบลคูบ[5] จึงมีการปกครองระดับตำบลทั้งหมด 6 ตำบล
จุดเด่น
[แก้]อำเภอน้ำเกลี้ยงเป็นที่ตั้งของสถานีวนวัฒนวิจัยห้วยทา ซึ่งมีสนสองใบ เป็นพื้นที่อนุรักษ์พื้นที่ป่าสนสองใบที่ราบแหล่งสุดท้ายของจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งมีอายุกว่า 200 ปี และยังเป็นพื้นที่ 1 ใน 3 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่พบป่าสนสองใบ สังกัดองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) สำนักการป่าชุมชน กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กับหน่วยป้องกันรักษาที่ ศก.5 (ห้วยขะยุง - หนองม่วง) จัดตั้งให้เป็นป่าคุ้มครอง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2491 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม[6] ปีเดียวกัน
ต่อมาได้ให้เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2512 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม[7] ปีเดียวกัน เนื่องจากป่าแห่งนี้มีไม้ยาง ไม้กระบาก ไม้พะยอม ไม้ประดู่ ไม้พะยุง ไม้ตะเคียน ไม้สน และไม้ชนิดอื่นซึ่งมีค่าจำนวนมาก และมีของป่ากับทรัพยากรธรรมชาติอื่นด้วย สมควรกำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อรักษาสภาพป่า ไม้ ของป่า และทรัพยากรธรรมชาติอื่นไว้
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอน้ำเกลี้ยงแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 6 ตำบล 75 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | น้ำเกลี้ยง | (Nam Kliang) | 10 หมู่บ้าน | ||||
2. | ละเอาะ | (La-o) | 13 หมู่บ้าน | ||||
3. | ตองปิด | (Tong Pit) | 14 หมู่บ้าน | ||||
4. | เขิน | (Khoen) | 13 หมู่บ้าน | ||||
5. | รุ่งระวี | (Rung Rawi) | 15 หมู่บ้าน | ||||
6. | คูบ | (Khup) | 10 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอน้ำเกลี้ยงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่
- องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเกลี้ยง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำเกลี้ยงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลละเอาะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลละเอาะทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลตองปิด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตองปิดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเขิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขินทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลรุ่งระวี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลรุ่งระวีทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคูบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคูบทั้งตำบล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอน้ำเกลี้ยง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (9 ง): 157. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2019-05-12. วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2529
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกันทรลักษณ์ อำเภอกันทรารมย์ และอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (175 ง): (ฉบับพิเศษ) 56-81. วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2529
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอขุขันธ์ อำเภอกันทรลักษณ์ อำเภอยางชุมน้อย กิ่งอำเภอน้ำเกลี้ยง และกิ่งอำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (149 ง): (ฉบับพิเศษ) 61-83. วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2533
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเปือยน้อย อำเภอภูผาม่าน อำเภอราชสาส์น อำเภอเกาะสีชัง อำเภอไชยปราการ อำเภอนาหมื่น อำเภอสันติสุข อำเภอพลับพลาชัย อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอไม้แก่น อำเภอศรีสมเด็จ อำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอบึงบูรพ์ อำเภอเจริญศิลป์ อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอนาหม่อม อำเภอท่าแพ อำเภอชัยบุรี และอำเภอศรีวิไล พ.ศ. ๒๕๓๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (21 ก): 32–34. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2019-05-15. วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2537
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอราษีไศล อำเภอยางชุมน้อย และอำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (2 ง): 9–20. วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2539
- ↑ "พระราชกฤษฎีกากำหนดป่าสน ในท้องที่ตำบลตำแย ตำบลละเอาะ และตำบลน้ำเกลี้ยง อำเภอกันทรารมย์ ตำบลตูมและตำบลศรีแก้ว อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ ให้เป็นป่าคุ้มครอง พ.ศ. ๒๔๙๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 65 (72 ก): 802–804. วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2491
- ↑ "กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๒๓ (พ.ศ. ๒๕๑๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ [กำหนดให้ป่าในท้องที่ตำบลสนละเอาะ ในท้องที่ตำบลน้ำเกลี้ยง ตำบลละเอาะ อำเภอกันทรารมย์ ตำบลตำแย อำเภอเมืองศรีสะเกษ และตำบลศรีแก้ว ตำบลตูม อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (46 ก): 539–540. วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2512