ปราสาทเมืองจันทร์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
ปราสาทเมืองจันทร์นี้ตั้งอยู่ที่วัดบ้านเมืองจันทร์ ตำบลเมืองจันทร์ อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ
อยู่ห่างจากปราสาทสระกำแพงใหญ่ 15 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ ประมาณ 42 กิโลเมตร(ถนนหลวงหมายเลย 226 แยกอุทุมพรพิสัย – เมืองจันทร์)
บ้านเมืองจันทร์เป็นชุมชนโบราณที่มีคูน้ำล้อมรอบเป็นรูปทรงกลม โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางเมือง ประมาณ 400 เมตร 2 ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบ มีความสูงประมาณ 131 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ด้านทิศตะวันออกและด้านทิศใต้ของชุมชนมีหนองน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถเก็บกักน้ำไว้ได้ตลอดทั้งปี สันนิษฐานว่าน่าจะขุดขึ้นภายหลังเพราะบางส่วนของหนองน้ำทั้งสองแห่งซ้อนทับอยู่กับแนวคูเมืองโบราณ และห่างจากแนวคูเมืองด้านทิศใต้ออกไปประมาณ 1.3 กิโลเมตร มีลำน้ำธรรมชาติที่ไหลลงสู่ห้วยทับทันทางทิศตะวันตก
-
ด้านทิศตะวันออก
-
ด้านทิศใต้
-
การแกะสลักดอดบัว
ประวัติชุมชน
[แก้]ชาวบ้านเมืองจันทร์ปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นกลุ่มไทยกูย ซึ่งเป็นกลุ่มฅนพื้นถิ่นดั้งเดิมในแถบอีสานล่าง โดยอพยพแยกบ้านมาจากทางเหนือแถวจังหวัดสุรินทร์และร้อยเอ็ด เพื่อมาตั้งถิ่นฐานบ้านใหม่พร้อมๆกับ ชาวบ้านตาโกน ซึ่งตั้งอยู่ห่างออกไปทางเหนือประมาณ 6 กิโลเมตร ทำให้ฅนทั้งสองหมู่บ้านมีความสัมพันธ์ ใกล้ชิดกันจนมีคำเรียกติดปากชาวบ้านทั่วไปว่า “เมืองจันทร์ตาโกน” ชื่อ “เมืองจันทร์” สันนิษฐานว่าเป็นการเอาชื่อตำแหน่งของผู้นำชุมชนในอดีตซึ่งเป็นตำแหน่งหนึ่งใน เสนาบดีชั้นพญาที่สำคัญในระบบการปกครองแบบอาญาสี่ สมัยอาณาจักรล้านช้างมีอิทธิพลครอบคลุมพื้นที่ ภาคอีสานของไทยในอดีตมาตั้งเป็นชื่อบ้าน และมักเป็นบ้านเก่าที่ตั้งมานานก่อนที่จะมีการปฏิรูปการปกครอง ในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
โบราณสถานธาตุเมืองจันทร์และสิม ตั้งอยู่ภายในวัดเมืองจันทร์ ตำบลเมืองจันทร์ อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ โบราณสถานประกอบด้วย (๑) ธาตุเมืองจันทร์ รูปแบบเป็นเจดีย์เพิ่มมุมไม้ ๑๒ เรือนธาตุมีซุ้มจระนำทั้ง ๔ ด้าน ส่วนบนเป็นการจำลองเรือนธาตุซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป ๓ ชั้น ปลียอดสอบแหลม กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๓ ศิลปะล้านช้างผสมขอมแบบท้องถิ่น เปรียบเทียบได้กับปราสาทบ้านปราสาท ตำบลบ้านปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ (๒) สิมบ้านเมืองจันทร์ เป็นอุโบสถขนาดเล็กมีเสมาอยู่ภายในตัวโบสถ์ เป็นศิลปอีสานพื้นถิ่นกำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๕ กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๑๕ ตอนพิเศษ ๘๓ง. วันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๔๑ กำหนดเขตพื้นที่ประมาณ ๘๖ ไร่ ๒ งาน ๓๘ ตารางวา และกรมศิลปากรดำเนินการบูรณะเมื่อปี ๒๕๕๓
บันทึกการเดินทางของชาวฝรั่งเศส
[แก้]บ้านเมืองจันทร์ในอดีต มีการกล่าวถึงไว้ในบันทึกการเดินทางของชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาบ้านเมืองจันทร์ เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2426 โดยได้บรรยายไว้บางตอนว่า บ้านเมืองจันทร์เป็นหมู่บ้านใหญ่ที่เรียกว่า “เมือง” ตั้งอยู่บนเนินดินมีกระท่อมอยู่ 80 หลัง มียุ่งข้าวติดอยู่ด้วย ตั้งกันอยู่อย่างแออัดภายในรัศมี 200 เมตร มีถนน เล็กๆตัดผ่าน ในหมู่บ้านมีวัดอยู่วัดเดียว เนินดินภายในหมู่บ้านสูงกว่าที่นาโดยรอบหลายเมตรและมีน้ำ ล้อมรอบบ้านเมืองจันทร์
ประชาชนเป็นชาวกูย อยู่ห่างจากสุรินทร์ 2 วัน ห่างจากสังขละ 2 วัน และห่างจาก ศรีสะเกษ 1 วัน ชาวกูยเหล่านี้ปลูกข้าวและยาสูบ พระภิกษุเป็นชาวกูย เรียนอักษรลาว เมืองจันทร์มีวัดและปราสาทแบบขอม (น่าจะหมายถึงปราสาทเมืองจันทร์/ผู้เขียน)
บุคคลที่สร้างปราสาทเมืองจันทร์
[แก้]ท่านพระอาจารย์ วีระฉันท์ (พระอาจารย์โต้ง)
ได้เล่าว่าคนที่สร้างพระธาตุ คือ ขุนสุวรรณบรรพต เป็นเจ้าเมืองรุ่นที่2 องค์พระธาตุเมืองจันทร์ถูกสร้างโดยชาวโกย(กูย) ออกแบบโดยช่างลาวที่มาจากเมืองลาว เป็นช่างที่สร้างพระธาตุหลวงเวียงจันทร์ชุดเดียวกันใช้เวลาสร้างสิบกว่าปีถ้าอยากย้อนดูพ.ศ. สร้างให้ดูประวัติสร้างพระธาตุหลวงเวียงจันทร์ สร้างเสร็จเมื่อไหร่ให้นับขึ้นมาอีกประมาณสิบปี
1. พระธาตุ (พระธาตุหลวง) นี้สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 16 ถ้านับขึ้นไป 10 ปีก็จะอยู่ในศตวรรษที่ 26
2. ตามตำนานเล่าว่า พระธาตุ (พระธาตุหลวง) องค์นี้ได้สร้างในสมัยพุทธศักราชที่ 236 ถ้านับขึ้นไป 10 ปี ก็จะอยู่ในสมัยพุทธศักราชที่ 246
3. สร้างพระเจดีย์องค์ใหม่ (พระธาตุหลวง) ครอบพระธาตุองค์เดิมไว้ ณ บริเวณที่เคยเป็นเทวสถานเก่าของขอมโดยเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2109 ถ้านับขึ้นไป 10 ปีก็จะอยู่ในปีพ.ศ. 2119
4. จากการขุดศึกษาทางโบราณคดีพบว่า ธาตุเมืองจันทร์ไม่ใช่ปราสาทอิฐที่สร้างขึ้นในวัฒนธรรมร่วม
แบบขอม แต่เป็นธาตุอีสานที่สร้างขึ้นในวัฒนธรรมพื้นถิ่นเนื่องในพุทธศาสนา ประมาณครึ่งหลังของพุทธ
ศตวรรษที่ 21-พุทธศตวรรษที่ 22 ลงมา
สุวรรณบรรพต แปลได้ว่า ภูเขาทอง
น่าจะอนุมานได้ว่า น่าจะตั้งตามภูมิลักษณ์ของบ้านเมืองจันทร์ที่มีลักษณะเป็นคล้ายๆภูเขา และบริเวณโดยรอบเป็นที่ราบ มีคูน้ำล้อมรอบ
ตำนานเรื่องเล่า
[แก้]ปราสาทเมืองจันทร์ หรือ ธาตุเมืองจันทร์ มีตำนานเรื่องเล่าท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องว่า ผู้ชายชาวบ้านตาโกนและผู้หญิงชาวบ้านเมือง จันทร์แข่งกันสร้างธาตุ(เจดีย์) โดยมีข้อตกลงร่วมกันว่า ฝ่ายใดสร้างธาตุครบ 3 องค์เสร็จก่อนเป็นผู้ชนะ โดย ผู้ชายชาวบ้านตาโกนสร้างธาตุเมืองจันทร์ ส่วนผู้หญิงชาวบ้านเมืองจันทร์สร้างธาตุปราสาท (ปราสาทห้วยทับทัน ต.ปราสาท อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ ตั้งอยู่ห่างธาตุเมืองจันทร์ออกไปทางทิศใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร) ในระหว่างการก่อสร้างฝ่ายหญิงที่สร้างธาตุปราสาทได้ใช้เสน่ห์ล่อลวงฝ่ายชายที่สร้างธาตุเมืองจันทร์ จนสามารถเป็นฝ่ายชนะได้ โดยเมื่อฝ่ายหญิงสร้างธาตุปราสาทแล้วเสร็จ 3 องค์ฝ่ายชายเพิ่งสร้างธาตุเสร็จเพียงองค์เดียว ดังนั้นธาตุเมืองจันทร์จึงมีองค์เดียวและธาตุปราสาทจึงมี 3 องค์ดังปรากฏในปัจจุบัน นอกจากนี้ชาวบ้านเมืองจันทร์และตาโกนยังมีความเชื่อร่วมกันว่า หากชาวบ้านตาโกนยังไม่มาไหว้ธาตุเมืองจันทร์ ชาวบ้านเมืองจันทร์ก็จะยังไม่สามารถไปไหว้ธาตุปราสาทได้ซึ่งชาวบ้านมีความเชื่อในการไหว้ธาตุ ร่วมกันว่า การไหว้ธาตุทั้งสองแห่งจะสร้างความอยู่เย็นเป็นสุขให้กับชาวบ้านทุกฅน หากไม่ปฏิบัติจะเกิดความ เดือดร้อนต่างๆนานา ประเพณีการไหว้ธาตุเมืองจันทร์ในช่วงเดือนเมษายนของทุกปีจึงยังคงสืบทอดมาตราบ จนปัจจุบัน
อ้างอิง
[แก้][1]วสันต์ เทพสุริยานนท์ นักโบราณคดีชำนาญการ[2]สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัด ศรีสะเกษ
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-12-23. สืบค้นเมื่อ 2019-10-31.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ http://sisaket1544.blogspot.com/2018/08/www_30.html