ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอขุนหาญ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อ.ขุนหาญ)
อำเภอขุนหาญ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Khun Han
คำขวัญ: 
ขุนหาญเมืองน้ำตก สะตอดกรสชาติดี
มีเงาะทุเรียนหอมหวาน วัดล้านขวดล้ำค่า
ชาวประชาสามัคคี มากมีวัฒนธรรม
แผนที่จังหวัดศรีสะเกษ เน้นอำเภอขุนหาญ
แผนที่จังหวัดศรีสะเกษ เน้นอำเภอขุนหาญ
พิกัด: 14°37′0″N 104°25′30″E / 14.61667°N 104.42500°E / 14.61667; 104.42500
ประเทศ ไทย
จังหวัดศรีสะเกษ
พื้นที่
 • ทั้งหมด772.39 ตร.กม. (298.22 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด106,907 คน
 • ความหนาแน่น138.41 คน/ตร.กม. (358.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 33150
รหัสภูมิศาสตร์3308
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอขุนหาญ หมู่ที่ 12 ตำบลสิ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ 33150
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ขุนหาญ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษ มีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 รองจากอำเภอกันทรลักษ์ อำเภอขุขันธ์ และอำเภอภูสิงห์ ตามลำดับ และเป็นหนึ่งในสามอำเภอของจังหวัดศรีสะเกษที่มีพื้นที่ติดต่อกับประเทศกัมพูชา และยังเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกเงาะ ทุเรียนที่มีชื่อเสียงของจังหวัดศรีสะเกษอีกด้วย[1]

ประวัติ

[แก้]

พื้นที่อำเภอขุนหาญ เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอขุขันธ์ และอำเภอกันทรลักษ์ สมัยก่อนเขตรับผิดชอบของอำเภอขุขันธ์ค่อนข้างกว้าง จึงได้ยกเอาตำบลต่าง ๆ ในเขตทางตะวันออกเฉียงใต้ของอำเภอขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ โดยเจ้าหน้าที่ผู้ก่อตั้งสมัยนั้นได้เลือกชัยภูมิที่เป็นเนินสูงและมีแหล่งน้ำใหญ่ (หนองสิ) อยู่ใกล้เป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ ซึ่งอยู่ในเขตตำบลสิ เดิมทีจะใช้ชื่อกิ่งอำเภอว่า “สิ” ซึ่งฟังแล้วอาจจะไม่เสนาะเท่าใด จึงมีการคิดชื่อกันใหม่ และตกลงกันว่าจะเอาชื่อหมู่บ้านที่เก่าแก่มาตั้งเป็นชื่อกิ่งอำเภอ เมื่อสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่จึงรู้ว่า “บ้านขุนหาญ” ซึ่งอยู่ไกลออกไปทางทิศตะวันตกของที่ตั้งกิ่งอำเภอ เป็นชุมชนเก่าแก่ย้อนหลังไปถึงยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น จึงได้ยกเอาชื่อ “ขุนหาญ” มาเป็นชื่อกิ่งอำเภอ โดยที่ตั้งไม่ได้อยู่ในเขตตำบลขุนหาญแต่อย่างใด ต่อมาจึงยกฐานะขึ้นเป็นอำเภออย่างสมบูรณ์

  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลบักดอง แยกออกจากตำบลสิ[2]
  • วันที่ 21 มิถุนายน 2498 แยกพื้นที่ตำบลขุนหาญ ตำบลสิ ตำบลกันทรอม และตำบลบักดอง อำเภอขุขันธ์ มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอขุนหาญ ให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอขุขันธ์ และโอนพื้นที่ตำบลพราน และตำบลไพร อำเภอกันทรลักษ์ มาขึ้นกับ กิ่งอำเภอขุนหาญ และโอนพื้นที่หมู่ 6,7 (ในขณะนั้น) ของตำบลละลาย อำเภอกันทรลักษ์ มาขึ้นกับตำบลบักดอง กิ่งอำเภอขุนหาญ[3]
  • วันที่ 7 มกราคม 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลขุนหาญ ในท้องที่บางส่วนของตำบลสิ[4]
  • วันที่ 22 กรกฎาคม 2501 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอขุนหาญ อำเภอขุขันธ์ เป็น อำเภอขุนหาญ[5]
  • วันที่ 8 พฤษภาคม 2505 ตั้งตำบลกระหวัน แยกออกจากตำบลสิ[6]
  • วันที่ 26 ตุลาคม 2514 ตั้งตำบลโนนสูง แยกออกจากตำบลบักดอง ตำบลสิ และตำบลกันทรอม ตั้งตำบลโพธิ์วงศ์ แยกออกจากตำบลไพร[7]
  • วันที่ 2 มิถุนายน 2525 ตั้งตำบลภูฝ้าย แยกออกจากตำบลพราน ตำบลโพธิ์วงศ์ และตำบลไพร[8]
  • วันที่ 2 ตุลาคม 2527 ตั้งตำบลโพธิ์กระสังข์ แยกออกจากตำบลขุนหาญ[9]
  • วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2528 ปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลขุนหาญ[10] เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น
  • วันที่ 11 ธันวาคม 2529 ตั้งตำบลห้วยจันทร์ แยกออกจากตำบลโนนสูง[11]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลขุนหาญ เป็นเทศบาลตำบลขุนหาญ[12] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 18 กรกฎาคม 2551 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์กระสังข์ เป็นเทศบาลตำบลโพธิ์กระสังข์[13] จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลกระหวัน เป็นเทศบาลตำบลกระหวัน[14] จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลกันทรอม เป็นเทศบาลตำบลกันทรอม[15]
  • วันที่ 21 กรกฎาคม 2551 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลสิ เป็นเทศบาลตำบลสิ[16]
  • วันที่ 27 ตุลาคม 2552 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลโนนสูง เป็นเทศบาลตำบลโนนสูง[17]

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอขุนหาญตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอขุนหาญแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 12 ตำบล 145 หมู่บ้าน ได้แก่

1. สิ (Si) 14 หมู่บ้าน 7. ขุนหาญ (Khun Han) 9 หมู่บ้าน
2. บักดอง (Bak Dong) 22 หมู่บ้าน 8. โนนสูง (Non Sung) 9 หมู่บ้าน
3. พราน (Phran) 20 หมู่บ้าน 9. กันทรอม (Kanthrom) 13 หมู่บ้าน
4. โพธิ์วงศ์ (Pho Wong) 8 หมู่บ้าน 10. ภูฝ้าย (Phu Fai) 8 หมู่บ้าน
5. ไพร (Phrai) 11 หมู่บ้าน 11. โพธิ์กระสังข์ (Pho Krasang) 14 หมู่บ้าน
6. กระหวัน (Krawan) 12 หมู่บ้าน 12. ห้วยจันทร์ (Huai Chan) 5 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอขุนหาญประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 13 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลขุนหาญ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลสิและตำบลโนนสูง
  • เทศบาลตำบลโพธิ์กระสังข์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพธิ์กระสังข์ทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลกระหวัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกระหวันทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลกันทรอม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกันทรอมทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลสิ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสิ (นอกเขตเทศบาลตำบลขุนหาญ)
  • เทศบาลตำบลโนนสูง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนสูงทั้งตำบล (นอกเขตเทศบาลตำบลขุนหาญ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบักดอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบักดองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพราน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพรานทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์วงศ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพธิ์วงศ์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลไพร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไพรทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลขุนหาญ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขุนหาญทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลภูฝ้าย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลภูฝ้ายทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจันทร์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยจันทร์ทั้งตำบล

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ศรีสะเกษจัดงานเทศกาลเงาะ ทุเรียน และของดี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-15. สืบค้นเมื่อ 2011-10-06.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. June 10, 1947. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2021-08-02.
  3. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอกันทรลักษณ์ และอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ พ.ศ. ๒๔๙๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 72 (45 ก): 907–909. June 21, 1955.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลขุนหาร กิ่งอำเภอขุนหาร อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (4 ง): (ฉบับพิเศษ) 81-82. January 7, 1957.
  5. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอกระสัง อำเภอกระนวน อำเภอบางกอกใหญ่ อำเภอขุนหาร อำเภอพนา อำเภอปากช่อง อำเภอวังเหนือ อำเภอวังชิ้น อำเภอแม่ทา อำเภอหนองหมู อำเภอสระแก้ว อำเภออมก๋อย อำเภอบางซ้าย อำเภอทับสะแก อำเภอบุณฑริก อำเภอลานสะกา อำเภอจอมบึง อำเภอท่ายาง อำเภอสามเงา อำเภอฟากท่า อำเภอบ้านเขว้า อำเภอชานุมาน อำเภอแม่พริก อำเภอท่าสองยาง อำเภอสะเมิง อำเภอหนองแขม และอำเภอพระแสง พ.ศ. ๒๕๐๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (55 ก): 321–327. July 22, 1958. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2021-08-02.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองศรีสะเกษและอำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (43 ง): 1198–1201. May 8, 1962.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอราษีไศล และอำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (113 ง): 2975–2982. October 26, 1971.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (85 ง): 2294–2303. June 2, 1982.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่มีอำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอไพรบึง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (137 ง): 3509–3517. October 2, 1984.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลขุนหาญ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 102 (27 ง): (ฉบับพิเศษ) 27-29. February 28, 1985.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอขุขันธ์ อำเภอกันทรลักษณ์ และอำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (218 ง): 6084–6093. December 11, 1985.
  12. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-08-02.
  13. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล โพธิ์กระสังข์ เป็น เทศบาลตำบลโพธิ์กระสังข์". July 18, 2008. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  14. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล กระหวัน เป็น เทศบาลตำบลกระหวัน". July 18, 2008. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  15. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล กันทรอม เป็น เทศบาลตำบล". July 18, 2008. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  16. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล สิ เป็น เทศบาลตำบลสิ". July 21, 2008. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  17. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล โนนสูง เป็น เทศบาลตำบลโนนสูง". October 27, 2009. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  1. เว็บไซต์โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์
  2. เว็บไซต์โรงเรียนไพรธรรมคุณวิทยา เก็บถาวร 2010-08-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน