เทศบาลตำบลสิ
เทศบาลตำบลสิ | |
---|---|
สำนักงานเทศบาลตำบลสิ | |
พิกัด: 14°37′27″N 104°27′23″E / 14.624217°N 104.456412°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ศรีสะเกษ |
อำเภอ | ขุนหาญ |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | สุพรรณ นามวัน |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 16.00 ตร.กม. (6.18 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2554)[1] | |
• ทั้งหมด | 2,622 คน |
• ความหนาแน่น | 165.00 คน/ตร.กม. (427.3 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 05330803 |
ที่อยู่ สำนักงาน | สำนักงานเทศบาลตำบลสิ บ้านห้วย หมู่ที่ 7 ตำบลสิ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ 33150 |
โทรศัพท์ | 0 4563 7171 |
เว็บไซต์ | www |
เทศบาลตำบลสิ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลตำบล ขนาดเล็ก อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 7 ตำบลสิ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ เขตเทศบาลตั้งอยู่ในบริเวณตอนล่างของจังหวัดศรีสะเกษใกล้ชายแดนประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศใต้ประมาณ 62 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากตัวอำเภอขุนหาญไปทางทิศตะวันออกประมาณ 2 กิโลเมตร
อาณาเขต
[แก้]ครอบคลุมพื้นที่ 5 หมู่บ้านของตำบลสิ อำเภอขุนหาญ โดยมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลอื่นๆ ของอำเภอขุนหาญ ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลโพธิ์วงศ์ อำเภอขุนหาญ
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลพราน อำเภอขุนหาญ
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเทศบาลตำบลขุนหาญ อำเภอขุนหาญ
ประวัติ
[แก้]เทศบาลตำบลสิ เดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลสิ แล้วได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลสิ ใน พ.ศ. 2539 ต่อมาได้รับการยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาลตำบล ในปี พ.ศ. 2551 [2]
โครงสร้างการบริหารและปฏิบัติราชการ
[แก้]- ฝ่ายบริหาร ได้แก่ คณะเทศมนตรี ประกอบด้วยนายกเทศมนตรี 1 คน (นายสุพรรณ นามวัน), รองนายกเทศมนตรี 2 คน, ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี 1 คน และเลขานุการนายกเทศมนตรี 1 คน
- ฝ่ายนิติบัญญัติ (ควบคุมฝ่ายบริหาร) ได้แก่ สภาเทศบาล และควบคุมฝ่ายบริหาร ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลที่มาจากการเลือกตั้งจำนวน 12 คน ดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี มีประธานสภา 1 คน (ปัจจุบันคือนายสมยศ สินศิริ), รองประธานสภา 1 คน (ปัจจุบันคือนายคำทูน สัญญา)
- การปฏิบัติราชการ มีปลัดเทศบาล เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานเทศบาลและพนักงานจ้างเทศบาล มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการควบคุมดูแลราชการประจำของเทศบาลให้เป็นไปตามนโยบาย ประกอบด้วยส่วนการบริหารคือ สำนักงานปลัดเทศบาล กองการศึกษา กองคลัง และกองช่าง
นอกจากนั้น ปลัดเทศบาลยังปฏิบัติหน้าที่เป็นเลขานุการสภาเทศบาลตำบลด้วย
ตราสัญลักษณ์
[แก้]ภายในรูปวงกลมดวงตรามีภาพท้องฟ้า ดอกบัวและหนองน้ำ
ท้องฟ้า หมายถึง แสงสว่างสดใสในการดำรงชีวิตของชาวตำบลสิ
ดอกบัว หมายถึง ความสุข ความสำเร็จในการพัฒนาท้องถิ่น
หนองน้ำ หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ
ข้อมูลทั่วไป
[แก้]สภาพภูมิประเทศ
[แก้]สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปของเทศบาลตำบลสิ เป็นที่ราบลุ่ม สภาพดินเหมาะกับการเพาะปลูกโดยมีการทำนาปี นาปรัง แต่ขาดแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ลำห้วย หนอง คลองธรรมชาติที่มีอยู่เดิมจะแห้งในหน้าแล้ง ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรต่อไร่อยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ
ประชากรและกลุ่มชาติพันธุ์
[แก้]ในเขตเทศบาลประกอบด้วยประชากร จำนวนทั้งสิ้น 2,622 คน จำแนกเป็นเพศชาย 1,340 คน เพศหญิง 1,282 คน มีครัวเรือนทั้งสิ้น 678 ครัวเรือน [3] กลุ่มชาติพันธุ์หลักในเขตเทศบาลได้แก่ชาวเขมรซึ่งพูดภาษาเขมรสูงหรือขแมร์เลอ ถือเป็นกลุ่มประชากรที่มีสัดส่วนมากที่สุด รองลงไปคือกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกูย (หรือกวยหรือส่วย) ซึ่งพูดภาษากูย และชาวลาวซึ่งพูดภาษาลาว ทั้งนี้ชาวลาวส่วนหนึ่งเป็นกลุ่มที่มีบรรพบุรุษมาจากเวียงจันทน์ ประเทศลาว แล้วได้อพยพเข้ามาตั้งรกรากในพื้นที่ตำบลสิตั้งแต่ระหว่าง พ.ศ. 2369-พ.ศ. 2371 ตรงกับสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว[4]
เขตการปกครอง
[แก้]ภายในพื้นที่เทศบาลจำแนกเป็น 5 ชุมชน ได้แก่
- หมู่ที่ 2 บ้านกระทิง
- หมู่ที่ 4 บ้านโนนสว่าง
- หมู่ที่ 7 บ้านห้วย
- หมู่ที่ 10 บ้านใหม่พัฒนา
- หมู่ที่ 11 บ้านโนนศรีทอง
โครงสร้างสังคม
[แก้]การศึกษา
[แก้]- โรงเรียนประถมศึกษา 2 แห่ง
- โรงเรียนอาชีวศึกษา 1 แห่ง (วิทยาลัยการอาชีพขุนหาญ)
- ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน/ห้องสมุดประชาชน 5 แห่ง
- หอกระจายข่าว 6 แห่ง
สถาบันและองค์การทางศาสนา
[แก้]- วัด / สำนักสงฆ์ 2 แห่ง
การสาธารณสุข
[แก้]อัตราการมีและใช้สุขาราดน้ำ ร้อยละ 100
โครงสร้างทางเศรษฐกิจ
[แก้]อาชีพ
[แก้]ประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่เขตตำบลสิ ทำนาเป็นอาชีพหลัก นอกฤดูกาลทำนามีการปลูกพืชสวนครัวชนิดต่างๆ ได้แก่ ผักชีฝรั่ง ผักคื่นฉ่าย ผักชี พริก และอื่นๆ สัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่เป็นไก่พื้นเมือง วัว ควาย และสุกร เลี้ยงไว้เพื่อบริโภคและจำหน่าย เป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว นอกจากนี้ มีการย้ายถิ่นฐานเข้าไปประกอบอาชีพในต่างจังหวัด การรับจ้างทั่วไปและรับราชการ
หน่วยธุรกิจในเขตเทศบาล
[แก้]- สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง 1 แห่ง
- โรงสีข้าว 5 แห่ง
- ร้านขายของชำ 29 แห่ง
- โรงแรม 1 แห่ง
- อู่ซ่อมรถ 5 แห่ง
โครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค
[แก้]การคมนาคมและขนส่ง
[แก้]เส้นทางหลัก คือการคมนาคมทางรถยนต์ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2111 (พยุห์-ไพรบึง-ขุนหาญ) เส้นทางดังกล่าวนี้เชื่อมระหว่างตัวจังหวัดศรีสะเกษกับเขตเทศบาลตำบลสิ โดยจากตัวจังหวัดศรีสะเกษ มาตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 221 (ศรีสะเกษ-เขาพระวิหาร) ถึงอำเภอพยุห์ เป็นระยะทางประมาณ 21 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาที่สี่แยกพยุห์ เข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2111 เพื่อมายังอำเภอขุนหาญ และเทศบาลตำบลสิ โดยจากสี่แยกดังกล่าวผ่านอำเภอไพรบึงและเขตเทศบาลตำบลไพรบึงจนถึงเขตเทศบาลตำบลสิ เป็นระยะทางประมาณ 41 กิโลเมตร รวมระยะทางจากตัวจังหวัดศรีสะเกษถึงเทศบาลตำบลสิประมาณ 62 กิโลเมตร
ระบบโทรคมนาคมและการสื่อสาร
[แก้]- ตู้โทรศัพท์สาธารณะ 2 แห่ง
- ตู้ไปรษณีย์ 2 ตู้
พลังงานไฟฟ้า
[แก้]ได้รับบริการจากสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอขุนหาญ ประชาชนในเขตเทศบาลส่วนใหญ่มีการใช้ไฟฟ้าในการให้แสงสว่างและหุงต้ม ประมาณร้อยละ 99 และบางส่วนยังต้องการขยายไฟฟ้าให้ทั่วถึง
แหล่งน้ำธรรมชาติ
[แก้]- ลำห้วยขนาดเล็ก ไหลผ่าน 2 สาย ได้แก่ ลำห้วยทาและลำห้วยจันทร์
- บึง , หนอง 8 แห่ง ได้แก่
- หนองตาปึ้ด
- หนองแสงใต้
- หนองไผ่
- หนองตาจันทร์
- หนองแสงเหนือ
- หนองกุดแคน
- หนองบก
- หนองผำ
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
[แก้]- ฝาย 9 แห่ง
- บ่อน้ำตื้น (บ่อดิน) 7 แห่ง
- บ่อโยก 3 แห่ง
- บ่อบาดาล 6 แห่ง
- ประปา 4 แห่ง
สถานที่น่าสนใจ
[แก้]- พระอุโบสถ ทรงจัตุรมุข วัดบ้านกระทิง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ข้อมูลสรุปเทศบาลตำบลศรีรัตนะ ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2554 รวบรวมโดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เข้าถึงออนไลน์ทาง http://www.thailocaladmin.go.th/work/apt/apt.jsp
- ↑ ประวัติเทศบาลตำบลสิ จากเว็บไซต์เทศบาลตำบลสิ เข้าถึงออนไลน์ทาง http://www.tessabansi.go.th
- ↑ ข้อมูลสรุปเทศบาลตำบลศรีรัตนะ ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2554 รวบรวมโดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เข้าถึงออนไลน์ทาง http://www.thailocaladmin.go.th/work/apt/apt.jsp เก็บถาวร 2011-11-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ กรมศิลปากร,วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดศรีสะเกษ, หนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ. (ปรุงศรี วัลลิโภดม : บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว,2544.
- เทศบาลตำบลสิ.รายงานสรุป ประจำปีงบประมาณ 2553.จัดทำโดยเทศบาลตำบลสิ