ข้ามไปเนื้อหา

มัสยิดอันนะบะวี

พิกัด: 24°28′6″N 39°36′39″E / 24.46833°N 39.61083°E / 24.46833; 39.61083
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มัสยิดอันนะบะวี
ٱلْمَسْجِد ٱلنَّبَوِي
มัสยิดมองจากทางใต้ โดยมีตัวนครมะดีนะฮ์เป็นฉากหลัง
ศาสนา
ศาสนาอิสลาม
จารีตซิยาเราะฮ์
หน่วยงานกำกับดูแล
ที่ตั้ง
ที่ตั้งอัลฮะรอม อัลมะดีนะฮ์ 42311, อัลฮิญาซ
ประเทศธงของประเทศซาอุดีอาระเบีย ซาอุดีอาระเบีย
ที่ตั้งในประเทศซาอุดีอาระเบีย
มัสยิดอันนะบะวีตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตกและเอเชียกลาง
มัสยิดอันนะบะวี
มัสยิดอันนะบะวี (เอเชียตะวันตกและเอเชียกลาง)
ผู้บริหารหน่วยงานของประธานใหญ่ฝ่ายกิจการของมัสยิดอันศักดิ์สิทธิ์ทั้งสอง
พิกัดภูมิศาสตร์24°28′6″N 39°36′39″E / 24.46833°N 39.61083°E / 24.46833; 39.61083
สถาปัตยกรรม
ประเภทศาสนา
รูปแบบอิสลาม
ผู้ก่อตั้งมุฮัมมัด
เริ่มก่อตั้งค.ศ. 623 (ฮ.ศ. 1)
ลักษณะจำเพาะ
ความจุ1,000,000[1]
หอคอย10
ความสูงหอคอย105 เมตร (344 ฟุต)
จารึกโองการจากอัลกุรอาน และพระนามอัลลอฮ์และชื่อมุฮัมมัด
เว็บไซต์
wmn.gov.sa

มัสยิดอันนะบะวี (อาหรับ: ٱلْمَسْجِد ٱلنَّبَوِي, "มัสยิดของท่านศาสดา") เป็นมัสยิดที่สองที่สร้างขึ้นโดยศาสดามุฮัมมัดที่มะดีนะฮ์ (สร้างหลังจากมัสยิดกุบาอ์) และมัสยิดที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 กับสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาอิสลามอันดับ 2 (เป็นรองเพียงมัสยิดอัลฮะรอมที่มักกะฮ์) ในแคว้นฮิญาซ ประเทศซาอุดีอาระเบีย[2]

มุฮัมมัดก็มีส่วนในการสร้างมัสยิดนี้ ในเวลานัั้น ที่ดินมัสยิดเป็นของเด็กกำพร้าสองคนชื่อ Sahl กับ Suhayl และเมื่อทั้งสองรู้ว่าท่านศาสดาหวังที่จะซื้อที่ดินเพื่อสร้างมัสยิด ทั้งคู่จึงไปหาท่านและให้ที่ดินนี้เป็นของขวัญ แต่มุฮัมมัดต้องการจ่ายเงินซื้อที่ดินเพราะทั้งคู่เป็นเด็กกำพร้า ราคาที่ตกลงร่วมกันได้รับความตกลงจากอะบู อัยยูบ อัลอันศอรี ซึ่งกลายเป็นผู้บริจาค (อาหรับ: وَاقِف, อักษรโรมัน: wāqif) ของมัสยิด ในนามหรือความโปรดปรานของมุฮัมมัด[3]

มัสยิดนี้เคยเป็นอาคารเปิดโล่งที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์ชุมชน ศาลกฎหมาย และโรงเรียนสอนศาสนา ผู้นำอิสลามยุคต่อมาขยายและตกแต่งมัสยิิด ตั้งชื่อกำแพง ประตู หออะษานตามตนเองและบรรพบุรุษของตน หลังการขยายในรัชสมัยเคาะลีฟะฮ์ อัลวะลีดที่ 1 แห่งอุมัยยะฮ์ มัสยิดนี้จึงรวมสถานที่พำนักแห่งสุดท้ายของมุฮัมมัดกับอะบูบักร์และอุมัร เคาะลีฟะฮ์รอชิดูนสององค์แรก[4] หนึ่งในจุดเด่นที่สำคัญที่สุดคือโดมเขียวในมุมตะวันออกเฉียงใต้ของมัสยิด[5] เดิมเป็นที่ตั้งของบ้านอาอิชะฮ์[4] ซึ่งเป็นที่ตั้งของสุสานศาสดามุฮัมมัด

มัสยิดนี้เปิดทุกวันตลอดเวลา เว้นแต่จะมีการปิดในช่วงหนึ่ง เช่นเมื่อโควิด-19 ระบาดใน ค.ศ. 2020[6]

ประวัติ

[แก้]

ช่วงแรก

[แก้]
มุมมองของมัสยิดอันนะบะวี ประตูที่ 21, 22

มัสยิดนี้ถูกสร้างโดยศาสดามุฮัมมัดในปี ค.ศ. 622 หลังจากท่านมาเมืองมะดีนะฮ์[7] โดยการขี่อูฐที่ชื่อก็อสวะฮ์ ที่ดินนี้ครอบครองโดยซะฮัล และซุฮัยล์ เป็นบริเวณที่มีต้นอินทผลัมที่กำลังจะตาย และเคยเป็นที่ฝังศพมาก่อน[8] ท่านปฏิเสธ "การให้ที่ดินเป็นของขวัญ" และซื้อที่ดินนี้พร้อมกับสร้างมัสยิดนี้โดยใช้เวลา 7 เดือน[8] โดยมีหลังคาเป็นใบอินทผลัมและนำลำต้นทำเป็นเสาที่มีความสูง 3.60 m (11.8 ft) และมีสามประตูที่มีชื่อว่า บาบุลเราะฮ์มะฮ์อยู่บริเวณตอนใต้ บาบุลญิบรีลอยู่บริเวณตะวันตก และบาบุนนิซาอยู่บริเวณตะวันออก[9][8]

หลังจากสงครามค็อยบัร ได้มีการขยายมัสยิด[10] โดยขยายไปด้านละ47.32 m (155.2 ft) และเพิ่มอีกสามแถวที่กำแพงฝั่งตะวันตก[11] และไม่ได้ขยายในช่วงที่อะบูบักร์เป็นเคาะลีฟะฮ์คนแรก[11] จนกระทั่งสมัยเคาะลีฟะฮ์อุมัรได้ทำลายบ้านทุกหลังที่อยู่ข้างมัสยิด ยกเว้นบ้านภรรยาของมุฮัมมัด เพื่อขยายมัสยิด[12] โดยเริ่มใช้อิฐในการสร้างกำแพงและโปรยก้อนกรวดบนพื้น มีการยกหลังคาให้สูงถึง 5.6 m (18 ft)

สมัยเคาะลีฟะฮ์อุสมาน ได้รื้อมัสยิดในปี ค.ศ. 649 แล้วสร้างใหม่ให้เป็นมัสยิดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่หันหน้าไปทางมักกะฮ์โดยใช้เวลา 10 เดือน ส่วนจำนวนกำแพงยังคงเหมือนเดิม[13] กำแพงถูกปูด้วยหิน และเปลี่ยนเสาอินตผลัมให้เป็นเสาหินที่เชื่อมกับที่หนีบเหล็ก และเพดานที่ทำมาจากไม้สัก[14]

ช่วงกลาง

[แก้]
มัสยิดอันนะบะวีในสมัยจักรวรรดิออตโตมัน ศควรรษที่ 19

ในปี ค.ศ. 707 วะลีด อิบน์ อับดุลมะลิกกษัตริย์จากราชวงศ์อุมัยยะฮ์ได้บูรณะมัสยิดใหม่ โดยใช้เวลา 3 ปี เพราะต้องนำวัตถุดิบมาจากจักรวรรดิไบแซนไทน์[15] โดยมีการขยายขนาดมัสยิดจาก 5,094 ตารางเมตร ให้เป็น 8,672 ตารางเมตร มีการสร้างกำแพงกั้นระหว่างมัสยิดและบ้านภรรยาของมุฮัมมัด และเป็นครั้งแรกที่มัสยิดถูกสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมูที่มีความยาว 101.76 เมตร (333.9 ฟุต) และเสามินาเร็ต 4 หอที่สร้างล้อมรอบมัสยิดนี้[16]

สมัยกษัตริย์อัลมะฮ์ดีของราชวงศ์อับบาซิยะฮ์ได้ขยายมัสยิดไปทางเหนืออีก 50 เมตร (160 ฟุต) [17] รายงานจากอิบน์ กุต็อยบะฮ์ว่า อัลมะมูนกษัตริย์คนที่สามได้ทำ "งานที่ไม่ได้ระบุ" ไว้ที่มัสยิด ส่วนอัลมุตะวักกิลได้สร้างทางไปที่ประตูสุสานมุฮัมมัดด้วยหินอ่อน[18] และอัลอัชราฟ กอนซุฮ อัลเฆารีได้สร้างโดมหินบนสุสานของท่านเมื่อปี ค.ศ. 1476[19]

โดมเขียว ใน"การทำฮัจญ์" ของริชาร์ด ฟรานซิส เบอร์ตัน ค.ศ. 1850

เราเฎาะฮ์ได้สร้างโดมบริเวณทางตะวันออกเฉียงใต้ของมัสยิด[5] ในปี ค.ศ. 1817 ในช่วงสุลต่านมาห์มูดที่ 2 แล้วโดมถูกทาเป็นสีเขียวในปี ค.ศ. 1837 และเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "โดมเขียว"[4]

และสมัยสุลต่านอับดุล เมจิดที่ 1 ได้ใช้เวลา 13 ปีในการสร้างมัสยิดใหม่ โดยเริ่มในปี ค.ศ. 1849[20] มีการใช้อิฐแดงในการสร้างครั้งนี้ บริเวณมัสยิดถูกขยายไป 1,293 ตารางเมตร มีการเขียนอายะฮ์อัลกุรอานบนกำแพงทางตอนเหนือของมัสยิด และได้สร้าง มัดดารอซะฮ์ เพื่อ "สอนอัลกุรอาน"[21]

สมัยซาอุดี

[แก้]

เมื่อสมเด็จพระราชาธิบดีซะอูด บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูดได้ครอบครองมะดีนะฮ์ในปี ค.ศ. 1905 พร้อมกับผู้ติดตามที่นับถือนิกายวะฮาบีย์ ได้ทำลายเกือบทุกโดมที่อยู่เหนือสุสานในมะดีนะฮ์เพื่อไม่ให้ใครเลื่อมใสในสิ่งนี้[22]และโดมเขียวก็รอดมาได้อย่างหวุดหวิด[23] พวกเขากล่าวว่าสุสานและสถานที่ต่าง ๆ มีพลังบางอย่างที่เป็นสิ่งต้องห้ามในหลัก เตาฮีด[24] สุสานของศาสดามุฮัมมัดถูกทำลายและนำทองและเครื่องประดับออกไป แต่ยังคงเหลือโดมไว้ เนื่องจากการทำลายที่ล้มเหลว หรือเมื่อก่อนมุฮัมมัด อิบน์ อับดุลวะฮับเขียนว่าเขาไม่อยากเห็นโดมถูกทำลาย[22]

หลังจากก่อตั้งประเทศซาอุดีอาระเบียในปี ค.ศ. 1932 ได้มีการขยายมัสยิดในสมัยสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลอะซีซ อิบน์ ซะอูดในปี ค.ศ. 1951 ทรงมีรับสั่งให้รื้อมัสยิดที่อยู่รอบ ๆ เพื่อขยายไปทางตะวันออกและตะวันตก โดยมีการใช้เสาคอนกรีตที่มีประตูโค้ง ส่วนอันเก่าก็ถูกครอบด้วยคอนกรีตและเชื่อมด้วยแหวนทองแดงที่ด้านบน หอสุลัยมานียยะฮ์ และมาญิดียะฮ์ถูกเปลี่ยนให้เป็นหอแบบมัมลูก แล้วเพิ่มหอมินาเร็ตบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันตกเฉียงเหนือของมัสยิด และสร้างห้องสมุดขึ้นตรงบริเวณกำแพงฝั่งตะวันตก[21][25]

จากนั้นสมเด็จพระราชาธิบดีฟัยศ็อล บิน อับดัลอะซีซ อาล ซะอูดได้ขยายมัสยิดไปอีก 40,440 ตารางเมตรในปี ค.ศ. 1974[26] และขยายไปอีกในสมัยของสมเด็จพระราชาธิบดีฟะฮด์ บิน อับดัลอะซีซ อาล ซะอูดในปี ค.ศ. 1985 โดยมีการใช้รถปราบดินในการทำลายสิ่งก่อสร้างรอบ ๆ มัสยิด[27] แล้วเสร็จในปี ค.ศ. 1992 โดยที่มัสยิดมีขนาด 1.7 พันล้านตารางเมตร มีบันไดเลื่อนและพื้นที่ราบอีก 27 แปลง[28]

และในปี ค.ศ. 2012 ได้มีการวางแผนขยายมัสยิดด้วยวงเงินประมาณ 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2012 ทาง รอยเตอร์ ได้รายงานว่าการขยายครั้งนี้จะจุผู้คนได้ประมาณ 1.6 ล้านคน[29]

สิ่งก่อสร้างที่สำคัญ

[แก้]

โดมเขียว

[แก้]

โดมเหล่านี้สร้างโดย เราเฎาะฮ์ โดยมีโดมสำหรับมุฮัมมัด, อะบูบักร์ และอุมัร ส่วนโดมที่สี่มีไว้สำหรับนบีอีซา (عِـيـسَى, พระเยซู) โดยมีความเชื่อว่าท่านจะถูกฝังที่นี่ โดมเขียวนี้สร้างในปี ค.ศ. 1817 ในสมัยสุลต่านมาห์มูดที่ 2 และถูกทาสีเขียวในปี ค.ศ. 1837[4]

มิฮรอบ

[แก้]

มัสยิดนี้มีสองมิฮรอบ อันหนึ่งสร้างโดยมุฮัมมัด และอีกอันหนึ่งสร้างโดยเคาะลีฟะฮ์อุสมาน[30] ข้าง ๆ มิฮรอบ จะมีโถงสำหรับละหมาด ตัวอย่างเช่น มิฮรอบ ฟาติมะฮ์ (مِـحْـرَاب فَـاطِـمَـة) หรือ มิฮรอบ อัตตาฮัดญุด (مِـحْـرَاب الـتَّـهَـجُّـد) ซึ่งสร้างโดยมุฮัมมัดสำหรับละหมาด ตะฮัดญุด (تَـهَـجُّـد)[31]

มิมบัร

[แก้]

มิมบัร (مِـنـۢبَـر) ที่มุฮัมมัดใช้เป็น "ไม้จากต้นอินทผลัม" หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นแบบทามาริสก์ และในปี ค.ศ. 629 ได้เพิ่มขั้นบันไดอีกสามขั้น อะบูบักร์ และอุมัร เคาะลีฟะฮ์สองพระองค์แรกไม่ใช่ขั้นที่สาม "เพื่อเป็นการให้เกียรติศาสดา" แต่เคาะลีฟะฮ์อุสมานได้ตั้งผ้าบนนั้น ส่วนชั้นอื่นถูกคลุมด้วยไม้ตะโก ในปี ค.ศ. 1395 บัยบัรที่ 1 ได้เปลี่ยน มิมบัร ใหม่ และเปลี่ยนอีกรอบในปี ค.ศ. 1417 โดยเชค อัลมะฮ์มูดี หลังจากนั้นจึงถูกเปลี่ยนเป็นแบบหินอ่อนโดยก็อยต์บัยในช่วงปลายศตวรรษที่ 15 และใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน[31]

หอมินาเร็ต

[แก้]

สี่มินาเร็ตแรกมีความสูง 26 ฟุต (7.9 เมตร) สร้างโดยอุมัร และในปี ค.ศ. 1307 มีการเพิ่มมินาเร็ตที่ชื่อว่า บาบุลสะลาม โดยมุฮัมมัด อิบน์ คาลาวุน แล้วบูรณะใหม่โดยเมห์เหม็ดที่ 4 หลังจากการบูรณะในปี ค.ศ. 1994 มีมินาเร็ตสิบหอที่สูง 104 เมตร (341 ฟุต) โดยที่ส่วนด้านบน ด้านล่าง และตรงกลางเป็นลวดลายทรงกระบอก, รูปแปดเหลี่ยม และรูปสี่เหลี่ยมอย่างสมดุล[31]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "WMN". สืบค้นเมื่อ 26 November 2020.
  2. Trofimov, Yaroslav (2008), The Siege of Mecca: The 1979 Uprising at Islam's Holiest Shrine, New York, p. 79, ISBN 978-0-307-47290-8
  3. "Masjid-e-Nabwi - IslamicLandmarks.com". IslamicLandmarks.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 29 March 2014. สืบค้นเมื่อ 26 June 2020.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Ariffin 2005, pp. 88–89, 109
  5. 5.0 5.1 Petersen, Andrew (11 March 2002). Dictionary of Islamic Architecture. Routledge. p. 183. ISBN 978-0-203-20387-3.
  6. Farrell, Marwa Rashad, Stephen (24 April 2020). "Islam's holiest sites emptied by coronavirus crisis as Ramadan begins". Reuters (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-28. สืบค้นเมื่อ 12 September 2020.
  7. "The Prophet's Mosque [Al-Masjid An-Nabawi]". Islam Web. สืบค้นเมื่อ 17 June 2015.
  8. 8.0 8.1 8.2 Ariffin, p. 49.
  9. "Gates of Masjid al-Nabawi". Madain Project. สืบค้นเมื่อ 18 March 2018.
  10. Ariffin, p. 50.
  11. 11.0 11.1 Ariffin, p. 51.
  12. Atiqur Rahman. Umar Bin Khattab: The Man of Distinction. Adam Publishers. p. 53. ISBN 978-81-7435-329-0.
  13. Ariffin, p. 55.
  14. Ariffin, p. 56.
  15. NE McMillan. Fathers and Sons: The Rise and Fall of Political Dynasty in the Middle East. Palgrave Macmillan. p. 33. ISBN 978-1-137-29789-1.
  16. Ariffin, p. 62.
  17. Munt, p. 116.
  18. Munt, p. 118.
  19. Wahbi Hariri-Rifai, Mokhless Hariri-Rifai. The Heritage of the Kingdom of Saudi Arabia. GDG Exhibits Trust. p. 161. ISBN 978-0-9624483-0-0.
  20. Ariffin, p. 64.
  21. 21.0 21.1 Ariffin, p. 65.
  22. 22.0 22.1 Mark Weston (2008). Prophets and princes: Saudi Arabia from Muhammad to the present. John Wiley and Sons. pp. 102–103. ISBN 978-0-470-18257-4.
  23. Doris Behrens-Abouseif; Stephen Vernoit (2006). Islamic art in the 19th century: tradition, innovation, and eclecticism. BRILL. p. 22. ISBN 978-90-04-14442-2.
  24. Peskes, Esther (2000). "Wahhābiyya". Encyclopaedia of Islam. Vol. 11 (2nd ed.). Brill Academic Publishers. pp. 40, 42. ISBN 90-04-12756-9.
  25. "New expansion of Prophet's Mosque ordered by king". Arab News. สืบค้นเมื่อ 19 June 2015.
  26. "Prophet's Mosque to accommodate two million worshippers after expansion". Arab News. สืบค้นเมื่อ 19 June 2015.
  27. "Expansion of the Prophet's Mosque in Madinah (3 of 8)". King Fahd Abdulaziz. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 19 June 2015.
  28. "Expansion of the two Holy Mosques". Saudi Embassy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2015. สืบค้นเมื่อ 19 June 2015.
  29. "Saudi Arabia plans $6bln makeover for second holiest site in Islam". RT. สืบค้นเมื่อ 19 June 2015.
  30. Ariffin, p. 57.
  31. 31.0 31.1 31.2 "The Prophet's Mosque". Last Prophet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-15. สืบค้นเมื่อ 19 June 2015.

ข้อมูล

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]