อุบัติการณ์ซากูราดามง (ค.ศ. 1860)
Sakuradamon incident. Detail from print | |
ชื่อพื้นเมือง | 桜田門外の変 |
---|---|
วันที่ | 24 มีนาคม ค.ศ. 1860 |
ที่ตั้ง | ประตูซากูราดะ, ปราสาทเอโดะ ในปัจจุบัน, โตเกียว, ญี่ปุ่น |
พิกัด | 35°40′40″N 139°45′10″E / 35.67778°N 139.75278°E |
ประเภท | ลอบสังหาร |
เหตุจูงใจ | คัดค้านการลงนามในสนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ ค.ศ. 1858 |
เป้าหมาย | อิอิ นาโอซูเกะ |
ผู้เข้าร่วม | ซามูไรโรนิง |
ความสูญเสีย | |
อิอิ นาโอซูเกะ |
อุบัติการณ์การณ์ซากูราดามง (ญี่ปุ่น: 桜田門の変) เป็นเหตุการณ์สังหารอิอิ นาโอซูเกะ ไทโร (ผู้บัญชาการสูงสุด) แห่งรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1860 โดยกลุ่มซามูไรโรนิงจากแคว้นศักดินามิโตะและแคว้นศักดินาซัตสึมะ ภายนอกประตูซากูราดะของปราสาทเอโดะ
บริบท
[แก้]อิอิ นาโอซูเกะ เป็นบุคคลสำคัญในยุคบากูมัตสึ และเป็นผู้สนับสนุนการเปิดประเทศญี่ปุ่น หลังจากปิดประเทศมานานกว่า 200 ปี แต่เขาก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางจากการลงนามในสนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ (สหรัฐ–ญี่ปุ่น) ปี 1858 กับสหรัฐอเมริกา (ซึ่งเจรจาโดยทาวน์เซนด์ แฮร์ริส กงสุลสหรัฐฯ ประจำญี่ปุ่น) และต่อมาไม่นานก็มีการลงนามในสนธิสัญญาที่คล้ายคลึงกันกับประเทศตะวันตกอื่น ๆ[1] สนธิสัญญาแฮร์ริสลงนามโดยรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ ซึ่งขัดต่อพระราชดำริของจักรพรรดิโคเมที่ทรงห้ามไม่ให้ลงนามในสนธิสัญญาดังกล่าว ทำให้รัฐบาลโชกุนถูกมองว่าทรยศต่อองค์จักรพรรดิ และนัยยะหมายถึงการทรยศต่อประเทศชาติ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1859 ท่าเรือสำคัญ 3 แห่งของญี่ปุ่นได้แก่นางาซากิ ฮาโกดาเตะ และโยโกฮามะ ถูกเปิดให้นักค้าต่างชาติเข้ามาค้าขาย ตามข้อตกลงในสนธิสัญญา[2]
นอกจากนี้ อิอิยังถูกวิจารณ์ว่ามีส่วนเสริมอำนาจให้กับรัฐบาลในการกดขี่ไดเมียวในภูมิภาคผ่านการกวาดล้างปีอันเซ[1] เขาสร้างศัตรูจำนวนมากจากความขัดแย้งเรื่องการสืบทอดตำแหน่งตำแหน่งโชกุนต่อจากโทกูงาวะ อิเอซาดะ และการบังคับให้คู่แข่งของเขาเกษียณอายุก่อนกำหนด โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาซามูไรจากแคว้นมิโตะ ฮิเซน โอวาริ โทซะ ซัตสึมะ และอูวาจิมะ[3]
นโยบายเหล่านี้ทำให้เกิดความไม่พอใจอย่างมากต่อรัฐบาลโชกุน โดยเฉพาะกลุ่มผู้สนับสนุนสำนักมิโตะ[4]
การลอบสังหาร
[แก้]เหตุการณ์ลอบสังหารเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1860 ตรงกับวันเทศกาลฮินะมัตสึริ ซึ่งเป็นวันที่เหล่าไดเมียวที่ประจำการที่เอโดะ (โตเกียวในปัจจุบัน) ต่างมีกำหนดเข้าประชุมในปราสาทเอโดะ มือสังหารบุกโจมตีขบวนของอิอิ บริเวณนอกปราสาท ใกล้ประตูซากูราดะ ขณะที่อิอิกำลังเดินทางเข้าสู่บริเวณดังกล่าว[1] อิอิได้รับคำเตือนเรื่องความปลอดภัยของเขา และหลายคนสนับสนุนให้เขาลาออกจากตำแหน่ง แต่เขาปฏิเสธ โดยตอบว่า "ความปลอดภัยของข้าพเจ้าไม่มีประโยชน์เลย เมื่อข้าพเจ้าเห็นอันตรายที่คุกคามอนาคตของประเทศ"[5]
อ้างอิง
[แก้]การอ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Watanabe, Hiroshi (2001). The Architecture of Tokyo: An Architectural History in 571 Individual Presentations (ภาษาอังกฤษ). Edition Axel Menges. p. 39. ISBN 978-3-930698-93-6.
- ↑ Satow 2006, p. 31.
- ↑ Satow 2006, p. 33.
- ↑ Morishima, Michio (June 21, 1984). Why Has Japan 'Succeeded'?: Western Technology and the Japanese Ethos (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. p. 68. ISBN 9780521269032.
- ↑ Murdoch 1903, p. 698.
แหล่งข้อมูล
[แก้]- Murdoch, James (1903). A History of Japan (ภาษาอังกฤษ). Vol. 3. Psychology Press. ISBN 9780415154178.
- Satow, Ernest Mason (2006). A diplomat in Japan. Berkeley, Calif.: Stone Bridge Press. ISBN 9781933330167. OCLC 646791008.