อิอิ นาโอซูเกะ
อิอิ นาโอซูเกะ | |
---|---|
เจ้าแห่งฮิโกเนะ | |
ดำรงตำแหน่ง 1858–1860 | |
ก่อนหน้า | อิอิ นาโออากิ |
ถัดไป | อิอิ นาโอโนริ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1815 เอโดะ ประเทศญี่ปุ่น |
เสียชีวิต | มีนาคม 24, 1860 เอโดะ ประเทศญี่ปุ่น | (44 ปี)
เชื้อชาติ | ญี่ปุ่น |
อิอิ นาโอซูเกะ (ญี่ปุ่น: 井伊 直弼; โรมาจิ: Ii Naosuke; 29 พฤศจิกายน 1815 — 24 มีนาคม 1860)[1] เป็นทั้งไดเมียวแห่งฮิโกเนะ (ค.ศ. 1850–1860) และไทโรแห่งรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ ประเทศญี่ปุ่น เริ่มดำรงตำแหน่งจาก 23 เมษายน ค.ศ. 1858 กระทั่งเขาถึงแก่กรรมจากการถูกลอบสังหารในอุบัติการณ์ซากูราดามงเมื่อวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1860 เขามีชื่อเสียงมากที่สุดจากการลงนามสนธิสัญญาแฮร์ริสกับสหรัฐที่ให้สิทธิ์เข้าถึงท่าเรือเพื่อการค้าแก่พ่อค้าและลูกเรือชาวอเมริกัน และสิทธินอกอาณาเขตแก่พลเมืองอเมริกัน
ชีวิตช่วงต้น
[แก้]อิอิ นาโอซูเกะเกิดในวันที่ 29, พฤศจิกายน ค.ศ. 1815 โดยเป็นบุตรคนที่ 14 ของอิอิ นาโอนากะ ไดเมียวแห่งฮิโกเนะ กับนางสนม เนื่องจากนาโอซูเกะเป็นุตรคนที่ 14 เขาไม่ได้อยู่ในลำดับโดดเด่นที่จะได้รับตำแหน่ง ทำให้ในช่วงต้นชีวิต เขาถูกส่งไปที่วัดพุทธโดยอาศัยเงินเดือนจากครอบครัวเพียงเล็กน้อย แม้ว่าอิอิถูกส่งไปที่วัด แต่โชคดีที่พี่ชายทั้ง 13 คนกลับได้รับการรับเลี้ยงในครอบครัวอื่นที่ต้องการทายาท ไม่ก็เสียชีวิตก่อนได้สืบทอดตำแหน่งต่อจากพ่อ ทำให้เมื่อพ่อเสียชีวิตใน ค.ศ. 1850 อิอิจึงถูกเรียกตัวกลับมาจากวัดและกลายเป็นไดเมียวแห่งฮิโกเนะ ชื่อในวันเด็กของเขาคือ เท็ตสึโนซูเกะ (鉄之介)
อิอิเริ่มเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมืองระดับชาติ และก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำกลุ่มไดเมียวอย่างรวดเร็ว ใน ค.ศ. 1853 อิอิได้ให้ข้อเสนอเกี่ยวกับการเจรจาระหว่างญี่ปุ่นกับแมทธิว ซี. เพร์รี พลเรือจัตวาของสหรัฐ ในระหว่างที่เพร์รีปฏิบัติภารกิจเปิดญี่ปุ่นสู่โลกภายนอก เมื่อรู้ว่าญี่ปุ่นจะเผชิญกับภยันตรายทางทหารในทันที[2][3] อิอิโต้แย้งว่าญี่ปุ่นควรใช้ความสัมพันธ์กับดัตช์เพื่อซื้อเวลาให้นานพอที่จะพัฒนากองทัพที่สามารถต้านทางการรุกรานได้ เขาแนะนำว่ามีเพียงท่าเรือนางาซากิเท่านั้นที่เปิดทำการค้าแก่ชาวต่างชาติ[4]
ครอบครัว
[แก้]- พ่อ: อิอิ นาโอนากะ (1766–1831)
- แม่: โอโตมิ โนะ คาตะ (1785–1819)
- พ่อบุญธรรม: อิอิ นาโออากิ (1794–1850)
- ภรรยา: มาซาโกะ (1834–1885)
- นางสนม:
- เซ็นดะ ชิซูเอะ
- นิชิมูระ ซาโตะ
- ลูก:
- อิอิ นาโอโนริ จากนิิชิมูระ ซาโตะ
- บุตรี
- บุตร
- ชิโยโกะ (1846–1927) สมรสกับมัตสึไดระ โยริโตชิ
- อิอิ นาโอโตโมะ (1849–1887) จากมาซาโกะ
- อิอิ นาโอยาซุ (1851–1935) จากนิิชิมูระ ซาโตะ
- บุตรี
- บุตร
- มันจิโนะ
- บุตรี
- บุตร
- มิจิโยะ
- บุตรี
- อิอิ นาโอยูกิ (1858–1927) จากมาซาโกะ
- โทกิโก สมรสกับอาโอยามะ ยูกิโยชิ
ไทโร
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1860 ตามปฏิทินกริกอเรียนตรงกับวันที่ 3 เดือน 3 ปีอันเซที่ 7 (安政七年三月三日).
- ↑ Beasley, W. G. (1999), The Japanese Experience: A Short History of Japan, Orion House, p. 192.
- ↑ Beasley, W. G. (1984) "The Edo Experience and Japanese Nationalism", Modern Asian Studies, Vol. 18, No. 4, p. 562.
- ↑ Miyauchi, D. Y. (1970). "Yokoi Shōnan's Response to the Foreign Intervention in Late Tokugawa Japan, 1853–1862", Modern Asian Studies, Vol. 4, No. 3, p. 271.
- Benneville, James Seguin de. (1910). Saitō Mussashi-bō Benkei. (Tales of the Wars of the Gempei). Yokohama.
- Kusunoki Sei'ichirō 楠木誠一郎 (1991). Nihon shi omoshiro suiri: Nazo no satsujin jiken wo oe 日本史おもしろ推理: 謎の殺人事件を追え. Tokyo: Futami bunko 二見文庫.
- Matsuoka Hideo 松岡英夫 (2001). Ansei no Taigoku: Ii Naosuke to Nagano Shuzen 安政の大獄: 井伊直弼と長野主膳. Tokyo: Chūōkōron-shinsha 中央公論新社.
- Mori Yoshikazu 母利美和 (2006). Ii Naosuke 井伊直弼. Tokyo: Yoshikawa Kōbunkan 吉川弘文館.
- Nakamura Katsumaro, Akimoto Shunkichi (1909). Lord Ii Naosuké and New Japan. Yokohama: Japan Times.
- Osaragi Jirō 大佛次郎 (1967–1974). Tennō no seiki 天皇の世紀. Tokyo: Asahi Shinbunsha 朝日新聞社.
- Shimada Saburō 島田三郎 (1888). Kaikoku shimatsu: Ii Kamon no Kami Naosuke den 開國始末: 井伊掃部頭直弼傳. Tokyo: Yoronsha 輿論社.
- Tanimura Reiko 谷村玲子 (2001). Ii Naosuke, shūyō toshite no chanoyu 井伊直弼, 修養としての茶の湯. Tokyo: Sōbunsha 創文社.
- Tsuzuki, Chushichi. (2000). The Pursuit of Power in Modern Japan, 1825–1995. Oxford: Oxford University Press. ISBN 0-19-820589-9
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- National Diet Library: photograph of Sakurada-mon (1902)